พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5,846 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10267-10271/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังโอนกิจการ นายจ้างเดิมและผู้รับโอนมีหน้าที่รับผิดร่วมกัน
ปรากฏตามสัญญาการโอนกิจการว่า โดยที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ในกิจการของจำเลยทั้งสอง มีนโยบายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและสะดวกต่อการกำกับดูแลรวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยการลดหรือใช้ต้นทุนร่วมกัน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจึงเห็นควรให้มีการโอนกิจการจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 2 รับโอนสินทรัพย์ทุกชนิด หนี้สินและภาระผูกพันทั้งหมด ยกเว้นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมทั้งรับพนักงานของจำเลยที่ 1 ที่สมัครใจทำงานกับจำเลยที่ 2 ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในโครงการโอนกิจการที่เสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย และปรากฏตามโครงการโอนกิจการที่จำเลยที่ 1 จัดทำเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติและนำเสนอธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อทราบว่า จำเลยที่ 2 จะรับโอนพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาณ 200 คน ตามความสมัครใจ ซึ่งผู้บริหารของจำเลยทั้งสองจะได้พิจารณาร่วมกันต่อไป ดังนั้น การโอนกิจการดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ในกิจการของจำเลยทั้งสองให้การบริหารหนี้ด้อยคุณภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้นโดยมีข้อตกลงรับโอนพนักงานของจำเลยที่ 1 ไปทำงานกับจำเลยที่ 2 ด้วย การที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งแก่โจทก์ทั้งห้าว่าไม่มีตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับโจทก์ทั้งห้าและไม่สามารถรับโจทก์ทั้งห้าเข้าเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 ได้ และต่อมาจำเลยที่ 1 ได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งห้า จึงเป็นการเลิกจ้างโดยจำเลยที่ 1 ผู้โอนกิจการและจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนกิจการมิได้ประสบภาวะความจำเป็นหรือขาดทุนจนถึงกับต้องเลิกจ้างพนักงาน ทั้งมิใช่เกิดจากการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งห้าจนถึงกับต้องถูกเลิกจ้าง ส่วนการจัดหาตำแหน่งงานให้โจทก์ทั้งห้าก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะต้องพิจารณาร่วมกันให้โจทก์ทั้งห้าไปปฏิบัติหน้าที่ที่เหมาะสมต่อไป เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าจึงเป็นการเลิกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรและเพียงพอ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9395-9492/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าจ้าง กรณีการปรับโครงสร้างเงินเดือนตามมติ ครม. และข้อตกลงสภาพการจ้าง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาความดีความชอบของโจทก์ในรอบปีบัญชี 2546 ถึงปี 2547 แล้ว แต่ยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างส่วนที่ยังไม่ได้ปรับขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีคำสั่งว่าเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มิใช่การค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ดังนี้ เมื่อฝ่ายโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 12 และเมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ฯ จึงยังไม่มีค่าจ้างที่ค้างจ่ายจากการปรับอัตราค่าจ้างขึ้นแก่ฝ่ายโจทก์ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 70 คำสั่งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9068-9346/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินเพิ่มจากมติคณะรัฐมนตรีจำกัดเฉพาะลูกจ้างที่อยู่ในสถานะพนักงาน ณ วันที่มติมีผลบังคับใช้
โจทก์ทั้งสองร้อยเจ็ดสิบเก้าออกจากงาน (เกษียณอายุ) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547 ไม่มีสภาพเป็นพนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงาน ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2548 ซึ่งเป็นวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติและเป็นวันที่จำเลยระบุไว้ในคำสั่งปรับเงินเดือน จึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือนตามมติของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และมติคณะรัฐมนตรี
แม้ว่าในการประชุมคณะกรรมการของจำเลยครั้งที่ 6/2548 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 ที่ลงมติให้ปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่พนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่ ณ วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับเพิ่มเงินเดือนคือวันที่ 10 พฤษภาคม 2548 จะไม่มีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเข้าร่วมประชุมด้วยก็ไม่มีผลให้การออกคำสั่งที่ ค.51/2548 ของจำเลยที่ให้ปรับเพิ่มเงินเดือนแก่พนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2548 เสียไป
แม้ว่าในการประชุมคณะกรรมการของจำเลยครั้งที่ 6/2548 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 ที่ลงมติให้ปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่พนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่ ณ วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับเพิ่มเงินเดือนคือวันที่ 10 พฤษภาคม 2548 จะไม่มีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเข้าร่วมประชุมด้วยก็ไม่มีผลให้การออกคำสั่งที่ ค.51/2548 ของจำเลยที่ให้ปรับเพิ่มเงินเดือนแก่พนักงานและลูกจ้างทดลองงานที่ยังมีสถานภาพการเป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2548 เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9033/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบธรรมเนื่องจากตักเตือนไม่ถูกต้อง และสิทธิการได้รับค่าชดเชยและวันหยุดพักผ่อนประจำปี
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2539 ทำหน้าที่เป็นพนักงานเติมวัตถุดิบ โดยต้องยกวัตถุดิบไปเติมที่เครื่อง เครื่องละ 300 กิโลกรัม แบ่งยกเป็น 12 เที่ยว เที่ยวหนึ่งมีน้ำหนัก 25 กิโลกรัม โจทก์ทำงานในหน้าที่นี้มาตั้งแต่เข้าทำงานกับจำเลย กระทั่งปี 2548 โจทก์ได้ลาป่วยในวันที่ 21 และวันที่ 22 มกราคม 2548 และวันที่ 25 มกราคม 2548 ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2548 เพราะกล้ามเนื้อหลังอักเสบ ต่อมาได้ขอลาอุปสมบทตั้งแต่วันที่ 7 ถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2548 โดยได้รับอนุญาตจากจำเลย ดังนี้เมื่อโจทก์หยุดงานหลายวันเนื่องมาจากอาการป่วยจากการยกของหนัก การที่จำเลยให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ทำความสะอาดเก็บขยะซึ่งแม้จะมีลักษณะงานแตกต่างกว่าเดิม เป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงานแต่ก็เนื่องมาจากอาการป่วยของโจทก์เป็นอุปสรรคแก่การทำงานในตำแหน่งเดิมโดยงานทั้งสองประเภทมิได้แตกต่างกันมากแม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะงานต่ำลง แต่ก็เพราะเหตุผลจากสุขภาพของโจทก์เอง การย้ายโจทก์ไปทำงานในตำแหน่งหน้าที่การงานที่ใกล้เคียงตำแหน่งเดิม โดยจ่ายค่าจ้างให้ในอัตราเท่าเดิมโดยมิได้กลั่นแกล้งย้ายตำแหน่งหน้าที่โจทก์ คำสั่งของจำเลยที่เปลี่ยนลักษณะการทำงานของโจทก์จากการเป็นพนักงานยกของเติมวัตถุดิบเป็นการทำความสะอาดเก็บขยะจึงเป็นคำสั่งที่ชอบ เมื่อโจทก์ไม่ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งดังกล่าวจึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ แต่ปรากฏตามหนังสือการลงโทษทางวินัย เอกสารหมาย จล.3 ถึง จล.5 ว่าในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา 9.15 นาฬิกา หัวหน้าฝ่ายบริหารสั่งให้โจทก์ไปทำงานที่บริเวณโรงเก็บขยะโจทก์ปฏิเสธที่จะทำจึงได้มีหนังสือเตือนฉบับที่ 1 ต่อมาในวันเดียวกันเวลา 11.30 นาฬิกา หัวหน้าฝ่ายบริหารสั่งให้โจทก์ไปทำงานแต่โจทก์ก็ยังไม่ปฏิบัติงานตามคำสั่งจึงได้มีหนังสือเตือน ฉบับที่ 2 จนกระทั่งเวลา 14.30 นาฬิกา ของวันดังกล่าวโจทก์ยังคงไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ ดังนี้ การที่โจทก์ไม่ไปทำงานที่บริเวณโรงเก็บขยะในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 เป็นเพียงการละทิ้งหน้าที่อันเป็นความผิดคราวเดียวต่อเนื่องมาในระหว่างเวลาการทำงานในวันดังกล่าวซึ่งในขณะนั้นยังไม่เลิกงานและตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เอกสารท้ายฟ้องข้อ 11.3 กำหนดให้การตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรตาม (7) ให้กระทำได้เมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ขาดงานไป 1 ถึง 2 วัน สำหรับครั้งแรก ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือเตือนฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ตามหนังสือการลงโทษทางวินัยตามเอกสารหมาย จล.3 และ จล.4 โดยที่โจทก์ยังมิได้ละทิ้งหน้าที่ขาดงานไป 1 ถึง 2 วัน ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว จึงเป็นการตักเตือนโดยไม่ชอบด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 11.3 (7) และเมื่อจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างตามหนังสือการลงโทษทางวินัยเอกสารหมาย จล.5 จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเอกสารท้ายฟ้องข้อ 11.3 กรณีไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยตาม ข้อ 1 ที่ระบุว่า "เมื่อถูกตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรในเรื่องเดียวกันเป็นครั้งที่ 2" และไม่เข้ากรณีเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เอกสารท้ายฟ้องข้อ 13.3 (4) ซึ่งระบุในทำนองเดียวกันกับกรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) แต่การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไล่โจทก์ออกได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยแม้จะมิใช่กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง แต่เป็นการเลิกจ้างโดยมีสาเหตุจากการที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยซึ่งมิได้กลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์แต่อย่างใด จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 จำเลยจึงมิต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ และเมื่อตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยเอกสารท้ายฟ้องข้อ 5.1.4 ระบุให้พนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบหนึ่งปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงาน และในปี 2548 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนให้แก่โจทก์ประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าอาหารและค่าบริการของพนักงานไม่ใช่ค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน และไม่นำมาคำนวณค่าชดเชย/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
จำเลยจัดอาหารและหอพักให้พนักงานอาศัยเป็นสวัสดิการโดยคำนวณเป็นค่าอาหารและค่าหอพักเพื่อถือเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษี จึงเป็นเพียงสวัสดิการที่จำเลยจัดให้แก่ลูกจ้างเท่านั้นมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่าค่าบริการเป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากแขกผู้มาใช้บริการร้อยละสิบแล้วนำมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกคนจำนวนตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบของค่าบริการทั้งหมดในปี 2540 จนถึงร้อยละเก้าสิบของค่าบริการทั้งหมดตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมาส่วนที่เหลืออีกร้อยละสิบนั้นจำเลยหักไว้เพื่อเป็นต้นทุนของสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ที่แตกหักชำรุดเสียหายในแต่ละเดือน เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างแต่ละคราวจำเลยจะนำเงินค่าบริการมาแบ่งเฉลี่ยแก่ลูกจ้างคนละเท่าๆ กัน ดังนั้น การที่ลูกจ้างจะได้รับค่าบริการมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับจำนวนค่าใช้จ่ายของลูกค้าเป็นสำคัญ การที่จำเลยเป็นผู้เรียกเก็บจากลูกค้าและเป็นผู้จัดแบ่งให้แก่ลูกจ้างเป็นกรณีที่จำเลยทำแทนลูกจ้างเพื่อความสะดวกและเพื่อให้กิจการของจำเลยดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ค่าบริการจึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่าค่าบริการเป็นเงินที่นายจ้างเรียกเก็บจากแขกผู้มาใช้บริการร้อยละสิบแล้วนำมาจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกคนจำนวนตั้งแต่ร้อยละเจ็ดสิบของค่าบริการทั้งหมดในปี 2540 จนถึงร้อยละเก้าสิบของค่าบริการทั้งหมดตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมาส่วนที่เหลืออีกร้อยละสิบนั้นจำเลยหักไว้เพื่อเป็นต้นทุนของสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ที่แตกหักชำรุดเสียหายในแต่ละเดือน เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างแต่ละคราวจำเลยจะนำเงินค่าบริการมาแบ่งเฉลี่ยแก่ลูกจ้างคนละเท่าๆ กัน ดังนั้น การที่ลูกจ้างจะได้รับค่าบริการมากน้อยเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับจำนวนค่าใช้จ่ายของลูกค้าเป็นสำคัญ การที่จำเลยเป็นผู้เรียกเก็บจากลูกค้าและเป็นผู้จัดแบ่งให้แก่ลูกจ้างเป็นกรณีที่จำเลยทำแทนลูกจ้างเพื่อความสะดวกและเพื่อให้กิจการของจำเลยดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ค่าบริการจึงมิใช่ค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8793/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องค่าจ้างต้องอาศัยข้อตกลงสภาพการจ้าง ไม่ใช่แค่คำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 ที่บัญญัติให้นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 ต้องนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง มิฉะนั้น คำสั่งนั้นเป็นที่สุด คำสั่งที่จะเป็นที่สุดตามมาตรานี้ต้องเป็นคำสั่งในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123 เท่านั้น
ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นการฟ้องเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเรียกร้องค่าจ้างส่วนที่จะต้องได้รับเพิ่มขึ้นจากการที่จำเลยต้องปรับค่าจ้างเพิ่มตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 19 โจทก์ที่ 2 จึงหาจำต้องฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานไม่
ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นการฟ้องเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเรียกร้องค่าจ้างส่วนที่จะต้องได้รับเพิ่มขึ้นจากการที่จำเลยต้องปรับค่าจ้างเพิ่มตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 19 โจทก์ที่ 2 จึงหาจำต้องฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8792/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานต้องพิจารณาพยานหลักฐานใหม่จากคู่ความ ไม่จำกัดเฉพาะสำนวนพนักงานตรวจแรงงาน
โจทก์ในฐานะนายจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานกลางตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 อันเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 (4) ซึ่งการพิจารณาคดีแรงงานต้องอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ วิธีพิจารณาคดีแรงงานในศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยาน การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ยังไม่อาจตกลงกันได้ การนำพยานหลักฐานเข้าสืบของคู่ความ หลักในการพิจารณาคดีในศาลแรงงานและการรับฟังข้อเท็จจริงของผู้พิพากษาในศาลแรงงานไว้แล้ว หาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าหากเป็นคดีที่นายจ้างหรือลูกจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 แล้ว ในการพิจารณาคดีศาลแรงงานต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่พนักงานตรวจแรงงานรับฟังยุติไว้ในสำนวนหรือต้องพิจารณาพยานหลักฐานเฉพาะที่ปรากฏจากการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้นไม่ เพราะการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานมิได้มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดวิธีการสอบสวนไว้โดยเฉพาะ ทั้งกระทำการสอบสวนและใช้ดุลพินิจออกคำสั่งเพียงลำพังคนเดียว การสอบสวนหาข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานจึงอาจมีข้อบกพร่องได้ ฉะนั้น ในการพิจารณาคดีแรงงานคู่ความย่อมมีสิทธิอ้างพยานหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมต่อศาลแรงงานได้ ส่วนพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างเพิ่มเติมจะรับฟังได้เพียงใดขึ้นอยู่กับน้ำหนักของพยานหลักฐานนั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งโดยการสอบสวนคำร้องของจำเลยที่ 2 เพียงอย่างเดียว และจำเลยที่ 2 ละทิ้งงานที่จะต้องทำอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องที่โจทก์สามารถออกคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ทำงานล่วงเวลาได้เป็นการจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย ศาลแรงงานกลางจึงต้องพิจารณาให้ได้ความจริง รวมทั้งพิจารณาว่ากระบวนการสอบสวนของจำเลยที่ 1 เป็นไปโดยชอบหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย ข้อเท็จจริงคดีนี้ในประเด็นที่ว่าโจทก์ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ โดยพิจารณาแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ฟังพยานหลักฐานหรือสอบสวนตามคำร้องของจำเลยที่ 2 เพียงอย่างเดียว แต่ได้พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ด้วยแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งไปโดยมิชอบ โดยศาลแรงงานกลางมิได้นำพยานหลักฐานใดที่โจทก์สืบเพิ่มเติมไว้ในชั้นพิจารณาคดีมาพิจารณาประกอบด้วย จึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 เพื่อให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบในการพิจารณาคดีต่อไป
อนึ่ง ผลของคดีที่นายจ้างฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานอาจกระทบถึงสิทธิของลูกจ้าง หากนายจ้างมิได้ฟ้องลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยในคดีด้วย ศาลแรงงานก็ควรที่จะเรียกลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมอยู่แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้อง ณ. ลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยที่ 2 แล้ว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในชั้นตรวจรับคำฟ้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ชอบที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนเสียด้วย เพื่อให้ ณ. ลูกจ้างยังคงเป็นคู่ความในคดีต่อไป
อนึ่ง ผลของคดีที่นายจ้างฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานอาจกระทบถึงสิทธิของลูกจ้าง หากนายจ้างมิได้ฟ้องลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยในคดีด้วย ศาลแรงงานก็ควรที่จะเรียกลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมอยู่แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้อง ณ. ลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยที่ 2 แล้ว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในชั้นตรวจรับคำฟ้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ชอบที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนเสียด้วย เพื่อให้ ณ. ลูกจ้างยังคงเป็นคู่ความในคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8789/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่, ค่าเสียหายจากการฟ้องแย้ง, อำนาจศาลแรงงาน, การหักลบค่าใช้จ่าย, ข้อจำกัดการอุทธรณ์
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าการที่จะพิจารณาว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่โดยขาดงานเป็นเวลาสามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (5) หรือไม่ ต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ชัดแจ้งเช่นสมุดลงชื่อเวลาทำงานของลูกจ้าง บัตรตอกเวลาทำงานของลูกจ้าง เป็นต้น ทั้งต้องคำนึงถึงความเดือดร้อนของลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินคดีเพราะหลังจากลูกจ้างถูกเลิกจ้างแล้วลูกจ้างก็ไม่อาจหาหลักฐานสำคัญซึ่งอยู่ในที่ทำงานมาแสดงต่อศาลแรงงานได้ ไม่อาจขอความช่วยเหลือลูกจ้างด้วยกันมาเป็นพยานบุคคลได้ โจทก์ถูกยกฟ้องแล้วยังต้องชดใช้เงินให้แก่จำเลยที่ 1 อีก จึงเป็นการพิจารณาที่ไม่ชอบนั้น โจทก์ประสงค์จะให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์มิได้ละทิ้งหน้าที่โดยขาดงานเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานภาค 9 อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำสั่งรับฟ้องแย้งของศาลแรงงานภาค 9 ไม่ใช่คำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานภาค 9 ไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
การที่โจทก์จะยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานหรือไม่ โจทก์จะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง เพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้เพื่อศาลแรงงานภาค 9 จะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานภาค 9 จะพิพากษาคดี ซึ่งคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้นเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสอง โจทก์มิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานภาค 9 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แสดงว่าโจทก์ยอมรับอำนาจของศาลแรงงานภาค 9 ที่จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว เมื่อศาลแรงงานภาค 9 พิจารณาพิพากษาคดีในปัญหาดังกล่าวแล้ว โจทก์เพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ กรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาพิพากษาแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว
คำสั่งรับฟ้องแย้งของศาลแรงงานภาค 9 ไม่ใช่คำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานภาค 9 ไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
การที่โจทก์จะยกข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจศาลว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานหรือไม่ โจทก์จะต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง เพื่อให้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้เพื่อศาลแรงงานภาค 9 จะได้ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนที่ศาลแรงงานภาค 9 จะพิพากษาคดี ซึ่งคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางนั้นเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 9 วรรคสอง โจทก์มิได้ยกปัญหาเรื่องศาลแรงงานภาค 9 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแก้ฟ้องแย้ง แสดงว่าโจทก์ยอมรับอำนาจของศาลแรงงานภาค 9 ที่จะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว เมื่อศาลแรงงานภาค 9 พิจารณาพิพากษาคดีในปัญหาดังกล่าวแล้ว โจทก์เพิ่งยกปัญหานี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ กรณีจึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาพิพากษาแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8788/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: ความรับผิดในการจ่ายเงินสะสมให้ลูกจ้าง แม้มีหนี้สินกับนายจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ จำเลยที่ 2 และมีบริษัทหลักทรัพย์ บ. เป็นผู้บริหารกองทุน จำเลยที่ 1 จ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้าง โจทก์จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนจำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2540 ถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2546 เป็นจำนวนเงิน 33,858.84 บาท มีระเบียบของจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เมื่อออกจากงาน จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์วันที่ 23 พฤศจิกายน 2546 เป็นผลให้โจทก์สิ้นสุดสมาชิกภาพ ตามหลักเกณฑ์การจ่ายเงินตามระเบียบของจำเลยที่ 2 โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ที่จ่ายเข้ากองทุนทั้งหมดคืนเป็นจำนวน 33,858.84 บาท ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์สิ้นสมาชิกภาพ ดังนี้ การเรียกเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้ว ต้องฟ้องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งจดทะเบียนแล้วเป็นจำเลยให้จ่ายเงินสะสมและผลประโยชน์ให้ ไม่ว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือผู้จัดการกองทุนจะได้ส่งเงินและผลประโยชน์คืนให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างไปแล้วหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสะสมให้แก่โจทก์ จำนวน 33,858.84 บาท การที่จำเลยที่ 2 ชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยจ่ายเป็นเช็คธนาคาร ก. สาขาสีลม และส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อติดต่อให้โจทก์มารับไป แต่โจทก์มีภาระหนี้ค้างชำระแก่จำเลยที่ 1 จำนวน 979,820 บาท จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิยึดหน่วงเงินจำนวน 33,858.84 บาท โดยครอบครองเช็คที่จำเลยที่ 2 จ่ายให้โจทก์ไว้ไม่ส่งมอบแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่นำเช็คไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย จำเลยที่ 2 จึงยังไม่หลุดพ้นจากหนี้ เพราะโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ เงินจำนวน 33,858.84 บาท เป็นหนี้เงินที่จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่จ่ายภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันสิ้นสุดสมาชิกภาพตามข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8787/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีประกันสังคมเกินกำหนด ทำให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์มีผลเป็นที่สุด
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ มาตรา 87 วรรคสาม กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ต้องนำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย มิฉะนั้นคำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด เมื่อ ค. หลานของโจทก์ลงลายมือชื่อในใบตอบรับเอกสารแทนโจทก์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2547 โจทก์จึงต้องนำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2547 จึงเป็นการเกินกำหนดเวลา ย่อมเป็นผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์เป็นที่สุด ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ และให้โจทก์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตายจึงไม่ถูกต้อง