พบผลลัพธ์ทั้งหมด 908 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าพลาด การลงโทษฐานพยายามฆ่า และการแก้ไขบทลงโทษที่ศาลอุทธรณ์
จำเลยขับรถจักรยานยนต์มาที่หน้าร้านอาหารที่เกิดเหตุและใช้อาวุธปืนยิงใส่ผู้เสียหายที่ 2 ที่อยู่บริเวณหน้าร้าน กระสุนปืนถูกผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ซึ่งลักษณะบาดแผลของผู้เสียหายที่ 2 ที่ถูกยิงบริเวณหัวไหล่ บ่งชี้ว่าเป็นการยิงไปยังส่วนบนของร่างกายซึ่งจำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่ากระสุนปืนอาจถูกอวัยวะสำคัญของผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายได้ อันถือเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า เมื่อการกระทำไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 และกระสุนปืนยังพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 3 ที่บริเวณไหปลาร้า ต้องถือว่าจำเลยกระทำโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 3 เช่นเดียวกันตาม ป.อ มาตรา 60 แต่การกระทำไม่บรรลุผล จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: เริ่มนับเมื่อองค์กรทราบการละเมิดและผู้กระทำผิด
โจทก์เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ.2501 มีผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน โจทก์เป็นเจ้าของสายไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้าที่ถูกจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์เกี่ยวรั้งและเฉี่ยวชนเสียหาย เมื่อ ท. นิติกร กองคดี ฝ่ายกฎหมายของโจทก์เสนอขออนุมัติดำเนินคดีแพ่งแก่จำเลยทั้งสาม และผู้ช่วยผู้ว่าการปฏิบัติการแทนผู้ว่าการอนุมัติให้ดำเนินการตามเสนอในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 จึงถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว นับถึงวันที่ 31 มีนาคม 2547 อันเป็นวันฟ้องยังไม่พ้น 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 การที่นายตรวจเวรของโจทก์ ได้ร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจในวันเกิดเหตุ และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ตรวจสอบทราบว่ารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับเป็นของจำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว ต่อมาผู้อำนวยการกองคดีของโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าเสียหายแล้วจำเลยที่ 3 มีหนังสือถึงโจทก์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2543 เพื่อเจรจาค่าเสียหายนั้นก็เป็นเพียงการปฏิบัติไปตามหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของโจทก์ไปตามลำดับขั้นตอน ก่อนเสนอเรื่องไปถึงผู้ว่าการหรือผู้ปฏิบัติการแทนในฐานะผู้แทนของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9931/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่างานรับเหมา: กรณีทำเพื่อกิจการของลูกหนี้
คดีนี้โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้ประกอบการค้ารับจ้างก่อสร้าง จำเลยรับจ้างก่อสร้างถนนและสะพานจากกรมทางหลวงแล้วจำเลยนำงานก่อสร้างสะพานไปว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอีกต่อหนึ่ง งานก่อสร้างสะพานเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างจากกรมทางหลวงอยู่ด้วย กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ประกอบการค้ารับจ้างก่อสร้างเรียกเอาค่างานที่ได้ทำให้แก่จำเลยเพื่อกิจการของจำเลย เข้าข้อยกเว้นไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9467/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 กรณีประเด็นข้อพิพาทเดียวกันกับคดีที่ถึงที่สุดแล้ว
แม้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก่อนคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือ ป. เป็นประเด็นข้อพิพาทประเด็นเดียวกัน คู่ความเดียวกัน เมื่อคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้นนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว กรณีต้องตกอยู่ภายใต้บังคับเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 แม้ว่าโจทก์จะฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะได้วินิจฉัยชี้ขาดคดีก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9395-9492/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าจ้างหลังปรับโครงสร้างเงินเดือน: ศาลฎีกาให้ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาข้อตกลงโดยปริยาย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภาว่า การพิจารณาความดีความชอบในขณะใดๆ ให้องค์การค้าคุรุสภาพิจารณาโดยถือหลักเกณฑ์การพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีหรือระเบียบของทางราชการที่กำหนดสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจในขณะนั้นๆ ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาความดีความชอบของโจทก์ในรอบปีบัญชี 2546 ถึงปี 2547 แล้วยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างส่วนที่ยังไม่ได้ปรับขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีคำสั่งว่าเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มิใช่การค้างจ่ายค่าจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ดังนี้ เมื่อฝ่ายโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกลาว จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 12 และเมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีฯ จึงยังไม่มีค่าจ้างที่ค้างจ่ายจากการปรับอัตราค่าจ้างขึ้นแก่ฝ่ายโจทก์ ตาม พ.รงบ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 70 คำสั่งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9157/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การไม่สอบถามก่อนสั่งไม่รับฟ้องคดีปกครอง และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณา
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เนื่องจากโจทก์มิได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ การที่โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีของโจทก์อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมหรือไม่ โดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้เป็นคดีปกครองไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้องศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ หากมีกรณีดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 12 วรรคสอง กล่าวคือ ศาลชั้นต้นต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย หรือหากปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครองศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลต่างระบบที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องเสียก่อนและศาลชั้นต้นต้องแนะนำโจทก์ให้แจ้งต่อศาลปกครองด้วยว่า เคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เนื่องจากโจทก์จะต้องฟ้องคดีต่อศาลระบบอื่นที่มีอำนาจ หากศาลในคดีหลังเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลนั้นก็ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 12 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้สอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องหรือไม่ หากโจทก์ยังไม่เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าวด้วยว่า ให้โจทก์แจ้งต่อศาลปกครองว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันที โดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว ครั้นเมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ อันมีผลทำให้กระบวนพิจาณาต่างๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้เป็นคดีปกครองไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้องศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ หากมีกรณีดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 12 วรรคสอง กล่าวคือ ศาลชั้นต้นต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย หรือหากปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครองศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลต่างระบบที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องเสียก่อนและศาลชั้นต้นต้องแนะนำโจทก์ให้แจ้งต่อศาลปกครองด้วยว่า เคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เนื่องจากโจทก์จะต้องฟ้องคดีต่อศาลระบบอื่นที่มีอำนาจ หากศาลในคดีหลังเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลนั้นก็ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 12 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้สอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องหรือไม่ หากโจทก์ยังไม่เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าวด้วยว่า ให้โจทก์แจ้งต่อศาลปกครองว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันที โดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว ครั้นเมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ อันมีผลทำให้กระบวนพิจาณาต่างๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนของผู้อื่นที่มีใบอนุญาตแล้ว และความผิดฐานพาอาวุธปืน การจำกัดความรับผิดและโทษที่เหมาะสม
จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยย่อมมีความผิดฐานนี้แล้ว เมื่อจำเลยพาอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตด้วย จำเลยก็ต้องมีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอีกฐานหนึ่งด้วยเพราะความผิดทั้งสองฐานอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดต่างกันซึ่งต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้และกระสุนปืน 3 นัด อันเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมายใช้ยิงร่วมกันได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกาพิจารณาจากฎีกาของจำเลยประกอบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้ความจากการไต่สวนแล้วว่า อาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยซึ่งได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คืนอาวุธปืนของกลางให้แก่มารดาจำเลยแล้ว โจทก์มิได้แก้ฎีกาหรือโต้แย้งให้เห็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงในชั้นนี้จึงต้องฟังตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย การที่จำเลยมีไว้ในครอบครองจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม เท่านั้น และเมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากการไต่สวนเช่นนี้แล้วจึงฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การรับสารภาพของจำเลยต่อไปอีกไม่ได้เพราะเห็นได้ชัดว่าคำให้การสารภาพของจำเลยไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงจึงต้องลงโทษจำเลยตามความผิดที่จำเลยได้กระทำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้และกระสุนปืน 3 นัด อันเป็นอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมายใช้ยิงร่วมกันได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องโดยไม่สืบพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกาพิจารณาจากฎีกาของจำเลยประกอบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้ความจากการไต่สวนแล้วว่า อาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยซึ่งได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้คืนอาวุธปืนของกลางให้แก่มารดาจำเลยแล้ว โจทก์มิได้แก้ฎีกาหรือโต้แย้งให้เห็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงในชั้นนี้จึงต้องฟังตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย การที่จำเลยมีไว้ในครอบครองจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม เท่านั้น และเมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากการไต่สวนเช่นนี้แล้วจึงฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การรับสารภาพของจำเลยต่อไปอีกไม่ได้เพราะเห็นได้ชัดว่าคำให้การสารภาพของจำเลยไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงจึงต้องลงโทษจำเลยตามความผิดที่จำเลยได้กระทำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น จำเลยมีความผิดฐานมีอาวุธปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครอง
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เมื่อจำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยย่อมมีความผิดฐานนี้แล้ว เมื่อจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยจึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอีกฐานหนึ่งด้วยเพราะความผิดทั้งสองฐานอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดต่างกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและกระสุนปืนจำนวน 3 นัด ซึ่งใช้ยิงร่วมกันได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่สืบพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จำเลยยื่นฎีกาโดยมีข้อเท็จจริงว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยและศาลชั้นต้นได้ไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้คืนอาวุธปืนของกลางแก่มารดาจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามฎีกาของจำเลยและจากการไต่สวนของศาลชั้นต้นว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยที่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และศาลชั้นต้นคืนอาวุธปืนของกลางให้แล้ว ทั้งโจทก์ไม่ได้แก้ฎีกาหรือโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น ต้องฟังว่าอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ตามกฎหมาย จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเป็นเช่นนี้เห็นได้ว่าคำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง ไม่อาจฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยได้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังที่ศาลชั้นต้นไต่สวน จึงต้องลงโทษจำเลยตามความผิดที่จำเลยกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบ มาตรา 215 และมาตรา 225 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่มีความร้ายแรงมากนักและปืนเป็นของมารดาจำเลยจึงกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ให้เหมาะสมและให้รอการลงโทษจำเลยไว้ตาม ป.อ. มาตรา 56
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและกระสุนปืนจำนวน 3 นัด ซึ่งใช้ยิงร่วมกันได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่สืบพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จำเลยยื่นฎีกาโดยมีข้อเท็จจริงว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยและศาลชั้นต้นได้ไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้คืนอาวุธปืนของกลางแก่มารดาจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามฎีกาของจำเลยและจากการไต่สวนของศาลชั้นต้นว่าอาวุธปืนของกลางเป็นของมารดาจำเลยที่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน และศาลชั้นต้นคืนอาวุธปืนของกลางให้แล้ว ทั้งโจทก์ไม่ได้แก้ฎีกาหรือโต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่น ต้องฟังว่าอาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและให้ใช้ตามกฎหมาย จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเป็นเช่นนี้เห็นได้ว่าคำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง ไม่อาจฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยได้ เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังที่ศาลชั้นต้นไต่สวน จึงต้องลงโทษจำเลยตามความผิดที่จำเลยกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบ มาตรา 215 และมาตรา 225 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่มีความร้ายแรงมากนักและปืนเป็นของมารดาจำเลยจึงกำหนดโทษจำเลยเสียใหม่ให้เหมาะสมและให้รอการลงโทษจำเลยไว้ตาม ป.อ. มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6711-6712/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายโดยไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน: พฤติการณ์ต่อเนื่องจากเหตุการณ์ในร้าน
จำเลยทั้งสองทำร้ายผู้เสียหายในขณะนั่งอยู่ในร้านที่เกิดเหตุแล้วตามมาทำร้ายผู้เสียหายที่หน้าร้านโดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยทั้งสองมาก่อน ทั้งจำเลยทั้งสองร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายสืบเนื่องมาจากผู้เสียหายพูดกับจำเลยที่ 1 ในทำนองว่า อย่ามองหน้าเดี๋ยวจะมีปัญหาซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในร้านที่เกิดเหตุ ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองเข้าทำร้ายผู้เสียหายจึงมิใช่เป็นการตระเตรียมการมาก่อน แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้กระทำต่อผู้เสียหายในทันทีทันใดแต่เมื่อผู้เสียหายเผลอ จำเลยที่ 1 จึงเข้าเตะที่ต้นคอด้านหลัง ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้มีดดาบฟันผู้เสียหายอันเป็นการกระทำหลังจากผู้เสียหายต่อว่าจำเลยที่ 1 ในเวลาต่อเนื่องกันยังไม่ขาดตอน ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษความผิดต่อเด็ก: พิจารณาบทหนักสุดและผลการยอมความของผู้เสียหาย
จำเลยกระทำความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ฐานพาเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจาร และฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวง ทั้งสามฐานความผิดเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวง อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไปทั้งทางแพ่งและทางอาญา ถือเป็นการยอมความกันตามกฎหมาย เมื่อความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดอันยอมความได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้เสียหายทั้งสองไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไปทั้งทางแพ่งและทางอาญา ถือเป็นการยอมความกันตามกฎหมาย เมื่อความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงเป็นความผิดอันยอมความได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)