พบผลลัพธ์ทั้งหมด 908 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7233/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา: การพิจารณาอายุผู้เสียหายจากรูปร่างและลักษณะภายนอก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยสำคัญผิดเข้าใจว่าผู้เสียหายอายุ 17 ปี ถึง 18 ปี ขึ้นต่อสู้โดยตรง แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบด้วยมาตรา 215
ผู้เสียหายเป็นลูกครึ่งชาวไทยกับชาวต่างชาติ จากรูปร่างและลักษณะของผู้เสียหายมีเหตุผลทำให้จำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายมีอายุเกินกว่า 15 ปี ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 จำเลยคงมีความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 62 วรรคสาม เท่านั้น
ผู้เสียหายเป็นลูกครึ่งชาวไทยกับชาวต่างชาติ จากรูปร่างและลักษณะของผู้เสียหายมีเหตุผลทำให้จำเลยเข้าใจว่าผู้เสียหายมีอายุเกินกว่า 15 ปี ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 จำเลยคงมีความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 62 วรรคสาม เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7233/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้แม้จำเลยมิได้อ้างเหตุนี้โดยตรง
แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยสำคัญผิดเข้าใจว่าผู้เสียหายมีอายุ 17 ปี ถึง 18 ปี ขึ้นต่อสู้โดยตรง แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบด้วยมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายสถานประกอบกิจการ-สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง-มาตรา 120 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน-คำวินิจฉัยผูกพัน
คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่า การที่โจทก์ย้ายโรงงานและสำนักงานแห่งใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร ไปรวมกับสำนักงานสาขาที่จังหวัดนครพนม เป็นการย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว จำเลยทั้งสิบสองซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 120 หากโจทก์ไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยตามมาตรา 120 วรรคสี่ โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานจึงเป็นที่สุดและย่อมผูกพันโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นเรื่องการย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น และการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างตามมาตรา 120 วรรคห้า ซึ่งยุติไปแล้วมาอ้างในชั้นนี้
จำเลยทั้งสิบสองใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 120 จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ. มาตรา 582 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง และระเบียบของโจทก์ฉบับที่ 2 เรื่อง การลา อันเป็นกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับแก่การบอกเลิกสัญญาจ้างในกรณีทั่วไป
จำเลยทั้งสิบสองใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 120 จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ. มาตรา 582 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง และระเบียบของโจทก์ฉบับที่ 2 เรื่อง การลา อันเป็นกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับแก่การบอกเลิกสัญญาจ้างในกรณีทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5978/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ปล่อยเงินกู้นอกระบบในบริษัท แม้มิเจตนาแก่นายจ้าง แต่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งและสร้างความเสียหาย
หลังจากจำเลยมีคำสั่งห้ามไม่ให้ปล่อยเงินกู้นอกระบบในบริษัทจำเลยแล้ว โจทก์ยังฝ่าฝืนปล่อยเงินกู้นอกระบบให้ลูกจ้างของจำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 10 ต่อเดือน อันเป็นการกระทำความผิดอาญาตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ ซึ่งแม้จะมิใช่เป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง แต่ก็เป็นการกระทำความผิดอาญาในระหว่างการทำงาน ทั้งยังเป็นการเอาเปรียบและสร้างความเดือดร้อนให้แก่เพื่อนร่วมงานซึ่งเป็นผู้ใช้แรงงานส่งผลกระทบต่อกำลังใจในการทำงาน ย่อมทำให้กิจการของจำเลยได้รับความเสียหาย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยในกรณีร้ายแรง และเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4777/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงห้ามแข่งขันหลังพ้นสภาพการจ้าง: การแข่งขันต้องอยู่ในขอบเขตธุรกิจเดียวกันและพื้นที่ดำเนินการใกล้เคียง
โจทก์ประกอบธุรกิจ ผลิต นำเข้า ขายและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการบริการบนเครื่องบิน โจทก์และจำเลยทำสัญญาจ้างข้อ 11 กำหนดว่าในกรณีที่สัญญาจ้างสิ้นสุดเนื่องจากการลาออกของลูกจ้าง ลูกจ้างตกลงว่าภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ลาออกลูกจ้างจะไม่เข้าร่วมทำงานในบริษัทหรือกิจการอื่นใดที่เป็นการแข่งขันโดยทางตรงหรือทางอ้อมกับบริษัทโจทก์ ต่อมาจำเลยลาออกจากบริษัทโจทก์และไปทำงานที่เมืองฮ่องกงกับบริษัท ด. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของโจทก์และประกอบกิจการเช่นเดียวกับโจทก์ ครั้นต่อมาอีกเดือนเศษจำเลยได้ลาออกจากบริษัท ด. และเข้าทำงานกับบริษัท ว. ซึ่งประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกวัสดุเกี่ยวกับบริการด้านอาหารที่เมืองฮ่องกงภายใน 1 ปี นับแต่จำเลยลาออกจากบริษัทโจทก์ ดังนี้ ตามสัญญาจ้างข้อ 11 มิได้กำหนดพื้นที่กำหนดแต่ระยะเวลาห้าม และการกระทำที่ห้ามคือการเข้าทำงานในบริษัทอื่นที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสายการบินแข่งขันกับโจกท์ เมื่อปรากฏว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และโจทก์ไม่มีสาขาหรือประกอบธุรกิจอยู่ที่เมืองฮ่องกง แม้บริษัท ด. ซึ่งประกอบธุรกิจที่อยู่ที่เมืองฮ่องกงจะเป็นบริษัทในเครือของโจทก์ บริษัทดังกล่าวก็เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์เป็นเอกเทศ ถือไม่ได้ว่าธุรกิจของบริษัท ด. เป็นธุรกิจของโจทก์ และไม่ปรากฏว่าบริษัท ด. ประกอบธุรกิจโดยนำผลิตภัณฑ์ของโจทก์ไปจำหน่ายแม้จะมีผู้ประกอบธุรกิจแข่งขันกับบริษัท ด. ก็ไม่มีผลกระทบถึงธุรกิจของโจทก์ การที่จำเลยเข้าทำงานกับบริษัท ว. ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่ที่เมืองฮ่องกงจึงไม่เป็นการเข้าทำงานในบริษัทอื่นที่เป็นการแข่งขันกับธุรกิจของโจทก์ การกระของจำเลยไม่เป็นการผิดข้อตกลงตามสัญญาจ้าง ข้อ 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4777/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงห้ามแข่งขันต้องระบุขอบเขตพื้นที่ชัดเจน หากมิได้ระบุถือว่าไม่คุ้มครองการแข่งขันในต่างประเทศ
สัญญาจ้าง ข้อ 11 ที่จำเลยตกลงทำสัญญากับโจทก์ว่า ภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยจะไม่ไปทำงานกับบริษัทซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้ากับโจทก์หรือกระทำการใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในลักษณะที่เป็นการแข่งขันกับธุรกิจการค้าของโจทก์ ข้อห้ามดังกล่าวมิได้กำหนดพื้นที่ กำหนดแต่ระยะเวลาห้ามและการกระทำที่ห้ามซึ่งในคดีนี้คือการเข้าทำงานในบริษัทอื่นที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสายการบินแข่งขันกับโจทก์ เมื่อโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีสาขาหรือประกอบธุรกิจอยู่ที่เมืองฮ่องกง แม้บริษัท ด. ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่ที่เมืองฮ่องกง จะเป็นบริษัทในเครือของโจทก์ บริษัทดังกล่าวก็เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากโจทก์เป็นเอกเทศ ถือไม่ได้ว่าธุรกิจของบริษัท ด. เป็นธุรกิจของโจทก์และไม่ปรากฏว่าบริษัท ด. ประกอบธุรกิจโดยนำผลิตภัณฑ์ของโจทก์ไปจำหน่าย แม้จะมีผู้ประกอบธุรกิจแข่งขันกับบริษัท ด. ก็ไม่มีผลกระทบถึงธุรกิจของโจทก์ การที่จำเลยเข้าทำงานกับบริษัท ว. ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่ที่เมืองฮ่องกง จึงไม่เป็นการเข้าทำงานในบริษัทอื่นที่เป็นการแข่งขันกับธุรกิจของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์ต้องอยู่ในประเด็นที่ท้ากัน, การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุชอบด้วยกฎหมาย
คู่ความท้ากันให้ศาลแรงงานวินิจฉัยเฉพาะข้อบังคับของการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ว่าจำเลยมีอำนาจลงโทษโจทก์ตามข้อบังคับดังกล่าวหรือไม่ และศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานและต้องแพ้คดีโจทก์ไปตามคำท้า ดังนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานได้แม้โจทก์จะพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไปแล้วก็ดี จำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานด้วยเกษียณอายุเพราะสำคัญผิดก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือคำท้าทั้งสิ้น จึงเป็นอุทธรณ์ในเรื่องนอกประเด็น ถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ มิได้สั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ข้อ 6 ทวิ การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง สัญญาจ้างแรงงานจึงสิ้นสุดทันที และการแสดงเจตนาเลิกสัญญานี้ไม่อาจถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ประกอบกับข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ก็มิได้ให้อำนาจจำเลยที่จะสั่งลงโทษไล่ออกแก่ผู้ที่พ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานไปแล้วได้ จำเลยจึงไม่อาจสั่งลงโทษโจทก์ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานของจำเลยไปแล้วให้ออกจากงานได้
จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ มิได้สั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ข้อ 6 ทวิ การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง สัญญาจ้างแรงงานจึงสิ้นสุดทันที และการแสดงเจตนาเลิกสัญญานี้ไม่อาจถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ประกอบกับข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ก็มิได้ให้อำนาจจำเลยที่จะสั่งลงโทษไล่ออกแก่ผู้ที่พ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานไปแล้วได้ จำเลยจึงไม่อาจสั่งลงโทษโจทก์ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานของจำเลยไปแล้วให้ออกจากงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุ ไม่สามารถนำข้อบังคับมาลงโทษไล่ออกได้ ศาลยืนตามคำท้า
โจทก์และจำเลยท้ากันให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเฉพาะข้อบังคับของการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ว่าจำเลยมีอำนาจลงโทษโจทก์หรือไม่ ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานตามข้อบังคับและต้องแพ้คดีโจทก์ไปตามคำท้า ดังนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานได้แม้โจทก์จะพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐไปแล้ว เพราะโจทก์ต้องอยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงการราชการ พ.ศ.2518 ก็ดี ที่ว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานด้วยเหตุเกษียณอายุเป็นเพราะจำเลยไม่ทราบว่า โจทก์ถูกคณะกรรมการ ป.ป.ป. สอบสวน จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์เพราะสำคัญผิดก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือคำท้าทั้งสิ้น ถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ มิได้สั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ข้อ 6 ทวิ การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง สัญญาจ้างแรงงานจึงสิ้นสุดทันที และการแสดงเจตนาเลิกสัญญานี้ไม่อาจถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ประกอบกับข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ก็มิได้ให้อำนาจจำเลยที่จะสั่งลงโทษไล่ออกแก่ผู้ที่พ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานไปแล้วได้ จำเลยจึงไม่อาจสั่งลงโทษโจทก์ซึ่งพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยไปแล้วให้ออกจากงานได้
จำเลยแพ้คดีตามคำท้าและค่าเสียหายเป็นเงินที่โจทก์เรียกร้องมาในคำฟ้อง ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าเสียหายตามคำฟ้องของโจทก์ได้
จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุ มิได้สั่งให้โจทก์ออกจากงานไว้ก่อนเพื่อรอผลการสอบสวนพิจารณาตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ข้อ 6 ทวิ การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้าง สัญญาจ้างแรงงานจึงสิ้นสุดทันที และการแสดงเจตนาเลิกสัญญานี้ไม่อาจถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง ประกอบกับข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ก็มิได้ให้อำนาจจำเลยที่จะสั่งลงโทษไล่ออกแก่ผู้ที่พ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานไปแล้วได้ จำเลยจึงไม่อาจสั่งลงโทษโจทก์ซึ่งพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยไปแล้วให้ออกจากงานได้
จำเลยแพ้คดีตามคำท้าและค่าเสียหายเป็นเงินที่โจทก์เรียกร้องมาในคำฟ้อง ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินค่าเสียหายตามคำฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุญาโตตุลาการ: ข้อตกลงระงับข้อพิพาทเฉพาะสิทธิจากสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ครอบคลุมคดีค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ข้อตกลงที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีข้อความเพียงว่า "ข้อโต้แย้งซึ่งไม่สามารถยุติลงได้ด้วยการประนีประนอมระหว่างคู่สัญญาให้ได้รับการชี้ขาดและยุติโดยศาลอนุญาโตตุลาการของเดนมาร์ก" ไม่ได้ระบุแยกแยะข้อโต้แย้งที่จะให้ระงับโดยศาลอนุญาโตตุลาการของเดนมาร์กไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ประสงค์จะให้มีการระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยวิธีอนุญาโตตุลาการเฉพาะข้อโต้แย้งที่เกิดจากสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น คดีนี้เป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสองจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามที่ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 และ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 บัญญัติไว้ ไม่ใช่การฟ้องเกี่ยวกับสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงไม่ใช่ข้อโต้แย้งตามข้อตกลงเรื่องอนุญาโตตุลาการในสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงนำคดีมาสู่ศาลได้โดยไม่ต้องเสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตข้อตกลงอนุญาโตตุลาการในสัญญาจ้าง: สิทธิจากกฎหมายแรงงานไม่ต้องเสนออนุญาโตตุลาการ
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ข้อ 12 มีข้อความเพียงว่า "ข้อโต้แย้งซึ่งไม่สามารถยุติลงได้ด้วยการประนีประนอมระหว่างคู่สัญญาให้ได้รับการชี้ขาดและยุติโดยศาลอนุญาโตตุลาการของเดนมาร์ก" ซึ่งไม่ได้ระบุแยกแยะข้อโต้แย้งที่จะให้ระงับโดยศาลอนุญาโตตุลาการของเดนมาร์กไว้ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ประสงค์จะให้มีการระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยวิธีอนุญาโตตุลาการเฉพาะข้อโต้แย้งที่เกิดจากสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 และ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ไม่ใช่การฟ้องเกี่ยวกับสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงมิใช่ข้อโต้แย้งตามข้อตกลงเรื่องอนุญาโตตุลาการในสัญญาจ้างแรงงานดังกล่าว โจทก์จึงนำคดีมาสู่ศาลได้โดยไม่ต้องเสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดก่อน