พบผลลัพธ์ทั้งหมด 908 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2991-2992/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ศาลสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้ไม่ใช่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุดแต่ศาลแรงงานกลางก็ได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือบกพร่องต่อหน้าที่ตามข้อกล่าวหาที่จำเลยอ้างเป็นเหตุแห่งการออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ เมื่อคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางยังมิได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรือให้งดเสีย จึงมีผลผูกพันจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 จึงต้องถือว่ากรณีปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างในระหว่างพักงานให้แก่โจทก์ ตามข้อบังคับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยระเบียบพนักงาน พ.ศ.2517 ข้อ 52 (1)
ส่วนที่จำเลยทั้งสิบห้าอุทธรณ์ว่า ลูกจ้างที่จะได้รับการคุ้มครองจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 จะต้องเป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ มีความสัมพันธ์กันภายใต้ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ไม่ใช่นายจ้างลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จึงไม่อาจนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 มาใช้บังคับได้ และกรณีที่จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามมาตราดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างว่าลูกจ้างกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (1) ถึง (5) ข้อใดข้อหนึ่ง แต่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ไม่ได้เลิกจ้างโดยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำความผิดดังกล่าวจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ได้ เห็นว่า พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 บัญญัติว่า "การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นกลับเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทน..." บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้างเพื่อมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม โดยให้อำนาจศาลแรงงานที่พิจารณาคดีเลิกจ้างมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างแทนการรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานทุกคดี รวมทั้งคดีที่นายจ้างเป็นรัฐวิสาหกิจ มิได้จำกัดอยู่เฉพาะแต่คดีที่นายจ้างเป็นเอกชนหรือคู่กรณีเป็นนายจ้างลูกจ้างกันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ เท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิด ขอให้บังคับจำเลยทั้งสิบห้ารับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้เงินต่าง ๆ เป็นคดีที่ต้องพิจารณาในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ศาลแรงงานกลางจึงนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 มาใช้บังคับได้ และการที่จะพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้าง หรือเหตุอื่น ที่ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้ ส่วนการเลิกจ้างที่นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยจะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 46 (1) ถึง (6) ข้อใดข้อหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังที่จำเลยอ้างเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้าง จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควร อันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สำหรับคดีสำนวนแรกซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่สั่งพักงานโจทก์ และให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏในคดีสำนวนหลังว่าโจทก์มีอายุพ้นเกณฑ์ที่จะเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงไม่อาจให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมต่อไปได้ และศาลแรงงานกลางได้พิพากษากำหนดจำนวนค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 12 ถึงที่ 15 ชดใช้แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานครอบคลุมถึงความเสียหายของโจทก์ตั้งแต่วันที่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 สั่งพักงานจนถึงวันเลิกจ้างด้วยแล้ว จึงไม่จำต้องพิจารณาว่าคำสั่งพักงานของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งที่ชอบหรือไม่ มีเหตุที่จะเพิกถอนและให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางหรือไม่ เพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่โจกท์ ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ชอบที่จะให้จำหน่ายคดีสำนวนแรกเสีย
ส่วนที่จำเลยทั้งสิบห้าอุทธรณ์ว่า ลูกจ้างที่จะได้รับการคุ้มครองจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 จะต้องเป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ มีความสัมพันธ์กันภายใต้ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ไม่ใช่นายจ้างลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จึงไม่อาจนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 มาใช้บังคับได้ และกรณีที่จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามมาตราดังกล่าว จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างว่าลูกจ้างกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (1) ถึง (5) ข้อใดข้อหนึ่ง แต่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ไม่ได้เลิกจ้างโดยอ้างเหตุว่าโจทก์กระทำความผิดดังกล่าวจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ได้ เห็นว่า พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 บัญญัติว่า "การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นกลับเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทน..." บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้างเพื่อมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม โดยให้อำนาจศาลแรงงานที่พิจารณาคดีเลิกจ้างมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างแทนการรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานทุกคดี รวมทั้งคดีที่นายจ้างเป็นรัฐวิสาหกิจ มิได้จำกัดอยู่เฉพาะแต่คดีที่นายจ้างเป็นเอกชนหรือคู่กรณีเป็นนายจ้างลูกจ้างกันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ เท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิด ขอให้บังคับจำเลยทั้งสิบห้ารับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้เงินต่าง ๆ เป็นคดีที่ต้องพิจารณาในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ศาลแรงงานกลางจึงนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 มาใช้บังคับได้ และการที่จะพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้าง หรือเหตุอื่น ที่ไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างก็ได้ ส่วนการเลิกจ้างที่นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยจะต้องปรากฏว่าลูกจ้างได้กระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 46 (1) ถึง (6) ข้อใดข้อหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดหรือบกพร่องต่อหน้าที่ดังที่จำเลยอ้างเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้าง จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุสมควร อันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สำหรับคดีสำนวนแรกซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่สั่งพักงานโจทก์ และให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏในคดีสำนวนหลังว่าโจทก์มีอายุพ้นเกณฑ์ที่จะเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงไม่อาจให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมต่อไปได้ และศาลแรงงานกลางได้พิพากษากำหนดจำนวนค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 12 ถึงที่ 15 ชดใช้แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงานครอบคลุมถึงความเสียหายของโจทก์ตั้งแต่วันที่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 สั่งพักงานจนถึงวันเลิกจ้างด้วยแล้ว จึงไม่จำต้องพิจารณาว่าคำสั่งพักงานของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งที่ชอบหรือไม่ มีเหตุที่จะเพิกถอนและให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางหรือไม่ เพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่โจกท์ ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ชอบที่จะให้จำหน่ายคดีสำนวนแรกเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และฐานคำนวณค่าจ้าง รวมถึงเงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจ้างกันไว้ 4 ฉบับ กำหนดระยะเวลาจ้างติดต่อกัน สัญญาจ้างแต่ละฉบับกำหนดเงินเดือนค่าจ้างของโจทก์ไว้เป็นเงินบาท แต่สัญญาฉบับแรกมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับเงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน เพิ่งจะมีขึ้นในฉบับที่ 2 ถึงฉบับที่ 4 ความว่า เงินเดือนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ต้องมีการปรับยอดประจำเดือนทุกเดือนในวันที่ 25 ของแต่ละเดือนเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลบาทและสกุลเหรียญสหรัฐ โดยให้นำเงินเดือนของโจทก์ร้อยละ 50 ซึ่งถือว่ามีอัตราแลกเปลี่ยน 29 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐมาปรับยอดตามอัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราซื้อขายกลาง เงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยนที่โจทก์จะได้รับในแต่ละเดือนจึงไม่ครอบคลุมถึงเงินเดือนของโจทก์ทั้งหมด และมีจำนวนไม่แน่นอนผันแปรไปตามอัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราซื้อขายกลางในวันที่มีการปรับยอด เดือนใดที่อัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราซื้อขายกลางมีค่าเท่ากับหรือน้อยกว่า 29 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐโจทก์ก็จะไม่ได้รับเงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยน เงินชดเชยอัตราแลกเปลี่ยนจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติ ส่วนเงินค่าเช่าบ้านแม้จะเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ทุกเดือนมีจำนวนแน่นอนและจ่ายโดยไม่มีเงื่อนไข แต่จำเลยก็จ่ายให้แก่ลูกจ้างของจำเลยที่เป็นชาวต่างประเทศต้องเดินทางมาทำงานในประเทศไทย ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงสถานที่พักอาศัยไปจากที่เคยอยู่เดิมเช่นเดียวกับโจทก์ทุกคน อันเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่จำเลยจัดให้แก่ลูกจ้างที่เป็นชาวต่างประเทศเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงานไม่ใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานตามปกติเช่นกัน และการจ่ายเงินทั้งสองประเภทดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการหลีกเลี่ยงการจ่ายค้าจ้าง จึงไม่ใช่ค่าจ้าง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายเงินอื่นที่โจทก์มีสิทธิได้รับไปแล้วเมื่อจำเลยเลิกจ้าง แม้ในที่สุดศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยว่าไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างก็มีเหตุที่จำเลยจะเข้าใจว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง เพราะเมื่อจำเลยได้ทราบจากการชี้แนะของศาลในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยก็ได้นำค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายมาวางไว้ต่อศาลและขอให้โจทก์รับไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร อันจะทำให้จำเลยต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคสอง
การพิจารณาว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ โดยไม่คำนึงว่านายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ ไม่ว่าสิทธินั้นจะเป็นสิทธิที่เกิดจากบทบัญญัติของกฎหมายหรือข้อตกลงในสัญญาจ้าง ปรากฏตามหนังสือเลิกจ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยหมดความจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนในการควบคุมดูแลโครงการก่อสร้างและออกแบบโครงสร้างใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกส่วนเหนือช่วงห้วยขวางถึงบางซื่ออย่างที่จำเลยดำเนินการอยู่ในปี 2545 ต่อไปแล้ว ในปี 2546 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุดังกล่าวแม้จะมีอยู่จริงก็ไม่เป็นเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ เพราะโครงการก่อสร้างและออกแบบโครงสร้างใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกส่วนเหนือช่วงห้วยขวางถึงบางซื่อที่จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งผู้จัดการพาณิชย์แล้ว จำเลยยังรับจ้างการประปานครหลวงก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำจากโรงงานผลิตน้ำบางเขนถึงถนนงามวงศ์วานและประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยอยู่ด้วย จำเลยจึงยังมีงานอื่นที่จะให้โจทก์ทำต่อไป เมื่อไม่ปรากฏว่างานดังกล่าวเป็นงานที่โจทก์ไม่สามารถจะทำได้จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จำเลยจะต้องเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายเงินอื่นที่โจทก์มีสิทธิได้รับไปแล้วเมื่อจำเลยเลิกจ้าง แม้ในที่สุดศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยว่าไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างก็มีเหตุที่จำเลยจะเข้าใจว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง เพราะเมื่อจำเลยได้ทราบจากการชี้แนะของศาลในระหว่างการพิจารณาคดี จำเลยก็ได้นำค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายมาวางไว้ต่อศาลและขอให้โจทก์รับไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร อันจะทำให้จำเลยต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคสอง
การพิจารณาว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นเหตุให้นายจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาที่เหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ โดยไม่คำนึงว่านายจ้างมีสิทธิที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ ไม่ว่าสิทธินั้นจะเป็นสิทธิที่เกิดจากบทบัญญัติของกฎหมายหรือข้อตกลงในสัญญาจ้าง ปรากฏตามหนังสือเลิกจ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยหมดความจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนในการควบคุมดูแลโครงการก่อสร้างและออกแบบโครงสร้างใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกส่วนเหนือช่วงห้วยขวางถึงบางซื่ออย่างที่จำเลยดำเนินการอยู่ในปี 2545 ต่อไปแล้ว ในปี 2546 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ เหตุดังกล่าวแม้จะมีอยู่จริงก็ไม่เป็นเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ เพราะโครงการก่อสร้างและออกแบบโครงสร้างใต้ดินตามโครงการรถไฟฟ้ามหานครระยะแรกส่วนเหนือช่วงห้วยขวางถึงบางซื่อที่จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งผู้จัดการพาณิชย์แล้ว จำเลยยังรับจ้างการประปานครหลวงก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำจากโรงงานผลิตน้ำบางเขนถึงถนนงามวงศ์วานและประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทยอยู่ด้วย จำเลยจึงยังมีงานอื่นที่จะให้โจทก์ทำต่อไป เมื่อไม่ปรากฏว่างานดังกล่าวเป็นงานที่โจทก์ไม่สามารถจะทำได้จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จำเลยจะต้องเลิกจ้างโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างก่อสร้าง การผ่อนปรนค่าปรับ และการมีส่วนทำให้เกิดความเสียหายจากความล่าช้า
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ ข้อ 138 ที่โจทก์อ้างเป็นเหตุผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาระบุว่า หากจำนวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง ให้ส่วนราชการพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จำเป็น ร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างเป็นเงิน 370,000 บาท สัญญากำหนดค่าปรับตามสัญญาไว้วันละ 3,700 บาท จึงเท่ากับค่าปรับจำนวน 100 วัน เท่านั้น ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ผ่อนปรนให้ถึง 190 วัน เพราะจำเลยที่ 1 เคยยินยอมให้ปรับได้มาก่อนแล้ว ทั้งที่จำเลยที่ 1 ทิ้งงานไปเนิ่นนานแล้วมิใช่จำเลยที่ 1 กำลังดำเนินการก่อสร้างแต่ไม่อาจแล้วเสร็จได้ทันตามสัญญา จึงไม่มีเหตุให้โจทก์ต้องผ่อนปรนให้ถึง 190 วัน การที่โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาเสียภายในเวลาอันสมควร แต่ปล่อยปละละเลยไว้จนค่าปรับมีจำนวนสูงเกินสมควรเช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควร เพราะโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายนั้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 223
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเลิกจ้างเนื่องจากตั้งครรภ์ขัด กม.คุ้มครองแรงงาน ค่าชั่วโมงบินเป็นค่าจ้างคำนวณค่าชดเชยได้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปอย่างเป็นธรรมและคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ถูกเอาเปรียบเป็นกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ส. ตามสัญญาจ้างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ข้อ 6.1 ที่กำหนดว่า ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันเริ่มสัญญา หาก ส. ตั้งครรภ์ให้ถือว่า ส. ได้บอกเลิกสัญญานั้น มีข้อความต่อไปอีกด้วยว่า โดยให้สัญญาสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่แพทย์วินิจฉัยหรือเมื่อเห็นได้ชัดว่า ส. ตั้งครรภ์ ข้อตกลงข้อ 6.1 จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้างเพราะ ส. มีครรภ์ อันขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 43 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
การปฏิบัติงานบนเครื่องบินเป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติของ ส. แม้ค่าชั่วโมงบินที่ ส. ได้รับในแต่ละเดือนจะมีจำนวนไม่แน่นอนและไม่เท่ากัน แต่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างก็จ่ายค่าชั่วโมงบินให้แก่ ส. เมื่อมีการปฏิบัติงานบนเครื่องบินในแต่ละเดือนทุกเดือน ตามอัตราที่คำนวณจากเวลาที่ได้ปฏิบัติงานบนเครื่องบิน ค่าชั่วโมงบินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ ส. เป็นการตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายชั่วโมงของวันทำงาน จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
ข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ส. ตามสัญญาจ้างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ข้อ 6.1 ที่กำหนดว่า ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันเริ่มสัญญา หาก ส. ตั้งครรภ์ให้ถือว่า ส. ได้บอกเลิกสัญญานั้น มีข้อความต่อไปอีกด้วยว่า โดยให้สัญญาสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่แพทย์วินิจฉัยหรือเมื่อเห็นได้ชัดว่า ส. ตั้งครรภ์ ข้อตกลงข้อ 6.1 จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้างเพราะ ส. มีครรภ์ อันขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 43 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
การปฏิบัติงานบนเครื่องบินเป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติของ ส. แม้ค่าชั่วโมงบินที่ ส. ได้รับในแต่ละเดือนจะมีจำนวนไม่แน่นอนและไม่เท่ากัน แต่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างก็จ่ายค่าชั่วโมงบินให้แก่ ส. เมื่อมีการปฏิบัติงานบนเครื่องบินในแต่ละเดือนทุกเดือน ตามอัตราที่คำนวณจากเวลาที่ได้ปฏิบัติงานบนเครื่องบิน ค่าชั่วโมงบินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ ส. เป็นการตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติเป็นรายชั่วโมงของวันทำงาน จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเลิกจ้างเพราะตั้งครรภ์เป็นโมฆะ ค่าชั่วโมงบินเป็นค่าจ้าง
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ส. ตามสัญญาจ้างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ว่าภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันเริ่มสัญญา หาก ส. ตั้งครรภ์ให้ถือว่า ส. ได้บอกเลิกสัญญานี้แล้ว เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้าง เพราะ ส. มีครรภ์ อันขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 43 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
การปฏิบัติงานบนเครื่องบินเป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติของ ส. แม้ค่าชั่วโมงบินที่ ส. ได้รับในแต่ละเดือนจะมีจำนวนไม่แน่นอนและไม่เท่ากันแต่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างก็จ่ายค่าชั่วโมงบินให้แก่ ส. เมื่อมีการปฏิบัติงานบนเครื่องบินในแต่ละเดือนทุกเดือน ตามอัตราที่คำนวณจากเวลาที่ได้ปฏิบัติงานบนเครื่องบิน ค่าชั่วโมงบินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ ส. เป็นการตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมงของวันทำงาน จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
การปฏิบัติงานบนเครื่องบินเป็นการทำงานในเวลาทำงานปกติของ ส. แม้ค่าชั่วโมงบินที่ ส. ได้รับในแต่ละเดือนจะมีจำนวนไม่แน่นอนและไม่เท่ากันแต่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างก็จ่ายค่าชั่วโมงบินให้แก่ ส. เมื่อมีการปฏิบัติงานบนเครื่องบินในแต่ละเดือนทุกเดือน ตามอัตราที่คำนวณจากเวลาที่ได้ปฏิบัติงานบนเครื่องบิน ค่าชั่วโมงบินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ ส. เป็นการตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมงของวันทำงาน จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: ศาลฎีกาตัดสินว่าการประนีประนอมยอมความไม่ครอบคลุมคดีเดิมที่ศาลตัดสินว่าฟ้องเคลือบคลุม จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนเป็นคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่านายหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าโล่ที่จำเลยสัญญาว่าจะมอบให้ และค่าปรับเงินเดือนเพิ่มพร้อมทั้งออกหนังสือรับรองเกี่ยวกับการทำงานให้โจทก์ ระหว่างการพิจารณาศาลแรงงานกลางได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่าคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม คงพิจารณาคดีต่อไปเฉพาะประเด็นเรื่องค่าโล่และค่าปรับเงินเดือนเพิ่ม จึงเป็นการยกคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปแล้ว เมื่อไม่มีการอุทธรณ์คัดค้าน ข้อพิพาทในเรื่องค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์ฟ้องในคดีแพ่งดังกล่าว จึงเป็นอันยุติเพราะฟ้องเคลือบคลุม ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดีข้อพิพาทเรื่องค่านายหน้าจึงมิได้อยู่ในกระบวนพิจารณาในคดีแพ่งดังกล่าวต่อไปแล้วการที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในเวลาต่อมา โดยจำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ 36,000 บาท ซึ่งน้อยกว่าค่าโล่และค่าปรับเงินเดือนเพิ่มที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเป็นเงิน 5,000 บาท และ 66,000 บาท รวมกันโดยไม่ระบุเป็นค่าอะไร และไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าการประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทในเรื่องค่านายหน้าที่ศาลยกฟ้องเพราะฟ้องเคลือบคลุมไปแล้วด้วยแต่อย่างใด แม้ศาลแรงงานกลางและพิพากษาตามยอมไปแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องค่านายหน้าระหว่างโจทก์จำเลยไปแล้ว จึงไม่ต้องห้ามไม่ให้โจทก์นำค่านายหน้ามาฟ้องเป็นคดีนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: การยกฟ้องเนื่องจากฟ้องเคลือบคลุม ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ทำให้ฟ้องใหม่ได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่านายหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าโล่ที่จำเลยสัญญาว่าจะมอบให้ และค่าปรับเงินเดือนเพิ่ม พร้อมทั้งออกหนังสือรับรองเกี่ยวกับการทำงานให้โจทก์ ระหว่างการพิจารณาจำเลยขอให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม คงพิจารณาคดีต่อไปเฉพาะประเด็นเรื่องค่าโล่และค่าปรับเงินเดือนเพิ่ม อันเป็นการยกคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการอุทธรณ์คัดค้าน ข้อพิพาทในเรื่องค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเป็นอันยุติเพราะฟ้องเคลือบคลุมซึ่งเป็นกรณีที่ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี และไม่ได้อยู่ในกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวต่อไปแล้ว การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในเวลาต่อมา โดยจำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ 36,000 บาท ซึ่งน้อยกว่าค่าโล่และค่าปรับเงินเดือนเพิ่มที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงิน 5,000 บาท และ 66,000 บาท รวมกันโดยไม่ระบุว่าค่าอะไร และไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าการประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทในเรื่องค่านายหน้าที่ศาลยกฟ้องเพราะฟ้องเคลือบคลุมไปแล้วด้วยแต่อย่างใด แม้ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาตามยอมไปแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องค่านายหน้าระหว่างโจทก์จำเลยไปแล้ว จึงไม่ต้องห้ามไม่ให้โจทก์นำค่านายหน้ามาฟ้องเป็นคดีนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลความเสียหายจากการลาป่วยต่อเนื่องและการหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นว่า ม. ไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์แทนจำเลย ทั้งจำเลยยังให้การรับในคำให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ไม่อาจยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
โจทก์เป็นหัวหน้าพนักงานขายต้องควบคุมดูแลพนักงานขายในการจำหน่ายสินค้าเพื่อหารายได้ให้แก่จำเลย แต่กลับลาป่วยทั้งเดือนไม่ได้มาทำงานเลยย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ถือว่าโจทก์หย่อนสมรรถภาพในการทำงานการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์
โจทก์เป็นหัวหน้าพนักงานขายต้องควบคุมดูแลพนักงานขายในการจำหน่ายสินค้าเพื่อหารายได้ให้แก่จำเลย แต่กลับลาป่วยทั้งเดือนไม่ได้มาทำงานเลยย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ถือว่าโจทก์หย่อนสมรรถภาพในการทำงานการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับพยานหลักฐานและการบังคับใช้สัญญาค้ำประกันในคดีแรงงาน
แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารรายงานการเก็บเงินจากต่างจังหวัดเป็นพยาน แต่โจทก์นำเอกสารดังกล่าวเข้าสืบประกอบคำเบิกความของพยานโจทก์ และศาลแรงงานกลางยอมให้โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าวและรับไว้เป็นพยาน ถือเป็นพยานที่ศาลแรงงานกลางเรียกมาสืบเพื่อความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดี ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
เมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จะนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอน แก้ไขข้อความในเอกสารนั้นไม่ได้ แต่สำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงิน มิใช่พยานหลักฐานที่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีเอกสารมาแสดง จึงไม่ต้องห้ามที่จะนำพยานบุคคลมานำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร และการที่โจทก์เบิกความรับว่าสำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงินไม่มีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้า แม้จะเบิกความว่าตามปกติต้องมีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าอยู่ในสำเนา ก็ไม่ได้นำสืบว่ามีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าในเอกสาร จึงมิใช่การนำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร ไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)
สัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า "ผู้ค้ำประกันขอทำสัญญาฉบับนี้ไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการค้ำประกันในความเสียหาย หรือความผิดใดที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นไม่ว่าโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายหรือต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่บุคคล นิติบุคคลอื่น ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต" แม้ช่องว่างที่เว้นไว้หลังข้อความว่า ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ จะไม่ได้เขียนข้อความว่า โจทก์ แต่เมื่ออ่านข้อความตอนต้นว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เพื่อความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมหมายความได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ชำระค่าเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
เมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จะนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอน แก้ไขข้อความในเอกสารนั้นไม่ได้ แต่สำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงิน มิใช่พยานหลักฐานที่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีเอกสารมาแสดง จึงไม่ต้องห้ามที่จะนำพยานบุคคลมานำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร และการที่โจทก์เบิกความรับว่าสำเนาใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงินไม่มีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้า แม้จะเบิกความว่าตามปกติต้องมีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าอยู่ในสำเนา ก็ไม่ได้นำสืบว่ามีลายมือชื่อผู้ส่งสินค้าในเอกสาร จึงมิใช่การนำสืบแก้ไข เพิ่มเติมข้อความในเอกสาร ไม่เป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)
สัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า "ผู้ค้ำประกันขอทำสัญญาฉบับนี้ไว้ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการค้ำประกันในความเสียหาย หรือความผิดใดที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นไม่ว่าโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายหรือต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดแก่บุคคล นิติบุคคลอื่น ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต" แม้ช่องว่างที่เว้นไว้หลังข้อความว่า ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ จะไม่ได้เขียนข้อความว่า โจทก์ แต่เมื่ออ่านข้อความตอนต้นว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เพื่อความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมหมายความได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ชำระค่าเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8768/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบและรับเงินจากตัวแทนบัตรเครดิต ศาลฎีกาวินิจฉัยเหตุเลิกจ้างสมควร
โจทก์เป็นลูกจ้างฝ่ายบัตรเครดิตของจำเลย มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่พิจารณาสินเชื่อ มีหน้าที่พิจารณาอนุมัติวงเงินให้แก่ผู้สมัครบัตรเครดิต การที่โจทก์พิจารณาอนุมัติบัตรเครดิตให้แก่ผู้สมัคร โดยได้อนุมัติก่อนที่จะมีการดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติงานของฝ่ายอนุมัติบัตร และไม่ได้ตรวจสอบสถานะของผู้สมัครและเอกสารของผู้สมัครว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องหรือไม่ เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แต่โจทก์ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของ ธ. กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยและ ศ. ผู้จัดการซึ่งเป็นหัวหน้าของโจทก์ จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยในกรณีไม่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้ตักเตือนโจทก์ก่อนเป็นหนังสือ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 แต่การที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยดังกล่าว เป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย