คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิธวิทย์ หิรัญรุจิพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5,846 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนเกินกำหนด: เหตุผลสมควรหรือไม่?
พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 เป็นข้อกำหนดในเรื่องระยะเวลาและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทน ดังนั้นหากผู้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนมิได้ยื่นขอภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนตามปกติบุคคลนั้นย่อมเสียสิทธิ แต่เมื่อมาตรา 56 วรรคหนึ่งไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด ก็ต้องแปลว่า การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่
โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมายังไม่พอ ที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์มีเหตุอันสมควรหรือความจำเป็นใด จึงยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนล่าช้า เห็นสมควรให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คโดยไม่ลงวันที่สั่งจ่าย และผลกระทบต่อความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
การที่จำเลยออกเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย ถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คคือจำเลยกระทำความผิด การที่ พ. และโจทก์ตกลงกันลงวันที่สั่งจ่ายเช็คพิพาท ก็เป็นเพียงแต่ให้เช็คมีรายการต่าง ๆ สมบูรณ์ตามกฎหมาย เพื่อฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 989 วรรคหนึ่ง ที่ให้สิทธิผู้ทรงลงวันที่สั่งจ่ายที่แท้จริงได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องค่าจ้างควบคู่กับการร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน: ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานสิ้นสุด
ก่อนที่โจทก์ทั้งสามจะฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ โจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดและประสงค์ให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 วรรคหนึ่ง ซึ่งในกรณีนี้โจทก์ทั้งสามอาจจะเลือกที่จะใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลแรงงานได้ โดยจะต้องใช้สิทธิในทางใดทางหนึ่ง แต่จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ เมื่อโจทก์ทั้งสามยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้วโจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด ศาลแรงงานย่อมไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามที่ฟ้องเรียกเอาเงินค่าจ้างค้างจ่ายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ข้อกฎหมายนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142, 246 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนค่าบริการจัดหางานต่างประเทศเมื่อคนหางานทำงานไม่ครบตามสัญญาและนายจ้างล้มละลาย
ในวันนัดพิจารณา ศาลได้สอบถามจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองก็ได้แถลงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ต่อศาล การแถลงข้อเท็จจริงดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นคำให้การด้วยวาจา แม้ศาลจะมีคำสั่งว่าหากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การให้ยื่นคำให้การภายใน 15 วัน ก็ตาม ก็เพียงแต่ให้จำเลยที่ 2 มีโอกาสยื่นคำให้การเป็นหนังสือเพิ่มเติมจากที่ได้ให้การด้วยวาจาเท่านั้น และแม้ศาลจะระบุในคำพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การก็หมายความว่า จำเลยที่ 2 ไม่ยื่นคำให้การเป็นหนังสือตามคำสั่งของศาลเท่านั้น เมื่อศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยให้จำเลยที่ 2 นำพยานเข้าสืบตามประเด็นในคำให้การแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การอีก
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้หมายเรียก ธ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้โอนค่าใช้จ่ายของโจทก์ในการเดินทางไปทำงานที่ไต้หวันให้แก่ ธ. ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการเข้ามาในคดีนี้แล้ว ธ. ย่อมไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ธ. จึงไม่อาจถูกจำเลยที่ 2 ฟ้องเพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ก) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยทั้งสองร่วมกันส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศแต่ไม่ครบกำหนด เพราะนายจ้างล้มละลายไม่มีงานให้โจทก์ทำ ดังนี้ เป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ไม่สามารถทำงานได้จนสิ้นสุดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจัดหางาน เพราะโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมิใช่สาเหตุจากโจทก์ และแม้เหตุดังกล่าวจะมิใช่เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากโจทก์ไปแล้วเป็นอัตราส่วนกับระยะเวลาที่โจทก์ได้ทำงานตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าสินค้า: การยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความในคดีบังคับคดีและการวินิจฉัยของศาล
โจทก์ขอให้อายัดสิทธิเรียกร้องในการชำระราคาสินค้าของจำเลยซึ่งมีต่อผู้คัดค้านโดยอ้างเพียงประการเดียวว่าเงินที่ขออายัดเป็นเงินที่ผู้คัดค้านค้างชำระราคาสินค้าซึ่งผู้คัดค้านซื้อจากจำเลย ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า โจทก์กล่าวอ้างว่าผู้คัดค้านมีภาระต้องชดใช้ราคาสินค้าดังกล่าวแก่จำเลยแต่จำเลยก็มิได้ฟ้องร้องให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยภายในเวลา 2 ปี นับแต่จำเลยส่งมอบสินค้า สิทธิเรียกร้องของจำเลยจึงขาดอายุความแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวจากผู้คัดค้าน คำคัดค้านของผู้คัดค้านเป็นการตั้งประเด็นเสมือนเป็นคำให้การต่อสู้คดีและเป็นคำให้การที่ชัดแจ้ง และแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความว่าเป็นเรื่องใดและขาดอายุความเพราะเหตุใด ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10277-10288/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องค่าจ้างควบคู่กับการร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน: โจทก์เลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งได้เท่านั้น
โจทก์ทั้งสิบสองคนยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าจำเลยเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ชอบ แม้ไม่ได้ร้องเรียนเรื่องค่าจ้างโดยตรง แต่ก็เห็นได้ว่าโจทก์กับจำเลยจะต้องพิพาทกันด้วยเงินค่าจ้างในระหว่างวันเวลาที่จำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ทำงาน จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใด และประสงค์ให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างจากจำเลย ซึ่งมีมูลคดีสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าวต่อศาลแรงงานกลางจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10206/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในสัญญาที่ผูกพันบริษัทหลังพ้นตำแหน่ง
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในช่วงเวลาระหว่างวันที่โจทก์รับจ้างตกแต่งร้านค้าให้จำเลยที่ 1 ตั้งแต่เดือนกันยายน 2538 จนถึงวันที่ทำการตกแต่งร้านค้าเสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2538 และได้ลาออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2540 อยู่ในเวลาสองปีนับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างตามฟ้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 ประกอบมาตรา 1080 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6910/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากลูกจ้างลาป่วยหลังจากเคยถูกตักเตือนเรื่องลากิจ
การที่โจทก์เคยถูกจำเลยตักเตือนเป็นหนังสือเนื่องจากโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในการลากิจมาแล้วนั้น ต่อมาโจทก์ลาป่วย ไม่ว่าการลาป่วยของโจทก์ดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือไม่ก็ตามก็เป็นคนละเรื่องกับกรณีที่โจทก์เคยถูกจำเลยตักเตือน จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่งได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร: ความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาโดยความยินยอม ไม่เข้าข่ายความผิด
ผู้เยาว์กับจำเลยสมัครใจรักใคร่กันโดยที่จำเลยยังไม่เคยมีภริยามาก่อน การที่จำเลยได้พาผู้เยาว์ไปอยู่กับจำเลยและได้เสียกันก็เพื่อประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา แต่มีเหตุขัดข้องเกิดจากมารดาจำเลยไม่ยอมรับผู้เยาว์เป็นสะใภ้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ฯ พิจารณาจากเจตนาและการกระทำที่มุ่งประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยา
ผู้เยาว์กับจำเลยรักใคร่กันโดยที่จำเลยยังไม่มีภริยามาก่อน จำเลยพาผู้เยาว์ไปอยู่กับจำเลยได้เสียกันเพื่อประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา แต่มารดาจำเลยไม่ยอมรับผู้เยาว์เป็นสะใภ้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร
of 585