คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิทยา บุญชู

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 908 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการทำงาน ไม่ใช่ค่าจ้าง การย้ายงานไม่ถือเป็นการลดค่าจ้าง การเลิกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนคำสั่งชอบธรรม
เดิมจำเลยจ่ายเงินค่ารับรองลูกค้า ค่าน้ำมันพาหนะ และค่าโทรศัพท์ให้แก่ลูกจ้างในแผนกขายซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วยตามยอดเงินในใบเสร็จรับเงินที่ขอเบิก ต่อมาจำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำตามอัตราที่แน่นอนทุกเดือนโดยไม่ต้องมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงอีก แสดงว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์ในการจ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำงาน ไม่ได้จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของโจทก์โดยตรง การเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินเป็นไม่ต้องนำใบเสร็จรับเงินมาแสดงอีก เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงวิธีการจ่ายเงินให้สะดวกในการบริหารจัดการเท่านั้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของการจ่ายเงิน เงินนั้นจึงไม่ใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 การที่จำเลยย้ายโจทก์จากตำแหน่งผู้จัดการเขตการขายไปเป็นผู้จัดการประสานงานขายเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยลดค่าจ้างโจทก์
จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานในตำแหน่งผู้จัดการประสานงานขาย แต่โจทก์ไม่ยอมไปทำงาน ยังคงทำงานในตำแหน่งผู้จัดการเขตการขายตามเดิม ต่อมาจำเลยมีหนังสือเตือนแล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและกระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19494-19500/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างหลังเล่นการพนันนอกเวลางาน แม้มีผลกระทบชื่อเสียง แต่ไม่ถึงขั้นร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์รวม 7 คน สวมชุดพนักงานของจำเลยเล่นการพนันหลังจากเลิกงาน ณ สถานที่ภายนอกที่ทำการของจำเลย แล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม แม้การกระทำดังกล่าวมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของจำเลยอยู่บ้าง แต่ผู้เสื่อมเสียจากการกระทำนั้นโดยตรงคือโจทก์รวม 7 คน นั่นเอง ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13579/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการปรับขึ้นค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีสำหรับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ: กรณีลูกจ้างลาออกก่อนวันประกาศใช้ข้อบังคับ
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์มีมติเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2547 เห็นชอบให้ปรับค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจโดยแบ่งรัฐวิสาหกิจออกเป็น 3 กลุ่ม จำเลยอยู่ในกลุ่มที่ 3 คือรัฐวิสาหกิจที่ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือนค่าจ้างของพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 2) ตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2537 การปรับอัตราค่าจ้างให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป วันที่ 3 พฤศจิกายน 2547 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือระบุว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ปรับค่าจ้างตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป วันที่ 1 ธันวาคม 2547 โจทก์ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 จำเลยออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2548 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548 จำเลยออกคำสั่งปรับเงินเดือนพนักงานและลูกจ้างตามข้อบังคับดังกล่าว
ข้อบังคับว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2548 ข้อ 2 ระบุว่า "ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนพนักงาน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับองค์การตลาดว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับนี้แทน" และบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายข้อบังคับฉบับนี้ระบุว่าเป็น "บัญชีอัตราเงินเดือนของพนักงานและลูกจ้างประจำองค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย" หมายความว่าผู้ที่ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายข้อบังคับฉบับนี้ (บัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่) ต้องเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยอยู่ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 ที่ข้อบังคับและบัญชีอัตราเงินเดือนดังกล่าวประกาศใช้ ส่วนที่มีข้อความระบุในข้อ 3 ว่า "ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป" นั้น มีความหมายว่าผู้ที่ยังคงเป็นพนักงานและลูกจ้างของจำเลยได้รับตัวเงินตามบัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่นับย้อนไปถึงวันที่ 1 เมษายน 2547 ไม่มีข้อความให้จำเลยจ่ายเงินเดือนในอัตราตามบัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่ให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นพนักงานของจำเลยแล้วย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 เมษายน 2547 ด้วย
โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยในวันที่ 1 ธันวาคม 2547 ไม่ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนพนักงาน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับองค์การตลาดว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 (บัญชีอัตราเงินเดือนเดิม) นับแต่วันพ้นจากการเป็นพนักงาน จึงไม่ใช่พนักงานผู้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนพนักงาน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับองค์การตลาดว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 (บัญชีอัตราเงินเดือนเดิม) ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2547 แล้ว ไม่ใช่ผู้เป็นพนักงานของจำเลย ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 ที่บัญชีอัตราเงินเดือนเดิมถูกยกเลิกไปตามข้อบังคับว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2548 โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับองค์การตลาดว่าด้วยการจัดระเบียบริหารงาน พ.ศ.2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2548 (บัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8712/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมผู้ค้ำประกัน: ยอดหนี้ฟ้องชอบแล้ว แม้มีการชำระหนี้จากหลักประกัน ยึดถือหนี้เดิมที่จำเลยต้องรับผิดชอบ
มูลหนี้ที่บริษัท ง. ฟ้อง ป. กับมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ในฐานะที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของ ป. โดยจำเลยตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น เป็นมูลหนี้อันเดียวกันและไม่อาจแบ่งแยกกันได้ การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยระบุยอดหนี้ชัดเจนและแน่นอน โดยคิดถึงวันฟ้องตามมูลหนี้ที่แท้จริงที่ ป. ลูกหนี้ชั้นต้นจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการถูกต้องแล้ว แม้หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วโจทก์จะได้รับการชำระหนี้จากหลักประกันของ ป. ผู้กู้อันเป็นลูกหนี้ชั้นต้นหรือไม่และเป็นจำนวนเท่าใด ก็ไม่มีผลทำให้ยอดหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์จนถึงวันฟ้องเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบแล้ว เมื่อจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง จึงต้องฟังว่าจำเลยยังค้างชำระหนี้ตามฟ้องจริง โดยโจทก์ไม่จำเป็นต้องนำสืบถึงจำนวนเงินที่ได้รับชำระหนี้หลังจากฟ้องเป็นคดีนี้แล้ว เพราะเป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี การบังคับชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นในคดีที่ ป. ผู้กู้ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นถูกฟ้อง และในคดีที่จำเลยถูกฟ้องในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเช่นนี้เป็นขั้นตอนการปฏิบัติในการบังคับคดี
ดอกเบี้ยที่โจทก์ขอมาในอัตราร้อยละ 24 ต่อปี ป. ผู้กู้ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นต้องรับผิดในส่วนของดอกเบี้ยตามสัญญากู้เพียงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาค้ำประกัน จึงหาต้องรับผิดต่อโจทก์ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงไปกว่าที่ลูกหนี้ชั้นต้นจะต้องชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6533-6534/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าเป็นค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การเลิกจ้างต้องมีเหตุสมควร
เดิมจำเลยมีข้อตกลงจ่ายค่านายหน้าจากการขายให้โจทก์ทั้งสองในอัตราร้อยละ 1 จากยอดเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้า จึงเป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างและโจทก์ทั้งสองผู้เป็นลูกจ้างตกลงกันให้จ่ายค่านายหน้าเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณจากผลงานที่โจทก์ทั้งสองทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ต่อมาจำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่านายหน้าใหม่โดยกำหนดอัตราค่านายหน้าตามระยะเวลาที่ลูกค้าชำระค่าสินค้า และกำหนดให้โจทก์ที่ 2 ได้รับค่านายหน้าเมื่อมียอดขายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ แม้จำเลยอ้างว่ากำหนดขึ้นเพื่อจูงใจให้พนักงานทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายหรือติดตามทวงถามหนี้ค่าสินค้าของลูกค้าก็ตาม แต่การทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายหรือการติดตามทวงถามหนี้ค่าสินค้าจากลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งของงานในความรับผิดชอบของพนักงานขาย ค่านายหน้าที่จำเลยต้องจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่นี้จึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณจากผลงานที่โจทก์ทั้งสองทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานนั่นเอง ค่านายหน้าตามข้อตกลงเดิมและตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6301/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับมอบหมายจัดการมรดก แม้มิใช่ทายาท: ผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713
แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นทายาทของผู้ตาย แต่การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกย่อมทำให้ผู้ร้องมีหน้าที่ที่จะต้องทำการอันจำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก และอาจต้องรับผิดต่อทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 และ 1720 จึงถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20513-20657/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับอัตราค่าจ้างตามมติ ครม. การคิดดอกเบี้ยผิดนัด และการสืบพยานหลังการเปลี่ยนแปลงตัวผู้รับมอบอำนาจ
คำฟ้องของโจทก์ทั้งหมดบรรยายว่า โจทก์ทั้งหมดมีสิทธิได้รับการปรับอัตราค่าจ้างและได้รับบำเหน็จในส่วนที่ขาดตามมติคณะรัฐมนตรีและบันทึกข้อตกลงซึ่งเป็นสภาพแห่งข้อหา โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีและบันทึกข้อตกลงนั้น ส่วนที่โจทก์แต่ละคนได้รับเงินเดือนในแต่ละปีจำนวนเท่าใด ถ้ามีการปรับค่าจ้างจะต้องใช้อัตราเงินเดือนใดในการคำนวณ และโจทก์แต่ละคนจะได้รับเงินตามฟ้องจำนวนเท่าใดนั้น เมื่อโจทก์ทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลย จำเลยย่อมมีข้อมูลเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี ทั้งเป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบพิสูจน์กันในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลางได้ คำฟ้องของโจทก์ทั้งหมดได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 แล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ทั้งหมดฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงโดยการปรับอัตราค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งจำเลยได้ปฏิบัติมาโดยตลอด เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อจำเลยยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างของโจทก์ทั้งหมดตามมติคณะรัฐมนตรี เงินที่โจทก์ทั้งหมดฟ้องให้จำเลยปรับอัตราค่าจ้างจึงยังไม่มีสภาพเป็นค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
องค์การค้าของคุรุสภาโอนไปเป็นองค์การค้าของจำเลยตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มาตรา 83 (1) องค์การค้าจึงเป็นหน่วยงานภายในส่วนหนึ่งของจำเลย มาตรา 82 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าหน้าที่และพนักงานที่โอนไปเป็นของจำเลยได้รับตำแหน่ง เงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่าที่ได้รับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ ทั้งข้อบังคับคณะกรรมการของจำเลยว่าด้วยการบริหารสำนักงาน พ.ศ.2547 ข้อ 31 (9) กำหนดให้โอนบรรดาส่วนงาน กิจการ เงิน ทรัพย์สิน หนี้ อัตรากำลังพนักงานเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ (องค์การค้าของคุรุสภา) ให้ไปเป็นขององค์การค้าของจำเลย ข้อ 32 กำหนดว่าบทบัญญัติของกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หนังสือสัญญา หรือสิ่งอื่นใดที่อ้างถึงองค์การค้าของคุรุสภาหรือศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ก่อนการใช้ข้อบังคับนี้ให้ถือว่าอ้างถึงองค์การค้าของจำเลย เมื่อองค์การค้าของคุรุสภาได้ให้สิทธิประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ของตนด้วยการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาครั้งที่ 15/2537 โดยปรับขึ้นค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีให้แก่เจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของคุรุสภาตลอดมา การปฏิบัติดังกล่าวจึงเป็นสภาพการจ้างโดยปริยาย จำเลยย่อมจะต้องรับมาซึ่งสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว และโจทก์ทั้งหมดยังคงมีสิทธิในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยายตามมาตรา 82 วรรคสอง เจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลย การที่จำเลยปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานของจำเลยโดยไม่ปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่เจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของจำเลยตามที่เคยปฏิบัติสืบเนื่องกันมาย่อมไม่เป็นธรรมและไม่เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย
มติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจปรับค่าจ้างแก่ลูกจ้างมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ที่ยังมีสภาพเป็นลูกจ้างอยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีลงอนุมัติ หาใช่ให้ปรับค่าจ้างแก่ลูกจ้างที่พ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างไปแล้วในวันที่มติคณะรัฐมนตรีมีผลใช้บังคับไม่ การปรับค่าจ้างให้เจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของจำเลยซึ่งนำหลักการของมติคณะรัฐมนตรีมาปรับใช้ย่อมต้องเป็นไปตามหลักการนั้นด้วย ดังนั้นโจทก์ที่พ้นจากสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับอัตราค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่เพียงแต่พิพากษาให้จำเลยปรับขึ้นค่าจ้างและจ่ายบำเหน็จส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์แต่ละคนในแต่ละช่วงเวลาตามสิทธิ โดยให้เป็นไปตามหลักการตามมติคณะรัฐมนตรีแต่ละครั้ง และให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดสิทธิ จำเลยสามารถนำหลักการตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางไปเป็นหลักในการคิดคำนวณและดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ เมื่อคำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้กล่าวและแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยครบถ้วนจึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง แล้ว
การที่จำเลยทราบถึงความมรณะของโจทก์ที่ 119 แล้วยื่นคำคัดค้านแต่เพียงว่าทนายความโจทก์ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องและไม่รับรองความเป็นทนายของ อ. บุตรของโจทก์ที่ 119 โดยไม่ได้คัดค้านการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบของศาลแรงงานกลาง ทั้งยังคงเข้าทำหน้าที่ของตนในวันนัดสืบพยานจำเลยและพยานโจทก์ต่อเนื่องกันมา จนกระทั่งศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ อ. เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่ 119 ได้ จำเลยจึงยื่นคำร้องคัดค้านว่าศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 42 เป็นกรณีที่จำเลยทราบถึงกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ แล้วยังคงดำเนินการในหน้าที่ของตนต่อไป เท่ากับจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นแล้ว จึงไม่อาจยกกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวมาเป็นเหตุอ้างว่าคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางในส่วนของโจทก์ที่ 119 ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
เงินที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิที่จะได้รับอันเนื่องมาจากการปรับอัตราค่าจ้างตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย เงินนั้นยังไม่มีสภาพเป็นค่าจ้าง มิใช่ค่าจ้างที่จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แต่เป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินที่ได้จากการปรับอัตราค่าจ้างและเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดในวันใด จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้องของโจทก์แต่ละคน ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18949/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงานต้องเป็นไปเพื่อกิจกรรมของสหภาพฯ ที่ลูกจ้างสังกัดเท่านั้น
การที่ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 102 หมายถึงการลาไปร่วมประชุมในเรื่องเกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นและเป็นสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างสังกัดอยู่เท่านั้น
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ระบุว่าจำเลยให้กรรมการสหภาพแรงงานและสมาชิกลาไปเพื่อดำเนินกิจการสหภาพแรงงานได้ตามที่หน่วยราชการมีหนังสือขอความร่วมมือโดยไม่ถือเป็นวันลานั้น ไม่ได้ให้สิทธิโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานอาร์ทอพอินเตอร์เนชั่นแนลนอกเหนือไปจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 102 การลาไปร่วมประชุมที่จะไม่ถือเป็นวันลาจึงหมายความถึงการลาไปร่วมประชุมในเรื่องที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นและเป็นสหภาพแรงงานอาร์ทอพอินเตอร์เนชั่นแนลที่โจทก์สังกัดอยู่เท่านั้น การที่โจทก์ลาไปร่วมประชุมเรื่องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยควรมีสาระสำคัญอย่างไร และลาไปร่วมสัมมนาทางวิชาการรวมพลังส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่ใช่การประชุมในเรื่องเกี่ยวกับสหภาพแรงงานอาร์ทอพอินเตอร์เนชั่นแนลที่โจทก์สังกัดอยู่ ไม่ใช่การลาที่ไม่ถือเป็นวันลาตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17259/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ใช่ลูกหนี้ส่วนตัว การฟ้องให้เพิกถอนคำวินิจฉัยจึงเป็นการฟ้องในฐานะคณะกรรมการ
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 เป็นคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมแต่งตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 31 มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 32 (5) ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 52
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 เป็นการฟ้องในฐานะที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 เป็นคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ใช่ฟ้องให้ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสามเป็นการส่วนตัว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 จึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินทดแทนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16802/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้ค่าจ้างกับหนี้ที่ยอมรับตามหนังสือรับสภาพหนี้ แม้ค่าจ้างน้อยกว่าจำนวนหนี้
โจทก์ยอมรับว่าได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่จำเลยจริงและยินยอมชดใช้หนี้นั้น หนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้แล้ว เมื่อค่าจ้างที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยมีจำนวนน้อยกว่าค่าเสียหายตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยจึงมีสิทธินำค่าจ้างที่ต้องชำระแก่โจทก์มาหักกับหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยเป็นเจ้าหนี้โจทก์ได้
of 91