คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5,846 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาต้องควบคู่กับคดีแพ่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี
ป.วิ.อ. มาตรา 35 มิได้บัญญัติถึงวิธีถอนฟ้องว่าจะต้องทำเป็นคำร้องแต่วิธีเดียวเท่านั้น หากคู่ความมาอยู่ต่อหน้าศาลและแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาย่อมไม่ห้ามศาลที่จะยอมรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาที่ได้กระทำในศาล โดยจดข้อความขอถอนฟ้องนั้นลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหรืออาจจะกำหนดให้โจทก์ถอนฟ้องโดยทำเป็นคำร้องขอถอนฟ้องก็ได้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร การที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดขอนแก่นได้นัดคู่ความให้มาศาลเพื่อเจรจากันในห้องพักของผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ถือได้ว่าคู่ความมาศาลและขอให้ศาลนั่งพิจารณาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แม้จะได้กระทำในห้องพักของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมิใช่ในห้องพิจารณาคดีแต่ก็เพื่อความสะดวกแก่คู่ความจะได้เจรจาตกลงกันถือว่าศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลโดยชอบแล้ว เมื่อคู่ความอยู่ต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดีของศาล และโจทก์แถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาในศาลนั้นเอง ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยเพื่อยุติข้อพิพาททั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปในคราวเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าเวลา 10 นาฬิกา คู่ความร่วมกันแถลงว่าสามารถตกลงเจรจาในเรื่องทรัพย์มรดกของ ม. ได้ข้อยุติและแบ่งกันได้แล้ว โจทก์จึงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ขอถอนฟ้องอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนในคดีแพ่ง ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ให้คู่ความไปจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมาทำยอมกันในเวลา 14 นาฬิกาของวันนั้น แต่เมื่อในตอนบ่ายของวันนั้นไม่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมกัน การถอนฟ้องในคดีอาญาย่อมไม่มีผล การที่ศาลชั้นต้นด่วนอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปพร้อมกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ขอให้เพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาควบคู่กับคดีแพ่ง: ศาลต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกันเพื่อยุติข้อพิพาททั้งหมด
ป.วิ.อ. มาตรา 35 มิได้บัญญัติถึงวิธีถอนฟ้องว่าจะต้องทำเป็นคำร้องแต่วิธีเดียวเท่านั้น หากคู่ความมาอยู่ต่อหน้าศาลและแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาย่อมไม่ห้ามศาลที่จะยอมรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาที่ได้กระทำในศาล โดยจดข้อความขอถอนฟ้องนั้นลงไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหรืออาจจะกำหนดให้โจทก์ถอนฟ้องโดยทำเป็นคำร้องขอถอนฟ้องก็ได้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร การนัดคู่ความให้มาศาลเพื่อเจรจากันในห้องทำงานของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลถือได้ว่า คู่ความมาศาลและขอให้ศาลนั่งพิจารณาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แม้การไกล่เกลี่ยจะมิได้กระทำในห้องพิจารณาคดีของศาล แต่ก็อยู่ในศาล ถือว่าศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลโดยชอบแล้ว เมื่อคู่ความอยู่ต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดีของศาล และโจทก์แถลงของถอนฟ้องด้วยวาจาในศาลนั้นเองก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาได้โดยชอบ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาคดีนี้เกี่ยวด้วยมรดกของ ม. ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยคู่ความทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาไปในคราวเดียวกัน เจตนาในการไกล่เกลี่ยก็เพื่อยุติข้อพิพาททั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาให้เสร็จไปทั้งสองคดีในคราวเดียวกัน ดังนั้น แม้คู่ความจะตกลงกันในคดีแพ่งได้และโจทก์ยอมจะถอนฟ้องคดีอาญา ศาลชั้นต้นก็ต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไปพร้อมกับอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีอาญาไปในคราวเดียวกันเพื่อให้คดีทั้งสองยุติไปตามเจตนาในการไกล่เกลี่ยและเจรจาตกลงกัน การที่ศาลชั้นต้นด่วนบันทึกรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าโจทก์ขอถอนฟ้อง จำเลยคัดค้าน ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปเพื่อให้คดีทั้งสองยุติไปพร้อมกันในคราวเดียวกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง และผิดหลง และผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์จึงชอบที่จะขอให้เพิกถอนเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องยื่นต่อศาลแรงงานชั้นต้นตามกฎหมาย และการขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลอันสมควร
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง บัญญัติว่า " การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง..." จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่าโจทก์จะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลาง อันเป็นศาลที่มีคำพิพากษาคดีนี้ ไม่อาจยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงานต้องมีเหตุจำเป็น การยื่นอุทธรณ์ต้องยื่นต่อศาลแรงงานกลางเท่านั้น
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แต่เหตุผลตามคำร้องไม่ใช่เหตุจำเป็นอันสมควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาโจทก์อุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางว่าสมควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์อีกหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง บัญญัติว่า "การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานกลางอันเป็นศาลที่มีคำพิพากษา ไม่อาจจะยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีค้ายาเสพติด: การพิจารณาความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และการริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิด
คดีที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น จำเลยทั้งสองซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนจำนวน 4,000 เม็ด ไว้ใต้เบาะที่นั่งในรถยนต์ของกลาง และเก็บเมทแอมเฟตามีนจำนวน 296,000 เม็ด กับเฮโรอีนจำนวน 10 แท่ง ของกลางในกระเป๋าที่กระโปรงหลังรถยนต์ของกลางเท่านั้น จำเลยทั้งสองหาได้ดัดแปลงสภาพรถยนต์ของกลางทั้งสองคันเพื่อจะซุกซ่อนยาเสพติดให้โทษแต่อย่างใดไม่ รถยนต์ของกลางทั้งสองคันจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษโดยตรงอันจะพึงริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงาน: การอุทธรณ์และการคุ้มครองโดยกฎหมาย
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกันและมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือไม่เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ซึ่งห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกจากนี้คดีแรงงานยังเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจต่อกันเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีความสัมพันธ์อันดีกันต่อไป พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง จึงบัญญัติให้ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน การที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยและพิพากษาตามยอมจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์ได้ ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. 138 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
สำหรับอุทธรณ์ที่อ้างว่าโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากกลัวคำขู่ของศาลแรงงานกลางขณะทำการไกล่เกลี่ยนั้น เห็นว่า ขณะที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย โจทก์มีทนายความอยู่ด้วย และทนายความของโจทก์ก็ร่วมลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวโจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏพยานหลักฐานอื่นในสำนวน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแรงงาน: ห้ามอุทธรณ์เมื่อทำโดยความยินยอมและไม่มีพยานหลักฐานใหม่
ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกัน และมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงอาจมีผลไม่ตรง หรือไม่เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 ซึ่งห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง นอกจากนี้คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจต่อกันเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีความสัมพันธ์อันดีกันต่อไป พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 38 วรรคหนึ่ง จึงบัญญัติให้ศาลแรงงานไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน การที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยคดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินต่างๆ แล้ว คู่ความตกลงกันได้โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า "ข้อ 1 โจทก์จำเลยรับกันว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเกิดจากความเข้าใจผิด บัดนี้สองฝ่ายเข้าใจกันดีแล้ว จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นคนของจำเลย ปัจจุบันออกจากบริษัทจำเลยแล้ว จำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ 40,000 บาท โดยจะนำเงินมาวางศาลภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ข้อ 2 จำเลยจะนำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้และรายงานกระบวนพิจารณาไปปิด ณ ที่ทำการของจำเลยมีกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2548 ข้อ 3 โจทก์ยอมตามข้อ 1 ข้อ 2 ไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใดจากกันอีก" และพิพากษาตามยอมจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์ได้ ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
ขณะที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย โจทก์มีทนายความอยู่ด้วยและทนายความของโจทก์ก็ร่วมลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเนื่องจากกลัวคำขู่ของศาลแรงงานกลางขณะทำการไกล่เกลี่ยนั้น โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏหลักฐานอื่นในสำนวน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1161/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากพฤติการณ์ทำร้ายด้วยอาวุธอันตราย ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นจำคุกตลอดชีวิต
จำเลยใช้จอบยาวประมาณ 1 เมตรเศษ เป็นจอบขนาดใหญ่ตีทำร้ายผู้ตายที่บริเวณศีรษะถึง 2 ถึง 3 ครั้งในขณะที่ผู้ตายนอนนิ่งอยู่ ซึ่งจำเลยมีโอกาสที่จะเลือกตีผู้ตายที่ใดก็ได้แต่จำเลยกลับเลือกตีทำร้ายผู้ตายที่บริเวณศีรษะอันเป็นอวัยวะสำคัญถึงขนาดกะโหลกศีรษะผู้ตายแตกและบางส่วนหลุดหายไป ทั้งบาดแผลลึกถึงสมองเนื้อสมองหายไปอันแสดงว่าจำเลยตีทำร้ายอย่างรุนแรง จำเลยย่อมเล็งเห็นผลในการกระทำของจำเลยได้ว่าอาจทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้ แม้มูลเหตุที่จำเลยไม่พอใจผู้ตายจะไม่ใช่สาเหตุร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยจะต้องฆ่าผู้ตายก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาฆ่าผู้ตายแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม้ฟืนของกลางไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด จึงไม่รับและพิพากษาให้ยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์ โจทก์หาได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ริบไม้ฟืนของกลางไม่ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายผู้ว่าการ ททท. ชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีส่วนได้เสียกับบริษัทคู่สัญญา และขัดต่อจรรยาบรรณกรรมการรัฐวิสาหกิจ
ตาม พ.ร.บ. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 15 บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายมีอำนาจที่จะยับยั้งการกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ที่เห็นว่าเป็นการขัดต่อนโยบายหรือมติของรัฐมนตรีได้ด้วย ส่วนพนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจที่จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรีเช่นเดียวกัน เมื่อปรากฏว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2541 เรื่องจรรยาบรรณของกรรมการรัฐวิสาหกิจ ข้อ 4 กำหนดให้กรรมการต้องไม่มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับรัฐวิสาหกิจที่ตนเป็นกรรมการไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับบริษัทที่ทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี ข้ออ้างในการย้ายโจทก์จากตำแหน่งผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไม่เป็นเหตุนอกเหนือไปจากเหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และไม่เป็นการขัดต่อ พ.ร.บ. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 25 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลความน่าเชื่อถือของลูกจ้างเป็นปัจจัยประกอบการวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงาน ดังนั้น การจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับโจทก์กลับเข้าทำงานจะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ ซึ่งเหตุดังกล่าวอาจเป็นเหตุที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้างหรือเหตุอื่นที่มิใช่การกระทำหรือความผิดของลูกจ้างก็ได้ ดังนั้น แม้การกระทำของโจทก์จะไม่เป็นความผิดร้ายแรงในกรณีทุจริตต่อหน้าที่หรือกรณีกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไล่โจทก์ออกได้ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 แต่การที่โจทก์ส่งเงินค่าผ่านทางขาดมาก่อนเป็นประจำ ผู้บังคับบัญชาตักเตือนแล้วโจทก์ยังส่งเงินค่าผ่านทางขาดอีกหลายครั้ง ก่อนที่จะเลิกจ้างโจทก์จำเลยที่ 1 ตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัยโจทก์แล้วย่อมมีเหตุอันควร ที่จำเลยที่ 1 จะไม่ไว้ใจให้โจทก์ทำงานเป็นพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 ได้ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด
of 585