พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5,846 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย การเพิ่มความรับผิดเกินกว่าที่ตกลงกันไม่ได้
สัญญาประนีประนอมยอมความถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้เมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 คำร้องขอของโจทก์ที่ขอแก้ไขคำพิพากษาเพิ่มความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย มิใช่คำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยข้อขัดข้องในการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่เป็นการเพิ่มความรับผิดให้จำเลยต้องรับผิดมากขึ้น อันมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ จึงขอแก้ไขไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ยต้องเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล โดยจำเลยยอมชำระเงิน 5,624,000 บาท แก่โจทก์ ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาซึ่งจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้เมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 หลังจากนั้นจำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์เพียงบางส่วน โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นคำร้องขอให้ศาลแก้ไขคำพิพากษาเพิ่มความรับผิดของจำเลยในส่วนของดอกเบี้ยที่จำเลยมิได้ยินยอมรับผิดหากผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดอันมิใช่คำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยข้อขัดข้องในการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี และมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ดังกล่าวศาลชอบที่จะยกคำร้องดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215-2234/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าชดเชยครูเอกชน: ศาลพิจารณาเหตุผลการจ่ายเงินอุดหนุนเกินจริง และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
แม้ตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯ หมวด 7 จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ใช่ขั้นตอนการระงับข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่หรือครูกับผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคสอง เมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 19 ถูกจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 19 จึงมีอำนาจนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานภาค 8 ได้โดยไม่จำต้องเสนอข้อขัดแย้งให้คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานวินิจฉัยชี้ขาดตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯ ก่อน โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 19 จึงมีอำนาจฟ้อง
โรงเรียนของจำเลยได้รับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียน (เพิ่มเติม) จากงบประมาณสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเพื่อปรับเงินเดือนให้ครู วันที่ 18 สิงหาคม 2548 จำเลยนำเงินอุดหนุนของเดือนเมษายน 2547 ถึงเดือนพฤษภาคม 2548 เข้าบัญชีโจทก์คนละ 12,222 บาท แล้วถอนเงินออกจากบัญชีโจทก์คนละ 5,515.51 บาท ในวันเดียวกันโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้งยี่สิบทราบวันที่ 30 สิงหาคม 2548 โจทก์ทั้งยี่สิบจึงไปร้องทุกข์ให้สอบสวนหาข้อเท็จจริง ดังนี้ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ถอนเงินออกจากบัญชีของโจทก์ทั้งยี่สิบโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้งยี่สิบทราบตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2548 ที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้สอบสวนหาข้อเท็จจริงเป็นเวลาถึง 12 วัน จำเลยมีเวลาพอที่จะชี้แจงเหตุผลที่ถอนเงินออกจากบัญชีโจทก์ทั้งยี่สิบได้แต่ก็ไม่กระทำ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเกิดจากความบกพร่องของจำเลย และมีเหตุสมควรที่โจทก์ทั้งยี่สิบจะติดตามหาสาเหตุที่เงินในบัญชีของตนถูกถอนไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งยี่สิบจงใจทำให้ผู้รับใบอนุญาต (จำเลย) ได้รับความเสียหายและทำให้โรงเรียนของจำเลยเสื่อมเสียชื่อเสียงตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 34 (2) (5) ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัย และหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ครูใหญ่ หรือครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 6 (5) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบด้วยเหตุนี้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งยี่สิบ
เมื่อจำเลยจ่ายเงินเพิ่มตามวุฒิเข้าบัญชีโจทก์ทั้งยี่สิบโดยใช้ฐานการคำนวณจากอัตราเดือนละ 900 บาท เป็นเงินคนละ 12,222 บาท แต่จำเลยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนไม่ถึงอัตราเงินเพิ่มตามวุฒิ อีกทั้งจำเลยไม่ผูกพันต้องจ่ายเงินเพิ่มตามวุฒิในอัตราเดือนละ 900 บาท แก่โจทก์ทั้งยี่สิบ จำเลยชอบที่จะจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบตามสัดส่วนของเงินที่ได้รับ การที่จำเลยจ่ายเงินอุดหนุนให้โจทก์ทั้งยี่สิบเกินส่วนที่ได้รับโดยนำเงินของจำเลยสมทบเพิ่มไปด้วยจึงเป็นการจ่ายโดยผิดหลง จำเลยจึงชอบที่จะติดตามเอาเงินของจำเลยที่จ่ายสมทบเพิ่มคืน จำเลยชี้แจงเหตุผลแก่โจทก์ทั้งยี่สิบและครูทั้งโรงเรียนแล้วเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 และวันที่ 2 กันยายน 2548 ว่าจำเลยได้รับเงินอุดหนุนมาไม่พอ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบยังคงยืนยันร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยลักทรัพย์และยืนยันให้ดำเนินคดีแก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ทั้งยี่สิบเป็นบุคคลไม่ยอมรับฟังเหตุผลและความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่เหมาะสมแก่การเป็นครู (อาจารย์) ผู้สั่งสอนถ่ายทอดความรู้และจริยธรรมให้แก่นักเรียนผู้เป็นศิษย์ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยกลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 6 กำหนดไว้ในข้อ (1) มิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู จำเลยเป็นนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน โจทก์ทั้งยี่สิบเป็นครู (อาจารย์) จึงไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ที่ศาลแรงงานภาค 8 พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งยี่สิบตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 จึงไม่ถูกต้อง ค่าชดเชยที่จำเลยต้องรับผิดจ่ายแก่โจทก์ทั้งยี่สิบต้องบังคับตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ
โรงเรียนของจำเลยได้รับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวนักเรียน (เพิ่มเติม) จากงบประมาณสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเพื่อปรับเงินเดือนให้ครู วันที่ 18 สิงหาคม 2548 จำเลยนำเงินอุดหนุนของเดือนเมษายน 2547 ถึงเดือนพฤษภาคม 2548 เข้าบัญชีโจทก์คนละ 12,222 บาท แล้วถอนเงินออกจากบัญชีโจทก์คนละ 5,515.51 บาท ในวันเดียวกันโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้งยี่สิบทราบวันที่ 30 สิงหาคม 2548 โจทก์ทั้งยี่สิบจึงไปร้องทุกข์ให้สอบสวนหาข้อเท็จจริง ดังนี้ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ถอนเงินออกจากบัญชีของโจทก์ทั้งยี่สิบโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้งยี่สิบทราบตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2548 ที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้สอบสวนหาข้อเท็จจริงเป็นเวลาถึง 12 วัน จำเลยมีเวลาพอที่จะชี้แจงเหตุผลที่ถอนเงินออกจากบัญชีโจทก์ทั้งยี่สิบได้แต่ก็ไม่กระทำ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเกิดจากความบกพร่องของจำเลย และมีเหตุสมควรที่โจทก์ทั้งยี่สิบจะติดตามหาสาเหตุที่เงินในบัญชีของตนถูกถอนไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งยี่สิบจงใจทำให้ผู้รับใบอนุญาต (จำเลย) ได้รับความเสียหายและทำให้โรงเรียนของจำเลยเสื่อมเสียชื่อเสียงตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 34 (2) (5) ประกอบระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัย และหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ครูใหญ่ หรือครูโรงเรียนเอกชนฯ ข้อ 6 (5) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบด้วยเหตุนี้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งยี่สิบ
เมื่อจำเลยจ่ายเงินเพิ่มตามวุฒิเข้าบัญชีโจทก์ทั้งยี่สิบโดยใช้ฐานการคำนวณจากอัตราเดือนละ 900 บาท เป็นเงินคนละ 12,222 บาท แต่จำเลยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนไม่ถึงอัตราเงินเพิ่มตามวุฒิ อีกทั้งจำเลยไม่ผูกพันต้องจ่ายเงินเพิ่มตามวุฒิในอัตราเดือนละ 900 บาท แก่โจทก์ทั้งยี่สิบ จำเลยชอบที่จะจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่โจทก์ทั้งยี่สิบตามสัดส่วนของเงินที่ได้รับ การที่จำเลยจ่ายเงินอุดหนุนให้โจทก์ทั้งยี่สิบเกินส่วนที่ได้รับโดยนำเงินของจำเลยสมทบเพิ่มไปด้วยจึงเป็นการจ่ายโดยผิดหลง จำเลยจึงชอบที่จะติดตามเอาเงินของจำเลยที่จ่ายสมทบเพิ่มคืน จำเลยชี้แจงเหตุผลแก่โจทก์ทั้งยี่สิบและครูทั้งโรงเรียนแล้วเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 และวันที่ 2 กันยายน 2548 ว่าจำเลยได้รับเงินอุดหนุนมาไม่พอ การที่โจทก์ทั้งยี่สิบยังคงยืนยันร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยลักทรัพย์และยืนยันให้ดำเนินคดีแก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ทั้งยี่สิบเป็นบุคคลไม่ยอมรับฟังเหตุผลและความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่เหมาะสมแก่การเป็นครู (อาจารย์) ผู้สั่งสอนถ่ายทอดความรู้และจริยธรรมให้แก่นักเรียนผู้เป็นศิษย์ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยกลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กฎกระทรวง (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 6 กำหนดไว้ในข้อ (1) มิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู จำเลยเป็นนายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชน โจทก์ทั้งยี่สิบเป็นครู (อาจารย์) จึงไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ที่ศาลแรงงานภาค 8 พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งยี่สิบตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 จึงไม่ถูกต้อง ค่าชดเชยที่จำเลยต้องรับผิดจ่ายแก่โจทก์ทั้งยี่สิบต้องบังคับตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของกรรมการลูกจ้าง และอำนาจฟ้องที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อย
ศาลแรงงานกลางพิจารณาพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยแล้วเห็นว่าสหภาพแรงงาน อ. จัดประชุมแต่งตั้งโจทก์และ ย. เป็นกรรมการลูกจ้าง โดยขณะที่จัดให้มีการประชุมนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงานดังกล่าวทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์และ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน โจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงานยังแต่งตั้งโจทก์และ ย. เป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งที่ย่อมคาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง การประชุมของสหภาพแรงงานดังกล่าวจัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 เวลาประมาณเที่ยงคืน ที่หน้าบ้านพักของ ธ. ไม่จัดให้เป็นกิจจะลักษณะ พฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรม ขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย โจทก์อาศัยเหตุดังกล่าวเป็นมูลฟ้องร้องจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการวินิจฉัยไปถึงอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลแรงงานกลางก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ที่ว่า ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองกรรมการลูกจ้างในบางกรณีอาจเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่อาจพอใจและกลั่นแกล้งกรรมการลูกจ้างได้ การที่นายจ้างจะเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ จึงจำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเพื่อให้ศาลแรงงานตรวจสอบเสียก่อนว่านายจ้างมีเหตุผลสมควรที่จะกระทำการดังกล่าวนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและระหว่างสอบสวนโจทก์ถูกพักงาน โดยขณะนั้นโจทก์ยังมิได้รับการแต่งตั้งในเป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้าง ยิ่งไปกว่านั้นในขณะจัดให้มีการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงาน อ. ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยแต่งตั้งกรรมการเพื่อสอบสวนและโจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงาน อ. ก็ยังแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างทั้งที่ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง โดยการประชุมก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อพฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งโจทก์ก็อาศัยเหตุนี้มาเป็นมูลฟ้องร้องจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นนี้ โจทก์จึงไม่อาจอาศัยเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ที่ว่า ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองกรรมการลูกจ้างในบางกรณีอาจเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่อาจพอใจและกลั่นแกล้งกรรมการลูกจ้างได้ การที่นายจ้างจะเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ จึงจำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเพื่อให้ศาลแรงงานตรวจสอบเสียก่อนว่านายจ้างมีเหตุผลสมควรที่จะกระทำการดังกล่าวนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและระหว่างสอบสวนโจทก์ถูกพักงาน โดยขณะนั้นโจทก์ยังมิได้รับการแต่งตั้งในเป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้าง ยิ่งไปกว่านั้นในขณะจัดให้มีการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงาน อ. ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยแต่งตั้งกรรมการเพื่อสอบสวนและโจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงาน อ. ก็ยังแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างทั้งที่ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง โดยการประชุมก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อพฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งโจทก์ก็อาศัยเหตุนี้มาเป็นมูลฟ้องร้องจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นนี้ โจทก์จึงไม่อาจอาศัยเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการอ้างสถานะกรรมการลูกจ้างเพื่อต่อสู้คดีเลิกจ้าง
การห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือการกระทำใดๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้าง ไม่สามารถทำงานต่ออยู่ไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 52 นั้น มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองกรรมการลูกจ้างเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้างในบางกรณีอาจเป็นการขัดผลประโยชน์ของนายจ้าง ซึ่งอาจทำให้นายจ้างไม่พอใจ และกลั่นแกล้งกรรมการลูกจ้างได้จึงจำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เพื่อให้ตรวจสอบเสียก่อนว่านายจ้างมีเหตุสมควรที่จะกระทำดังกล่าวหรือไม่
โจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและพักงานโจทก์ โดยในขณะนั้นโจทย์ยังมิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างซึ่งกฎหมายมุ่งที่จะคุ้มครองกรรมการลูกจ้างแต่ประการใด อีกทั้งการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะโดยทราบดีว่าโจทก์ถูกพักงานและถูกตั้งกรรมการสอบสวนอยู่ พฤติการณ์ดังกล่าวส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้
โจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและพักงานโจทก์ โดยในขณะนั้นโจทย์ยังมิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างซึ่งกฎหมายมุ่งที่จะคุ้มครองกรรมการลูกจ้างแต่ประการใด อีกทั้งการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะโดยทราบดีว่าโจทก์ถูกพักงานและถูกตั้งกรรมการสอบสวนอยู่ พฤติการณ์ดังกล่าวส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัย และ พ.ร.บ.ประกันสังคม สามารถได้รับควบคู่กันได้
สิทธิของผู้ประสบภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ และสิทธิของผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ เป็นสิทธิตามกฎหมายแต่ละฉบับมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนที่แตกต่างกัน การก่อให้เกิดสิทธิจากเบี้ยประกันภัยและเงินสมทบและการจ่ายเงินแก่ผู้มีสิทธิได้รับก็ต่างกันไปตามกฎหมายแต่ละฉบับ ทั้งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ และตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ก็ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิมิให้ผู้ที่ได้รับเงินตามกฎหมายอื่นแล้วมารับค่าเสียหายเบื้องต้นหรือประโยชน์ทดแทนอีก สิทธิได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นกับสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจึงมิได้หมายความว่าเมื่อมีสิทธิได้รับตามกฎหมายฉบับหนึ่งแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับตามกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์เข้ารับการรักษาพยาบาลที่เกิดจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนที่โรงพยาบาลเมืองเพชร - ธนบุรี ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ได้รับบริการทางการแพทย์ โดยโจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 63 แต่เมื่อโรงพยาบาลเมืองเพชร - ธนบุรี ดำเนินการตามสัญญาจ้างให้บริการทางการแพทย์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคัมฯ ข้อ 12 ที่โรงพยาบาลเมืองเพชร - ธนบุรี ทำกับจำเลยโดยเรียกเก็บเงินค่าเสียหายเท่าที่จ่ายจริงแทนโจทก์ในฐานะผู้ประสบภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ค่ารักษาพยาบาล จำนวน 11,190 บาท ที่โรงพยาบาลเมืองเพชร - ธนบุรี ได้รับไปจึงเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 4 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากผู้ก่อความเสียหายตาม ป.พ.พ. แม้ว่าโจทก์จะเข้ารับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลเมืองเพชร - ธนบุรี ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่จำเลยกำหนดให้โจทก์รับการบริการทางการแพทย์แต่จำเลยมิได้ให้ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเป็นค่าบริการทางการแพทย์จากกองทุนประกันสังคม จึงจะถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 58 และมาตรา 59 มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัย และ พ.ร.บ.ประกันสังคม ไม่ตัดสิทธิซึ่งกันและกัน
สิทธิในการได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2533 มาตรา 20 เป็นสิทธิทางแพ่งที่ผู้ประสบภัยจะได้รับเพื่อเยียวยาบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นโดยเจ้าของรถต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยและต้องเสียเบี้ยประกัน กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสำหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย ส่วนสิทธิของผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เกิดจากการเป็นผู้ประกันตนและออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนตามมาตรา 46 สิทธิของผู้ประสบภัยและสิทธิของผู้ประกันตนจึงเป็นสิทธิตามกฎหมายต่างฉบับ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยและกองทุนประกันสังคมก็แตกต่างกัน การก่อให้เกิดสิทธิจากเบี้ยประกันภัยกับเงินสมทบและการจ่ายเงินแก่ผู้มีสิทธิได้รับแตกต่างกันไปตามกฎหมายแต่ละฉบับ กฎหมายทั้งสองฉบับไม่มีบทบัญญัติมิให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินตามกฎหมายอื่นแล้วมารับค่าเสียหายเบื้องต้นหรือประโยชน์ทดแทนอีก
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุถูกรถจักรยานยนต์ชน เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ม. อันเป็นสถานพยาบาลที่จำเลยกำหนด แม้โรงพยาบาล ม. เรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นค่าเสียหายเท่าที่จ่ายจริงจากบริษัท ว.ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ม. ได้รับจึงเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 4 แต่จำเลยยังมิได้ให้ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเป็นค่าบริการทางการแพทย์ (ค่ารักษาพยาบาล) จากกองทุนประกันสังคม ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 58, 59 แล้ว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้โจทก์
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุถูกรถจักรยานยนต์ชน เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ม. อันเป็นสถานพยาบาลที่จำเลยกำหนด แม้โรงพยาบาล ม. เรียกเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นค่าเสียหายเท่าที่จ่ายจริงจากบริษัท ว.ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ม. ได้รับจึงเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 4 แต่จำเลยยังมิได้ให้ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเป็นค่าบริการทางการแพทย์ (ค่ารักษาพยาบาล) จากกองทุนประกันสังคม ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 58, 59 แล้ว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพไม่ตัดสิทธิ แม้ยื่นคำขอเกินกำหนด หากมีเหตุจำเป็นตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม
พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 84 ทวิ เป็นกรณีที่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนซึ่งทราบถึงสิทธิและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ไปดำเนินการขอรับสิทธิแล้ว แต่ตนมิได้อยู่ในประเทศไทยหรืออยู่ในประเทศไทยแต่มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถไปดำเนินการขอรับสิทธิตามกำหนดเวลานั้นได้ จึงยื่นคำร้องขอเลื่อนกำหนดเวลายื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตามมาตรา 56 ออกไปเพื่อรักษาประโยชน์ของตนเท่านั้น มิใช่บทบัญญัติตัดสิทธิแต่อย่างใด ดังนั้น แม้โจทก์จะยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนต่อสำนักงานประกันสังคมเกินหนึ่งปีนับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนนั้นตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ก็ไม่ถูกตัดสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยชอบธรรมจากเหตุผลทางธุรกิจและการขัดขวางการทำงาน
ผู้คัดค้านยังยืนกรานเป็นพนักงานรายชั่วโมงเพียงคนเดียวในกิจการของผู้ร้องโดยอ้างเหตุว่าการปรับเปลี่ยนพนักงานรายชั่วโมงเป็นพนักงานรายเดือนเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ผู้ร้องไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ผู้ร้องแก้ไขเพิ่มเติมสภาพการจ้างโดยพลการ ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ทั้งที่ผู้คัดค้านรู้อยู่ว่ายอดรายได้ในฐานะพนักงานรายเดือนสูงกว่ายอดรายได้ในฐานะพนักงานรายชั่วโมง การเป็นพนักงานรายเดือนเป็นคุณแก่ผู้คัดค้านและพนักงานของผู้ร้องยิ่งกว่าการเป็นพนักงานรายชั่วโมง ไม่ต้องห้ามมิให้ผู้ร้องทำสัญญาจ้างแรงงานกับพนักงานเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจากพนักงานรายชั่วโมงเป็นพนักงานรายเดือนตามมาตรา 20 ก่อนการปรับเปลี่ยนผู้ร้องได้มีการประชุมชี้แจงและมีหนังสือชี้แจงความเสียหายของผู้ร้องต่อผู้คัดค้านแล้ว ผู้คัดค้านก็ไม่ยอมรับฟังเหตุผล ยังยืนยันที่จะเป็นพนักงานรายชั่วโมงให้ได้ ไม่ใช่กรณีผู้ร้องกลั่นแกล้งผู้คัดค้าน แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องกับผู้คัดค้านทำงานร่วมกันต่อไปไม่ได้โดยเหตุอันเกิดจากผู้คัดค้าน ทำให้ผู้ร้องเสียหายและเป็นการขัดขวางการพัฒนาบริษัทของผู้ร้อง มีเหตุอันสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2035/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจขัดคำสั่งนายจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้ไล่ออกได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
เมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยมีคำสั่งบริษัท ส. เรื่อง การลงบันทึกเวลาในระดับผู้บริหารที่ไปจัดการธุรกิจให้บริษัทซึ่งเป็นคำสั่งในหน้าที่เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่ปฏิบัติตาม การกระทำของโจทก์จึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งนายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า