พบผลลัพธ์ทั้งหมด 908 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6182/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่า, สนับสนุนการฆ่า, พยานหลักฐานไม่เพียงพอ, การพิพากษา, การยกฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายไปที่บริเวณหน้าอกซ้าย เอวข้างซ้าย ศีรษะด้านซ้าย ใบหูซ้ายและแขนข้างซ้ายรวม 16 แผล โดยเฉพาะบาดแผลที่หน้าอกซ้ายทะลุช่องซี่โครงซ้ายตัดกระดูกทะลุโดนปอดซ้ายกลีบบนและเฉี่ยวเยื่อหุ้มหัวใจบาดแผลลึกถึง 16 เซนติเมตร บาดแผลที่สีข้างลึก 6 เซนติเมตร โดยกระเพาะอาหารซึ่งแพทย์ระบุถึงเหตุการตายว่าบาดแผลของมีคมทำลายปอดและกระเพาะอาหาร จากบาดแผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายโดยแรงหลายครั้งจนบาดแผลลึกถึง 16 เซนติเมตร ทั้งเป็นบริเวณสำคัญของร่างกายอันเป็นอวัยวะส่วนสำคัญที่จำเลยที่ 1 ย่อมเล็งเห็นผลว่าอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายจากบาดแผลที่จำเลยที่ 1 แทง จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นพวกจำเลยที่ 1 กลับจากงานแต่งงานมาถึงที่เกิดเหตุและอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังต่อสู้กับผู้ตายด้วยก็ตาม แต่โจทก์ก็ไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความยืนยันเลยว่า เห็นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ยุยงหรือสนับสนุนอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกให้จำเลยที่ 1 แทงผู้ตายให้ถึงแก่ความตายแต่อย่างใด การที่ ส. พยานโจทก์อ้างว่าได้ยินเสียงวัยรุ่นทะเลาะกันห่างประมาณ 100 เมตร และได้ยินเสียงร้องตะโกนว่า "เอาให้ตาย" เมื่อไม่ได้ยืนยันว่าเป็นเสียงตะโกนของจำเลยคนใด ก็อาจจะไม่ใช่เสียงร้องตะโกนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ก็ได้ แต่อาจจะเป็นเสียงร้องตะโกนของจำเลยที่ 1 เองก็อาจเป็นได้ พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 สนับสนุนการกระทำของจำเลยที่ 1
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นพวกจำเลยที่ 1 กลับจากงานแต่งงานมาถึงที่เกิดเหตุและอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังต่อสู้กับผู้ตายด้วยก็ตาม แต่โจทก์ก็ไม่มีประจักษ์พยานมาเบิกความยืนยันเลยว่า เห็นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ยุยงหรือสนับสนุนอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกให้จำเลยที่ 1 แทงผู้ตายให้ถึงแก่ความตายแต่อย่างใด การที่ ส. พยานโจทก์อ้างว่าได้ยินเสียงวัยรุ่นทะเลาะกันห่างประมาณ 100 เมตร และได้ยินเสียงร้องตะโกนว่า "เอาให้ตาย" เมื่อไม่ได้ยืนยันว่าเป็นเสียงตะโกนของจำเลยคนใด ก็อาจจะไม่ใช่เสียงร้องตะโกนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ก็ได้ แต่อาจจะเป็นเสียงร้องตะโกนของจำเลยที่ 1 เองก็อาจเป็นได้ พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 สนับสนุนการกระทำของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037-6065/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดสำหรับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่ผู้ทำหน้าที่ขนส่งโดยตรง
โจทก์ที่ 1 ถึง 5 และที่ 7 เป็นพนักงานปากเรือ มีหน้าที่ขับเรือยนต์ โจทก์ที่ 6 เป็นพนักงานปากเรือมีหน้าที่เป็นคนงานลูกเรือประจำเรือยนต์ โดยเรือยนต์ที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 ทำหน้าที่พนักงานปากเรือมีหน้าที่ชี้ตำแหน่งเรือสินค้าและรับเชือกเพื่อให้เรือสินค้าผ่านร่องน้ำเจ้าพระยาเข้าเทียบท่าเรือ โจทก์ที่ 8 ถึงที่ 11 ที่ 13 ถึงที่ 15 ที่ 17 ที่ 19 ที่ 24 ที่ 26 ที่ 27 ที่ 36 และที่ 37 มีหน้าที่เคลื่อนย้ายสินค้าด้วยยานพาหนะหรืออุปกรณ์เคลื่อนย้ายสินค้าซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น แต่เมื่อเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าอยู่ในบริเวณของท่าเรือ ไม่ได้ส่งสินค้าพ้นจากบริเวณของท่าเรือเพื่อให้ถึงผู้รับหรือเจ้าของสินค้าจึงไม่ใช่การขนส่ง โจทก์ที่ 18 มีหน้าที่จัดเก็บสินค้า โจทก์ที่ 20 มีหน้าที่ตรวจสอบบัตรค่าภาระและค่ายานพาหนะบรรทุกสินค้าและตู้สินค้า โจทก์ที่ 25 มีหน้าที่ตรวจสอบค่าภาระตู้สินค้าและตรวจสอบสินค้า เป็นการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้า ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและส่งสินค้า จึงไม่ใช่การขนส่งสินค้าเช่นกัน โจทก์ที่ 30 ถึงที่ 33 และที่ 35 ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในบริเวณท่าเรือ ไม่ใช่การทำงานขนส่ง ดังนั้น งานที่โจทก์ร่วม 29 คน ทำจึงไม่ใช่งานขนส่งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 28 (2) โจทก์รวม 29 คน จึงมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25, 26
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 30 (1) ระบุว่า รัฐวิสาหกิจที่ให้พนักงานซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นทำงานในวันหยุด ให้รัฐวิสาหกิจนั้นจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแก่พนักงานเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของเงินเดือนค่าจ้างในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงทำงานในวันหยุด เมื่อโจทก์รวม 29 คน ทำงานในวันหยุดจึงมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามข้อ 30
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 30 (1) ระบุว่า รัฐวิสาหกิจที่ให้พนักงานซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นทำงานในวันหยุด ให้รัฐวิสาหกิจนั้นจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแก่พนักงานเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของเงินเดือนค่าจ้างในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงทำงานในวันหยุด เมื่อโจทก์รวม 29 คน ทำงานในวันหยุดจึงมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามข้อ 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037-6065/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยสถานะ 'งานขนส่ง' เพื่อสิทธิค่าล่วงเวลาพนักงาน การเคลื่อนย้ายสินค้าภายในท่าเรือไม่ถือเป็นการขนส่ง
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (1) และมาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 95 วรรคหนึ่ง
จำเลยไม่มีหน้าที่ขนสินค้าไปส่งให้ลูกค้า จำเลยกำหนดระเบียบให้ลูกค้ามารับสินค้าเองที่ท่าเรือ การเคลื่อนย้ายสินค้าจากเรือสินค้าขึ้นท่าแล้วเก็บไว้ที่โกดังสินค้าหรือที่ลานกลางแจ้งเพื่อรอให้เจ้าของสินค้ามารับไป เป็นการเอาสินค้าออกจากที่หนึ่งไปใส่อีกที่หนึ่งซึ่งเป็นการขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าขึ้นมาเก็บไว้ที่โกดังสินค้าหรือลานกลางแจ้ง โดยไม่ได้ทำให้สินค้าเคลื่อนที่พ้นจากบริเวณของท่าเรือเพื่อให้ถึงผู้รับหรือเจ้าของสินค้าจึงไม่ใช่การส่งสินค้า เป็นเพียงการขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าขึ้นท่าเพื่อให้มีการเชื่อมต่อการขนส่งระหว่างเรือสินค้ากับการขนส่งด้วยยานพาหนะอื่นเท่านั้น
เรือยนต์ที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 ทำหน้าที่พนักงานปากเรือมีหน้าที่ชี้ตำแหน่งเรือสินค้าและรับเชือกเพื่อให้เรือสินค้าผ่านร่องน้ำเจ้าพระยาเข้าเทียบท่าเท่านั้น โจทก์ที่ 8 ถึงที่ 11 ที่ 13 ถึงที่ 15 ที่ 17 ที่ 24 และที่ 36 มีหน้าที่ขับรถเครื่องมือทุ่นแรงและยกขนสินค้าด้วยเครื่องมือทุ่นแรงจากเรือสินค้าไปเก็บไว้ที่โกดังสินค้าหรือที่ลานกลางแจ้ง โจทก์ที่ 19 ที่ 26 ที่ 27 และที่ 37 มีหน้าที่ขับรถลากจูงพ่วงรถบรรทุก ซึ่งเป็นหน้าที่การขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าขึ้นมาเก็บไว้ที่โกดังสินค้าหรือลานกลางแจ้ง โจทก์ที่ 18 มีหน้าที่จัดเก็บสินค้า โจทก์ที่ 20 มีหน้าที่ตรวจสอบบัตรค่าภาระและค่ายานพาหนะบรรทุกสินค้าและตู้สินค้า โจทก์ที่ 25 มีหน้าที่ตรวจสอบภาระตู้สินค้าและตรวจสอบสินค้าเป็นการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้า ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและส่งสินค้า โจทก์ที่ 30 ถึงที่ 33 และที่ 35 ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในบริเวณท่าเรือไม่ใช่การทำงานขนส่ง ดังนั้นงานที่โจทก์รวม 29 คนทำจึงไม่ใช่งานขนส่งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 28 (2) (ซึ่งกำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา) โจทก์รวม 29 คน มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25,26
จำเลยไม่มีหน้าที่ขนสินค้าไปส่งให้ลูกค้า จำเลยกำหนดระเบียบให้ลูกค้ามารับสินค้าเองที่ท่าเรือ การเคลื่อนย้ายสินค้าจากเรือสินค้าขึ้นท่าแล้วเก็บไว้ที่โกดังสินค้าหรือที่ลานกลางแจ้งเพื่อรอให้เจ้าของสินค้ามารับไป เป็นการเอาสินค้าออกจากที่หนึ่งไปใส่อีกที่หนึ่งซึ่งเป็นการขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าขึ้นมาเก็บไว้ที่โกดังสินค้าหรือลานกลางแจ้ง โดยไม่ได้ทำให้สินค้าเคลื่อนที่พ้นจากบริเวณของท่าเรือเพื่อให้ถึงผู้รับหรือเจ้าของสินค้าจึงไม่ใช่การส่งสินค้า เป็นเพียงการขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าขึ้นท่าเพื่อให้มีการเชื่อมต่อการขนส่งระหว่างเรือสินค้ากับการขนส่งด้วยยานพาหนะอื่นเท่านั้น
เรือยนต์ที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 ทำหน้าที่พนักงานปากเรือมีหน้าที่ชี้ตำแหน่งเรือสินค้าและรับเชือกเพื่อให้เรือสินค้าผ่านร่องน้ำเจ้าพระยาเข้าเทียบท่าเท่านั้น โจทก์ที่ 8 ถึงที่ 11 ที่ 13 ถึงที่ 15 ที่ 17 ที่ 24 และที่ 36 มีหน้าที่ขับรถเครื่องมือทุ่นแรงและยกขนสินค้าด้วยเครื่องมือทุ่นแรงจากเรือสินค้าไปเก็บไว้ที่โกดังสินค้าหรือที่ลานกลางแจ้ง โจทก์ที่ 19 ที่ 26 ที่ 27 และที่ 37 มีหน้าที่ขับรถลากจูงพ่วงรถบรรทุก ซึ่งเป็นหน้าที่การขนถ่ายสินค้าจากเรือสินค้าขึ้นมาเก็บไว้ที่โกดังสินค้าหรือลานกลางแจ้ง โจทก์ที่ 18 มีหน้าที่จัดเก็บสินค้า โจทก์ที่ 20 มีหน้าที่ตรวจสอบบัตรค่าภาระและค่ายานพาหนะบรรทุกสินค้าและตู้สินค้า โจทก์ที่ 25 มีหน้าที่ตรวจสอบภาระตู้สินค้าและตรวจสอบสินค้าเป็นการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้า ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและส่งสินค้า โจทก์ที่ 30 ถึงที่ 33 และที่ 35 ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในบริเวณท่าเรือไม่ใช่การทำงานขนส่ง ดังนั้นงานที่โจทก์รวม 29 คนทำจึงไม่ใช่งานขนส่งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 28 (2) (ซึ่งกำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา) โจทก์รวม 29 คน มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25,26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5974/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์และการฎีกาในคดีอาญา: การจำกัดสิทธิในการโต้แย้งข้อเท็จจริงเดิม และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยหลังลดโทษแล้ว 6 เดือน เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยแต่รอการลงโทษไว้ย่อมต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามการที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์มาทุกข้อและศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยให้ จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานนี้ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และปัญหาว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการชอบหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5481/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 108 บังคับให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และมาตรา 110 บัญญัติเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยให้นายจ้างประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น แต่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ ไม่ได้บัญญัติถึงกระบวนการที่นายจ้างและลูกจ้างต้องปฏิบัติเพื่อให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่กระบวนการดังกล่าวได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 10 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติให้ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าในสถานประกอบกิจการมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนั้น หากผู้ร้องประสงค์จะแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ผู้ร้องต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมิฉะนั้นผู้ร้องจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลงกันหรือหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลเลิกจ้างไม่สมเหตุสมผล แม้พบข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของจำเลยไปเจรจาต่อรองขอลดภาษีโรงเรือนโดยตกลงจ่ายค่าอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่เขตเป็นเงิน 350,000 บาท ต่อมาได้ให้โจทก์ไปต่อรองขอลดค่าอำนวยความสะดวกเหลือ 120,000 บาท และได้จ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่เขตไปแล้ว จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ตรวจและผ่านเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าอำนวยความสะดวกโดยไม่มีชื่อและลายมือชื่อผู้รับเงินไว้เป็นหลักฐานเป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงไม่ได้ เพราะการจ่ายเงินค่าอำนวยความสะดวกเพื่อให้เจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย เป็นการที่จำเลยใช้ให้โจทก์ไปทำผิดกฎหมาย เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามแล้วเกิดข้อบกพร่องอย่างไรจำเลยจะนำเหตุนั้นมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเงินค่าเช่าซื้อรถแท็กซี่: ผู้เก็บเงินมีหน้าที่ส่งมอบเงินให้เจ้าของกิจการ แม้เงินนั้นไม่ใช่ของตัวเอง
โจทก์ประกอบกิจการให้เช่าซื้อรถแท็กซี่ มีเจ้าของรถแท็กซี่นำรถมาร่วมกิจการกับโจทก์โดยใช้ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถและมอบให้โจทก์นำรถแท็กซี่ออกให้เช่าซื้อ แต่สัญญาเช่าซื้อทำกันระหว่างเจ้าของรถแท็กซี่กับผู้เช่าซื้อ กำหนดชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายวัน ในการนี้ โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บค่าเช่าซื้อแทน จำเลยที่ 1 เก็บค่าเช่าซื้อไว้แล้วไม่ส่งให้โจทก์ เบียดบังเอาเงินค่าเช่าซื้อที่รับไว้แทนโจทก์ไปโดยทุจริต จึงมีความผิดฐานยักยอก และแม้เงินดังกล่าวจะมิใช่ของโจทก์ แต่โจทก์ต้องส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าของรถหลังจากหักค่าใช้จ่ายของโจทก์แล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4698/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมโมฆะและคุณสมบัติผู้จัดการมรดก: ศาลพิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดก
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองซึ่งไม่ได้ทำต่อหน้าพยาน 2 คนพร้อมกัน เป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1658 (1) ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก แม้ผู้ร้องจะไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 แต่ผู้ร้องนำพินัยกรรมซึ่งเป็นโมฆะมายื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกย่อมทำให้เป็นที่หวาดระแวงแก่ผู้คัดค้านและทายาทอื่นในการรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์สินให้แก่ทายาทของเจ้ามรดก ผู้ร้องจึงไม่เหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3554/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรังวัดที่ดิน การคัดค้านเขต และการโต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์
ฎีกาของโจทก์ทั้งสามที่ว่า โจทก์ทั้งสามไม่ได้ปักหลักเขตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิคัดค้านการรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ทั้งสาม เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ว่า โจทก์ทั้งสามนำชี้แนวเขตที่ดินของตนรุกล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินของจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิคัดค้านการรังวัดดังกล่าว อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า จำเลยมีสิทธิคัดค้านการรังวัดแนวเขตแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามตามฟ้องหรือไม่ครอบคลุมถึงประเด็นที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือของจำเลยแล้ว ส่วนข้อที่ว่าจำเลยไม่คัดค้านการรังวัดภายในกำหนดตามกฎหมายที่ดิน จำเลยจึงหมดสิทธิคัดค้านนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้วว่าโจทก์ทั้งสามนำรังวัดรุกล้ำที่ดินของจำเลย จำเลยในฐานะของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิขัดขวางหรือคัดค้านการกระทำของโจทก์ทั้งสามได้เสมอ ดังนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ทั้งสามในข้อดังกล่าว เพราะไม่ทำให้ผลคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เปลี่ยนแปลงไป
ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า จำเลยมีสิทธิคัดค้านการรังวัดแนวเขตแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามตามฟ้องหรือไม่ครอบคลุมถึงประเด็นที่ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสามหรือของจำเลยแล้ว ส่วนข้อที่ว่าจำเลยไม่คัดค้านการรังวัดภายในกำหนดตามกฎหมายที่ดิน จำเลยจึงหมดสิทธิคัดค้านนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้วว่าโจทก์ทั้งสามนำรังวัดรุกล้ำที่ดินของจำเลย จำเลยในฐานะของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิขัดขวางหรือคัดค้านการกระทำของโจทก์ทั้งสามได้เสมอ ดังนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ทั้งสามในข้อดังกล่าว เพราะไม่ทำให้ผลคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดก่อสร้างอาคาร และการยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของศาล
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549 จึงเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิดคดีสำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) และต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวเสียตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง