คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิทยา บุญชู

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 908 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าจ้างจากลูกจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และใช้บังคับเฉพาะเมื่อยังเป็นนายจ้าง-ลูกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 วรรคแรก และมาตรา 77 ให้นายจ้างจะหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดได้ก็เฉพาะกรณีเข้าข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้เท่านั้น สำหรับกรณีหักเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงซึ่งเป็นไปตามข้อยกเว้น จะหักได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากลูกจ้างโดยนายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะอีกด้วย ดังนั้น การห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่คู่สัญญายังคงมีสภาพเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่เท่านั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไปก่อนแล้ว ทั้งมิได้ฟ้องแย้งขอหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการทำงานซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยละเลิกจ้างโจทก์ ซึ่งเป็นคนละกรณีกัน จึงนำบทบัญญัติดังกล่าวมาปรับใช้อ้างเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าจ้างจากลูกจ้างเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย ต้องมีหลักฐานความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร และใช้ได้เฉพาะช่วงที่ยังมีสถานะนายจ้าง-ลูกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 วรรคแรกบัญญัติว่า "ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่างานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ...(4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง (5)..." และมาตรา 77 บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมีข้อตกลงกับลูกจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินตามมาตรา 54 มาตรา 55 หรือการหักเงินตามมาตรา 76 นายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการให้ความยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะ" จากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้เห็นเจตนารมณ์ได้ว่า การห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดก็เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด อันจะทำให้รายได้จากการทำงานลดลง และลูกจ้างอาจหมดกำลังใจในการทำงานที่ไม่ได้รับเงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยนายจ้างจะหักได้ก็เฉพาะกรณีเข้าข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้เท่านั้น และสำหรับกรณีหักเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงซึ่งเป็นไปตามข้อยกเว้น จะหักได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากลูกจ้างโดยนายจ้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในการยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะอีกด้วย เมื่อพิเคราะห์เจตนารมณ์ของการห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดดังกล่าว ประกอบกับข้อที่ว่านายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วยแล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่า การห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่คู่สัญญายังคงมีสภาพเป็นนายจ้างลูกจ้างกันอยู่เท่านั้น คดีนี้ในขณะที่จำเลยฟ้องแย้ง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไปก่อนแล้ว ทั้งจำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่ฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการทำงานซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ ซึ่งเป็นคนละกรณีกัน จึงนำบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 และมาตรา 77 มาปรับใช้อ้างเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยไม่ได้ แต่ศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงมาให้ชัดเจนว่าน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำอัดลมบรรจุขวดที่บริษัท ท. และบริษัท น. ส่งมอบให้จำเลยแล้วมีมูลค่าเท่าใด ยังค้างชำระอยู่อีกเท่าใด ซึ่งศาลฎีกาไม่มีอำนาจกระทำได้ จึงต้องส่งสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุมประเด็นค่ารักษาพยาบาล แม้ขอเพิกถอนมติคณะกรรมการ แต่ไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่เรียกขอ
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดแจ้งว่า โจทก์ขอให้จำเลยจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์จำนวนเท่าใด และที่ขอให้เพิกถอนมติคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ โจทก์ก็มิได้บรรยายมาในคำขอท้ายฟ้องด้วยว่าขอให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลจำนวนเท่าใด จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้กล่าวแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหากับข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในส่วนที่ขอให้จำเลยจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 จึงเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องเคลือบคลุมในคดีแรงงาน: การระบุจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลที่ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปความว่า โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยได้ยื่นขอเบิกค่ารักษาพยาบาลของ ว. สามีโจทก์ พร้อมแนบหลักฐานภายในเวลาตามระเบียบ แต่จำเลยตัดสิทธิโจทก์ หรือทำให้สิทธิโจทก์ลดลงอ้างว่า การเจ็บป่วยของ ว. สามารถเข้ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ธ. ซึ่งเป็นสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โจทก์จึงเบิกค่ารักษาพยาบาลไม่ได้ ขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ครั้งที่ 4/2546 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2546 และครั้งที่ 13/2546 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2546 และให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามข้อบังคับ ระเบียบคำสั่งของจำเลย โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดแจ้งว่า โจทก์ขอให้จำเลยจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเท่าใด อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนมติคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ โจทก์ก็มิได้บรรยายมาในคำขอท้ายฟ้องว่า ขอให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนเท่าใด ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้กล่าวแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา กับข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในส่วนที่ขอให้จำเลยจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 จึงเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4516/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะนายจ้าง-ลูกจ้างซ้อน: การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างขัดเจตนารมณ์กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
โจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยมีหน้าที่สอบสวนลงโทษลูกจ้าง มีอำนาจออกหนังสือเตือนลูกจ้างที่กระทำความผิด จึงเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนจำเลยเกี่ยวกับการลงโทษและจ้างลูกจ้างของจำเลยแทนจำเลย โจทก์จึงมีฐานะเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 แม้ว่าโจทก์จะเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่ฐานะนายจ้างและลูกจ้างนั้นมีผลประโยชน์บางส่วนที่ขัดกัน การที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างจึงขัดต่อเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างตามมาตรา 50 จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีฐานะเป็นกรรมการลูกจ้างและไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 52 จำเลยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานในการเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4516/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะนายจ้างที่ซ้อนทับ: การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างขัดเจตนารมณ์กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
โจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลย มีหน้าที่สอบสวนลงโทษลูกจ้างมีอำนาจออกหนังสือเตือนลูกจ้างที่กระทำความผิด อันเป็นอำนาจหน้าที่ในการลงโทษลูกจ้างของจำเลย อีกทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานโจทก์ลงนามแทนจำเลย โจทก์เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ทำสัญญาจ้างลูกจ้างเข้าทำงานกับจำเลยแทนจำเลย อันเป็นอำนาจหน้าที่ในการจ้างลูกจ้างของจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับการลงโทษ และจ้างลูกจ้างของจำเลยแทนจำเลย โจทก์จึงมีฐานะเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5 แม้ว่าโจทก์จะเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่ฐานะนายจ้างและลูกจ้างนั้นมีผลประโยชน์บางส่วนที่ขัดกัน การที่สหภาพแรงงาน อ. แต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างจึงขัดต่อเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 50 ที่บัญญัติให้นายจ้างต้องจัดให้มีการประชุมหารือกับคณะกรรมการลูกจ้างเพื่อจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง กำหนดข้อบังคับในการทำงาน พิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้าง หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในสถานประกอบกิจการ ร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่เห็นว่าการกระทำของนายจ้างจะทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร การแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีฐานะเป็นกรรมการลูกจ้างและไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 52 จำเลยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานในการเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายงานประกันชีวิตแก่ลูกจ้างที่ทำสัญญาจ้างเฉพาะงานวินาศภัย มิอาจเรียกร้องค่าจ้างเพิ่ม
โจทก์ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและธุรกิจประกันชีวิตต่อมาบริษัท ท. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2543 โดยรับโอนงานในส่วนประกันชีวิตจากบริษัท ท. มา ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2535 ถึงวันที่ 26 มีนาคม 2543 บริษัท ท. ยังคงประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและธุรกิจประกันชีวิตทั้งสองประเภทควบคู่มาด้วยกันโดยยังไม่ได้จัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามมาตรา 121 วรรคสอง แต่เป็นการประกอบธุรกิจประกันชีวิตภายใต้บทบัญญัติมาตรา 121 วรรคหนึ่ง ที่ให้กระทำต่อไปได้ภายใต้เงื่อนไขว่าบริษัท ท. ต้องแยกรายรับและรายจ่ายของธุรกิจประกันชีวิตออกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากรายรับและรายจ่ายของธุรกิจประกันวินาศภัย ดังนั้น งานในส่วนประกันวินาศภัยและงานในส่วนประกันชีวิตต่างก็เป็นงานของบริษัท ท. ผู้เป็นนายจ้างของโจทก์
หนังสือสัญญาข้อตกลงรับทราบเงื่อนไขในการจ้างทำขึ้นในตอนที่โจทก์เข้าเป็นลูกจ้างทดลองงานเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2547 แต่ข้อความตามหนังสือก็ระบุว่าเป็นเงื่อนไขในการจ้างในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท ท. ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงื่อนไขที่ใช้เฉพาะในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างทดลองงานเท่านั้น โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามคำสั่งของบริษัท ท. และทำงานตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ดังนั้น การที่บริษัท ท. ให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานบริการวินาศภัยทำงานประกันชีวิตด้วย งานประกันชีวิตซึ่งเป็นธุรกิจส่วนหนึ่งของบริษัท ท. จึงเป็นงานในความรับผิดชอบของโจทก์โดยชอบด้วยเงื่อนไขในการจ้าง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างที่โจทก์ทำงานประกันชีวิตให้บริษัท ท. ต่อมาในวันที่ 27 มีนาคม 2543 จำเลยซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งขึ้น ก็รับโอนทรัพทย์สิน หนี้สิน ความรับผิดชอบตามกรมธรรม์และลูกจ้างในส่วนธุรกิจประกันชีวิตจากบริษัท ท. แต่ไม่ได้รับโอนโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในส่วนธุรกิจประกันวินาศภัยมาด้วย และหลังจากวันที่ 27 มีนาคม 2543 ถึงวันที่โจทก์ถูกเลิกจ้าง จำเลยมิได้ให้โจทก์ทำงานประกันชีวิต โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารต่างประเทศเป็นพยานหลักฐานได้ แม้ไม่มีคำแปล หากศาลไม่ได้สั่งให้แปล
เอกสารภาษาต่างประเทศที่โจทก์ยื่นต่อศาลโดยไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย แต่เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวีธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทำคำแปลก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8240/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าขนส่งยังไม่เป็นรายได้ของรัฐ จึงอายัดได้
ตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ.2496 มาตรา 11 และมาตรา 12 กำหนดให้รายได้ที่จำเลยต้องนำส่งเป็นรายได้ของรัฐ คือ รายได้จากการดำเนินกิจการที่จำเลยได้รับมาแล้ว และเหลือจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 12 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ไม่รวมถึงรายได้ที่จำเลยยังไม่ได้รับชำระและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย สิทธิเรียกร้องเงินค่าขนส่งตามสัญญาจ้างที่จำเลยทำไว้กับโรงงานยาสูบซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งอายัดเป็นเพียงสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่จำเลยยังไม่ได้รับเข้ามาเป็นรายได้ของจำเลยและยังไม่ได้หักค่าใช้จ่าย ยังไม่เป็นรายได้ที่จำเลยต้องนำส่งเป็นรายได้ของรัฐ จึงไม่ใช่ทรัพย์สินของแผ่นดินไม่ต้องห้ามมิให้อายัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7739/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์ แม้ตราประทับไม่ตรงกับที่จดทะเบียน หากมีลักษณะคล้ายคลึงและกรรมการลงชื่อถูกต้อง
แม้ตราที่ประทับของบริษัทโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจจะมิใช่ตราประทับอันเดียวกับตราที่ได้จดทะเบียนไว้ แต่ก็มีรูปลักษณ์ ขนาดและตัวอักษรชื่อบริษัทโจทก์เช่นเดียวกับที่จดทะเบียนไว้ ทำให้สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นตราของโจทก์ เมื่อกรรมการ 2 ใน 5 คน ลงชื่อกระทำการแทนบริษัทโจทก์ตามข้อบังคับถูกต้อง หนังสือมอบอำนาจจึงสมบูรณ์ใช้บังคับผูกพันโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
of 91