คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 810 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8779/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อทางการค้า/เครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงโดยไม่สุจริตละเมิดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าและอาจถูกห้ามใช้ได้
สิทธิในการใช้นามของบุคคล ป.พ.พ.มาตรา 18 บัญญัติว่า "สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้น ถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับมอบอำนาจให้ใช้ได้ก็ดี บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลนั้นระงับความเสียหายก็ได้ ถ้าและเป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้" นอกจากนี้ในกรณีสิทธิในการใช้ชื่อทางการค้าก็มี ป.อ.มาตรา 272 (1)บัญญัติถึงการที่ผู้ใดเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความรายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นนั้น เป็นความผิดที่มีโทษทางอาญา เป็นต้น โดยไม่มีกฎหมายจำกัดสิทธิว่าการใช้นามหรือชื่อทางการค้าจะต้องมีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจึงจะได้รับความคุ้มครอง
โจทก์ได้ใช้คำว่า "BMW" หรือที่เรียกขานในประเทศไทยว่า"บีเอ็มดับบลิว" เป็นทั้งชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้ารวมทั้งใช้เป็นชื่อบริษัทในเครือของโจทก์ จนมีชื่อเสียงแพร่หลายในหลายประเทศมาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยใช้ชื่อว่า "บีเอ็มดับบลิว" ในปี 2539 โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิในการใช้ชื่อดังกล่าวและมีสิทธิใช้ชื่อดังกล่าวเป็นชื่อทางการค้าในประเทศไทยได้ แม้ก่อนปี 2539 จะไม่ปรากฏว่าโจทก์เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยเองหรือจัดตั้งบริษัทในเครือโดยใช้ชื่อนี้ก็ตาม
โจทก์ได้ใช้คำว่า "BMW" อ่านว่า บีเอ็มดับเบิลยู หรือที่เรียกขานในประเทศไทยว่า "บีเอ็มดับบลิว" เป็นเครื่องหมายการค้าจนมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยมาหลายสิบปี และโจทก์ได้ใช้คำดังกล่าวเป็นชื่อทางการค้าควบคู่กันไปกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ กิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นกิจการขนาดใหญ่มีการขยายกิจการไปในประเทศต่าง ๆ ถึง 140 ประเทศ ทั่วโลก ใช้เงินลงทุนและได้รับผลตอบแทนสูงมาก กิจการค้าของโจทก์เป็นกิจการค้าที่มีชื่อเสียงเกียรติคุณจนได้รับความนิยมเชื่อมั่นในสินค้าและกิจการของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้านี้จากผู้บริโภคโดยทั่วไป ชื่อเสียงเกียรติคุณนี้ย่อมทำให้สาธารณชนผู้บริโภคใช้เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าจากกิจการของโจทก์ คำว่า"BMW" ที่โจทก์ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าในการประกอบการค้าของโจทก์นับได้ว่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ และจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ก็รับว่ารู้จักรถยนต์และเครื่องหมายการค้า คำว่า "BMW" หรือที่เรียกขานในประเทศไทยว่า "บีเอ็มดับบลิว" ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเพื่อประกอบการค้าขายสินค้าโดยใช้ชื่อพ้องกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปและชื่อทางการค้าของโจทก์ ย่อมอาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการในลักษณะเป็นกิจการในเครือของโจทก์ หรือมีความเกี่ยวพันกับโจทก์ หรือได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ใช้ชื่อดังกล่าวในการประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 ได้ แม้จำเลยที่ 1 จะประกอบการค้าสินค้าคนละประเภทกับสินค้าของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ยังมีโอกาสแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณและความเชื่อมั่นในกิจการของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าดังกล่าวได้และเมื่อกิจการของโจทก์เป็นกิจการขนาดใหญ่มากและเป็นกิจการที่ผลิตและจำหน่ายสินค้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์ซึ่งมีราคาสูง การที่มีบุคคลอื่นใช้ชื่อพ้องกับเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบกิจการขนาดเล็กก็จะมีผลให้ผู้ที่มีความนิยมและเชื่อมั่นในกิจการของโจทก์อาจเข้าใจผิดว่าโจทก์ลดระดับลงมาทำกิจการขนาดเล็กด้วย และอาจคลางแคลงไม่มั่นใจในกิจการของโจทก์อันเป็นผลในทางลบที่ทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เสื่อมลงและความเชื่อมั่นในกิจการของโจทก์ลดลงทั้งการที่จำเลยที่ 1 ใช้คำดังกล่าวเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ก็ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่ควรได้รับจากการขออนุญาตใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบการค้าของจำเลยที่ 1 และไม่อาจควบคุมระดับคุณภาพกิจการของจำเลยที่ 1 ที่มาใช้ชื่อพ้องกัน เพื่อรักษาชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยใช้ชื่อว่า "บีเอ็มดับบลิว" จำเลยที่ 1 ก็อาจใช้เป็นข้ออ้างสิทธิที่จะห้ามบุคคลอื่นมิให้ใช้ชื่อพ้องกันกับชื่อห้างจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา18 ซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางการใช้สิทธิจดทะเบียนบริษัทในเครือของโจทก์โดยใช้ชื่อดังกล่าวได้อีกด้วย จึงเห็นได้ว่าการใช้ชื่อว่า "บีเอ็มดับบลิว" ของจำเลยที่ 1 ที่พ้องกับชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีผลทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ และจำเลยทั้งสองซึ่งรู้จักเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์อยู่แล้วย่อมพึงคาดหมายได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองจะทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์การที่จำเลยทั้งสองยังใช้ชื่อดังกล่าวเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของผู้อื่น ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองมุ่งแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำกิจการจำหน่ายสินค้าเครื่องยนต์และยานพาหนะซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ดัวย จำเลยที่ 1 จึงอาจจำหน่ายสินค้าเครื่องยนต์และยานพาหนะเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์และอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในแหล่งที่มาของสินค้าได้ การที่จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าการใช้ชื่อพ้องกับชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งมีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่แพร่หลายอยู่ก่อนแล้วจะทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์ แต่ยังจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ในชื่อว่า "บีเอ็มดับบลิว" พ้องกับชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้ชื่อนี้ในกิจการค้าสินค้าของจำเลยทั้งสอง โดยมุ่งหมายที่จะนำชื่อเสียงเกียรติคุณอันมีคุณค่าของโจทก์มาใช้เป็นประโยชน์แก่กิจการค้าของตนโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1จึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิใช้นามหรือชื่อดังกล่าวได้โดยชอบ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อสิทธิในชื่อทางการค้าคำว่า "BMW" ของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา5, 18 และ 421 โจทก์ผู้มีสิทธิโดยชอบที่จะใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์จากการใช้ชื่อโดยมิชอบของจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการมิให้ใช้ชื่อดังกล่าว หรือให้เปลี่ยนชื่อเสียได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "BMW" ของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป นอกจากนี้ยังได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทยสำหรับสินค้ารถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ และส่วนควบของรถ ครั้งแรกตั้งแต่วันที่12 ตุลาคม 2509 สินค้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์ของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "BMW" ก็ได้มีการจำหน่ายไปทั่วโลกเป็นเวลากว่า 80 ปี แล้ว
เมื่อเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนคำว่า "BMW"ของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปและ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8(11) ห้ามมิให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ว่าสำหรับสินค้าจำพวกหรือชนิดใดบุคคลผู้ไม่สุจริตย่อมไม่อาจนำเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าคำว่า "BMW" ของโจทก์ไปใช้เป็นชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือชื่อสำนักงานการค้าของตนได้ แม้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือสำนักงานการค้านั้นจะประกอบการค้าขายสินค้าต่างจำพวกหรือต่างชนิดกับสินค้าของโจทก์ก็ตาม ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองนำชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าคำว่า "BMW" ของโจทก์หรือที่เรียกขานในประเทศไทยว่า "บีเอ็มดับบลิว" มาใช้โดยจดทะเบียนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต โจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนคำว่า "BMW" จึงมีสิทธิขัดขวางจำเลยทั้งสองในการใช้โดยไม่สุจริตซึ่งชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 อันเป็นชื่อสำนักงานการค้าของจำเลยทั้งสองและห้ามมิให้จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนของโจทก์ดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534มาตรา 47

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8779/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิทางการค้า: การใช้ชื่อและเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับของผู้อื่นโดยไม่สุจริต
ในเรื่องสิทธิในการใช้นามของบุคคลนั้น นอกจากจะมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 บัญญัติคุ้มครองไว้ ยังมีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) คุ้มครองสิทธิการใช้ชื่อทางการค้าไว้โดยไม่มีกฎหมายจำกัดสิทธิว่าการใช้นามหรือชื่อทางการค้าดังกล่าวจะต้องมีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจึงจะได้รับความคุ้มครองแต่อย่างใด
โจทก์ใช้คำว่า "BMW" หรือที่เรียกขานในประเทศไทยว่า "บีเอ็มดับบลิว" เป็นทั้งชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้ารวมทั้งใช้เป็นชื่อบริษัทในเครือของโจทก์จนมีชื่อเสียงแพร่หลายในหลายประเทศมาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยใช้ชื่อว่า "บีเอ็มดับบลิว" ในปี 2539 โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิในการใช้ชื่อดังกล่าวและมีสิทธิใช้ชื่อดังกล่าวเป็นชื่อทางการค้าในประเทศไทยได้แม้ก่อนปี 2539 จะไม่ปรากฏว่าโจทก์เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยเองหรือจัดตั้งบริษัทในเครือโดยใช้ชื่อนี้ก็ตาม
จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าการใช้ชื่อพ้องกับชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งมีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่แพร่หลายอยู่ก่อนแล้ว จะทำให้โจทก์ต้องเสื่อมเสียประโยชน์แต่ยังจดทะเบียนชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ว่า "บีเอ็มดับบลิว" พ้องกับชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้ชื่อนี้ในกิจการค้าสินค้าของจำเลยทั้งสองโดยมุ่งหมายที่จะนำชื่อเสียงเกียรติคุณอันมีคุณค่าของโจทก์มาใช้เป็นประโยชน์แก่กิจการค้าของตนโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิใช้นามหรือชื่อดังกล่าวได้โดยชอบการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการละเมิดต่อสิทธิในชื่อทางการค้าคำว่า "BMW" ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5,18 และ 421 โจทก์ผู้มีสิทธิโดยชอบที่จะใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าว ซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์จากการใช้ชื่อโดยมิชอบของจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการมิให้ใช้ชื่อดังกล่าว หรือให้เปลี่ยนชื่อเสียได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "BMW" ของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป และได้รับจดทะเบียนในประเทศไทยสำหรับสินค้ารถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ และส่วนควบของรถครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม2509 สินค้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์ของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า"BMW" มีการจำหน่ายไปทั่วโลกเป็นเวลากว่า 80 ปีแล้ว จำเลยทั้งสองเพิ่งนำคำว่า"บีเอ็มดับบลิว" มาจดทะเบียนเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2539กฎหมายห้ามนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปไม่ว่าสำหรับสินค้าจำพวกหรือชนิดใด แม้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือสำนักงานการค้านั้นจะประกอบการค้าขายสินค้าต่างจำพวกหรือต่างชนิดกับสินค้าของโจทก์ก็ตาม เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิขัดขวางจำเลยทั้งสองในการใช้โดยไม่สุจริตซึ่งชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 อันเป็นชื่อสำนักงานการค้าของจำเลยทั้งสองและห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนของโจทก์ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 47

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต และการตีความคำว่า 'ทุจริต'
โจทก์บรรยายฟ้องว่าคำเตือนที่ 14/2541 ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นคำสั่งตามมาตรา 124 เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง แต่โจทก์อุทธรณ์ว่คำเตือนที่ 14/2541 ออกตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 77 ไม่ได้ออกตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 139 และมาตรา 140 ซึ่ง เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่า คำเตือนที่ 14/2541 ไม่ใช่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยให้โจทก์ ปฏิบัติตามไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิ โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอน จึงเป็น อุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31โจทก์แพ้คดีต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ ส. ลูกจ้างโจทก์ตามคำเตือนที่ 14/2541 แต่โจทก์กลับมาอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง เป็นการ ใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 ปัญหาการใช้ สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ประกาศกระทรวงมหาดไทยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้และมิได้ใช้ คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัตไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) จึงต้อง ใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต"ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่วโกง ไม่ซื่อตรงส. เป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยได้รับค่าจ้างวันละ 190 บาทละทิ้งงานไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แม้ว่าโจทก์จะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ ส.ละทิ้งงานแต่ก็เกิดโทษแก่โจทก์น้อย ยังไม่พอถือว่า ส. มีความประพฤติชั่วโกง ไม่ซื่อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, อุทธรณ์ไม่สุจริต, คำเตือนพนักงานตรวจแรงงาน, การเลิกจ้าง, ทุจริตต่อหน้าที่
โจทก์แพ้คดีและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างโจทก์ตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานจำเลยตามคำพิพากษาศาลแรงงานในคดีนี้ แต่โจทก์กลับมาอุทธรณ์เสียเองว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องอันจะมีผลให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามคำพิพากษาศาลแรงงาน จึงเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จะอ้างความไม่สุจริตมาอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ในคดีแรงงานโดยไม่สุจริต ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องข้อนี้ของโจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1) ที่บัญญัติให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นั้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า"โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) กรณีจึงต้องใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ หมายความว่า ความประพฤติชั่ว โกงไม่ซื่อตรง
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยได้รับค่าจ้างวันละ 190 บาท ละทิ้งงานไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แม้ว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ ส. ละทิ้งงาน แต่ก็เกิดโทษแก่นายจ้างน้อย ยังไม่พอถือว่า ส. มีความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรงจึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน, การใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต, และการตีความ 'ทุจริต' ตามประกาศกระทรวงแรงงาน
โจทก์แพ้คดีและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างโจทก์ตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานจำเลยตามคำพิพากษาศาลแรงงานในคดีนี้แล้ว แต่โจทก์กลับมาอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพื่อให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง อันจะมีผลให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามคำพิพากษาศาลแรงงานเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1)ที่บัญญัติให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้าง ทุจริตต่อหน้าที่ ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้ให้ความหมาย คำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติ ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) กรณีจึงต้องใช้ความหมาย คำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ หมายความว่า ความประพฤติชั่วโกงไม่ซื่อตรง
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยได้รับค่าจ้างวันละ 190 บาทละทิ้งงานไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แม้ว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ ส. ละทิ้งงาน แต่ก็เกิดโทษแก่นายจ้างน้อย ยังไม่พอถือว่า ส. มีความประพฤติชั่ว โกง หรือไม่ซื่อตรง จึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ไม่สุจริตในคดีแรงงานและการตีความคำว่า 'ทุจริต' เพื่อปฏิเสธค่าชดเชย
โจทก์แพ้คดีและต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างโจทก์ตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานจำเลยตามคำพิพากษาศาลแรงงานในคดีนี้ แต่โจทก์กลับมาอุทธรณ์เสียเองว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องอันจะมีผลให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามคำพิพากษาศาลแรงงาน จึงเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จะอ้างความไม่สุจริตมาอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
โจทก์ใช้สิทธิอุทธรณ์ในคดีแรงงานโดยไม่สุจริต ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องข้อนี้ของโจทก์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1) ที่บัญญัติให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่นั้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต"ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) กรณีจึงต้องใช้ความหมายความคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือ หมายความว่า ความประพฤติชั่ว โกงไม่ซื่อตรง
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยได้รับค่าจ้างวันละ 190 บาทละทิ้งงานไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แม้ว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ส.ละทิ้งงาน แต่ก็เกิดโทษแก่นายจ้างน้อย ยังไม่พอถือว่า ส. มีความประพฤติชั่วโกง ไม่ซื่อตรง จึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5602/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขายที่ดินทับซ้อนกับผู้ครอบครองเดิม ศาลยืนตามสิทธิผู้ครอบครอง
จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินที่ขายให้แก่โจทก์ครอบครองแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ขายและจำเลยที่ 2 ทำสัญญาไว้เป็นสาระสำคัญต่อโจทก์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์รวมกับที่ดินของจำเลยที่ 2 แล้วจึงจะโอนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 แล้วครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้ซื้อที่ดินของจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 ชอบที่จะแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น เมื่อตามสัญญาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ระบุข้อความไว้เองว่า ซื้อที่นา ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทด้วย เนื่องจากที่ดินพิพาทมีสิ่งปลูกสร้าง อีกทั้งก่อนที่จำเลยที่ 1 จะซื้อก็ได้ไปดูที่ดินแล้วก็เห็นว่าโจทก์ปลูกบ้านอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อน และโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยสุจริต เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองและร้องขอต่อศาลให้ปลดเปลื้องการรบกวนของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาท การใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4892/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์ใช้หนี้ที่ไม่จดทะเบียน แม้ไม่บริบูรณ์ แต่ใช้ได้ระหว่างคู่สัญญาและผู้สืบสิทธิ
บ. มารดาโจทก์ได้ยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้เงินกู้ให้แก่จำเลย โดยโจทก์และบุตรอื่นของ บ.รู้เห็นยินยอมด้วย แม้การยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้เงินกู้จะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ทำให้การได้มาซึ่งที่ดินพิพาทไม่บริบูรณ์ก็ตาม แต่หาเป็นโมฆะเสียเปล่าไม่ การยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ยังคงใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา รวมทั้งทายาทหรือผู้สืบสิทธิของคู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ ดังนี้ โจทก์ซึ่งรู้เห็นยินยอมด้วยในการยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่จำเลยและเป็นผู้สืบสิทธิมาจาก บ. จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4892/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินชำระหนี้ที่ไม่จดทะเบียน แม้ไม่บริบูรณ์แต่มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญาและผู้สืบสิทธิ
บ. มารดาโจทก์ได้ยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้เงินกู้ให้แก่จำเลย โดยโจทก์และบุตรอื่นของ บ. รู้เห็นยินยอมด้วย แม้การยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้เงินกู้จะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่งทำให้การได้มาซึ่งที่ดินพิพาทไม่บริบูรณ์ก็ตาม แต่หาเป็นโมฆะเสียเปล่าไม่ การยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ยังคงใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา รวมทั้งทายาทหรือผู้สืบสิทธิของคู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ ดังนี้ โจทก์ซึ่งรู้เห็นยินยอมด้วยในการยกที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่จำเลยและเป็นผู้สืบสิทธิมาจาก บ. จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: ลูกหนี้ร่วมกันมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินแต่ยังไม่เพียงชำระหนี้ได้ทั้งหมด
จำเลยทั้งสองและ ส. ต่างเป็นลูกหนี้โจทก์ร่วมกัน โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่ง สิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่จำเลยทั้งสองกับ ส. ก็ยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ดังนั้นการที่โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 และของ ส. แต่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 เพียงรายเดียว และรับชำระหนี้จาก ส. 7,200,000 บาท แล้วปลดจำนองให้ ส. นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิของโจทก์ที่กระทำได้โดยชอบ
การที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ใดล้มละลายเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลเฉพาะบุคคลนั้น ๆ จะนำเหตุ ที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส. ให้ล้มละลาย ทั้งที่ ส. เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยทั้งสองมาเป็นเหตุยกฟ้องย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานยืนยันถึงจำนวนเงินรายได้ต่อเดือนมาแสดง ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินมายืนยัน อีกทั้งทรัพย์สินบางรายการก็ติดจำนองกับเป็นมรดกระหว่างพี่น้อง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14
of 81