คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5,846 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายและการหักล้าง, การครอบครองปรปักษ์
โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ได้จดทะเบียนแล้ว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและให้จำเลยเข้าไปปลูกบ้านอยู่อาศัย โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยและบริวารอยู่อาศัยอีกต่อไป ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไป จำเลยให้การและฟ้องแย้งในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลย ต่อมาบิดามารดายกที่ดินพิพาทให้จำเลย เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของของจำเลย แต่จำเลยกลับให้การและฟ้องแย้งในตอนหลังว่า จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีแล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยเช่นกัน จึงขัดแย้งกับคำให้การและฟ้องแย้งในตอนแรก รูปคดีตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยให้การและฟ้องแย้งดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะรับวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5179/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะรัฐวิสาหกิจและสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง: การจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 6 บัญญัติว่า "รัฐวิสาหกิจ" หมายความว่า (1) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่าหรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ
บริษัทท่าอากาศยานไทยฯ ผู้ถือหุ้นจำเลย ได้เปลี่ยนสภาพมาจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจฯ และ พ.ร.บ.ดังกล่าวระบุเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงว่า เพื่อให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรธุรกิจของรัฐที่มีความคล่องตัวในการบริหารและในเหตุผลการจัดตั้ง กับมาตรา 26 ได้กำหนดให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นนั้นมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน ดังนั้น บริษัทท่าอากาศยานไทยฯ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยที่เป็นรัฐวิสาหกิจดังกล่าว จึงมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจด้วย เมื่อบริษัทท่าอากาศยานไทยฯ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจถือหุ้นในบริษัทจำเลยจำนวน 214,999,994 หุ้น ในหุ้นทั้งหมดจำนวน 215,000,000 หุ้น จึงมีทุนที่รัฐวิสาหกิจถืออยู่เกินกว่าร้อยละห้าสิบ จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 6 (2) ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 4 แต่ต้องบังคับตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 6 (2) ประกอบระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ หมวด 6 ข้อ 45 (3) โจทก์ทำงานกับจำเลยจนถูกเลิกจ้างเป็นเวลา 7 ปีเศษ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ตามระเบียบดังกล่าว แต่จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย จึงต้องจ่ายส่วนที่ขาดแก่โจทก์
ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มิได้มีบทบัญญัติเรื่องดอกเบี้ยในกรณีมิได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานไว้ แต่ค่าชดเชยเป็นหนี้เงิน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยได้เพียงร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5101/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการอุทธรณ์ประเด็นใหม่ – สัญญาจ้างโมฆะเนื่องจากไม่ได้รับใบอนุญาตทำงาน
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลย เพราะโจทก์ไม่เคยทำงานและรับค่าจ้างจากจำเลย สัญญาจ้างของโจทก์ไม่มีข้อความใดระบุว่าจำเลยตกลงจ้างโจทก์ให้ทำงานกับจำเลยโดยจะจ่ายค่าจ้างให้ และในสัญญาดังกล่าวไม่มีตราประทับของจำเลยเท่านั้น โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่า ตามสัญญาจ้างระบุให้เริ่มต้นในทันทีที่โจทก์ได้รับใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย แต่โจทก์ไม่เคยได้รับใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย การทำงานของโจทก์ขัดต่อ พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าวฯ สัญญาจ้างแรงงานตกเป็นโมฆะตามประเด็นที่อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5099/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัท มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
แม้ก่อนทำสัญญาจ้าง ฝ่ายจำเลยทั้งสองจะทำสัญญาที่มีเงื่อนไขว่า ห้ามโจทก์ไปทำงานกับผู้อื่น แต่เมื่อโจทก์คัดค้านจึงต้องทำสัญญาจ้างดังกล่าวก็ตาม แต่ในสัญญาจ้างก็มีข้อความระบุเงื่อนไขของการจ้างว่า โจทก์จะต้องไม่ใช้ข้อมูลหรือเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของจำเลยที่ 1 ซึ่งได้มาจากการเป็นพนักงานแก่บุคคลอื่นโดยเด็ดขาด หรือกระทำการที่ขัดต่อผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ข้อความดังกล่าวมิใช่ข้อสัญญาที่โจทก์ไม่สามารถระมัดระวังมิให้โจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาได้ ทั้งมิใช่ข้อตกลงที่มีผลทำให้โจทก์ต้องรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติตามที่โจทก์กล่าวอ้างในอุทธรณ์แต่อย่างใดจำเลยที่ 1 จ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร เนื่องจากโจทก์เคยทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการมาก่อน แม้ในสัญญาจ้างจะไม่ระบุข้อความห้ามให้โจทก์ไปทำงานกับผู้อื่น แต่เมื่อมีข้อความห้ามไม่ให้โจทก์กระทำการที่ขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัท การที่โจทก์ไปเป็นลูกจ้างผู้อื่นในตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการศึกษาในโรงเรียนที่ประกอบกิจการประเภทเดียวกันกับจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการขัดต่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ทั้งเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยทั้งสองจึงเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ข้ออ้างที่จำเลยทั้งสองอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์เป็นข้ออ้างที่มีเหตุสมควร จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105-4108/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายลูกจ้างและการเลิกจ้าง: การละทิ้งหน้าที่และสิทธิของนายจ้างในการสั่งย้ายโดยชอบด้วยข้อบังคับ
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยบทที่ 7 ระเบียบวินัย โทษทางวินัย และการทำงานอย่างมีระเบียบข้อ 47 ระบุว่าจำเลยมีสิทธิโอนย้ายลูกจ้างจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งของจำเลยได้โดยไม่มีข้อความระบุว่าจำเลยต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างในการย้ายก่อน ดังนั้น การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ทั้งสี่ที่ทำงานอยู่ที่หน่วยงานของจำเลยในจังหวัดเชียงใหม่ไปทำงานที่หน่วยงานของจำเลยในจังหวัดอื่นๆ จึงเป็นการย้ายโดยจำเลยมีสิทธิกระทำได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานบทที่ 7 ข้อ 47 แม้การย้ายสถานที่ทำงานจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันในครอบครัวของผู้ถูกย้ายก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่ตำแหน่งใหม่ที่จำเลยสั่งย้ายโจทก์ทั้งสี่ไปทำงานและค่าจ้างที่ได้รับก็ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำอื่นที่เป็นการกลั่นแกล้งย้ายโจทก์ทั้งสี่ คำสั่งย้ายของจำเลยจึงชอบด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวและชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสี่จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ หน่วยงานตามคำสั่งย้าย เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ไปปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ หน่วยงานตามคำสั่งย้ายจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่ในตำแหน่งใหม่โดยไม่มีเหตุอันสมควร แม้โจทก์ทั้งสี่จะยังคงปฏิบัติงานตามหน้าที่เดิมที่จังหวัดเชียงใหม่ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่ จำเลยให้โจทก์ทั้งสี่ไปปฏิบัติงานในหน้าที่ใหม่ในวันที่ 18 เมษายน 2548 แต่โจทก์ทั้งสี่ไม่ไปปฏิบัติงานจนถึงวันที่ 20 เมษายน 2548 จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (5)
โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกจ้างมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามสัญญาจ้างแรงงานและตาม ป.พ.พ. ที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งย้ายดังกล่าว เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามโดยไม่ไปทำงานในหน้าที่ใหม่ ณ หน่วยงานตามคำสั่งย้ายจึงเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยเลิกจ้างเพราะโจทก์ทั้งสี่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105-4108/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานโดยชอบธรรมและการละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้าง: สิทธิของนายจ้างในการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ทั้งสี่ที่ทำงานอยู่ที่หน่วยงานของจำเลยในจังหวัดเชียงใหม่ไปทำงานที่หน่วยงานของจำเลยในจังหวัดระยอง จังหวัดอ่างทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสมุทรปราการกับจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการย้ายโดยจำเลยมีสิทธิกระทำได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย แม้การย้ายสถานที่ทำงานจะมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันในครอบครัวของผู้ถูกย้ายก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ตำแหน่งใหม่ที่จำเลยสั่งย้ายโจทก์ทั้งสี่ไปทำงานและค่าจ้างที่ได้รับก็ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำอื่นที่เป็นการกลั่นแกล้งย้ายโจทก์ทั้งสี่ คำสั่งย้ายของจำเลยจึงชอบด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสี่จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ หน่วยงานตามคำสั่งย้าย เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ไปปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ หน่วยงานตามคำสั่งย้ายจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่ในตำแหน่งใหม่โดยไม่มีเหตุอันสมควร แม้โจทก์ทั้งสี่จะยังคงปฏิบัติงานตามหน้าที่เดิมที่จังหวัดเชียงใหม่ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่ จำเลยให้โจทก์ทั้งสี่ไปปฏิบัติงานในหน้าที่ใหม่ในวันที่ 18 เมษายน 2548 แต่โจทก์ทั้งสี่ไม่ไปจนถึงวันที่ 20 เมษายน 2548 เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (5)
โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกจ้างมีหน้าที่และความรับผิดชอบตามสัญญาจ้างแรงงานและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งย้ายดังกล่าว เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามโดยไม่ไปทำงานในหน้าที่ใหม่ ณ หน่วยงานตามคำสั่งย้าย จึงเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยเลิกจ้างเพราะโจทก์ทั้งสี่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเอกสารและการใช้เอกสารปลอมเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ ศาลฎีกาปรับบทลงโทษ
การที่จำเลยร่วมกันปลอมเอกสารหนังสือคำเสนอขอเช่าซื้อรถยนต์และแบบสัญญาค้ำประกัน หลังจากที่จำเลยร่วมกันปลอมเอกสารราชการใบรับคำขอมีบัตร มีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน และร่วมกันปลอมเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนกับสำเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ แล้วร่วมกันใช้เอกสารราชการและเอกสารปลอมดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานประกอบในการทำคำเสนอขอเช่าซื้อรถยนต์โดยเจตนาให้พนักงานของบริษัท ส. หลงเชื่อในความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว เป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกต่างหากจากกันได้อันเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมหนังสือคำเสนอขอเช่าซื้อรถยนต์และแบบสัญญาค้ำประกันอันเป็นเอกสารอีกกรรมหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทนั้นไม่ชอบ เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหนี้สัญญาจ้างเหมา: การเปลี่ยนกำหนดชำระหนี้ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่
จำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ติดตั้งวัสดุเชื่อมรอยต่อ โจทก์ติดตั้งและส่งมอบงานทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าจ้างส่วนที่เหลือและคืนเงินประกันแก่โจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์ยังทำงานไม่เสร็จเนื่องจากมีการรั่วซึมของน้ำตลอดเวลา การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะจ่ายค่าจ้างส่วนที่เหลือและเงินค้ำประกันผลงานให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายจากการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นการเปลี่ยนหลักเกณฑ์กำหนดการจ่ายค่าจ้างส่วนที่เหลือและเงินค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์เท่านั้น มิใช่เปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ที่จะเป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะมีผลทำให้หนี้ตามสัญญาจ้างเหมาติดตั้งระงับสิ้นไป แต่ข้อตกลงตามบันทึกดังกล่าวยังมีผลที่จะบังคับกันได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้รับเงินค่าจ้างงวดสุดท้ายจากการกีฬาแห่งประเทศไทย หนี้ตามที่โจทก์ฟ้องจึงยังไม่ถึงกำหนดเวลาชำระ โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3759/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาพยายามฆ่า แม้แจ้งข้อหาทำร้ายร่างกายก่อน และการพิพากษาเจตนาฆ่าจากพฤติการณ์การกระทำ
การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะที่จำเลยกระทำความผิด เพื่อให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดและเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของผู้ต้องหาซึ่งเป็นความผิดนั้น โดยไม่ต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิด เมื่อแจ้งข้อหาอันเป็นหลักแห่งความผิดแล้วก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วยอีกพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้ กรณีของจำเลยเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่าจำเลยทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่าพยายามฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกัน พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานดังกล่าวแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
จำเลยใช้อาวุธสปาต้ายาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ซึ่งเป็นมีดขนาดใหญ่ที่อาจใช้เป็นอาวุธฟันทำอันตรายบุคคลอื่นถึงแก่ความตายได้ ฟันบริเวณศีรษะของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญจนกะโหลกศีรษะแตกยุบและสมองฉีกขาด แสดงให้เห็นว่าโจทก์ร่วมถูกจำเลยใช้อาวุธสปาต้าฟันอย่างแรง และเป็นการเลือกฟันที่ส่วนสำคัญของร่างกาย ประกอบกับแพทย์ผู้ตรวจร่างกายโจทก์ร่วมให้การว่า บาดแผลของโจทก์ร่วมต้องรีบรักษา หากล่าช้าอาจถึงแก่ความตายได้เนื่องจากเลือดออกมาก บาดแผลติดเชื้อเข้าไปในสมองและมีเลือดคั่งในสมองมาก แม้จำเลยจะฟันโจทก์ร่วมเพียงครั้งเดียว จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าโจทก์ร่วมอาจถึงแก่ความตายได้ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลจากแพทย์ทันท่วงที การกระทำของจำเลยจึงฟังได้ว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3438/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล, ความสมบูรณ์ของฟ้อง, คำรับสารภาพ, และเหตุรอการลงโทษในคดีพนัน
คดีนี้เหตุเกิดในท้องที่แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร แต่ตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์ระบุว่า คดีนี้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนเป็นผู้สอบสวน จำเลยมิได้โต้แย้งว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนไม่มีอำนาจสอบสวน ดังนั้น ความผิดที่เกิดขึ้นจะฟ้องที่ศาลซึ่งท้องที่ที่สอบสวนอยู่ในเขตอำนาจก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 22 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 เมื่อสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงธนบุรี โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ศาลแขวงธนบุรีได้
โจทก์ฟ้องด้วยวาจา ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกโดยละเอียดไม่ และก่อนบันทึกฟ้อง ศาลอาจจะสอบถามโจทก์เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิดได้ แต่ก็จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาของโจทก์เท่านั้น เมื่อพิจารณาใจความที่ศาลบันทึกการฟ้องด้วยวาจาประกอบกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลแล้วได้ความว่า เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 จำเลยกับพวกที่หลบหนีและ ด. กับพวกรวม 4 คน ร่วมกันเล่นการพนันสลากกินรวบอันเป็นการพนันตามบัญชี ข. อันดับที่ 16 ท้าย พ.ร.บ.การพนันฯ พนันเอาทรัพย์สินกัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้เป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วน ด. กับพวกเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้หรือผู้เล่น และโพยของกลางเป็นของ ด. กับพวกจำนวนเท่าใดเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หากจำเลยให้การปฏิเสธ ทั้งคดีนี้จำเลยก็ให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์โดยมิได้หลงข้อต่อสู้ แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังตามฟ้อง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิใช่เจ้ามือรับกินรับใช้ จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงซึ่งขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
of 585