คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5,846 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญา: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนแล้ววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาตามฟ้อง การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์นำสืบจึงไม่มีเจตนา พิพากษายกฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จและจำเลยมีเจตนาแจ้งความเท็จ เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตหรือมีการรับรองให้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าการที่จำเลยแจ้งข้อความว่าโจทก์เอาสมุดบันทึกของ อ. ไป เป็นการกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้น เป็นการอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วนและเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าจ้างเป็นเงินประกันโดยไม่ได้รับความยินยอม เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายจ้างต้องคืนเงินให้ลูกจ้าง
จำเลยที่ 2 เป็นช่างซ่อมบำรุง ไม่ได้รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของโจทก์ ที่โจทก์หักค่าจ้างร้อยละ 5 ไว้เป็นเงินประกันหรือเงินสะสมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 10, 76 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะดำเนินธุรกิจแข่งขันกับโจทก์ในขณะที่ยังเป็นลูกจ้างของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย และจำเลยที่ 2 ใช้เวลาทำงานไปทำกิจการส่วนตัวอันเป็นการทุจริตเวลาทำงานของโจทก์ซึ่งเป็นการผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 10.2 หรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมไม่อาจอ้างระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์เพื่อปฏิเสธที่จะคืนเงินค่าจ้างของจำเลยที่ 2 ที่โจทก์หักไว้ หากจำเลยที่ 2 กระทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ยังเป็นลูกจ้างโจทก์ก็ชอบที่โจทก์จะดำเนินคดีฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังที่ได้ดำเนินคดีไว้แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ลาออกจากการเป็นลูกจ้าง โจทก์ต้องคืนเงินค่าจ้างที่หักไว้แก่จำเลยที่ 2 คดีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งให้โจทก์คืนเงินที่โจทก์หักจากค่าจ้างของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3027/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน: ครอบครองโคเดอีน-หลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร มีเจตนาและพฤติกรรมแยกต่างหาก
ความผิดฐานรับไว้ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ และฐานมีโคเดอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโคเดอีนตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มีการกระทำที่แยกจากกันเป็นแต่ละฐานความผิดได้โดยชัดเจนไม่เกี่ยวเนื่องกันและเจตนาในการกระทำความผิดก็เป็นคนละอย่างแตกต่างจากกัน ความผิดแต่ละข้อหาดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2866/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาถูกยกเลิกโดยศาลอุทธรณ์ภาค 8 คำสั่งถึงที่สุดตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อศาลชั้นต้นในเหตุฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งอนุญาต จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินนั้น ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งแก้ไขคำสั่งเดิม จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับให้ยกคำร้อง อันมีผลเป็นการยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในเหตุฉุกเฉินของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ให้ข้อมูลสำคัญช่วยปราบยาเสพติด ลดโทษจำคุกจากความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
จำเลยให้การรับสารภาพพร้อมทั้งแจ้งข้อเท็จจริงว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจาก ณ. และ พ. เป็นเหตุให้มีการติดตามจับกุม ณ. และ พ. มาดำเนินคดีพร้อมเมทแอมเฟตามีนประมาณ 2,000 เม็ด ดังนั้น จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดผู้ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือพนักงานสอบสวน เห็นสมควรลงโทษจำเลยน้อยกว่าเกณฑ์ที่ลงโทษโดยทั่วไปสำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2701/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าจ้างคนละประเภทกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้อน
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเรียกค่าทำงานในวันหยุดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1524/2547 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่ายระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2547 แก่โจทก์ แม้คดีนี้กับคดีก่อนจะเป็นการฟ้องตามสัญญาจ้างแรงงานเหมือนกันก็ตามแต่ก็เป็นคำฟ้องเรียกเงินคนละประเภทกัน มีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและประเด็นที่วินิจฉัยต่างกัน จึงไม่ใช่เป็นการยื่นฟ้องเรื่องเดียวกันอันจะเป็นการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2064/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งรื้อถอนอาคาร, การพิพากษาโทษปรับ, และการรวมกรรมความผิดฐานดัดแปลงอาคาร
อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากการส่งและแจ้งคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 47 ทวิ บังคับให้ต้องทำทั้ง 2 วิธีพร้อมกันคือให้ทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้ผู้รับซึ่งจะต้องรับคำสั่งดังกล่าว ณ ภูมิลำเนาของผู้ร้องนั้น และปิดประกาศคำสั่งดังกล่าวไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่ายเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แต่เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาและอำนาจศาล: การลงโทษปรับเกิน 1 หมื่นบาท ต้องมีผู้พิพากษามากกว่าหนึ่งคน
คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 กระทงแรกเป็นเงิน 30,000 บาท และกระทงที่สองเป็นเงิน 25,000 บาท โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) ทั้งนี้เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้น ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานต่อเนื่องโดยทำสัญญาต่ออายุ แม้มีกำหนดอายุสัญญา การไม่ต่อสัญญาถือเป็นการเลิกจ้างและต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจ้างฉบับแรกตั้งแต่ปี 2533 และมีการต่อสัญญากันเรื่อยมาจนกระทั่งถึงสัญญาจ้างฉบับสุดท้าย โดยสัญญาจ้างแต่ละฉบับมีกำหนดอายุ 1 ปี แม้ตามสัญญาจ้างดังกล่าวจะกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ก็ตาม แต่การจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยมีการต่ออายุการจ้างเรื่อยมา เห็นได้ว่ามิใช่เป็นการจ้างพนักงานเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวเป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการแต่อย่างใด เมื่อจำเลยไม่ต่อสัญญาจ้างกับโจทก์โดยไม่ยอมให้โจทก์ทำงานต่อไป ย่อมถือว่าเป็นการเลิกจ้าง และกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต่อสัญญาจ้างก็มิใช่เหตุที่จำเลยจะอ้างเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของพนักงานขายต่อความเสียหายจากการอนุมัติขายสินค้า โดยมิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต
ใบสมัครงานระบุว่า "ในการขาย ให้เช่า เช่าซื้อหรือการขายสัญญาบริการหรือการก่อหนี้ใด ๆ ให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ (ลูกค้า) พนักงานขายและพนักงานช่างและหรือพนักงานผู้ที่มีส่วนได้รับค่านายหน้าของการขาย ให้เช่า เช่าซื้อ หรือการขายสัญญาบริการนั้น ๆ ทุกคนจะต้องเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจรับผิดชอบเป็นผู้อนุมัติให้ขาย ให้เช่า เช่าซื้อ หรือการขายสัญญาบริการโดยตรง บริษัทฯ ไม่มีส่วนตัดสินใจแต่ประการใด ฉะนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีที่ไม่สามารถเก็บเงินค่าสินค้านั้น ๆ ได้ พนักงานทุกคนที่มีส่วนได้รับค่านายหน้าจะต้องรับผิดชอบชดใช้ต่อค่าสินค้าตามใบเสร็จที่ระบุราคาขายให้แก่บริษัทฯ ตามอัตราส่วนของการได้รับค่านายหน้าให้แก่บริษัท" การกำหนดดังกล่าวมิใช่กรณีบุคคลภายนอกผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น เพราะในขณะทำสัญญามีเพียงบุคคลสองฝ่ายคือเจ้าหนี้หรือนายจ้าง กับผู้เข้าประกันหรือลูกจ้างจึงมิใช่สัญญาค้ำประกันผู้ซื้อสินค้า แต่เป็นการตกลงประกันการก่อให้เกิดความเสียหายไว้ล่วงหน้าว่าผู้เข้าประกันหรือลูกจ้างที่มีส่วนได้รับค่านายหน้าจะต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายจากการตัดสินใจรับผิดชอบเป็นผู้อนุมัติให้ขาย ให้เช่า เช่าซื้อ หรือการขายสัญญาบริการ ซึ่งความผูกพันระหว่างโจทก์กับบุคคลภายนอกผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ หรือผู้ซื้อสัญญาบริการจะเป็นไปตามสัญญาภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ แต่ความผูกพันระหว่างโจทก์ในฐานะนายจ้างกับพนักงานขาย พนักงานช่างและหรือพนักงานผู้ที่มีส่วนได้รับค่านายหน้าของการขาย ให้เช่า เช่าซื้อ หรือการขายสัญญาบริการยังคงเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน ดังนั้น จึงมิได้หมายความว่าลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานโดยชอบและสุจริตแล้วยังจะต้องชดใช้ความเสียหายที่ตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นแต่อย่างใด เว้นแต่จะปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ถูกต้องและสุจริตอันเป็นผลให้ไม่สามารถเก็บเงินค่าสินค้าให้แก่นายจ้างตามที่ระบุในใบสมัครงาน และเมื่อเงื่อนไขในใบสมัครงานมิได้กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานขาย พนักงานช่าง และหรือพนักงานผู้ที่มีส่วนได้รับค่านายหน้าต้องทำหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกันผู้อื่น ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ หรือผู้ซื้อสัญญาบริการแล้ว เงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชนจึงใช้บังคับได้
of 585