คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิทยา บุญชู

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 908 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน และการคิดเงินบำเหน็จกรณีเกษียณอายุ
จำเลยฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินของจำเลยที่โจทก์ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยนำไปชำระค่าภาษีเงินได้ของโจทก์โดยไม่มีสิทธิ อันเป็นการละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่ใช่กรณีที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างฟ้องแย้งเรียกเอาเงินค่าจ้างที่จำเลยได้จ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไปล่วงหน้าคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/4 (9) และสิทธิเรียกร้องอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในการทำงานช่วงก่อนครบเกษียณอายุโดยนับอายุงาน 31 ปี 9 เดือน อยู่แล้ว และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 มาตรา 118 (5) กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน เป็นค่าชดเชยสูงสุด ดังนั้น ไม่ว่าจะนำระยะเวลาการทำงานของโจทก์หลังครบเกษียณอายุอีก 5 ปี 5 เดือน มานับรวมเป็นอายุงานในการคำนวณค่าชดเชยของโจทก์ด้วยได้หรือไม่ โจทก์ก็คงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วันอยู่ดี อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษเกินคำขอฟ้อง: ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษนอกฟ้องโจทก์เป็นเหตุให้คำพิพากษาไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืน และฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธฯ มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ และตาม ป.อ. มาตรา 80, 288,371 โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยิงปืนโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชนตาม ป.อ. มาตรา 376 ด้วย จึงถือไม่ได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าว ทั้งการกระทำความผิดตามมาตรา 376 ก็มิใช่การกระทำซึ่งรวมอยู่ในความผิดตามที่โจทก์ฟ้องอันฟ้องอันศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิดตามที่พิจารณาได้ความได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 376 เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก อันเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมในที่ดินจัดสรร: การแสดงเจตนาโดยปริยายจากแผนผังที่ดินและการรักษาสาธารณูปโภค
แม้ที่ดินพิพาทจะถูกแบ่งแยกและออกโฉนดที่ดินมาแต่แรก อันเป็นสิทธิของผู้จัดสรรที่ดินในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่จะดำเนินการได้ แต่ในเมื่อผู้จัดสรรที่ดินได้แสดงออกโดยปริยายตามแผนผังที่ดินในแผ่นพับโฆษณาแล้วว่าที่ดินทุกแปลงที่จัดสรรรวมทั้งที่ดินพิพาทมีถนนผ่านหน้าที่ดิน อันเป็นสาธารณูปโภคที่จัดให้มีขึ้นที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรโดยผลของประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 โดยหาจำต้องจดทะเบียนไม่ เมื่อจำเลยทั้งสามรับโอนที่ดินพิพาทต่อมาภาระจำยอมในที่ดินพิพาทยังคงอยู่ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสามที่จะต้องรักษาสาธารณูปโภคคือที่ดินพิพาทซึ่งตกอยู่ในภาระจำยอมให้คงสภาพตลอดไปการที่มีการสร้างโรงรถในที่ดินพิพาทไม่ว่าจำเลยทั้งสามจะเป็นผู้ดำเนินการหรือไม่ย่อมทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากละเมิด และการฟ้องขับไล่กรณีครบกำหนดสัญญาเช่า
จำเลยทำสัญญาเช่าแผงจำหน่ายอาหารจากโจทก์โดยสัญญาเช่าระบุว่า กรณีที่มีปัญหาข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญา ผู้เช่ายอมให้โจทก์เป็นคณะอนุญาโตตุลาการทำการชี้ขาดและผู้เช่าต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็็นกรณีที่ระบุถึงปัญหาข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญาเช่า แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพราะเหตุครบกำหนดอายุสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่ยอมออกจากแผงที่เช่า มิใช่เป็นกรณีที่มีปัญหาข้อพิพาทในการปฏิบัติตามสัญญาเช่า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่จำต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน
เมื่อสัญญาเช่าแผงจำหน่ายอาหารครบกำหนดเวลาเช่าตามที่ได้ตกลงกันไว้สัญญาเช่าเป็นอันระงับลงโดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนแผงที่เช่าแก่โจทก์ การที่จำเลยไม่ยอมส่งคืนแผงที่เช่าแก่โจทก์เป็นการผิดสัญญาเช่าและการที่จำเลยยังครอบครองแผงที่เช่าต่อไปโดยโจทก์ไม่ยินยอมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายด้วย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ทั้งฐานผิดสัญญาและฐานกระทำละเมิด แต่ตามสัญญาเช่าไม่มีข้อความใดกำหนดให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเช่าในกรณีสัญญาเช่าสิ้นสุดหรือระงับลงเพราะครบกำหนดเวลาเช่า จึงไม่กำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยนับแต่วันที่จำเลยไม่ยอมออกจากแผงที่เช่า แต่ค่าเสียหายในมูลละเมิดดังกล่าวที่เกิดก่อนวันฟ้องคดีย้อนขึ้นไปเกิน 1 ปี เป็นอันขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษตามกฎหมายทางหลวงที่แก้ไขใหม่ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างที่ไม่ถูกต้อง
ปรากฏตามคำขอท้ายฟ้องว่า โจทก์ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 61, 73 (กฏหมายเดิม) แต่ขณะจำเลยกระทำความผิด กฎหมายได้แก้ไขให้ยกเลิกความในมาตราดังกล่าวและให้ใช้ความใหม่แทนแต่ยังคงบัญญัติเป็นบทความผิดเช่นเดียวกัน ดังนั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องยังคงถือเป็นความผิดตามบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขใหม่ เพียงแต่มาตรา 73/2 (ที่แก้ไขใหม่) กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งหนักกว่าโทษตามมาตรา 73 ของกฎหมายเดิม ที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การที่โจทก์ยังคงขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา61 และมาตรา 73 เป็นเพียงการอ้างบทบัญญัติกฎหมายผิดพลาดไปเท่านั้น แม้โจทก์จะไม่อ้างบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ใหม่ แต่เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ถูกยกเลิกไปแล้วตามคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นมาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายห้องชุดชำรุดไม่เสร็จตามกำหนด ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกดอกเบี้ย
สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาท ระบุว่า ผู้จะขายตกลงว่าจะพยายามดำเนินการก่อสร้างอาคารชุดพร้อมจดทะเบียนอาคารชุดให้เสร็จภายในประมาณปีพ.ศ.2541 โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทกับจำเลยโดยมุ่งหมายจะได้รับประโยชน์จากการใช้สอยห้องชุด โดยมั่นใจว่าโครงการจะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขาย กำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งของสัญญา จำเลยมีหนังสือชี้แจงความคืบหน้าโครงการอาคารชุด ลงวันที่ 18 มีนาคม 2542 ไปถึงโจทก์ ระบุชัดเจนว่าจำเลยคาดว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างห้องชุดให้แล้วเสร็จและแจ้งการรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้ในไม่ช้านี้ แสดงว่าจำเลยก่อสร้างห้องชุดพิพาทไม่แล้วเสร็จในปี 2541 จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทได้
แผ่นพับโฆษณาของจำเลยระบุว่า สำนักงานขายของจำเลยอยู่เลขที่ 632/134 ถนนพระปิ่นเกล้า บางยี่ขัน บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้หนังสือนัดหมายโจทก์ตรวจรับห้องชุด และหนังสือชี้แจงความคืบหน้าก็ระบุว่าจำเลยมีที่อยู่ดังกล่าวเช่นกัน แสดงว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นสำนักงานสาขาของจำเลยจึงเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันได้กระทำ ณ สถานที่นั้นด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 69 โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลย ณ สถานที่ดังกล่าว และจำเลยได้รับแล้ว การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด ข้อ 11 กำหนดให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ชำระมาแล้วทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ซึ่งไม่ชัดแจ้งว่ามีอัตราเท่าใด จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ที่ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากผู้ขายไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนด และการคิดดอกเบี้ย
แผ่นพับโฆษณาของจำเลยระบุว่า สำนักงานขายของจำเลยอยู่เลขที่ 632/134 ถนนพระปิ่นเกล้า บางยี่ขัน บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร หนังสือแจ้งนัดหมายโจทก์ตรวจรับห้องชุด และหนังสือชี้แจงความคืบหน้าโครงการอาคารชุดก็ระบุว่าบริษัทจำเลยอยู่ที่บ้านเลขที่ดังกล่าวเช่นกัน แสดงว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นสำนักงานสาขาของจำเลย จึงเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันได้กระทำ ณ สถานที่นั้นด้วย ตามป.พ.พ. มาตรา 69
สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกำหนดให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ชำระมาแล้วทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งไม่ชัดแจ้งว่ามีอัตราเท่าใด จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ที่ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงร่วมกัน: การกระทำที่ร่วมกันหลอกลวงให้เกิดความเสียหายทางการเงิน และประเด็นอายุความ
ใบจองหุ้นสามัญเป็นเพียงหลักฐานให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในการเป็นผู้ซื้อหุ้นที่บริษัท ห. จะจัดสรรให้เมื่อมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนแล้ว แม้โจทก์จะทำสัญญาจองซื้อหุ้นเป็นเวลานานเป็นปีแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้รับใบหุ้นและพยายามทวงถามจำเลยทั้งสองก็ตาม โจทก์ย่อมไม่ทราบว่าถูกจำเลยทั้งสองหลอกลวงหรือไม่ เพราะอาจมีปัญหาเกี่ยวกับบริษัทโดยตรงที่ไม่สามารถจดทะเบียนเพิ่มทุนได้ ระหว่างที่รอโจทก์จึงไม่สามารถทราบได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ จนกระทั่งวันที่ 20 มีนาคม 2541 จำเลยทั้งสองยอมรับกับโจทก์ว่าไม่มีการจดทะเบียนเพิ่มทุน จึงไม่มีหุ้นโอนให้โจทก์ พร้อมคืนเงินค่าจองหุ้นและชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์รวมเป็นเงิน 2,000,000 บาท เพื่อไม่ให้โจทก์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง โจทก์จึงทราบว่าจำเลยทั้งสองหลอกลวงโจทก์ในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาไม่สุจริตของกรรมการเกินอำนาจกระทบสิทธิลูกหนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
การที่จำเลยทำหนังสือเสนอแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยจำเลยใช้หัวกระดาษระบุชื่อโจทก์และสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของโจทก์ ทั้งใต้ลายมือชื่อของจำเลยระบุว่าจำเลยเป็นกรรมการโจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวทำให้บุคคลภายนอกทั่วไปเข้าใจไปได้ว่า จำเลยเสนอแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในนามของโจทก์ซึ่งขัดกับข้อบังคับอำนาจของกรรมการโจทก์ เป็นการแสดงเจตนาไม่สุจริตทำให้เข้าใจว่าจำเลยเสนอแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ดังกล่าวในนามของโจทก์ ทั้งที่จำเลยไม่มีอำนาจทำการดังกล่าวได้เพราะขัดกับข้อบังคับอำนาจกรรมการกระทำการแทนโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงและได้เสนอแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต่อบรรษัท บ.ไปก่อนจำเลยแล้ว และทำให้การพิจารณาของบรรษัท บ. ซึ่งกำลังดำเนินการเกิดความล่าช้าเพราะต้องพิจารณาทั้งแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของโจทก์และของจำเลย เป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นผู้อื่นและบริษัทโจทก์ได้รับความเสียหายเพราะต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ให้เพิกถอนหนังสือที่จำเลยยื่นแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดมาตราส่วนโทษโดยคำนึงถึงความรู้สึกผิดชอบของจำเลย แม้ข้อหาบางส่วนต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาได้
การใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วนโทษโดยคำนึงถึงความรู้สึกผิดชอบของจำเลยที่ 3 เป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน เมื่อศาลฎีกาลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 3 ในความผิดฐานที่ไม่ต้องห้ามฎีกาแล้ว ก็มีอำนาจลดมาตราส่วนโทษในความผิดฐานที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ด้วย
of 91