พบผลลัพธ์ทั้งหมด 810 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5754/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดจำนองที่ดินจัดสรรโดยธนาคารผู้สนับสนุนโครงการโดยไม่สุจริต ทำให้การจดจำนองเป็นโมฆะ
การที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นบริเวณหมู่บ้านจัดสรรไปจำนองพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านพิพาทแก่จำเลยที่ 2 อีก ภายหลังจากที่หมู่บ้านจัดสรรดังกล่าวได้จัดสรรที่ดินขายแก่โจทก์แล้ว โดยปรากฏข้อความชัดเจนว่าโฉนดที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่อยู่ภายใต้การจัดสรรแล้วประมาณ 2 ปี จำเลยที่ 2 ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในฐานะผู้สนับสนุนโครงการหากได้กระทำการโดยสุจริตก็ควรจะได้เฉลียวใจหรือควรได้รู้ถึงว่าการมีบ้านพิพาทเกิดขึ้นในภายหลังนั้นก็เนื่องจากจำเลยที่ 1 จัดสรรขายให้แก่ลูกค้าไปแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ก็มิได้กระทำการตรวจสอบหลักฐานการเป็นเจ้าของให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนจึงจะรับจดทะเบียนจำนองไว้ ประกอบกับจำเลยที่ 2 ในฐานะธนาคารผู้สนับสนุนโครงการย่อมต้องทราบหรือถือว่าได้ทราบว่ามีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ห้ามทำนิติกรรมใด ๆอันก่อให้เกิดภาระแก่ที่ดินจัดสรร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ ทั้งไม่ปรากฏว่าในการทำนิติกรรมจดทะเบียนจำนองครั้งนี้ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการแล้วด้วย พฤติการณ์เชื่อได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้จงใจหรือแกล้งละเลยต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันมีไว้ด้วยเจตนารมณ์เพื่อป้องกันประชาชนผู้สุจริตโดยมุ่งประสงค์แต่ในทางที่จะได้กำไรเพียงสถานเดียวถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายบ้านแยกจากที่ดินได้หากเจตนาตรงกัน แม้บ้านจะไม่ได้ตั้งอยู่บนที่ดินนั้น
การซื้อขายบ้านในลักษณะที่คงสภาพอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ โดยแยกต่างหากจากที่ดินที่บ้านนั้นปลูกสร้างอยู่สามารถทำได้โดยชอบ เมื่อการปลูกสร้างบ้านดังกล่าวมิได้ยึดถือแนวเขตที่ดินตามโฉนดเป็นตัวกำหนดที่ตั้ง ซึ่งจำเลยเป็นผู้รู้ข้อเท็จจริงนี้ดีและได้แสดงเจตนาขายบ้านและที่ดินพิพาทแก่โจทก์พร้อมกันได้ในคราวเดียว จึงเป็นการยอมรับสภาพในผลของสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นนั้นว่า เมื่อจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและบ้านหลังดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว บ้านนั้นย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีทั้งที่มิได้อยู่บนที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, อำนาจฟ้อง, และการลดอัตราดอกเบี้ย: ประเด็นสำคัญในการพิพากษาคดี
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เงินทั้งสามฉบับและหนี้เบิกเงินเกินบัญชี 1 รายการ จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามสัญญา จึงเป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์ เมื่อข้อตกลงในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้ทั้งสามฉบับยอมให้โจทก์บอกกล่าวเลิกสัญญาได้ก่อนสัญญาครบกำหนด การที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยก่อนสัญญาครบกำหนดจึงหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ เพราะหากโจทก์จะปล่อยให้จำเลยกู้เงินต่อไปก็ยิ่งจะเป็นภาระหนักแก่จำเลยที่ไม่อาจชำระหนี้คืนแก่โจทก์ได้แน่นอน และการที่โจทก์ยอมให้บริษัท ร. อันเป็นบริษัทในเครือของจำเลยกู้เงินจากโจทก์ มาชำระหนี้แก่โจทก์เพื่อลดหนี้ของจำเลย และยอมให้จำเลยกู้เงินจากโจทก์ นำมาลดหนี้ของจำเลย ตามฎีกาของจำเลยก็ล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยเองทั้งสิ้น หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยได้รับหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว แต่จำเลยนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพียงบางส่วนเท่านั้น มิได้ชำระทั้งหมดตามจำนวนที่โจทก์ทวงถาม ย่อมไม่ทำให้การทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองสิ้นผลไป เพราะสามารถนำส่วนที่จำเลยชำระนั้นมาหักลดหนี้เดิมได้ แล้วคิดดอกเบี้ยในหนี้ส่วนที่ยังค้างชำระอยู่ต่อไปจนถึงวันฟ้อง แม้ยอดหนี้ตามคำฟ้องจะมีตัวเลขไม่ตรงตามหนังสือทวงถามก่อนที่จำเลยจะชำระหนี้บางส่วน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องมีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองใหม่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของโจทก์สำนักเพลินจิต ว่า ภายหลังจากวันครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด อันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้ชำระหนี้ของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินไปจากโจทก์ และจำเลยก็มิได้ชำระหนี้แก่โจทก์ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว แสดงว่าเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์กับจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะสะพัดกันทางบัญชีต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ต่อไป คงคิดดอกเบี้ยได้โดยไม่ทบต้นเท่านั้น
จำเลยได้รับหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว แต่จำเลยนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพียงบางส่วนเท่านั้น มิได้ชำระทั้งหมดตามจำนวนที่โจทก์ทวงถาม ย่อมไม่ทำให้การทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองสิ้นผลไป เพราะสามารถนำส่วนที่จำเลยชำระนั้นมาหักลดหนี้เดิมได้ แล้วคิดดอกเบี้ยในหนี้ส่วนที่ยังค้างชำระอยู่ต่อไปจนถึงวันฟ้อง แม้ยอดหนี้ตามคำฟ้องจะมีตัวเลขไม่ตรงตามหนังสือทวงถามก่อนที่จำเลยจะชำระหนี้บางส่วน ก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องมีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองใหม่ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
ปรากฏตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของโจทก์สำนักเพลินจิต ว่า ภายหลังจากวันครบกำหนดตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด อันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้ชำระหนี้ของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินไปจากโจทก์ และจำเลยก็มิได้ชำระหนี้แก่โจทก์ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว แสดงว่าเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์กับจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะสะพัดกันทางบัญชีต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยได้ต่อไป คงคิดดอกเบี้ยได้โดยไม่ทบต้นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4783/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต่อศาล: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อจำเลยแพ้คดีและบทบัญญัติค้ำประกันทั่วไปมิอาจปรับใช้
ผู้ร้องยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยระบุว่า จำเลยที่ 1เป็นผู้ยื่นฎีกา แต่เมื่ออ่านฎีกาทั้งฉบับ รวมทั้งผู้ลงชื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทั้งทนายจำเลยที่ 1 และทนายผู้ร้องในขณะเดียวกันก็พออนุโลมได้ว่าเป็นฎีกาของผู้ร้อง
ข้อความตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า "ข้าพเจ้า อ. ผู้ค้ำประกันขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลนี้ว่า ถ้าจำเลยในคดีนี้แพ้คดีโจทก์ และคดีถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ข้าพเจ้ายอมให้บังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่ข้าพเจ้าได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาลนี้" ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน ผู้ร้องยังต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุในหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอยู่ ความรับผิดของผู้ร้องจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่ และสิทธิของโจทก์ในอันที่จะบังคับคดีแก่จำเลยและผู้ร้องซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาล ย่อมเป็นไปตามจำนวนหนี้ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาอันเป็นชั้นที่สุด
ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยไว้ต่อศาลซึ่งเป็นองค์กรแห่งรัฐเพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษา มิใช่ผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องค้ำประกันมาปรับใช้แก่กรณีของผู้ร้องโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
ข้อความตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาลชั้นต้นมีใจความว่า "ข้าพเจ้า อ. ผู้ค้ำประกันขอทำหนังสือสัญญาค้ำประกันให้ไว้ต่อศาลนี้ว่า ถ้าจำเลยในคดีนี้แพ้คดีโจทก์ และคดีถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 1 ไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้นเท่าใด ข้าพเจ้ายอมให้บังคับเอาจากหลักทรัพย์ที่ข้าพเจ้าได้นำมาวางไว้เป็นประกันต่อศาลนี้" ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยฎีกา แต่ศาลฎีกาพิพากษายืน ผู้ร้องยังต้องรับผิดตามข้อความที่ระบุในหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวอยู่ ความรับผิดของผู้ร้องจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันขึ้นใหม่ และสิทธิของโจทก์ในอันที่จะบังคับคดีแก่จำเลยและผู้ร้องซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้ต่อศาล ย่อมเป็นไปตามจำนวนหนี้ที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลฎีกาอันเป็นชั้นที่สุด
ผู้ร้องทำหนังสือสัญญาค้ำประกันจำเลยไว้ต่อศาลซึ่งเป็นองค์กรแห่งรัฐเพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษา มิใช่ผู้ร้องทำสัญญาค้ำประกันกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างบุคคล จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรื่องค้ำประกันมาปรับใช้แก่กรณีของผู้ร้องโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเดินสะพัดเลิกกันเมื่อไม่มีการสะพัดนานเกินควร โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต
แม้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มีกำหนดเวลาแต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดมีลักษณะเฉพาะโดยสัญญาจะคงสภาพอยู่ต่อไปได้ก็จะต้องมีการสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องและภายในระยะเวลาอันสมควรเมื่อจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายวันที่ 7 มิถุนายน 2531 แล้วไม่มีการ เดินสะพัดทางบัญชีอีกเลยเป็นระยะเวลานานถึง 9 ปีเศษ ดังนี้ โจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาภายในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในระยะเวลานานเกินสมควร การใช้สิทธิของโจทก์เช่นนี้จึงมิได้กระทำโดยสุจริตและเมื่อมีข้อสงสัยเช่นนี้ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องเสียหายในมูลหนี้ โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2531
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกสัญญาโดยปริยายจากการไม่มีการสะพัดนาน การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยจะไม่มีกำหนดเวลา แต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นเอกเทศสัญญามีลักษณะเฉพาะโดยสัญญาจะคงสภาพอยู่ต่อไปได้ก็จะต้องมีการสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องและภายในระยะเวลาอันสมควร เมื่อจำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2531 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลยเป็นระยะเวลานานถึง 9 ปีเศษ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายแล้ว
โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราบัญชีของลูกค้าอยู่ตลอดว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าโจทก์ไม่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชีโจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรืออาจบอกเลิกสัญญา ภายในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในระยะเวลายาวนานเกินสมควรเช่นนี้ ถือได้ว่าการใช้สิทธิของโจทก์มิได้กระทำโดยสุจริต เมื่อมีข้อสงสัยก็ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องเสียหายในมูลหนี้ โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่จำเลยมีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายคือวันที่จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้าย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2543)
โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราบัญชีของลูกค้าอยู่ตลอดว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าโจทก์ไม่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชีโจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรืออาจบอกเลิกสัญญา ภายในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่จำเลยในระยะเวลายาวนานเกินสมควรเช่นนี้ ถือได้ว่าการใช้สิทธิของโจทก์มิได้กระทำโดยสุจริต เมื่อมีข้อสงสัยก็ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ต้องเสียหายในมูลหนี้ โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่จำเลยมีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายคือวันที่จำเลยเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้าย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2543)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย และการขอพิจารณาคดีใหม่
ก่อนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกที่เลื่อนมาอ. อ้างว่าเป็นพนักงานส่งเอกสารของจำเลย นำโทรสารรายงานผลการตรวจชันสูตรและความเห็นแพทย์ว่าทนายจำเลยป่วยเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลมายื่น แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยมิได้ขออนุญาตเลื่อนคดีโดยถูกต้อง ถือว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนสืบพยานจึงมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แสดงว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเนื่องจากจำเลยไม่ร้องขอเลื่อนคดีหรือไม่แจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนสืบพยานโจทก์และก่อนหน้านั้นศาลชั้นต้นไม่เคยส่งว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดี โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีในวันพิจารณานัดสุดท้ายข้อเท็จจริงจึงไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยประวิงคดี
เมื่อมีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ขาดนัดมาศาลไม่ได้เพราะทนายจำเลยป่วยต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและจำเลยได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยชอบ จึงมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ การที่จำเลยไม่ร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและเลือกใช้วิธีขอพิจารณาใหม่ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อมีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ขาดนัดมาศาลไม่ได้เพราะทนายจำเลยป่วยต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและจำเลยได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยชอบ จึงมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ การที่จำเลยไม่ร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและเลือกใช้วิธีขอพิจารณาใหม่ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วยและการขอพิจารณาคดีใหม่
ก่อนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกที่เลื่อนมาอ.อ้างว่าเป็นพนักงานส่งเอกสารของจำเลย นำโทรสารรายงานผลการตรวจชันสูตรและความเห็นแพทย์ว่าทนายจำเลยป่วยเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลมายื่นแต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยมิได้ขออนุญาตเลื่อนคดีโดยถูกต้อง ถือว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนสืบพยานจึงมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แสดงว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเนื่องจากจำเลยไม่ร้องขอเลื่อนคดี หรือไม่แจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนสืบพยานโจทก์และก่อนหน้านั้นศาลชั้นต้นไม่เคยสั่งว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดี โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีในวันพิจารณานัดสุดท้าย ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยประวิงคดี
เมื่อมีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ขาดนัดมาศาลไม่ได้เพราะทนายจำเลยป่วยต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและจำเลยได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยชอบ จึงมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ การที่จำเลยไม่ร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและเลือกใช้วิธีขอพิจารณาใหม่ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อมีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ขาดนัดมาศาลไม่ได้เพราะทนายจำเลยป่วยต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและจำเลยได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยชอบ จึงมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ การที่จำเลยไม่ร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและเลือกใช้วิธีขอพิจารณาใหม่ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการฟ้องคดีล้มละลาย และการรับรองความถูกต้องของเอกสารสำเนา
ในกรณีเจ้าหนี้มีลูกหนี้หลายคน เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้คนใดและจะฟ้องอย่างไร ย่อมเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเลือกกระทำได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องลูกหนี้คนอื่น ๆ เป็นคดีล้มละลายโดยไม่จำต้องฟ้องจำเลยด้วย ทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลายดังกล่าว ย่อมเป็นคุณแก่จำเลยในอันที่จะไม่ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลาย และแม้ต่อมาลูกหนี้คนอื่น ๆ จะตกเป็นบุคคลล้มละลายก็ตาม จำเลยก็หาได้หลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ และจะเสียสิทธิในการไล่เบี้ยหรือไม่ เพราะการไล่เบี้ยเป็นเรื่องระหว่างลูกหนี้ด้วยกันเอง กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต
โจทก์นำสำเนาภาพถ่ายของต้นฉบับเอกสารที่สูญหายไปมาสืบว่าถูกต้องกับต้นฉบับ แม้จะไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำสำเนาหนังสือสัญญาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบแล้ว สำเนาหนังสือสัญญาดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2)
ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นควรให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี แทนที่จะให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไข
โจทก์นำสำเนาภาพถ่ายของต้นฉบับเอกสารที่สูญหายไปมาสืบว่าถูกต้องกับต้นฉบับ แม้จะไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำสำเนาหนังสือสัญญาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบแล้ว สำเนาหนังสือสัญญาดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2)
ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นควรให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี แทนที่จะให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2709/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการฟ้องลูกหนี้หลายคน และการรับฟังพยานสำเนาเอกสาร
โจทก์ได้ทำหนังสือค้ำประกันห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเพื่อเป็นการค้ำประกันสัญญาซื้อขายหัวกระเทียมแห้งระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. กับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร หากห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ปฏิบัติผิดสัญญา โจทก์ยินยอมใช้เงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรในวงเงินฉบับละ 1,000,000 บาท รวม 3 ฉบับ เป็นเงิน 3,000,000 บาท การที่โจทก์ทำหนังสือค้ำประกันดังกล่าว น. และ ว. กับจำเลยต่างทำสัญญายอมรับผิดชอบชำระเงินรวมทั้งดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในกรณีที่โจทก์ต้องจ่ายเงินแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ไปตามหนังสือค้ำประกัน ต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ผิดสัญญาต่อองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรแล้วฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. น. และ ว. เป็นคดีล้มละลาย และศาลได้พิพากษาให้บุคคลทั้งสามเป็นบุคคลล้มละลายแล้วโดยโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย ในกรณีเจ้าหนี้มีลูกหนี้หลายคนนั้นเจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้คนใด และหากฟ้อง จะฟ้องอย่างไรย่อมเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะเลือกกระทำได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องลูกหนี้คนอื่น ๆ คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. น. และ ว. เป็นคดีล้มละลายโดยไม่จำต้องฟ้องจำเลยด้วย ทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในคดีล้มละลายดังกล่าว ย่อมเป็นคุณแก่จำเลยในอันที่จะไม่ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลาย และแม้ต่อมาลูกหนี้คนอื่น ๆ จะตกเป็นบุคคลล้มละลายก็ตาม จำเลยก็หาได้หลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้หรือไม่ และจะเสียสิทธิในการไล่เบี้ยเอาจากบุคคลทั้งสามดังกล่าวหรือไม่ เพราะการไล่เบี้ยเป็นเรื่องระหว่างลูกหนี้ด้วยกันเอง กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยโดยไม่สุจริต
โจทก์นำสำเนาภาพถ่ายของต้นฉบับเอกสารที่สูญหายไปมาสืบว่าถูกต้องกับต้นฉบับ แม้จะไม่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำสำเนาหนังสือสัญญาและพยานบุคคลมาสืบ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบแล้ว สำเนาหนังสือสัญญาจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
โจทก์ชำระเงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์ได้เป็นต้นไป หาใช่ เริ่มนับแต่วันที่โจทก์ถูกองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเรียกร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ไม่ เมื่อนับจากวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นจะให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีหรือจะให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไข
โจทก์นำสำเนาภาพถ่ายของต้นฉบับเอกสารที่สูญหายไปมาสืบว่าถูกต้องกับต้นฉบับ แม้จะไม่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบก็ตาม แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์นำสำเนาหนังสือสัญญาและพยานบุคคลมาสืบ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์นำสำเนาเอกสารและพยานบุคคลมาสืบแล้ว สำเนาหนังสือสัญญาจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานแห่งเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2)
โจทก์ชำระเงินให้แก่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์ได้เป็นต้นไป หาใช่ เริ่มนับแต่วันที่โจทก์ถูกองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรเรียกร้องให้ชำระเงินตามภาระที่โจทก์ออกหนังสือค้ำประกัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ไม่ เมื่อนับจากวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นจะให้จำเลยใช้แทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีหรือจะให้ใช้ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นเป็นดุลพินิจของศาล เมื่อไม่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติกฎหมายก็ไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไข