พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ให้เช่าซื้อเมื่อทรัพย์สินถูกยึดจากคดีฟอกเงิน: คืนเงินลงทุนส่วนที่ยังขาด พร้อมดอกผล
ห. ยังชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาทไม่ครบถ้วน กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังเป็นของผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 1 พิสูจน์ให้ศาลเห็นว่ารถยนต์ที่ผู้คัดค้านที่ 1 ซื้อมาเพื่อให้เช่าซื้อมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด แต่เมื่อ ห. ผู้เช่าซื้อรถยนต์เป็นเครือข่ายผู้กระทำความผิดมูลฐาน เงินที่ ห. ชำระเงินดาวน์และค่าเช่าซื้อแต่ละงวดตามสัญญาเช่าซื้อจึงเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวที่มีรถยนต์เป็นวัตถุแห่งสัญญา จึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดรวมอยู่ด้วยซึ่งต้องตกเป็นของแผ่นดิน
ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์มีราคาเงินสด 1,111,214.95 บาท หักเงินดาวน์แล้ว 301,721.50 บาท ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เงินลงทุนให้ ห. เช่าซื้อรถยนต์ 809,493.45 บาท ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระไป ผู้คัดค้านที่ 1 เรียกเก็บจาก ห. เมื่อชำระเงินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 แล้วบางส่วน ส่วนที่ยังขาดอยู่ผู้คัดค้านที่ 1 มีสิทธิได้รับคืนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคสาม เมื่อระยะเวลาเช่าซื้อมีกำหนด 84 งวด คิดเป็นเงินค่าเช่าซื้อส่วนที่เป็นราคารถยนต์งวดละ 9,636.83 บาท ห. ชำระค่าเช่าซื้อรวม 24 งวด เป็นเงิน 231,283.92 บาท จึงเหลือเงินลงทุนของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ยังขาดอยู่ซึ่งผู้คัดค้านที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับ 578,209.53 บาท เมื่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินนำรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ที่แบ่งแยกไม่ได้ออกขายทอดตลาดแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีสิทธิได้รับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดรถยนต์เป็นเงิน 578,209.53 บาท พร้อมดอกผล ส่วนที่เหลือ (หากมี) พร้อมดอกผลจึงตกเป็นของแผ่นดิน
ตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์มีราคาเงินสด 1,111,214.95 บาท หักเงินดาวน์แล้ว 301,721.50 บาท ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เงินลงทุนให้ ห. เช่าซื้อรถยนต์ 809,493.45 บาท ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระไป ผู้คัดค้านที่ 1 เรียกเก็บจาก ห. เมื่อชำระเงินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 แล้วบางส่วน ส่วนที่ยังขาดอยู่ผู้คัดค้านที่ 1 มีสิทธิได้รับคืนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคสาม เมื่อระยะเวลาเช่าซื้อมีกำหนด 84 งวด คิดเป็นเงินค่าเช่าซื้อส่วนที่เป็นราคารถยนต์งวดละ 9,636.83 บาท ห. ชำระค่าเช่าซื้อรวม 24 งวด เป็นเงิน 231,283.92 บาท จึงเหลือเงินลงทุนของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ยังขาดอยู่ซึ่งผู้คัดค้านที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับ 578,209.53 บาท เมื่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินนำรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ที่แบ่งแยกไม่ได้ออกขายทอดตลาดแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีสิทธิได้รับเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดรถยนต์เป็นเงิน 578,209.53 บาท พร้อมดอกผล ส่วนที่เหลือ (หากมี) พร้อมดอกผลจึงตกเป็นของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5120-5122/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินฟอกเงิน: ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกคืนจากผู้รับโอนสุจริตได้ โดยให้ขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้
เงินของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ อ. ขออนุมัติถอนมาจากบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่ 1 เป็นแคชเชียร์เช็คระบุชื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้รับเงิน เพื่อนำไปฝากยังธนาคารผู้คัดค้านที่ 2 สาขาสุวินทวงศ์ ไม่ได้มีการนำเข้าฝากที่สาขาดังกล่าว แต่กลับนำไปฝากที่ธนาคารผู้คัดค้านที่ 2 ในบัญชีชื่อของ พ. ที่สาขาดิอเวนิว โดยไม่ปรากฏเหตุที่จะอ้างโดยชอบ จากนั้นมีการโอนเงินไปยังบุคคลต่าง ๆ แม้เงินที่ฝากจะสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับฝากคือธนาคารผู้คัดค้านที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 แต่เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินจำนวนเดียวกับที่เป็นของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ถูกถอนออกมาและนำไปฝากโดยผิดวัตถุประสงค์ บุคคลอื่นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากตามจำนวนที่เบิกถอนมาจากบัญชีของผู้คัดค้านที่ 1 โดยไม่ชอบดังกล่าวย่อมไม่อาจอ้างสิทธิใดได้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้เสียหายในคดีอาญามีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งเงินของตนจาก อ. กับพวกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แม้ต่อมาจะมีการถ่ายโอนเงินของผู้คัดค้านที่ 1 หรือนำไปดำเนินการอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นการนำไปซื้อทรัพย์สินต่าง ๆ หรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่น ทรัพย์สินต่าง ๆ เหล่านั้นก็ไม่ตกเป็นของแผ่นดินและต้องถูกดำเนินการเพื่อให้ได้เงินมาคืนแก่ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้มีสิทธิที่แท้จริงจนครบจำนวน
ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ทรัพย์สินรายการที่ 42 เป็น "ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด" ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 โดยผู้คัดค้านที่ 7 นำเงินที่ได้จากการที่ผู้คัดค้านที่ 7 และ อ. กับพวกได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (5) (18) โอนเข้าบัญชีผู้คัดค้านที่ 7 แล้วผู้คัดค้านที่ 7 นำเงินที่รับโอนมาดังกล่าวซื้อทรัพย์สินรายการที่ 42 แล้วขายฝากทรัพย์สินนั้นไว้แก่ผู้คัดค้านที่ 9 และไม่ไถ่คืนในกำหนด เมื่อผู้คัดค้านที่ 9 ซื้อฝากทรัพย์สินรายการที่ 42 นี้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ในระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านที่ 9 ศาลย่อมสั่งคืนทรัพย์สินรายการนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 9 ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51/1 ทรัพย์สินรายการนี้จึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินตามคำร้องของผู้ร้อง แต่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้เสียหายจากการกระทำของผู้คัดค้านที่ 7 กับพวก ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีสิทธิติดตามและเอาทรัพย์คืนจากผู้คัดค้านที่ 7 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อผู้คัดค้านที่ 7 นำเงินของผู้คัดค้านที่ 1 ไปซื้อทรัพย์สินรายการที่ 42 ผู้คัดค้านที่ 7 จึงไม่มีสิทธิยึดถือทรัพย์สินรายการนี้ไว้ แต่ต้องคืนแก่ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อต่อมาผู้คัดค้านที่ 7 นำทรัพย์สินรายการนี้ไปขายฝากไว้แก่ผู้คัดค้านที่ 9 แม้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินรายการนี้จะตกเป็นของผู้คัดค้านที่ 9 แต่เมื่อผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 491 และการที่ผู้คัดค้านที่ 1 มีสิทธิติดตามและเอาทรัพย์คืนดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของผู้คัดค้านที่ 7 จึงอาจใช้สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่ 7 ซึ่งเป็นลูกหนี้ในทรัพย์สินรายการนี้แทนผู้คัดค้านที่ 7 กรณีนี้เพื่อคุ้มครองผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงควรให้ดำเนินการเสมือนมีการใช้สิทธิไถ่ถอนทรัพย์ที่ขายฝากจากผู้คัดค้านที่ 9 เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 9 จึงไม่อาจให้ทรัพย์สินรายการนี้ตกเป็นของผู้คัดค้านที่ 9 ผู้รับซื้อฝากได้ แต่ควรให้ผู้คัดค้านที่ 9 ได้รับเงินค่าสินไถ่ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาขายฝากโดยนำทรัพย์สินนี้ออกขายทอดตลาดนำเงินชำระสินไถ่แก่ผู้คัดค้านที่ 9 และคืนส่วนที่เหลือ (หากมี) ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1
เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์สินรายการที่ 42 เป็นส่วนของวิธีการที่จะให้ทรัพย์สินนั้นถูกนำไปคืนแก่ผู้เสียหาย ขณะเดียวกันก็คุ้มครองผู้รับโอนทรัพย์สินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน สินไถ่ดังกล่าวจึงไม่ใช่หนี้เงินที่แท้จริงซึ่งหากลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดก็ให้คิดดอกเบี้ยตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรไม่กำหนดดอกเบี้ยในสินไถ่ให้ผู้คัดค้านที่ 9
ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ทรัพย์สินรายการที่ 42 เป็น "ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด" ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 โดยผู้คัดค้านที่ 7 นำเงินที่ได้จากการที่ผู้คัดค้านที่ 7 และ อ. กับพวกได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (5) (18) โอนเข้าบัญชีผู้คัดค้านที่ 7 แล้วผู้คัดค้านที่ 7 นำเงินที่รับโอนมาดังกล่าวซื้อทรัพย์สินรายการที่ 42 แล้วขายฝากทรัพย์สินนั้นไว้แก่ผู้คัดค้านที่ 9 และไม่ไถ่คืนในกำหนด เมื่อผู้คัดค้านที่ 9 ซื้อฝากทรัพย์สินรายการที่ 42 นี้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ในระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านที่ 9 ศาลย่อมสั่งคืนทรัพย์สินรายการนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 9 ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 51/1 ทรัพย์สินรายการนี้จึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินตามคำร้องของผู้ร้อง แต่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้เสียหายจากการกระทำของผู้คัดค้านที่ 7 กับพวก ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีสิทธิติดตามและเอาทรัพย์คืนจากผู้คัดค้านที่ 7 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อผู้คัดค้านที่ 7 นำเงินของผู้คัดค้านที่ 1 ไปซื้อทรัพย์สินรายการที่ 42 ผู้คัดค้านที่ 7 จึงไม่มีสิทธิยึดถือทรัพย์สินรายการนี้ไว้ แต่ต้องคืนแก่ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อต่อมาผู้คัดค้านที่ 7 นำทรัพย์สินรายการนี้ไปขายฝากไว้แก่ผู้คัดค้านที่ 9 แม้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินรายการนี้จะตกเป็นของผู้คัดค้านที่ 9 แต่เมื่อผู้ขายฝากอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 491 และการที่ผู้คัดค้านที่ 1 มีสิทธิติดตามและเอาทรัพย์คืนดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของผู้คัดค้านที่ 7 จึงอาจใช้สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่ 7 ซึ่งเป็นลูกหนี้ในทรัพย์สินรายการนี้แทนผู้คัดค้านที่ 7 กรณีนี้เพื่อคุ้มครองผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงควรให้ดำเนินการเสมือนมีการใช้สิทธิไถ่ถอนทรัพย์ที่ขายฝากจากผู้คัดค้านที่ 9 เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 9 จึงไม่อาจให้ทรัพย์สินรายการนี้ตกเป็นของผู้คัดค้านที่ 9 ผู้รับซื้อฝากได้ แต่ควรให้ผู้คัดค้านที่ 9 ได้รับเงินค่าสินไถ่ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาขายฝากโดยนำทรัพย์สินนี้ออกขายทอดตลาดนำเงินชำระสินไถ่แก่ผู้คัดค้านที่ 9 และคืนส่วนที่เหลือ (หากมี) ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1
เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์สินรายการที่ 42 เป็นส่วนของวิธีการที่จะให้ทรัพย์สินนั้นถูกนำไปคืนแก่ผู้เสียหาย ขณะเดียวกันก็คุ้มครองผู้รับโอนทรัพย์สินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน สินไถ่ดังกล่าวจึงไม่ใช่หนี้เงินที่แท้จริงซึ่งหากลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดก็ให้คิดดอกเบี้ยตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรไม่กำหนดดอกเบี้ยในสินไถ่ให้ผู้คัดค้านที่ 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9783/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องละเมิดจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินยึด: ต้องรอคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดว่าไม่ใช่ทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิด
โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยในข้อหาละเมิดโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยขายทอดตลาดรถบรรทุกและพ่วงบรรทุก 209 คัน ที่คณะกรรมการธุรกรรมของจำเลยมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 57 ซึ่งบัญญัติหลักเกณฑ์การเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดหรืออายัดไว้ในวรรคสอง ส่วนการชดใช้เยียวยาความเสียหายให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินที่ถูกยึด หากภายหลังความปรากฏว่าทรัพย์สินนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ซึ่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 57 วรรคสี่ นั้นแม้ถ้อยคำในมาตรา 57 วรรคสี่ บัญญัติว่า ถ้าความปรากฏในภายหลังนั้น กฎหมายจะมิได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าความปรากฏในภายหลังโดยคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดก็ตาม แต่มาตรา 57 เป็นบทบัญญัติที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่คณะกรรมการธุรกรรมของจำเลยมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้นไว้ชั่วคราวตามมาตรา 48 วรรคหนึ่ง เพื่อเลขาธิการจะได้ดำเนินการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินต่อไปตามมาตรา 49 ซึ่งหากศาลไต่สวนแล้วเชื่อว่าทรัพย์สินนั้นเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดก็ให้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง แต่หากศาลเห็นว่าไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดก็ให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินนั้นตามมาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณีย่อมมีนัยแสดงให้เห็นได้อยู่ในตัวว่า คำว่า "ถ้าความปรากฏในภายหลัง" ตามมาตรา 57 วรรคสี่ นั้น ต้องเป็นกรณีที่ความปรากฏในภายหลังตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดตามมาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง ที่ว่า ทรัพย์สินตามคำร้องนั้นไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น หากตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดตามมาตราดังกล่าวว่าทรัพย์สินตามคำร้องไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด กรณีย่อมไม่เข้าองค์ประกอบตามความในมาตรา 57 วรรคสี่ ที่จะก่อให้เกิดหนี้แก่จำเลยที่จะต้องคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดว่า ทรัพย์สินตามคำร้องไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ตามมาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง กรณีย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสองตามฟ้อง จำเลยจึงยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสองอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้ หรือหากเก็บรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้น มาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติถึงวิธีการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ว่า เลขาธิการอาจสั่งให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินนั้นไปดูแลและใช้ประโยชน์โดยมีประกันหรือหลักประกันหรือให้นำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดหรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางราชการแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบก็ได้ ดังนั้นการที่เลขาธิการของจำเลยนำรถบรรทุกและพ่วงบรรทุกทั้ง 209 คัน ของโจทก์ทั้งสองออกขายทอดตลาดในขณะที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดินยังอยู่ในระหว่างการพิจารณานั้น เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่ของเลขธิการของจำเลยเกี่ยวกับการเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่มาตรา 48 และมาตรา 57 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 บัญญัติให้มีอำนาจกระทำได้ อีกทั้งเป็นการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในระหว่างที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินอยู่ในระหว่างการพิจารณา การดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเช่นว่านี้จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้ หรือหากเก็บรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้น มาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติถึงวิธีการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ว่า เลขาธิการอาจสั่งให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินนั้นไปดูแลและใช้ประโยชน์โดยมีประกันหรือหลักประกันหรือให้นำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดหรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางราชการแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบก็ได้ ดังนั้นการที่เลขาธิการของจำเลยนำรถบรรทุกและพ่วงบรรทุกทั้ง 209 คัน ของโจทก์ทั้งสองออกขายทอดตลาดในขณะที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดินยังอยู่ในระหว่างการพิจารณานั้น เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่ของเลขธิการของจำเลยเกี่ยวกับการเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่มาตรา 48 และมาตรา 57 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 บัญญัติให้มีอำนาจกระทำได้ อีกทั้งเป็นการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในระหว่างที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินอยู่ในระหว่างการพิจารณา การดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเช่นว่านี้จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9783/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดจากการขายทอดตลาดทรัพย์สินยึด ต้องรอคำพิพากษาถึงที่สุดว่าไม่ใช่ทรัพย์สินฟอกเงิน
คำว่า "ถ้าความปรากฏในภายหลัง" ตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2552 มาตรา 57 วรรคสี่ เป็นกรณีที่ความปรากฏในภายหลังตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดตามมาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง ที่ว่า ทรัพย์สินตามคำร้องนั้นไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ดังนั้น หากตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดตามมาตราดังกล่าวว่าทรัพย์สินตามคำร้องไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดย่อมไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 57 วรรคสี่ ที่จะก่อให้เกิดหนี้แก่จำเลยที่จะต้องคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดว่า ทรัพย์สินตามคำร้องไม่เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามมาตรา 51/1 วรรคหนึ่ง ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยจึงยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้ หรือหากเก็ยรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้นพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติถึงวิธีการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ การที่เลขาธิการของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจำเลยนำรถบรรทุกและพ่วงบรรทุกของโจทก์ออกขายทอดตลาดในขณะที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดินยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการเกี่ยวกับการเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่มาตรา 48 และมาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติให้มีอำนาจกระทำได้ อีกทั้งเป็นการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในระหว่างที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินอยู่ในระหว่างการพิจารณา ดังนั้น การดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเช่นว่านี้ จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้ หรือหากเก็ยรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้นพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติถึงวิธีการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้ การที่เลขาธิการของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจำเลยนำรถบรรทุกและพ่วงบรรทุกของโจทก์ออกขายทอดตลาดในขณะที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตามคำร้องตกเป็นของแผ่นดินยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการเกี่ยวกับการเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งยึดไว้ชั่วคราวตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่มาตรา 48 และมาตรา 57 วรรคสอง บัญญัติให้มีอำนาจกระทำได้ อีกทั้งเป็นการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวในระหว่างที่คดีร้องขอให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินอยู่ในระหว่างการพิจารณา ดังนั้น การดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเช่นว่านี้ จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์