คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิทยา บุญชู

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 908 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยาเสพติด, การร่วมกระทำความผิด, และการพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำผิด
จำเลยที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นสามีภริยากันนำสิบตำรวจโท อ. เจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการล่อซื้อ เดินทางไปติดต่อซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 1 ที่บ้านจำเลยที่ 1 ด้วยกัน จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ซุกซ่อนอยู่ในรถยนต์กระบะออกมาให้สิบตำรวจโท อ. ดู แล้วจำเลยที่ 2 ขอยืมรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 1 ขับพาจำเลยที่ 4 และสิบตำรวจโท อ. ไปตลาดนิคมเพื่อรับเงินที่ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางด้วยกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 4 เป็นการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 แล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งนักการภารโรงสถานีตำรวจภูธร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จำเลยที่ 1 จึงมิใช่พนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 จึงไม่อาจปรับบทมาตราดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4180/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดข่มขืนโดยใช้อาวุธ: ความแตกต่างของวิธีการข่มขู่บังคับและการใช้กำลังประทุษร้าย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 277 สองกรรม ความผิดกรรมแรกโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขู่บังคับผู้เสียหายมิให้ขัดขืน แล้วได้ใช้กำลังประทุษร้ายโดยการใช้กำปั้นชกบริเวณหน้าท้องของผู้เสียหายหลายครั้ง จนผู้เสียหายอยู่ภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แล้วจำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่ ซึ่งไม่ปรากฏว่าจำเลยขู่บังคับผู้เสียหายมิให้ขัดขืนก่อนลงมือกระทำชำเราด้วยวิธีใช้อาวุธ ส่วนความผิดกรรมที่สองโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขู่เข็ญว่าจะใช้มีดพร้าที่จำเลยมีติดตัวเป็นอาวุธฟันทำร้ายผู้เสียหายให้ถึงแก่ความตายหากผู้เสียหายไม่ยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา แล้วจำเลยได้ขู่เข็ญบังคับให้ผู้เสียหายนอนลงกับพื้นและกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่ การกระทำความผิดสองกรรมจึงต่างกัน ความผิดกรรมแรกจำเลยเพียงใช้กำลังประทุษร้ายให้ผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แตกต่างจากความผิดกรรมที่สองที่จำเลยขู่เข็ญผู้เสียหายด้วยว่าจะใช้อาวุธมีดพร้าฟันทำร้าย ซึ่งทำให้ผู้เสียหายเกรงกลัวจนต้องยินยอมให้จำเลยกระทำชำเราและอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ โดยจำเลยไม่ต้องใช้กำลังประทุษร้ายอีกแต่อย่างใด ความผิดกรรมแรกจึงไม่ใช่การกระทำโดยใช้อาวุธ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4057/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: การตีความขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันต้องเคร่งครัดตามสัญญา
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความให้ผู้ค้ำประกันรับผิดจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด จะตีความไปในทางขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกันให้เกินเลยไปกว่าข้อความที่ปรากฏชัดแจ้งในสัญญาค้ำประกันไม่ได้ จำเลยเข้าทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ภ. วันใดย่อมหมายถึงจำเลยยอมค้ำประกันการทำงานของ ภ. นับแต่วันที่ทำสัญญาค้ำประกันนั้นเป็นต้นไป มิใช่หมายความถึงยอมค้ำประกันหนี้ที่ ภ. เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้วก่อนหน้าวันที่จำเลยตกลงยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกัน หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยรับผิดในหนี้ที่ ภ. ก่อให้เกิดขึ้นก่อนหน้าวันที่จำเลยเข้าเป็นผู้ค้ำประกันก็ต้องระบุไว้ให้ชัดเจน เมื่อสัญญาค้ำประกันไม่มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับผิดในหนี้ที่ ภ. ก่อให้เกิดขึ้นแล้วก่อนวันทำสัญญา แต่หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้ที่ ภ. ก่อให้เกิดขึ้นก่อนวันที่จำเลยเข้าเป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันความเสียหาย: การตีความคำว่า 'กรณีใดๆ' และขอบเขตความรับผิดชอบจากเหตุสุดวิสัย
ข้อความในสัญญาประกันความเสียหายที่ว่า หากโจทก์ทำความเสียหายให้แก่จำเลยไม่ว่ากรณีใด ๆ โจทก์ยินดีให้จำเลยหักเงินประกันความเสียหาย คำว่า กรณีใด ๆ ย่อมหมายความถึงกรณีที่โจทก์ทำความเสียหายให้แก่จำเลยโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของโจทก์ แต่เกิดจากเหตุสุดวิสัย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิได้เกิดจากการกระทำของโจทก์ จะให้โจทก์รับผิดโดยอาศัยข้อสัญญาดังกล่าวไม่ได้ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อสัญญาที่ให้โจทก์รับผิดในความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยด้วยใช้บังคับได้หรือไม่ เพราะสัญญามิได้ระบุเช่นนั้น ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินค่าเสียหายที่หักไปชอบแล้ว
ส่วนที่โจทก์แก้อุทธรณ์ว่า หลังจากศาลแรงงานกลางพิพากษาแล้ว จำเลยยังหักเงินของโจทก์ต่อไปอีกจำนวน 890 บาท รวมเป็นเงินที่หักไป 5,770 บาท ขอให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยด้วยนั้น เงินจำนวน 890 บาท จำเลยเพิ่งหักไปหลังจากศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาแล้ว ดังนั้น ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนและการเรียกร้องเอาเงินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง โจทก์ต้องทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ยื่นขึ้นมา จะขอมาในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันทึกรับเงินค่าจ้างค้างชำระ ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยยังคงมี
บันทึกระหว่างโจทก์จำเลย เพียงแต่ระบุว่าจำเลยไม่ได้จ่ายเงินค่าจ้างที่จำเลยหักไว้หรือค่าจ้างค้างชำระจำนวน 126,000 บาท ให้โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ชำระค่าซื้อรถจำนวน 27,984 บาท ให้จำเลยแล้วเท่านั้น มิได้มีข้อความกล่าวถึงการระงับข้อพิพาทในเรื่องค่าจ้างค้างชำระระหว่างโจทก์จำเลยแต่อย่างใด ทั้งไม่อาจแปลข้อความให้เป็นเช่นนั้นได้ บันทึกดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างค้างชำระ ไม่มีผลทำให้สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยในเงินค่าจ้างค้างชำระของโจทก์ระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3572-3583/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมโทษจำคุกหลายกระทงตาม ป.อ.มาตรา 91 ต้องพิจารณาอัตราโทษสูงสุดของความผิดที่ลงโทษจริง ไม่ใช่โทษที่ศาลใช้ดุลพินิจ
กรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (1) หมายความถึงอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่ลงโทษจำเลย มิใช่โทษจำคุกที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดในการลงโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี โทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีนี้จึงเกินกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี กรณีเป็นไปตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) แม้ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกจำเลยเพียงกระทงละ 3 ปี ก็ไม่ทำให้เป็นกรณีตามบทบัญญัติมาตรา 91 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3572-3583/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการรวมโทษจำคุกหลายกระทงตาม ป.อ. มาตรา 91 กรณีอัตราโทษจำคุกสูงเกิน 3 ปี
บทบัญญัติที่ว่า กรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (1) หมายความถึง อัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่ลงโทษจำเลย หาใช่โทษจำคุกที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดในการลงโทษไม่ คดีนี้ศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 91 ตรี ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 10 ปี โทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีนี้จึงเกินกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี กรณีเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 91 (2) แม้ศาลจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกจำเลยเพียงกระทงละ 3 ปี ก็หาทำให้เป็นกรณีตามบทบัญญัติมาตรา 91 (1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3572-3583/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมโทษจำคุกหลายกระทงตาม ป.อ. มาตรา 91 ต้องพิจารณาอัตราโทษจำคุกสูงสุดตามกฎหมาย ไม่ใช่โทษที่ศาลใช้ดุลยพินิจ
บทบัญญัติตาม ป.อ. มาตรา 91 (1) ที่ว่า กรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี นั้น หมายความถึงอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่ลงโทษจำเลย หาใช่โทษจำคุกที่ศาลใช้ดุลยพินิจกำหนดในการลงโทษไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามความผิดซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี โทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีนี้จึงเกินกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี กรณีต้องเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 91 (2) แม้ศาลจะใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษจำคุกจำเลยเพียงกระทงละ 3 ปี ก็หาทำให้เป็นกรณีตามบทบัญญัติมาตรา 91 (1) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3276/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จากการซื้อขายที่ดินโดยไม่จดทะเบียน
สัญญาซื้อขายระบุว่า ผู้ร้องขอซื้อที่ดินพิพาทจาก ส. ทำถนนเข้าบ้านกว้าง 5 เมตร ยาวตลอดแนว ในราคา 35,000 บาท ไม่ได้ระบุว่าผู้ร้องกับ ส. จะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทประกอบกับผู้ร้องได้ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่ ส. รับไปครบถ้วนแล้วในวันทำสัญญา หลังจากนั้น ส. วัดเนื้อที่ที่ดินพิพาทส่งมอบให้ผู้ร้องทำถนนใช้เป็นทางเข้าออกตลอดมา เป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าทั้งฝ่ายผู้ร้องและ ส. ไม่มีเจตนาจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก แต่การที่ผู้ร้องเข้าครอบครองใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกเป็นการครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ มิใช่เป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทน ส. ตามสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อครอบครองมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060-3064/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเลื่อนขั้นเงินเดือนของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจต้องเป็นไปตามข้อบังคับขององค์กร ไม่สามารถอ้างสิทธิจากหนังสือเวียนของกระทรวงการคลัง
หนังสือกระทรวงการคลัง เรื่อง มาตรการปรับลดอัตราเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2544 เป็นเพียงการผ่อนปรนจำนวนเงินปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดร้อยละ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรีให้กับรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาจำนวนวงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดไม่เพียงพอที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือนค่าจ้างแก่พนักงานผู้มีสิทธิเลื่อนขั้นคนละ 1 ขั้น เนื่องจากรัฐวิสาหกิจไม่มีข้อบังคับ/คำสั่งกำหนดความดีความชอบเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขึ้นหรือมีระเบียบแต่จำนวนเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดไม่เพียงพอเท่านั้น ส่วนการจะปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนให้พนักงานคนใดบ้างเป็นเรื่องที่รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งต้องไปพิจารณาเองตามระเบียบของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ หนังสือกระทรวงการคลังดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการผ่อนปรนให้ปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นไปก่อนแล้วจ่ายเพิ่มหรือปรับให้ภายหลัง จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิใดแก่โจทก์ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับการปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือไม่ เพียงใด ย่อมต้องเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลย
of 91