คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิทยา บุญชู

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 908 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับตัวแทนรับจำนองที่ดิน แม้ไม่มีหลักฐานหนังสือก็ทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนรับจำนองที่ดิน และโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยเปลี่ยนชื่อผู้รับจำนองมาเป็นชื่อโจทก์อันเป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้โดยไม่ขัดต่อมาตรา 798

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับจำนองในฐานะตัวแทน: การฟ้องบังคับให้เปลี่ยนชื่อผู้รับจำนอง แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ให้จำเลยรับจำนองที่ดิน โดยโจทก์เป็นผู้เก็บรักษาหนังสือสัญญาจำนองไว้และจำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่กรอกข้อความให้ไว้ต่อโจทก์เพื่อให้โจทก์สามารถไถ่ถอนจำนองได้เอง แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยรับจำนองที่ดินในฐานะตัวแทนของโจทก์เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยเปลี่ยนชื่อผู้รับจำนองมาเป็นชื่อโจทก์อันเป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้โดยไม่ขัดต่อมาตรา 798

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับตัวแทนรับจำนองที่ดิน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 810
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนรับจำนองที่ดินและโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยเปลี่ยนชื่อผู้รับจำนองมาเป็นชื่อโจทก์ อันเป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 798

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่ถือเป็นยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
บันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ มีใจความว่า จำเลยทั้งสองยินยอมผ่อนชำระต้นเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้และในคดีอื่น ๆ อีก 7 คดี เป็นต้นเงินรวม 15,633,063.59 บาท โดยตกลงผ่อนชำระเป็นงวด ๆ รวม 47 งวด พร้อมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คแต่ละฉบับโดยผ่อนชำระ 4 งวด และโจทก์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในแต่ละงวด หากจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามบันทึกนี้ครบถ้วนแล้ว โจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่น ๆ เป็นคดีไป แต่หากจำเลยทั้งสองผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง จำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีที่จำเลยทั้งสองยังไม่ชำระต้นเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ขึ้นพิจารณาคดีต่อไป ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในแต่ละคดีเท่านั้น โดยจำเลยทั้งสองจะต้องผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยในแต่ละคดีจนครบจำนวนที่ตกลงกัน โจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญาแต่ละคดีอันเป็นเงื่อนไขที่โจทก์จะปฏิบัติในภายหน้า และตามบันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ก็ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองทันทีแต่อย่างใด จึงไม่มีผลเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง หนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นย่อมไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปและพิพากษายกฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เห็นควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ก็เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาล เพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ กรณีจึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผ่อนชำระหนี้เช็ค ไม่ใช่การยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ในระหว่างการพิจารณาคดีโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ว่าจำเลยทั้งสองยินยอมผ่อนชำระต้นเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้และในคดีอื่นๆ อีก 7 คดี โดยตกลงผ่อนชำระเป็นงวดๆ รวม 47 งวด พร้อมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คแต่ละฉบับ โดยผ่อนชำระ 4 งวด และโจทก์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในแต่ละงวด หากจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามบันทึกนี้ครบถ้วนแล้วโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่นๆ เป็นคดีไป แต่หากจำเลยทั้งสองผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง จำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีที่จำเลยทั้งสองยังไม่ชำระต้นเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ขึ้นพิจารณาคดีต่อไป เป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในแต่ละคดีเท่านั้น โดยจำเลยทั้งสองจะต้องผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยในแต่ละคดีจนครบจำนวนตามที่ตกลงกันดังกล่าวโจทก์จึงจะถือว่าเป็นการระงับคดีอาญาแต่ละคดีอันเป็นเงื่อนไขที่โจทก์จะปฏิบัติในภายหน้า และตามบันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ฉบับดังกล่าวก็ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่า โจทก์ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองทันทีแต่อย่างใด จึงไม่มีผลเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าสิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปให้จำหน่ายคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์เห็นควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ก็เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ จึงเป็นการใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1977/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผ่อนชำระหนี้เช็ค ไม่เป็นการยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
บันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ตกลงว่า จำเลยทั้งสองยินยอมผ่อนชำระต้นเงินตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในคดีนี้และคดีอื่นๆ อีก 7 คดี เป็นต้นเงินรวม 15,677,063.59 บาท โดยผ่อนชำระเป็นงวด ๆ รวม 47 งวด พร้อมชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามเช็คแต่ละฉบับ โดยผ่อนชำระ 4 งวด และโจทก์จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในแต่ละงวด หากจำเลยทั้งสองปฏิบัติตามบันทึกนี้ครบถ้วนแล้วโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่นๆ เป็นคดีไป หากผิดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ยินยอมให้โจทก์แถลงต่อศาลเพื่อยกคดีที่จำเลยทั้งสองยังไม่ชำระต้นเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ขึ้นพิจารณาคดีต่อไป เป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องในแต่ละคดีเท่านั้นอันเป็นเงื่อนไขที่โจทก์จะปฏิบัติในภายหน้า และไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่า โจทก์ตกลงระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิ์ในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสองทันที จึงไม่มีผลเป็นการยอมความกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ทั้งจำเลยทั้งสองไม่ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ หนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้นั้นย่อมไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไปให้จำหน่ายคดีโดยยังมิได้วินิจฉัยฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำตามฟ้องหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นไปตามลำดับศาล แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ตาม เพราะผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองตามลำดับอาจนำไปสู่การกำจัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างระหว่างลาคลอดบุตร: นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้หากไม่ใช่เพราะเหตุมีครรภ์
แม้ในระหว่างการลาเพื่อคลอดบุตร ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงที่ใช้สิทธิลาเพื่อคลอดบุตรจะยังมีสถานะเป็นลูกจ้าง แต่ก็ไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานใดห้ามไม่ให้นายจ้างลูกจ้างนั้นในระหว่างการลาเพื่อคลอดบุตร คงมีเพียง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 43 ที่บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุโจทก์มีครรภ์ การบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยที่ 1 ที่กระทำในระหว่างที่โจทก์ลาคลอดบุตรจึงเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือเลิกจ้างหาใช่มีผลเมื่อวันลาคลอดบุตรของโจทก์สิ้นสุดลงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างหญิงมีครรภ์ การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และสิทธิโบนัส/วันหยุดพักผ่อน
ในระหว่างการลาเพื่อคลอดบุตร ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงที่ใช้สิทธิลาเพื่อคลอดบุตรยังมีสถานะเป็นลูกจ้าง แต่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานใดห้ามไม่ให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้นในระหว่างการลาเพื่อคลอดบุตร คงมีเพียง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 43 ที่บัญญัติว่า "ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์" แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุโจทก์มีครรภ์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา 43

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมพิจารณาฟ้องแย้งเรื่องค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อ กับฟ้องเดิมเรื่องเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินอื่นๆ จำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างเพราะโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และยังประมาทเลินเล่อทำให้เงินของจำเลยสูญหายไป จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และฟ้องแย้งเรียกเอาเงินจำนวนที่สูญหายไป เงินที่โจทก์เรียกร้องตามฟ้องแย้งจึงเป็นเงินที่โจทก์ทำสูญหายไปเพราะโจทก์ประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยในขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ซึ่งจำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินอื่น มิใช่เป็นการเรียกร้องเอาเงินอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของโจทก์ตามสัญญาจ้างเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ศาลแรงงานควรรับพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินอื่นๆ จำเลยให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง และยังประมาทเลินเล่อทำให้เงินของจำเลยสูญหายไป จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยค่าเสียหายและเงินอื่นแก่โจทก์ และฟ้องแย้งเรียกเอกเงินจำนวนที่สูญหายไปเนื่องจากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยอันเป็นการประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ดังนี้ เงินที่โจทก์เรียกร้องตามฟ้องแย้งจึงเป็นเงินที่โจทก์ทำสูญหายไปเพราะโจทก์ประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบของจำเลยในขณะที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ซึ่งจำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าเสียหายและเงินอื่นหาใช่เป็นการเรียกร้องเอาเงินอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของโจทก์ตามสัญญาจ้างเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
of 91