พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5,846 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2034/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การดื่มสุราในที่ทำงาน ไม่ถึงขั้นร้ายแรงพอที่จะเลิกจ้างได้
แม้ผู้คัดค้านซึ่งทำงานเป็นพนักงานเย็บจักรจะดื่มสุราและชักชวนผู้อื่นดื่มสุราในขณะปฏิบัติงานในสถานประกอบการของผู้ร้องอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องก็ตาม แต่ผู้คัดค้านก็สามารถปฏิบัติงานโดยเย็บเก้าอี้โซฟาได้ถูกต้องตามแบบที่กำหนด และลักษณะงานที่ผู้คัดค้านปฏิบัติโดยสภาพไม่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นได้ ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านมีอาการเมาสุราจนถึงขั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้อง และในวันเกิดเหตุเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งผู้ร้องให้พนักงานทำงานจนถึงเวลา 14 นาฬิกาเท่านั้น แล้วจัดให้มีพิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่และให้พนักงานเล่นน้ำสงกรานต์ภายในบริษัทผู้ร้อง ทั้งโทษสถานหนักตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องก็มีระดับโทษตั้งแต่ตัดโบนัส งดโบนัส งดขึ้นเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ปลดออกและไล่ออก การที่ผู้ร้องขอเลิกจ้างผู้คัดค้านอันเป็นระดับโทษหนักที่สุดจึงยังไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลแรงงานต่อกองทุนสหภาพแรงงาน แม้กรรมการผู้เบิกจ่ายเปลี่ยนไป
โจทก์ฟ้องว่าที่ประชุมสมัชชาของสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ลงมติให้จ่ายเงินกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยทั้งเก้าในฐานะกรรมการผู้มีหน้าที่เบิกจ่ายเงินกองทุนดังกล่าวไม่ดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งเก้าให้การว่าที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ไม่ได้ลงมติเสียงข้างมากให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ ประเด็นพิพาทคดีนี้จึงเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องโดยตรงว่า ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ผู้ร้องมีมติเสียงข้างมากให้จ่ายเงินช่วยเหลือจากกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์แก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ผู้ร้องมีมติให้จ่ายเงินช่วยเหลือจากกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์แก่โจทก์ จึงได้พิพากษาให้จำเลยทั้งเก้าจ่ายเงินช่วยเหลือจากกองทุนดังกล่าวแก่โจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาจึงบังคับโดยตรงต่อกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ที่ต้องจ่ายเงินแก่โจทก์ เพียงแต่ในขณะที่ฟ้องคดีนี้จำเลยทั้งเก้าเป็นกรรมการผู้มีหน้าที่เบิกจ่ายเงินจากกองทุนดังกล่าว จึงให้จำเลยทั้งเก้าเป็นผู้จ่ายเงินดังกล่าวจากกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าต่อมาจำเลยบางคนไม่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้มีหน้าที่เบิกจ่ายแล้วเช่นนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจสั่งอายัดเงินกองทุนสมาชิกสหภาพแรงงานเทยินโพลีเอสเตอร์จากบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อชำระตามคำพิพากษาศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 282 จึงไม่มีเหตุให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินของเจ้าพนักงานบังคับคดี คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ยกคำร้องของผู้ร้องชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 58 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีต่อศาลแรงงานและการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน โดยการขึ้นทะเบียนสำนักจัดหางาน
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 วรรคสาม กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น กำหนดเวลาสามสิบวันดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาที่กำหนดให้ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานเพื่อโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ซึ่งเป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 ที่ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงนำคดีไปสู่ศาลแรงงานภาค 3 โดยฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคของจำเลยตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พ.ศ.2545 เป็นจำเลยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย จึงเป็นการใช้สิทธิในการโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์และได้ดำเนินการนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันตามกฎหมายแล้ว ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงแถลงต่อศาลแรงงานภาค 3 ขอถอนฟ้องเพื่อจะได้ฟ้องจำเลยคดีนี้ให้ถูกต้องต่อไป และศาลแรงงานภาค 3อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีเพื่อฟ้องเป็นคดีนี้ใหม่ และโจทก์ก็ได้นำคดีกลับมาฟ้องจำเลยใหม่ภายในสิบวันนับแต่วันที่ถอนฟ้องคดีเดิมโดยศาลแรงงานภาค 3 ได้รับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาต่อมา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 วรรคสาม หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ถอนฟ้องแล้วโจทก์จะต้องฟ้องจำเลยคดีนี้ภายในอายุความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ไม่
ตามบทบัญญัติของพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 79 และข้อกำหนดในกฎกระทรวงที่ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนการว่างงานเพราะเหตุลาออกจากงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันให้ได้รับครั้งละไม่เกินกว่าเก้าสิบวัน โดยลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนนั้น หากได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานจะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย แต่หากลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานจะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานนับแต่วันที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักงานจัดหางานของรัฐเท่านั้น เมื่อโจทก์ขึ้นทะเบียนที่สำนักจัดหางานจังหวัดในวันที่ 14 ตุลาคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเป็นเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขึ้นทะเบียนตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ข้อ 1 (2) และข้อ 2
ตามบทบัญญัติของพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 79 และข้อกำหนดในกฎกระทรวงที่ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนการว่างงานเพราะเหตุลาออกจากงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันให้ได้รับครั้งละไม่เกินกว่าเก้าสิบวัน โดยลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนนั้น หากได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานจะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย แต่หากลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานจะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานนับแต่วันที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักงานจัดหางานของรัฐเท่านั้น เมื่อโจทก์ขึ้นทะเบียนที่สำนักจัดหางานจังหวัดในวันที่ 14 ตุลาคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเป็นเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขึ้นทะเบียนตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ข้อ 1 (2) และข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องกรณีว่างงาน: การขยายเวลาฟ้องเนื่องจากเหตุจำเป็นและการนับสิทธิประโยชน์ทดแทน
โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์แล้วไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงนำคดีไปสู่ศาลแรงงานภาค 3 โดยฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครราชสีมาเป็นจำเลยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย จึงเป็นการใช้สิทธิในการโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์และได้ดำเนินการนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวัน ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ มาตรา 87 วรรคสาม แล้ว ดังนี้ ในวันพิจารณาคดีดังกล่าวเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทย์จึงแถลงต่อศาลแรงงานภาค 3 ขอถอนฟ้องเพื่อจะได้ฟ้องจำเลยคดีนี้ให้ถูกต้องต่อไปและศาลแรงงานภาค 3 อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีเพื่อฟ้องเป็นคดีใหม่นั้น ถือได้ว่าศาลแรงงานภาค 3 อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาฟ้องจำเลยคดีนี้ได้ตามความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วข้างต้นและโจทก์ก็ได้นำคดีกลับมาฟ้องจำเลยใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ถอนฟ้องคดีโดยศาลแรงงานภาค 3 ได้รับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 87 วรรคสาม แล้ว
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 79 บัญญัติว่า "ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนการว่างงานตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง" ซึ่งตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานฯ พ.ศ.2547 ข้อ 1 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 78 มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละห้าสิบของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้างโดยให้ได้รับครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน (2) ร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงาน เพราะเหตุลาออกจากงานหรือเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น โดยให้ได้รับครั้งละไม่เกินกว่าเก้าสิบวัน" ข้อ 2 กำหนดว่า "ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 78 ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามข้อ 1 ตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนผู้ใดไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีที่ว่างงาน นับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐ" ตามบทบัญญัติของกฎหมายและข้อกำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าวเพียงแต่ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุออกจากงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันให้ได้รับครั้งละไม่เกินเก้าสิบวัน โดยลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนนั้นหากได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานจะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตั้งแต่วันที่แปดนับแต่การงดจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานมีเพียง 3 กรณี คือกรณีเมื่อผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกลับเข้าทำงานเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 33 หรือเป็นกรณีที่ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนได้ปฏิเสธการทำงานหรือปฏิเสธการฝึกงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือเป็นกรณีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่ไปรายงานตัวที่สำนักจัดหางานของรัฐบาลโดยไม่มีเหตุอันสมควร ดังนั้น ทั้ง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานฯ จึงมิได้เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิหรือกำหนดให้งดการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงาน เมื่อโจทก์ขึ้นทะเบียนที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 14 ตุลาคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเป็นเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2547 ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานฯ ข้อ 1 (2) และข้อ 2
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 79 บัญญัติว่า "ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนการว่างงานตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง" ซึ่งตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานฯ พ.ศ.2547 ข้อ 1 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 78 มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราดังต่อไปนี้ (1) ร้อยละห้าสิบของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้างโดยให้ได้รับครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน (2) ร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงาน เพราะเหตุลาออกจากงานหรือเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น โดยให้ได้รับครั้งละไม่เกินกว่าเก้าสิบวัน" ข้อ 2 กำหนดว่า "ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 78 ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามข้อ 1 ตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนผู้ใดไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีที่ว่างงาน นับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนผู้นั้นได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐ" ตามบทบัญญัติของกฎหมายและข้อกำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าวเพียงแต่ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุออกจากงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันให้ได้รับครั้งละไม่เกินเก้าสิบวัน โดยลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนนั้นหากได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานจะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตั้งแต่วันที่แปดนับแต่การงดจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานมีเพียง 3 กรณี คือกรณีเมื่อผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกลับเข้าทำงานเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 33 หรือเป็นกรณีที่ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนได้ปฏิเสธการทำงานหรือปฏิเสธการฝึกงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือเป็นกรณีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่ไปรายงานตัวที่สำนักจัดหางานของรัฐบาลโดยไม่มีเหตุอันสมควร ดังนั้น ทั้ง พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานฯ จึงมิได้เป็นบทบัญญัติตัดสิทธิหรือกำหนดให้งดการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงาน เมื่อโจทก์ขึ้นทะเบียนที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 14 ตุลาคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเป็นเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2547 ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานฯ ข้อ 1 (2) และข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลเพื่อฟ้องคดีแรงงาน: เงื่อนไขและผลของการไม่ปฏิบัติตาม
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานสามารถนำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง โดยมาตรา 125 วรรคสาม กำหนดให้นายจ้างที่นำคดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ เงินดังกล่าวเป็นเงินที่นายจ้างต้องวางต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงมิใช่ค่าฤชาธรรมเนียมที่ได้รับยกเว้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 27 ดังนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ ที่ 193/2548 อันเป็นคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา 124 แล้วเป็นฝ่ายนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว โจทก์จักต้องนำเงินที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งของจำเลยมาวางศาลจึงจะฟ้องคดีได้ เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินต่อศาลภายในสิบห้าวันโจทก์ไม่ปฏิบัติตามแล้วอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว และเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันแล้วศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์ไม่วางเงินภายในกำหนดจึงไม่รับฟ้องของโจทก์แล้วให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้น คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ให้โจทก์วางเงินต่อศาลและเมื่อโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลจึงสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์จึงชอบแล้ว
เมื่อโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลแรงงานกลางภายในกำหนดศาลแรงงานกลางจึงไม่รับฟ้องของโจทก์ เช่นนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีได้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
เมื่อโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลแรงงานกลางภายในกำหนดศาลแรงงานกลางจึงไม่รับฟ้องของโจทก์ เช่นนี้ อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีได้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350-1351/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับลูกจ้างรายวันเป็นรายเดือน มิใช่การปรับขึ้นค่าจ้าง หากค่าจ้างรายเดือนไม่น้อยกว่าเดิม
ข้อตกลงระหว่างสหภาพแรงงานผลิตเครื่องมือประมงฯกับจำเลย เอกสารหมาย จ.8 หรือ ล.9 ได้ระบุแยกกรณีการขึ้นค่าจ้างกับกรณีการปรับคนงานรายวันเป็นรายเดือนโดยมีเงื่อนไขกำหนดไว้ชัดเจน ซึ่งการปรับลูกจ้างรายวันเป็นรายเดือนมีผลเพียงทำให้ลูกจ้างนั้นมีสิทธิต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามที่ลูกจ้างรายเดือนมีสิทธิได้รับ ไม่มีข้อความที่ทำให้เข้าใจได้ว่าสหภาพแรงงานผลิตเครื่องมือประมงฯ หรือจำเลยประสงค์ให้เป็นการปรับขึ้นค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไปด้วย แม้หากนำเงินเดือนหารด้วย 30 เป็นค่าจ้างต่อวัน อัตราค่าจ้างต่อวันที่โจทก์ทั้งสามได้รับน้อยลงกว่าเดิม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ใช่ลูกจ้างรายวันแล้วและค่าจ้างรายเดือนที่โจทก์ทั้งสามมีสิทธิได้รับไม่น้อยไปกว่าค่าจ้างรายวันที่โจทก์ทั้งสามเคยมีสิทธิได้รับรวมทั้งเดือน ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จำเลยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้ปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีค่าจ้างและค่าชดเชยที่จำเลยค้างจ่ายดังที่โจทก์ทั้งสามอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับค่ารักษาพยาบาลนอกโรงพยาบาลตามสิทธิ กรณีไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนทางการแพทย์
หลังจากโจทก์ประสบอุบัติเหตุโจทก์ได้รับบาดเจ็บและหมดสติไปโดยโจทก์มีบาดแผลที่ขาหลายแห่งและกระดูกขาหัก มีพลเมืองดีนำโจทก์ส่งโรงพยาบาล ส. โจทก์รู้สึกตัวและโทรศัพท์ไปหาบิดา เมื่อบิดาโจทก์มาถึงจึงขอให้โรงพยาบาล ส. ฉีดยาระงับอาการปวดและเอกซเรย์กระดูกขาให้ หลังจากนั้นจึงทำเรื่องขอย้ายโจทก์ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาล ว. โดยทำบันทึกไว้ว่าไม่ประสงค์จะให้โรงพยาบาล ส. รักษาโจทก์ต่อไป และโจทก์ได้รับการรักษาต่อที่โรงพยาบาล ว. โดยแพทย์ทำการผ่าตัดกระดูกดามกระดูกขาและรักษาบาดแผลเสียค่าบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยในเป็นเงิน 62,676.10 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าในขณะที่จะย้ายโจทก์ออกจากโรงพยาบาล ส. ไปรักษาต่อนั้น โรงพยาบาล ส. ได้ทำการรักษาเบื้องต้นเท่าที่จำเป็นไปบ้างแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องทำการผ่าตัดรักษากระดูกขาที่หัก แม้จะเป็นกรณีที่จะต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว แต่ก็ได้ความว่าวิทยาลัย พ. ซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิและโรงพยาบาล ว. ต่างก็มีสถานที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครด้วยกัน ใช้ระยะเวลาเดินทางใกล้เคียงกัน การนำส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิหรือโรงพยาบาล ว. จึงไม่น่าจะใช้เวลาแตกต่างกันมากนัก ทั้งโรงพยาบาล ส. ได้ทำการรักษาเบื้องต้นเท่าที่จำเป็นให้แก่โจทก์บ้างแล้ว จึงไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าหากนำส่งตัวโจทก์ไปรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิแล้วการรักษาจะไม่ทันท่วงทีหรืออาจเกิดอันตรายร้ายแรงขึ้นแก่โจทก์ การที่บิดาโจทก์ส่งตัวโจทก์ไปรักษาที่โรงพยาบาล ว. จึงเป็นเพราะบิดาโจทก์มีความเชื่อถือการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล ว. นั่นเอง การที่นำส่งตัวโจทก์ไปรักษาที่โรงพยาบาล ว. ซึ่งมิใช่โรงพยาบาลตามสิทธิจึงมิใช่กรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องรับการบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาล ว. แต่เป็นความประสงค์ที่จะได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลแห่งนี้ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์ตามประกาศของสำนักงานประกันสังคม ฯ จำเลย ข้อ 4.2 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง: พิจารณาพฤติการณ์และผลเสียหายควบคู่กับข้อบังคับ
การจะถือว่ากรณีใดเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ มิใช่จะดูแต่เพียงว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดว่าเป็นความผิดร้ายแรงแล้ว ต้องถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงเสมอไป ต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นแต่ละกรณีไปตลอดจนผลเสียหายที่เกิดขึ้นมีมากน้อยเพียงใดด้วยข้อเท็จจริงคดีนี้ได้ความว่า โจทก์ร่วมกับ พ. นำร้าน บ. ซึ่ง พ. เช่าจากจำเลยไปให้ ว. เช่าช่วงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลย หลังจาก ว. เข้าไปดำเนินกิจการในร้านเสริมสวยแล้ว ต่อมาได้นำเงินนวน 12,000 บาท มอบให้โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้เงินกู้ซึ่ง พ. เป็นหนี้โจทก์แทน พ. และร่วมกับ ศ. ซื้อเครื่องปรับอากาศราคา 18,000 บาท ให้แก่โจทก์เนื่องในโอกาสที่จะขึ้นบ้านใหม่ นอกจากนี้ ว. และ ย. ได้ชำระค่าแหวนทองคำฝังเพชรและพลอย 1 วง ราคา 9,000 บาท ซึ่งโจทก์สั่งทำไว้แทนโจทก์ กับ ย. สามีของ ว. ก็ได้ซื้อกล้องถ่ายรูปดิจิตอล 1 กล้อง ราคาประมาณ 10,000 บาท จากประเทศญี่ปุ่นให้แก่โจทก์ พฤติการณ์และการกระทำของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้เรียกรับผลประโยชน์ซึ่งเป็นทรัพย์สินจาก ว. เป็นแหวนเพชร กล้องถ่ายรูปดิจิตอลและเครื่องปรับอากาศ 1 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือ ว. เช่าช่วง และช่วยเหลือในการต่อสัญญาเช่ากับจำเลยออกไปอีก 3 ปี โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ที่โจทก์ทำงานอยู่กับจำเลย ทำให้จำเลยเสียชื่อเสียงและมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของจำเลย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยไม่ได้ให้การถึงการทำงานของโจทก์ในเดือนตุลาคม 2548 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลาการจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าหลังจากครบกำหนดการจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วโจทก์กระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจำเลยเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง
ค่าชดเชยที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (2) เป็นค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายและไม่เกินสามแสนบาท จึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (17) ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 216 (พ.ศ.2509), ฉบับที่ 217 (พ.ศ.2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำเลยจึงไม่มีสิทธิหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากค่าชดเชย
ค่าชดเชยที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 (2) เป็นค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายและไม่เกินสามแสนบาท จึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 (17) ประกอบกฎกระทรวงฉบับที่ 216 (พ.ศ.2509), ฉบับที่ 217 (พ.ศ.2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำเลยจึงไม่มีสิทธิหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และสิทธิเรียกเงินคืนกรณีวางเงินเกินจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้นำเงินสมทบและผลประโยชน์มาวางศาลเพื่อจ่ายให้แก่จำเลย โจทก์จึงเป็นผู้จ่ายเงินดังกล่าวมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร บริษัท ส. เป็นเพียงผู้กระทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนโจทก์เท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าผู้จ่ายเงินให้แก่จำเลยมิใช่โจทก์ แต่บริษัท ส. เป็นผู้จ่าย บริษัท ส. จึงมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและมีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จ่ายเกินไปคืน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางอันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์วางเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบต่อศาลแรงงานกลางเกินไปโดยไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ผู้วางเงินดังกล่าวและมีสิทธิเรียกเอาเงินส่วนที่วางเกินไปคืน ส่วนที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยด้วยว่า บริษัท ส. กระทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนโจทก์ เป็นการวินิจฉัยในรายละเอียด แม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ในคำฟ้องว่าบริษัท ส. กระทำการแทนโจทก์ คำวินิจฉัยส่วนนี้ก็มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากโจทก์เพียงเฉพาะส่วนที่เกินจากที่หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว แม้โจทก์จะหลงลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก่อนจ่ายเงินทั้งหมดให้แก่จำเลยไป แต่เมื่อโจทก์นำส่งเงินภาษีที่ต้องหักไว้ ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเอาเงินส่วนที่โจทก์นำส่งให้แก่กรมสรรพากรไปแล้วจากจำเลยได้ จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์วางเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบต่อศาลแรงงานกลางเกินไปโดยไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ย่อมเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ผู้วางเงินดังกล่าวและมีสิทธิเรียกเอาเงินส่วนที่วางเกินไปคืน ส่วนที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยด้วยว่า บริษัท ส. กระทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนโจทก์ เป็นการวินิจฉัยในรายละเอียด แม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ในคำฟ้องว่าบริษัท ส. กระทำการแทนโจทก์ คำวินิจฉัยส่วนนี้ก็มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากโจทก์เพียงเฉพาะส่วนที่เกินจากที่หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว แม้โจทก์จะหลงลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก่อนจ่ายเงินทั้งหมดให้แก่จำเลยไป แต่เมื่อโจทก์นำส่งเงินภาษีที่ต้องหักไว้ ณ ที่จ่ายให้แก่กรมสรรพากรแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเอาเงินส่วนที่โจทก์นำส่งให้แก่กรมสรรพากรไปแล้วจากจำเลยได้ จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์