คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิทยา บุญชู

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 908 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำซ้อนในความผิดเดียวกัน ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
โจทก์นำการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นการกระทำเดียวกันมาแยกฟ้องเป็น 2 คดี โดยแยกผู้เสียหายออกเป็น 2 กุล่ม กลุ่มละคดี เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในการกระทำของจำเลยดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดที่โจทก์ได้ฟ้องไว้ในคดีหนึ่งไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในคดีนี้ย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5911/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการลูกจ้างเข้าประกันสังคมตามกฎหมายประกันสังคม
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ลูกจ้างซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์เป็นผู้ประกันตน และมาตรา 34 บัญญัติให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ยื่นแบบรายการแสดงรายชื่อผู้ประกันตน อัตราค่าจ้าง และข้อความอื่นตามแบบที่เลขาธิการกำหนดต่อสำนักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ลูกจ้างนั้นเป็นผู้ประกันตน เมื่อจำเลยเป็นนายจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องยื่นแบบรายการแสดงรายชื่อโจทก์ อัตราค่าจ้าง และข้อความอื่นตามที่มาตรา 34 บัญญัติไว้ การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันจะพึงมีในฐานะเป็นผู้ประกันตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5291/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้บัญชีเรียกเก็บเงินเป็นของกรรมการ, เช็คลงวันที่แล้วสมบูรณ์
จำเลยออกเช็คพิพาทมอบแก่บริษัทโจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อเช็คถึงกำหนดแม้โจทก์จะนำเข้าบัญชี ส.กรรมการผู้จัดการโจทก์ โดยโจทก์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่ ส. โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน กรณีเพียงการนำเช็คพิพาทเข้าเรียกเก็บเงินโดยอาศัยบัญชีของ ส. เท่านั้น โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้ และไม่ว่าโจทก์จำนะเช็คพิพาทเข้าบัญชีโจทก์เองหรือเข้าบัญชีของ ส. เพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็นเพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ไม่ใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญอันจะทำให้การเป็นผู้เสียหายของโจทก์ไม่สมบูรณ์
เดิมจำเลยออกเช็คพิพาทโดยยังไม่ลงวันที่เพื่อค้ำประกัน ในกรณีที่สะสางจำนวนเงินกับลูกค้าให้เรียบร้อยได้แล้วโจทก์จะไม่นำเช็คเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ต่อมาโจทก์ได้นำเช็คพิพาทไปให้จำเลยลงวันที่ อันเป็นการรับรองว่าจำนวนเงินที่ระบุในเช็คเป็นมูลหนี้จำนวนแน่นอนและเจตนาชำระหนี้นั้นด้วยเช็คพิพาทแล้ว จึงไม่ใช่เช็คค้ำประกัน แม้มีการชำระหนี้ไปแล้วบางส่วนก็ไม่ได้ทำให้เช็คพิพาทที่สมบูรณ์อยู่แล้วไม่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในคดีเลิกจ้าง: สั่งให้รับกลับทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้มิได้มีคำขอ
บทบัญญัติ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ที่ห้ามศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นบทบัญญัติที่ใช้ในคดีแรงงานกรณีทั่วไป แต่บทบัญญัติในมาตรา 49 เป็นกรณีให้อำนาจศาลแรงงานเป็นพิเศษเฉพาะคดีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง โดยหากศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานจะสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานก็ได้ แต่หากเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานจะกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้แทนก็ได้ โดยให้ศาลแรงงานพิพากษาไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางพิจารณาว่านายจ้างกับลูกจ้างจะทำงานร่วมกันต่อไปได้หรือไม่ บทบัญญัติในมาตรานี้เห็นได้ว่า ศาลแรงงานไม่จำต้องมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ แม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน คงขอค่าเสียหายจากการเลิกจ้างมาเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังสามารถทำงานร่วมกันได้ ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแทนได้ กรณีกลับกันแม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ คงขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แทนได้เช่นกัน ที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มิได้กระทำผิดวินัยใด ๆ มาก่อน ทั้งจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงเห็นสมควรให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไป แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอให้รับโจทก์เข้าทำงาน ก็เป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยมาตรา 49 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: จำเลยต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลตามกฎหมาย
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีแรงงานได้ต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 คำว่า "คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ฯลฯ และคำว่าบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ดังนั้นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเท่านั้นที่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้ สำหรับนิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น องค์กรต่าง ๆ แม้ประกอบไปด้วยบุคคลหลายคนหากมิได้เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นแล้ว แม้บุคคลในองค์กรเหล่านั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ผู้ที่ได้รับความเสียจากบุคคลในองค์กรเหล่านั้นก็ไม่อาจฟ้ององค์กรเหล่านั้นได้ แต่ชอบที่จะฟ้องบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้โดยตรง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลได้รับไว้ เมื่อศาลแรงงานกลางตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นนิติบุคคลอันจะทำให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่าจำเลยที่ 1 อาจเข้าเป็นคู่ความหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยได้ ก็ชอบที่จะให้โจทก์เสนอหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำฟ้องของโจทก์ได้เพราะเป็นการตรวจสอบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ หากจำเลยที่ 1 มิได้เป็นนิติบุคคล ศาลแรงงานกลางก็ไม่อาจรับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 ไว้ได้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นในชั้นตรวจรับคำฟ้อง มิใช่ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจตรวจสอบแต่เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ที่ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแรงงานต้องระบุคู่ความที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเท่านั้น ศาลมีอำนาจตรวจสอบคุณสมบัติคู่ความ
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีแรงงานต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 คำว่า "คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และคำว่าบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งบุคคลดังกล่าวเท่านั้นที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยได้ องค์กรต่างๆ หากมิได้เป็นนิติบุคคล แม้บุคคลในองค์กรนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้ที่ได้รับความเสียหายก็ไม่สามารถฟ้ององค์กรนั้นได้ แต่ชอบจะฟ้องบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรง ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะตรวจคำคู่ความที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลรับไว้ เมื่อศาลแรงงานกลางตรวจคำฟ้องโจทก์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ปรากฏว่าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายใด ศาลแรงงานกลางก็ชอบที่จะให้โจทก์เสนอหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล เพื่อประกอบการพิจารณาสั่งคำฟ้อง เพราะเป็นการตรวจสอบอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งหากจำเลยที่ 1 มิได้เป็นนิติบุคคล ศาลแรงงานกลางก็ไม่อาจรับคำฟ้องในส่วนจำเลยที่ 1 ไว้ได้ เมื่อชั้นตรวจคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเห็นว่าไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่าเป็นนิติบุคคล โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นนิติบุคคล แต่มิได้อ้างว่าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศฉบับใด ที่อ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นองค์กรที่ประเทศไทยรู้จักและกฎหมายไทยรับรองให้องค์กรนี้เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย มีข้อตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับรัฐบาลแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 2 ได้รับยกเว้นบรรดารัษฎากรและสามารถออกหนังสือเดินทางให้แก่คนชาติตนได้ ก็เป็นเพียงเรื่องที่รัฐบาลไทยปฏิบัติต่อคณะบุคคลขององค์กรเหล่านี้เท่านั้น มิใช่เหตุผลที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ ศาลแรงงานกลางไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าชดเชย: พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 บังคับใช้โดยตรง ไม่ต้องอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยทั่วไป
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ได้กำหนดให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยของจำนวนเงิน ค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำอัตราดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ กรณีจึงไม่ใช่ ไม่มีกฎหมายเปิดช่องให้จ่ายดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าชดเชยแรงงาน: ศาลยืนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน อัตรา 15% ต่อปี แม้โจทก์มิได้ขอ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำอัตราดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับไม่ได้ ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยร้อยละ 15 ต่อปี โดยโจทก์มิได้ขอมาในฟ้อง จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4790/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตจากการทำงาน แม้ไม่อยู่ในรายการโรคที่กำหนดไว้ แต่เกิดจากความเหนื่อยล้าจากการทำงาน
ตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง กำหนดชนิดของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2539 แม้โรคต่าง ๆ ที่กำหนดไว้รายการแรก ๆ จะมีลักษณะของโรคที่เกิดจากสารเคมีเป็นพิษเป็นโรคที่เกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือโรคซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานก็ตาม แต่โรคในรายการที่ 23 ที่ว่า โรคจากความร้อน รายการที่ 24 โรคจากความเย็น รายการที่ 25 โรคจากความสั่นสะเทือน และรายการที่ 26 โรคจากความกดดันอากาศ แสดงให้เห็นว่าโรคที่ประกาศกำหนดมิได้มุ่งถึงสารเคมีที่มีพิษเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงโรคหรือการเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงานด้วย โดยเฉพาะในรายการที่ 32 อันเป็นโรครายการสุดท้ายที่ว่า โรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน ยิ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าโรคหรือความเจ็บป่วยในรายการนี้ไม่ได้มุ่งเน้นถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหรือความเจ็บป่วยเลย แต่มุ่งเน้นว่าโรคหรือความเจ็บป่วยนั้นต้องเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานเท่านั้น เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยปฏิบัติงานให้จำเลยจนเกิดความเหนื่อยล้าและถึงแก่ความตายเนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดด้วยความเหนื่อยล้าดังกล่าว จึงเป็นโรคอื่นซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงานตามรายการที่ 32 อันเป็นการเจ็บป่วยตามคำจำกัดความคำว่า "เจ็บป่วย" ตามระเบียบของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 3 จำเลยจึงต้องจ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นภรรยาและบุตรผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4732/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกษียณอายุและการเลิกจ้าง: ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแม้ใช้สิทธิเกษียณอายุเอง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ในหัวข้อเรื่องการเกษียณอายุนั้น เมื่อพิจารณาประกอบกันจะเห็นได้ว่า โจทก์แยกลูกจ้างเป็น 2 ประเภท โดยลูกจ้างประเภทที่ 2 โจทก์จะให้เกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปี ซึ่งการจะให้ลูกจ้างเกษียณอายุไปหรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของโจทก์ฝ่ายเดียว ส่วนลูกจ้างประเภทที่ 1 แม้อายุครบ 60 ปีแล้ว การจะให้ลูกจ้างเกษียณอายุไปหรือไม่มิได้ขึ้นอยู่กับโจทก์ แต่ขึ้นอยู่กับลูกจ้าง ดังนั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างให้ลูกจ้างไม่ว่าลูกจ้างประเภทที่ 1 หรือลูกจ้างประเภทที่ 2 เกษียณอายุ เป็นกรณีที่โจทก์ไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้เนื่องจากการเกษียณอายุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง และแม้จะเป็นกรณีที่ลูกจ้างประเภทที่ 1 ใช้สิทธิเกษียณอายุตนเองโดยโจทก์มอบสิทธิดังกล่าวให้ลูกจ้างประเภทที่ 1 เป็นผู้พิจารณาเองก็ยังเป็นเรื่องที่โจทก์เลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุนั่นเอง หาใช่เป็นเรื่องลูกจ้างขอลาออกในกรณีปกติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ไม่ การที่ ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างประเภทที่ 1 ซึ่งมีอายุ 63 ปีแล้ว ไม่มีความประสงค์จะทำงานให้โจทก์อีกต่อไป ขอใช้สิทธิเกษียณอายุตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์เลิกจ้าง ส. เมื่อ ส. ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี ขึ้นไป โจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ส. ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (5) คำสั่งของจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานที่ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยส่วนที่ขาดจำนวน 545,000 บาท จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
of 91