พบผลลัพธ์ทั้งหมด 908 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12199-12223/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างใหม่หลังเกษียณอายุ: สิทธิค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง
โจทก์ที่ 13 เกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยในวันที่ 31 ธันวาคม 2547 อันมีผลให้สัญญาจ้างแรงงานเดิมสิ้นสุดลงและมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเมื่อเกษียณอายุ การที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 13 ในวันที่ครบกำหนดเกษียณอายุ ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยถือว่าสัญญาจ้างแรงงานเดิมสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยตกลงจ้างโจทก์ที่ 13 ทำงานต่อไปอีก 1 ปี หลังจากครบเกษียณอายุจึงเป็นการทำสัญญาจ้างแรงงานขึ้นใหม่ มิใช่กรณีที่โจทก์ที่ 13 ทำงานกับจำเลยต่อเนื่องไม่ขาดตอนดังที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใด ภายหลังเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 13 โจทก์ที่ 13 จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11912/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: เบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้าง, การนับระยะเวลาทำงานต่อเนื่อง, การเลิกจ้างตามกำหนดสัญญา
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 นิยาม "ค่าจ้าง" หมายความว่า "เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น..." ซึ่งตามสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือระบุเรื่องค่าจ้างและการจ่ายค่าจ้างไว้ในข้อ 3 และระบุค่าเบี้ยเลี้ยงไว้ในข้อ 3.2 เพียงว่า ค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 140 บาท ซึ่งศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงให้โจทก์ที่ปฏิบัติงานบนเรือเป็นอัตราแน่นอนทุกเดือนระหว่างออกไปปฏิบัติงาน โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายเรือทำงานประจำบนเรือจะต้องปฏิบัติงานที่อื่นใดนอกจากบนเรือดังกล่าว เบี้ยเลี้ยงที่จำเลยจ่ายโจทก์จึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์เป็นรายเดือน การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้างเมื่อรวมกับเงินเดือนแล้วโจทก์จึงได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 84,200 บาท จึงชอบแล้ว
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเมื่อโจทก์และจำเลยมีเจตนาทำสัญญาจ้างคราวละ 6 เดือน การนับระยะเวลาทุกช่วงเข้าด้วยกันจึงมิชอบด้วยกฎหมายนั้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 20 บัญญัติว่า "การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกันโดยนายจ้างมีเจตนาที่จะไม่ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิใดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่านายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในหน้าที่ใด และการจ้างแต่ละช่วงมีระยะเวลาห่างกันเท่าใดก็ตามให้นับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น" ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์ทำงานตำแหน่งนายเรือตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2543 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2547 โดยทำสัญญาจ้างแรงงานช่วงเวลาละ 6 เดือนต่อเนื่องกันอีก 6 ช่วง ซึ่งการทำสัญญาจ้างแรงงานในลักษณะดังกล่าวทำให้โจทก์มีระยะเวลาการทำงานไม่ติดต่อกัน สิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้างก็จะได้ไม่เท่าสิทธิตามที่บัญญัติในมาตรา 118 จึงต้องนับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิในค่าชดเชยของโจทก์ตามมาตรา 20 การที่ศาลแรงงานกลางนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์ทุกช่วงเข้าด้วยกัน เห็นว่า โจทก์ทำงานกับจำเลยครบสามปีแต่ไม่ครบหกปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (3) จึงชอบแล้ว แต่ในส่วนของการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เมื่อโจทก์นำเรือกลับถึงท่าเรือกรุงเทพมหานครแล้วจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาการจ้างในสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือข้อ 2 เช่นนี้ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมิต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
จำเลยจ้างโจทก์ให้เป็นคนประจำเรือตำแหน่งนายเรือ ซึ่งในวันครบกำหนดตามสัญญาจ้างอาจเป็นวันที่โจทก์ยังนำเรือกลับมาไม่ถึงกรุงเทพมหานคร เพราะเรือยังอยู่ในความควบคุมของโจทก์ การที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าการเดินทางกลับมาไม่ถึงมิให้เป็นการต่ออายุสัญญาจ้าง ซึ่งมีผลทำให้สัญญาจ้างครบกำหนดเมื่อเรือเดินทางกลับถึงกรุงเทพมหานครแล้ว ย่อมเป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ตกเป็นโมฆะแต่ประการใด ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีที่โจทก์นำเรือกลับมาถึงท่าเรือกรุงเทพมหานครเป็นการเลิกจ้างเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้าง ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเมื่อโจทก์และจำเลยมีเจตนาทำสัญญาจ้างคราวละ 6 เดือน การนับระยะเวลาทุกช่วงเข้าด้วยกันจึงมิชอบด้วยกฎหมายนั้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 20 บัญญัติว่า "การที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกันโดยนายจ้างมีเจตนาที่จะไม่ให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิใดตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่านายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในหน้าที่ใด และการจ้างแต่ละช่วงมีระยะเวลาห่างกันเท่าใดก็ตามให้นับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างนั้น" ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยจ้างโจทก์ทำงานตำแหน่งนายเรือตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2543 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2547 โดยทำสัญญาจ้างแรงงานช่วงเวลาละ 6 เดือนต่อเนื่องกันอีก 6 ช่วง ซึ่งการทำสัญญาจ้างแรงงานในลักษณะดังกล่าวทำให้โจทก์มีระยะเวลาการทำงานไม่ติดต่อกัน สิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้างก็จะได้ไม่เท่าสิทธิตามที่บัญญัติในมาตรา 118 จึงต้องนับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิในค่าชดเชยของโจทก์ตามมาตรา 20 การที่ศาลแรงงานกลางนับระยะเวลาการทำงานของโจทก์ทุกช่วงเข้าด้วยกัน เห็นว่า โจทก์ทำงานกับจำเลยครบสามปีแต่ไม่ครบหกปี จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (3) จึงชอบแล้ว แต่ในส่วนของการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เมื่อโจทก์นำเรือกลับถึงท่าเรือกรุงเทพมหานครแล้วจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาการจ้างในสัญญาว่าจ้างคนประจำเรือข้อ 2 เช่นนี้ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงมิต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
จำเลยจ้างโจทก์ให้เป็นคนประจำเรือตำแหน่งนายเรือ ซึ่งในวันครบกำหนดตามสัญญาจ้างอาจเป็นวันที่โจทก์ยังนำเรือกลับมาไม่ถึงกรุงเทพมหานคร เพราะเรือยังอยู่ในความควบคุมของโจทก์ การที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าการเดินทางกลับมาไม่ถึงมิให้เป็นการต่ออายุสัญญาจ้าง ซึ่งมีผลทำให้สัญญาจ้างครบกำหนดเมื่อเรือเดินทางกลับถึงกรุงเทพมหานครแล้ว ย่อมเป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ตกเป็นโมฆะแต่ประการใด ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีที่โจทก์นำเรือกลับมาถึงท่าเรือกรุงเทพมหานครเป็นการเลิกจ้างเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้าง ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10544/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่สมบูรณ์ ผู้ซื้อไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่
ตามหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อได้ชำระราคาที่ดินพิพาทให้แก่ พ. ซึ่งเป็นผู้ขายไป 2,000,000 บาท ครบถ้วนแล้ว และ พ. ให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่วันทำสัญญา แต่จากคำเบิกความของโจทก์ได้ความว่าโจทก์ชำระราคาไปเพียง 1,000,000 บาท ส่วนที่เหลือชำระเมื่อโอนชื่อกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งโจทก์อธิบายว่าที่ดินพิพาทไม่มีเอกสารสิทธิแต่มีใบ ภ.บ.ท. 5 ที่ พ. และ จ. นำมาให้ดูว่าเป็นหลักฐานแสดงการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงตกลงซื้อ ที่โจทก์เบิกความถึงการโอนชื่อ จึงหมายถึงการเปลี่ยนชื่อผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในเอกสารดังกล่าวมาเป็นชื่อของโจทก์ ดังที่ได้ความจาก พ. ว่า วันที่ไปโอนที่ดินพิพาทที่ซื้อจาก น. ได้มีการเปลี่ยนชื่อผู้เสียภาษีที่ดินในใบ ภ.บ.ท. 5 มาเป็นชื่อของ พ. ดังนี้ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ฝ่าย พ. ผู้จะขายไม่ติดใจเรียกร้องให้โจทก์ผู้จะซื้อชำระราคาส่วนที่เหลือจะถือว่าฝ่าย พ. สละการครอบครองในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหากโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทก็เป็นการครอบครองแทนฝ่าย พ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9139/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุผลอันสมควร ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
กรณีที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน ตามขอซึ่งน้อยกว่าสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน แม้ตามกฎหมายแรงงานในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลแรงงานกลางจะต้องพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย แต่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับก็ได้" เมื่อปรากฏในคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน แต่โจทก์ไม่ได้ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามสิทธิที่จะได้รับเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน ตามขอจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นกรณีที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยตามสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอันไม่ใช่กรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ
ส่วนกรณีการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 จะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเหตุดังกล่าวเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ดังนั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการแผนกปล่อยปละละเลยไม่วางระเบียบการตรวจสอบให้ดีปล่อยให้มีการปลอมเอกสารและลายมือชื่อในการดำเนินการเสียภาษีนำเข้าตู้สินค้าในนามจำเลยไม่ถูกต้องจนทำให้เกิดความผิดพลาดในแผนกอาจเกิดความเสียหายแก่จำเลย เป็นการกระทำที่ผิดพลาดอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจึงมีเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจให้ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่อีกต่อไป เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร จึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นดังกล่าวเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ส่วนกรณีการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 จะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเหตุดังกล่าวเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ดังนั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการแผนกปล่อยปละละเลยไม่วางระเบียบการตรวจสอบให้ดีปล่อยให้มีการปลอมเอกสารและลายมือชื่อในการดำเนินการเสียภาษีนำเข้าตู้สินค้าในนามจำเลยไม่ถูกต้องจนทำให้เกิดความผิดพลาดในแผนกอาจเกิดความเสียหายแก่จำเลย เป็นการกระทำที่ผิดพลาดอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจึงมีเหตุให้นายจ้างไม่ไว้วางใจให้ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่อีกต่อไป เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควร จึงมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นดังกล่าวเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8131/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหยุดกิจการชั่วคราวต้องมีเหตุจำเป็นที่สำคัญกระทบต่อการดำเนินงาน มิใช่แค่ปัญหาการสั่งซื้อที่ผันผวน
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่มิใช่เหตุสุดวิสัย ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันที่ทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ต้องการคุ้มครองนายจ้างในกรณีที่นายจ้างประสบปัญหามีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว แต่นายจ้างยังมีความประสงค์จะประกอบกิจการของตนอีกต่อไป เพื่อเป็นการบรรเทาค่าใช้จ่ายของนายจ้างจึงให้นายจ้างรับภาระจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างการหยุดงานเพียงครึ่งเดียวแทนที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเต็มจำนวนในระหว่างที่หยุดกิจการนั้น แต่ในขณะเดียวกันก็ถือว่าเป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองลูกจ้างด้วย เพราะหากไม่มีบทบัญญัติดังกล่าวนายจ้างอาจไม่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานทั้งหมดไว้ จำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้างทำให้ลูกจ้างต้องตกงานขาดรายได้และได้รับความเดือดร้อน สำหรับความจำเป็นของนายจ้างที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้จะต้องเป็นความจำเป็นที่สำคัญอันจะมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างอย่างมากทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการตามปกติได้ มิใช่เป็นแต่เพียงความจำเป็นทั่วๆ ไป เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบแก่กิจการของนายจ้างมากนัก อีกทั้งระยะเวลาในการแก้ไขเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าวจะต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอนติดต่อกันอย่างพอสมควร ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในระหว่างวันที่ 15 มีนาคม 2547 ถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2547 โจทก์สั่งให้ลูกจ้างคือ ป. กับพวกรวม 73 คน หยุดทำงานชั่วคราวเป็นบางวันเป็นระยะๆ การหยุดทำงานชั่วคราวดังกล่าวโจทก์แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าเพียงหนึ่งหรือสองวันเท่านั้น และสาเหตุที่โจทก์ให้ลูกจ้างหยุดงานเนื่องจากลูกค้าสั่งซื้อสินค้าลดลง ลักษณะการสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวของโจทก์ดังกล่าวเป็นการหยุดงานเป็นบางวันเป็นระยะๆ ตามที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าลดลงซึ่งไม่มีความแน่นอน แม้โจทก์จะอ้างว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าเป็นรายสัปดาห์ โจทก์จะทราบการสั่งซื้อล่วงหน้าเพียง 3 วัน ถึง 5 วันก็ตามก็เป็นเรื่องปกติของการค้าที่อาจจะมีความไม่แน่นอนบ้าง โจทก์ควรจะต้องวางแผนการบริหารกิจการของโจทก์ล่วงหน้า มิใช่นำสาเหตุดังกล่าวมาสั่งให้ลูกจ้างหยุดทำงานชั่วคราวเป็นบางวันเป็นระยะๆ เช่นนี้ ตามข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างนั้นยังมิใช่เหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้แต่อย่างใด คำสั่งของจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานที่ให้โจทก์จ่ายค่าจ้างส่วนที่ขาดอยู่ร้อยละห้าสิบแก่ลูกจ้างชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8131/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหยุดงานชั่วคราวต้องมีเหตุจำเป็นสำคัญกระทบต่อกิจการ มิใช่แค่ความไม่แน่นอนทางการค้า
โจทก์สั่งให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวเป็นบางวันเป็นระยะๆ อ้างว่าโจทก์ประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าลดลงซึ่งไม่มีความแน่นอน แม้โจทก์จะอ้างว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าเป็นรายสัปดาห์โจทก์จะทราบการสั่งซื้อล่วงหน้าเพียง 3 วัน ถึง 5 วัน ก็เป็นเรื่องปกติของการค้าที่อาจจะมีความไม่แน่นอนบ้าง โจทก์ควรจะต้องวางแผนการบริหารกิจการของโจทก์ล่วงหน้า มิใช่นำสาเหตุดังกล่าวมาสั่งให้ลูกจ้างหยุดทำงานชั่วคราว จึงยังมิใช่เหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7891/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าจากการยึดรถถือเป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยเมื่อผิดนัด
ค่านายหน้าในการยึดรถเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง โดยคำนวณจากจำนวนรถที่ลูกจ้างยึดได้ในอัตราแน่นอนคันละ 10,000 บาท นอกเหนือจากค่าจ้างรายเดือนอัตราเดือนละ 9,500 บาท ที่กำหนดจ่ายให้ทุกวันที่ 25 ของเดือน จึงเป็นการจ่ายให้เป็นค่าตอบแทนในการทำงานคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาปกติของวันทำงาน ถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ซึ่งนายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7890/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานต้องยื่นต่อศาลแรงงานเดิมภายใน 15 วัน มิได้ยื่นโดยตรงต่อศาลฎีกา
คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานจะอุทธรณ์ได้เฉพาะในข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ทั้งการอุทธรณ์นั้นจะต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 54 วรรคสองอีกด้วย โจทก์นำอุทธรณ์มายื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง มิได้ยื่นต่อศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นศาลแรงงานที่มีคำสั่งจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยอมความระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายกระทบสิทธิโจทก์ และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
ปัญหาว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงยอมความกันอันทำให้ความผิดฐานฉ้อโกงระงับไปแล้วหรือไม่ ไม่ปรากฏในคำอุทธรณ์ แต่จำเลยเพิ่งอ้างในคำแถลงการณ์ในชั้นอุทธรณ์จึงไม่มีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
ข้อเท็จจริงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจ ฟังได้ว่าผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจนพอใจ ไม่ติดใจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ถือเป็นการยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
จำเลยลักปลายขั้วสลากเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัวของผู้เสียหายไปกรอกเลขให้ตรงกับรางวัลเลขท้ายประจำงวด นำไปหลอกเอาเงินรางวัลจากผู้เสียหายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เอาไปเสียซึ่งเอกสารผู้อื่น และใช้เอกสารสิทธิปลอม แม้จะเป็นการกระทำต่างฐาน แต่เป็นการกระทำเกี่ยวพันต่อเนื่องโดยมีเจตนาเดียวเพื่อเอาเงินจากผู้เสียหาย เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ปัญหาว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นเป็นกรรมเดียวหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อเท็จจริงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจ ฟังได้ว่าผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจนพอใจ ไม่ติดใจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ถือเป็นการยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
จำเลยลักปลายขั้วสลากเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัวของผู้เสียหายไปกรอกเลขให้ตรงกับรางวัลเลขท้ายประจำงวด นำไปหลอกเอาเงินรางวัลจากผู้เสียหายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เอาไปเสียซึ่งเอกสารผู้อื่น และใช้เอกสารสิทธิปลอม แม้จะเป็นการกระทำต่างฐาน แต่เป็นการกระทำเกี่ยวพันต่อเนื่องโดยมีเจตนาเดียวเพื่อเอาเงินจากผู้เสียหาย เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ปัญหาว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นเป็นกรรมเดียวหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในคดียาเสพติด จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานยืนยันการกระทำความผิด แม้จำเลยรับสารภาพ
ความใน ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับในขณะที่พิจารณาคดีนี้แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายว่า ในคดีที่มีอัตราโทษสูงนั้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษจำคุกโดยอาศัยคำรับสารภาพของจำเลยแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องฟังพยานโจทก์ให้เป็นที่พอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงเสียก่อน โจทก์จึงต้องนำพยานเข้าสืบยืนยันว่ามีการกระทำความผิดตามฟ้องและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้นจริง มิใช่เป็นเพียงการรับสมอ้างว่าเป็นผู้กระทำความผิดนั้นแทนบุคคลอื่นการนำพยานบุคคลซึ่งรู้เห็นการกระทำความผิดของจำเลยหรือพยานบุคคลที่รู้เห็นเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอันจะแสดงให้ศาลเห็นว่าจำเลยมิได้ให้การรับสารภาพโดยไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้หรือเสแสร้งเพื่อให้ผู้กระทำความผิดอื่นพ้นผิด คดีนี้แม้โจทก์จะอ้างส่งเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.11 ต่อศาล แต่พยานเอกสารดังกล่าวก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อโจทก์ไม่มีพยานบุคคลใดมาเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงดังที่ปรากฏในเอกสารดังกล่าวเลย ลำพังเพียงพยานเอกสารดังกล่าวจึงยังไม่เพียงพอให้เชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง แต่ได้ความตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าโจทก์ยังติดใจสืบพยานอีก 2 ปากแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์ทั้ง 2 ปาก ดังกล่าว โดยเห็นว่าจำเลยทั้งสองยอมรับแล้วว่าพยานโจทก์ทั้ง 2 ปาก เป็นผู้จับกุม มีข้อความตามเอกสารหมาย จ.9 ถึง จ.11 แล้ว การที่ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ จึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ เมื่อพยานโจทก์ปากผู้จับกุมเป็นพยานที่สำคัญและจำเป็นเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยทั้งสอง การที่ศาลชั้นต้นด่วนงดสืบพยานโจทก์ไปจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ชอบที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225