พบผลลัพธ์ทั้งหมด 908 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8588/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการลงโทษทางวินัยของนายจ้าง: ศาลไม่ก้าวล่วงดุลพินิจหากชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับ
โจทก์ในฐานะผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการพนักงานฯ และคำสั่งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ซึ่งต้องควบคุมดูแลตรวจสอบการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา แต่โจทก์กลับไม่ควบคุมดูแลตรวจหลักฐานตามรายงานซีเอ็มเอฟ 15 จนเป็นเหตุให้มีการทุจริตยักยอกเงินไปไม่นำเข้าเป็นรายได้ของจำเลยและปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติตามระเบียบในการขอติดตั้งโทรศัพท์ จนมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย
การลงโทษพนักงานที่กระทำผิดวินิจฉัยไม่ร้ายแรงตามข้อบังคับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการพนักงานฯ ข้อ 58 นั้น ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ตามที่พิจารณาเห็นเหมาะสม และเป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะนำเหตุลดหย่อนโทษมาประกอบการพิจารณาหรือไม่ก็ได้ แม้จะเคยมีการลงโทษผู้กระทำผิดวินัยที่คล้ายคลึงกับการกระทำผิดของโจทก์ด้วยการภาคทัณฑ์ ก็มิได้หมายความว่าผู้บังคับบัญชาจะลงโทษสถานอื่นนอกจากภาคทัณฑ์ไม่ได้ หากผู้บังคับบัญชาเห็นว่าการลงโทษครั้งก่อนๆ ไม่เหมาะสมก็มีอำนาจกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ การที่ผู้บังคับบัญชาลงโทษโจทก์ด้วยการลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น โดยไม่ปรากฏว่ามีการลงโทษโดยไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งโจทก์ หรือการลงโทษที่ไม่เหมาะสม จึงเป็นการลงโทษที่เหมาะสมชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยแล้ว
การลงโทษพนักงานที่กระทำผิดวินิจฉัยไม่ร้ายแรงตามข้อบังคับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการพนักงานฯ ข้อ 58 นั้น ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ตามที่พิจารณาเห็นเหมาะสม และเป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะนำเหตุลดหย่อนโทษมาประกอบการพิจารณาหรือไม่ก็ได้ แม้จะเคยมีการลงโทษผู้กระทำผิดวินัยที่คล้ายคลึงกับการกระทำผิดของโจทก์ด้วยการภาคทัณฑ์ ก็มิได้หมายความว่าผู้บังคับบัญชาจะลงโทษสถานอื่นนอกจากภาคทัณฑ์ไม่ได้ หากผู้บังคับบัญชาเห็นว่าการลงโทษครั้งก่อนๆ ไม่เหมาะสมก็มีอำนาจกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ การที่ผู้บังคับบัญชาลงโทษโจทก์ด้วยการลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น โดยไม่ปรากฏว่ามีการลงโทษโดยไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งโจทก์ หรือการลงโทษที่ไม่เหมาะสม จึงเป็นการลงโทษที่เหมาะสมชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การแบ่งทรัพย์สินระหว่างทายาทและผู้รับพินัยกรรม ไม่เข้าข่ายอายุความมรดก
ก่อน ช. กับ ห. จะมาอยู่กินกันฉันสามีภริยาต่างมีบุตรมาก่อนแล้ว โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งของ ช. จึงมีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ช. ส่วนจำเลยเป็นบุตรและเป็นผู้รับพินัยกรรมของ ห. ซึ่งยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ห. ให้แก่จำเลย ดังนี้ การที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ฟ้องจำเลยเพื่อขอให้แบ่งที่ดินพิพาทออกเป็นสัดส่วนของแต่ละฝ่าย จึงมิใช่คดีมรดก จะนำอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้หาได้ไม่
ห. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้จำเลย หลังจาก ห. ถึงแก่กรรมจำเลยไปรับโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ห. ตามพินัยกรรมดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนของ ช. ที่โจทก์รับโอนมาในฐานะผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด อันเป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทอีกส่วนหนึ่งเป็นของ ช. ที่ตกทอดแก่ทายาทของ ช. รวมทั้งโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้ครึ่งหนึ่ง ส่วนวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1364 ได้กำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจนแล้ว จึงต้องเป็นไปตามนั้น
ห. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้จำเลย หลังจาก ห. ถึงแก่กรรมจำเลยไปรับโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ห. ตามพินัยกรรมดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนของ ช. ที่โจทก์รับโอนมาในฐานะผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด อันเป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทอีกส่วนหนึ่งเป็นของ ช. ที่ตกทอดแก่ทายาทของ ช. รวมทั้งโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้ครึ่งหนึ่ง ส่วนวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1364 ได้กำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจนแล้ว จึงต้องเป็นไปตามนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและสิทธิในที่ดินระหว่างทายาทและผู้รับพินัยกรรม ไม่ถือเป็นคดีมรดก
โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายคนหนึ่งของ ช. จึงมีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ช. ส่วนจำเลยเป็นผู้รับพินัยกรรมของ ม. ซึ่งยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ม. ให้แก่จำเลยตามพินัยกรรม การที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ฟ้องจำเลยเพื่อขอให้แบ่งที่ดินพิพาทออกเป็นสัดส่วนของแต่ละฝ่าย จึงมิใช่คดีมรดก ไม่อาจนำอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้ได้
ม. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ม. ให้จำเลยหลังจาก ม. ถึงแก่กรรม จำเลยยังไปรับโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ม. ตามพินัยกรรมดังกล่าว โดยไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนของ ช. ที่โจทก์รับโอนมาในฐานะผู้จัดการมรดก อันเป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทอีกส่วนหนึ่งเป็นของ ช. ที่ตกทอดแก่ทายาทของ ช. รวมทั้งโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้ครึ่งหนึ่ง ส่วนวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1364 ได้กำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจนแล้ว จึงต้องเป็นไปตามนั้น
ม. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ม. ให้จำเลยหลังจาก ม. ถึงแก่กรรม จำเลยยังไปรับโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ม. ตามพินัยกรรมดังกล่าว โดยไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนของ ช. ที่โจทก์รับโอนมาในฐานะผู้จัดการมรดก อันเป็นการยอมรับว่าที่ดินพิพาทอีกส่วนหนึ่งเป็นของ ช. ที่ตกทอดแก่ทายาทของ ช. รวมทั้งโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้ครึ่งหนึ่ง ส่วนวิธีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1364 ได้กำหนดขั้นตอนไว้ชัดเจนแล้ว จึงต้องเป็นไปตามนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8417/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องให้ความหมายว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือความประพฤติชั่ว โกง ไม่ชื่อตรง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการสอบสวนนั้นโจทก์แจ้งว่า โจทก์ได้รับกล้องที่เป็นของสมนาคุณมาจริงแล้วนำไปไว้ในที่เก็บสินค้าของจำเลยยังมิได้นำออกใช้ แต่เมื่อตรวจดูหน่วยความจำที่บันทึกภาพถ่ายในกล้องปรากฏว่ามีภาพอยู่จำนวน 26 ภาพ เป็นภาพถ่ายที่โจทก์บันทึกไว้เป็นการส่วนตัวโจทก์จึงยอมรับว่าเอากล้องดังกล่าวไปใช้จริง การที่โจทก์ยอมรับว่าเอากล้องดังกล่าวไปใช้แล้วจึงเป็นเพราะโจทก์จำนนต่อหลักฐานนั่นเอง ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการนำไปใช้โดยถือวิสาสะ เพราะหากโจทก์คิดว่าโจทก์มีสิทธิจะนำไปใช้ได้ โจทก์ก็น่าจะยอมรับว่าเอาไปใช้แล้วจริงตั้งแต่ต้น ไม่น่าจะต้องให้ตรวจดูหน่วยความจำที่กล้องบันทึกไว้เสียก่อน เมื่อปรากฏว่ามีภาพถ่ายที่โจทก์บันทึกไว้เป็นการส่วนตัว โจทก์จึงเพิ่งจะยอมรับว่ากล้องดังกล่าวเป็นของสมนาคุณที่จำเลยได้มาและมีไว้เพื่อให้พนักงานของจำเลยจับรางวัลในงานวันขึ้นปีใหม่ การที่โจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้กล้องดังกล่าวมา ทั้งยังนำไปใช้โดยพลการ เมื่อมีการสอบสวนก็ยังไม่ยอมรับว่าเอาไปใช้แล้วจนต้องมีการตรวจสอบหาความจริงจากหน่วยความจำที่กล้องบันทึกไว้ด้วยเช่นนี้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการประพฤติไม่ซื่อตรงอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) ทั้งยังเป็นการกระทำอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ ทั้งการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในกรณีนี้เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8296/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ การโอนสิทธิ ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง และความรับผิดของผู้สลักหลัง
เช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้แก่กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 918, 989 โจทก์ผู้รับโอนเช็คจึงเป็นผู้ถือและเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามเช็คได้ จำเลยทั้งสองถูกฟ้องในมูลหนี้ตามตั๋วเงินคือเช็คไม่อาจต่อสู้ผู้ทรงคือโจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับ จ. ผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คให้ จ. โดยไม่มีมูลหนี้ แต่เป็นการค้ำประกันในการเล่นแชร์ระหว่างกัน คำให้การดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คกับ จ. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน ฉะนั้นจำเลยจะยกความสัมพันธ์ดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่ามีการโอนเช็คและคบคิดฉ้อฉลกันอย่างไร และในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์ได้รับเช็คมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 การที่ จ. ให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก็ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นใช้ยันกับโจทก์ได้ตาม มาตรา 904 และมาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 ที่จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร คำให้การจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามมาตรา 900 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 ซึ่งการที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าแชร์จาก จ. ครบหรือไม่เพียงใดก็ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ จ. โดยตรงต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ผู้ลงนามสั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ลงชื่อสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือก็จะปัดตนให้พ้นความรับผิดไปหาได้ไม่ เพราะฐานะของจำเลยที่ 2 เท่ากับเป็นประกันหรืออาวัลสำหรับผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921,940 ประกอบมาตรา 989
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่ามีการโอนเช็คและคบคิดฉ้อฉลกันอย่างไร และในเบื้องต้นต้องถือว่าโจทก์ได้รับเช็คมาโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 การที่ จ. ให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ก็ไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยทั้งสองจะยกขึ้นใช้ยันกับโจทก์ได้ตาม มาตรา 904 และมาตรา 916 ประกอบมาตรา 989 ที่จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร คำให้การจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามมาตรา 900 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามเช็คนั้นให้แก่โจทก์ตามมาตรา 914 ประกอบด้วยมาตรา 989 ซึ่งการที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าแชร์จาก จ. ครบหรือไม่เพียงใดก็ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ จ. โดยตรงต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ผู้ลงนามสั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ลงชื่อสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือก็จะปัดตนให้พ้นความรับผิดไปหาได้ไม่ เพราะฐานะของจำเลยที่ 2 เท่ากับเป็นประกันหรืออาวัลสำหรับผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921,940 ประกอบมาตรา 989
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7942/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานซัดทอดร่วมกับคำรับสารภาพและพยานหลักฐานอื่นประกอบกันเพื่อพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยกับพวกร่วมกันลักทรัพย์เครื่องยนต์ซึ่งติดตั้งอยู่บนรถไถนาอันเป็นเครื่องกลของผู้เสียหายที่มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมทำนาในเคหสถานในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) (8) (12) วรรคสาม ประกอบมาตรา 336 ทวิ, 83 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) (10) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ จึงเป็นการปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ไม่ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้โดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างตัวแทน: การผูกพันนายจ้างจากตัวแทนในการจ้างงานและค่าจ้าง
จำเลยมอบหมายให้ ว. ดูแลงานด้านการตลาดของบริษัทจำเลย และรู้เห็นในการทำงานของ ว. จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยได้เชิด ว. ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยหรือรู้แล้วยอมให้ ว. เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการจ้างโจทก์ทำงานกับจำเลย การที่ ว. รับโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยโดยจ่ายค่าจ้างให้และจำเลยได้รับประโยชน์จากการทำงานของโจทก์มาโดยตลอดนั้น จึงมีผลผูกพันจำเลยเสมือนว่า ว. เป็นตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 จำเลยจึงเป็นนายจ้างโจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 โดยเป็นผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้โดยมี ว. กระทำการเป็นตัวแทนของจำเลยดำเนินการแทน ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะมีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 หรือมาตรา 5 (3) จำเลยก็เป็นนายจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7787/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กโดยใช้อาวุธ: ศาลฎีกาวินิจฉัยพยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการลงโทษฐานใช้อาวุธ
ก่อนจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยนำอาวุธมีดที่ติดตัวออกมาวางบริเวณเสื่อที่จัดเตรียมไว้แล้วจึงกระทำชำเราผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายมิได้ยืนยันว่าจำเลยใช้อาวุธมีดขู่เข็ญบังคับให้ผู้เสียหายยอมให้จำเลยกระทำชำเรา เมื่อจำเลยสำเร็จความใคร่แล้ว จำเลยนำอาวุธมีดมาถือไว้และข่มขู่ผู้เสียหายมิให้บอกแก่ผู้อื่นว่าถูกจำเลยกระทำชำเรา ซึ่งเป็นการใช้อาวุธมีดหลังจากที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายแล้ว พยานหลักฐานตามทางนำสืบของโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยยังไม่อาจรับฟังให้เป็นที่พอใจว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยใช้อาวุธ อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม คงรับฟังให้เป็นยุติได้แต่เพียงว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7717/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างต่อเนื่องและค่าชดเชย เมื่อสัญญาเดิมหมดอายุแล้วยังคงจ้างงานต่อ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสาม สัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างต้องเป็นไปตามมาตรา 118 วรรคสี่ โดยต้องเป็นสัญญาจ้างในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานจะต้องแล้วเสร็จในเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ค่าชดเชย หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เงินที่จำเลยให้โจทก์ก่อนที่จะครบกำหนดระยะเวลา 12 เดือน ตามสัญญาจ้าง จึงมิใช่ค่าชดเชย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเดิมเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนระหว่างวันที่ 14 เมษายน 2543 ถึงวันที่ 13 เมษายน 2544 แต่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวในวันที่ 13 เมษายน 2544 แล้วจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ ยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป ทั้งยังยอมจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ จึงต้องถือว่าได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 581 กลายเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างกันไว้ ดังนั้นเมื่อจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ทราบเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ค่าชดเชย หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เงินที่จำเลยให้โจทก์ก่อนที่จะครบกำหนดระยะเวลา 12 เดือน ตามสัญญาจ้าง จึงมิใช่ค่าชดเชย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเดิมเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนระหว่างวันที่ 14 เมษายน 2543 ถึงวันที่ 13 เมษายน 2544 แต่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวในวันที่ 13 เมษายน 2544 แล้วจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ ยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป ทั้งยังยอมจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ จึงต้องถือว่าได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 581 กลายเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างกันไว้ ดังนั้นเมื่อจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ทราบเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7699/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน vs. สัญญาจ้างทำของ: การพิจารณาจากลักษณะการควบคุมการทำงานและค่าตอบแทน
โจทก์มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้ จ. ปฏิบัติตาม มีวันเวลาทำงานวันใด วันหยุดวันใด หากไม่อาจมาทำงานได้จะต้องปฏิบัติอย่างไร หากไม่ปฏิบัติตามนั้นจะมีผลอย่างไร ซึ่งเป็นการใช้อำนาจบังคับบัญชาในการปฏิบัติงานของ จ. โดยแท้ หาใช่ จ. ทำงานได้โดยอิสระเพียงเพื่อให้ได้ผลสำเร็จของงานเท่านั้นไม่ และในสัญญาดังกล่าวกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าบริการแก่ จ. เป็นรายเดือนตอบแทนการทำงานตลอดระยะเวลาที่ จ. ทำงานให้โจทก์ โดยกำหนดค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าทำงานในวันหยุด หาใช่โจทก์จ่ายสินจ้างให้ จ. เพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำอันจะเป็นสัญญาจ้างทำของไม่ นอกจากนี้ ในหัวข้อสุดท้ายของสัญญาดังกล่าวที่เป็นหมายเหตุยังกำหนดว่านอกเหนือจากหน้าที่ขับรถตามสัญญาแล้ว ยังมีกรณีที่ จ. ต้องทำงานอื่นตามที่โจทก์มอบหมายอีกด้วย จะเห็นได้ว่าค่าตอบแทนในการทำงานจึงมิใช่เพียงเพื่อผลสำเร็จของการงานที่ทำคือขับรถเท่านั้น แต่เป็นค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ไม่ว่าเป็นงานหน้าที่ใดโดยกำหนดจ่ายเป็นรายเดือน ดังนั้น สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับ จ. จึงมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานมิใช่สัญญาจ้างทำของดังที่โจทก์อุทธรณ์