คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเทพ พัชรภิญโญพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18-30/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าจ้างตามข้อตกลงสภาพการจ้าง, การประเมินผลการทำงาน, อายุความค่าจ้าง
โจทก์ได้รับการประเมินผลงานเป็นคะแนนที่ต่ำกว่าเกรด D ไม่อาจอ้างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมาเรียกร้องให้จำเลยปรับเพิ่มค่าจ้างตามฟ้องได้อยู่แล้ว ดังนี้สิทธิเรียกร้องค่าจ้างของโจทก์จะขาดอายุความหรือไม่ ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีได้ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแรงงาน: ผลของการรับสภาพหนี้และการสะดุดหยุดของอายุความ
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เข้าทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ส. โดยยอมร่วมรับผิดกับ ส. จำเลยที่ 4 ในฐานะสามีของจำเลยที่ 3 ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันและยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ส. ลูกจ้างโจทก์ได้ยักยอกเงินของโจทก์ และทำหนังสือรับสภาพหนี้กำหนดว่าจะชำระเงินให้แก่โจทก์งวดแรกในวันที่ 5 สิงหาคม 2537 ดังนี้ ความรับผิดของ ส. เป็นความรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 กำหนดเวลานี้เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุทุจริตยักยอกเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2536 แต่เมื่อ ส. ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ขอผ่อนชำระเงินคืนแก่โจทก์ งวดแรก 200,000 บาท ในวันที่ 5 สิงหาคม 2537 การรับสภาพหนี้ดังกล่าวมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 และอายุความที่สะดุดหยุดลงนี้ย่อมมีผลเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 กรณีหาใช่การรับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/35 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ไม่ เมื่อต่อมาปรากฏว่า ส. ไม่ชำระเงินงวดแรกให้แก่โจทก์ในวันที่ 5 สิงหาคม 2537 ตามที่รับสภาพหนี้ไว้ เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว และเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2537 เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 9 เมษายน 2537 เมื่อนับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2537 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มนับอายุความใหม่ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9009-9014/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อายุความ และการโต้แย้งดุลพินิจศาลแรงงาน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยไม่เคยประสบภาวะขาดทุนและไม่ปรากฏว่าแนวโน้มในการประกอบกิจการของจำเลยในปีต่อๆไป จะประสบภาวะวิกฤติจนถึงขั้นไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ เมื่อจำเลยอุทธรณ์เพื่อให้ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต มิใช่ให้ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงอื่นนอกจากที่รับฟังไว้แล้ว จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า จำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ทั้งหกครบถ้วนแล้ว เมื่อคำนึงถึงอายุงานที่โจทก์ทั้งหกทำงานกับจำเลยมาคนละหลายปี แต่โจทก์ทั้งหกก็มีอายุไม่มากนักยังสามารถหางานทำใหม่ได้ และมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างมิได้เกิดจากการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งหก จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายโดยคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างมูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 แล้ว มิใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายตามจำเลยอ้าง อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งหกโดยโจทก์ทั้งหกไม่ได้กระทำความผิดอันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมมิได้ฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างหรือค่าเสียหายอันเกิดจากสัญญาจ้างจึงมิใช่ค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นที่มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 แต่เป็นกรณีที่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9008/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบาดเจ็บจากการทำงาน: การป้องกันประโยชน์ให้นายจ้างทำให้เกิดความรับผิดชอบ
เนื่องจากมีพนักงานในแผนกที่ ว. สามีโจทก์เป็นหัวหน้ามาถามโจทก์ว่า ว. อยู่ที่ไหน มีงานให้เซ็นชื่อ โจทก์จึงไปตาม ว. ที่นอนอยู่มุมหลังห้องฉีดพลาสติกที่ติดตั้งเครื่องดูดอากาศให้ไปทำงาน ระหว่างที่โจทก์เดินผ่านเครื่องดูดอากาศ เครื่องดูดอากาศได้ดูดแขนโจทก์เข้าไปเป็นเหตุให้มือซ้ายขาด แม้ว่า ว. หลบเข้าไปนอนจนถึงเวลาทำงานแล้วยังไม่ไปทำงาน แต่โจทก์มิได้ไปตามเนื่องจากกลัวว่า ว. จะถูกนายจ้างลงโทษหรือโจทก์จะไปกระทำเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับการงาน ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างนั้น ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8141/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและผลของการสละสิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างชำระ
ก่อนที่จะมีการบันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาจ้างต่อกัน โจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทกันหลายเรื่องได้มีการเจรจากันหลายครั้งก่อนหน้านี้ และโจทก์เป็นผู้คิดคำนวณเรียกร้องเงินช่วยเหลือจากจำเลยเองโดยมีจำนวนเงินสูงกว่าสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับโดยรวมเงินค่าจ้างค้างและเงินค่าตำแหน่งไว้แล้ว และตามบันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาจ้าง ข้อ 3 ระบุว่าโจทก์พอใจในข้อตกลงตามบันทึกดังกล่าวโดยไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งอื่นใด ๆ อีกต่อไป เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินค่าจ้างค้างชำระและเงินค่าตำแหน่งเพราะได้นำไปรวมไว้ในเงินช่วยเหลือตามบันทึกข้อตกลงแล้ว บันทึกข้อตกลงเลิกสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 850

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077-8078/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการนำ ป.วิ.พ. มาอนุโลมใช้ในคดีแรงงาน และการรับฟังพยานนอกเหนือจากคำให้การเดิม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลแรงงานเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เอง และตามข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน (ฉบับที่ 3) ข้อ 6 ได้กำหนดวิธีการยื่นบัญชีระบุพยานของศาลแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) และมาตรา 88 มาอนุโลมใช้ในการดำเนินคดีแรงงาน ส่วนบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม ใช้บังคับแก่กรณีที่นายจ้างซึ่งเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง หากไม่ได้ระบุเหตุผลที่อ้างว่าลูกจ้างกระทำความผิดที่จะเป็นไปตามกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 119 (1) ถึง (6) ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างให้ลูกจ้างทราบแล้ว จะยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้เท่านั้น ไม่บังคับรวมถึงการนำพยานมาเบิกความในชั้นพิจารณาคดีที่จะเกินกว่าที่พยานนั้นเคยให้ถ้อยคำในชั้นสอบสวนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8002-8012/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาจ้างและสิทธิในค่าชดเชย กรณีลูกจ้างไม่ประสงค์ต่อสัญญา
ก่อนที่สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ทั้งสิบเอ็ดกับจำเลยจะสิ้นสุดลงในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548 จำเลยได้ประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่าบริษัท ก. ได้ขยายระยะเวลาว่าจ้างจำเลยออกไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 และให้ลูกจ้างทั้งหมดเข้าทำสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยต่อไปจนครบกำหนดระยะเวลาที่บริษัท ก. ขยายออกไป แต่โจทก์ทั้งสิบเอ็ดได้ทำบันทึกเสนอต่อฝ่ายบุคคลของจำเลยว่าไม่ประสงค์ต่อสัญญากับจำเลยและคืนบัตรลูกจ้างในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญาจ้างแล้วไม่ไปทำงานอีกเลย จำเลยมิได้กระทำการใดๆ เพื่อมิให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบเอ็ด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8000/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประกันการทำงานนายจ้างต้องจัดทำบัญชีแยกรายบุคคลและคืนเงินให้ลูกจ้างตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 10 วรรคสอง กำหนดให้ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกัน หรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออก หรือสัญญาประกันสิ้นอายุให้นายจ้างคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุแล้วแต่กรณี และเพื่อให้สามารถดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงได้มีประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงาน หรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง กำหนดจำนวนเงินและวิธีการเก็บรักษา โดยข้อ 7 กำหนดให้นายจ้างนำเงินประกันฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น โดยจัดให้มีบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคนและให้แจ้งชื่อธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น ชื่อบัญชี และเลขที่บัญชีให้ลูกจ้างทราบเป็นหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รับเงินประกัน ดังนั้น เพื่อใช้ลูกจ้างได้รับเงินประกันคืนภายในเจ็ดวันพร้อมดอกเบี้ย นายจ้างจึงต้องนำเงินประกันฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นโดยจัดให้มีบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคน และคืนเงินประกันในบัญชีเงินฝากนั้นพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี แก่ลูกจ้างต่อไปโดยนายจ้างจะเก็บรักษาเงินประกันวิธีอื่นหรือนำไปจัดหาผลประโยชน์อื่นใดนอกจากนี้มิได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้แยกบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคนไว้และนำดอกเบี้ยของลูกจ้างแต่ละคนโอนมารวมกันไว้ที่กองทุนสวัสดิการพนักงานทั้งการจ่ายเงินปันผลแก่ลูกจ้างทุกสิ้นปีก็เป็นการปันผลคืนสู่ลูกจ้างในรูปแบบของสินค้ามิใช่ดอกเบี้ย จึงเป็นการปฏิบัติไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 10 วรรคสอง และวิธีการตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงาน หรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ข้อ 7
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่ให้สืบพยานโจทก์ในประเด็นที่จำเลยกับพวกกระทำละเมิดสิทธิของโจทก์โดยการข่มขู่และขัดขวางการปฏิบัติงานของพนักงานโจทก์ ระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งดังกล่าวในสำนวน อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8000/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินประกันการทำงาน นายจ้างต้องแยกบัญชีรายบุคคลและจ่ายดอกเบี้ยให้ลูกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 10 วรรคสอง กำหนดให้ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกันหรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกหรือสัญญาประกันสิ้นอายุให้นายจ้างคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ยถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออกหรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุแล้วแต่กรณี และตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับเงินประกันการทำงาน หรือเงินประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง ข้อ 7 กำหนดให้นายจ้างนำเงินประกันฝากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินตามบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคน เพื่อคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันโดยนายจ้างจะเก็บรักษาเงินประกันวิธีอื่นหรือนำไปจัดหาผลประโยชน์อื่นใดนอกจากนี้มิได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้แยกบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคนไว้และนำดอกเบี้ยของลูกจ้างแต่ละคนโอนมารวมกันไว้ที่กองทุนสวัสดิการของพนักงานโดยจ่ายปันผลคืนแก่ลูกจ้างในรูปแบบสินค้ามิใช่ดอกเบี้ย จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 10 วรรคสอง และประกาศกระทรวงดังกล่าว
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เคยมีหนังสือภาคทัณฑ์ลูกจ้างเพราะบันทึกสต๊อกสินค้าบกพร่องมิได้กล่าวถึงเรื่องบันทึกสต๊อกสินค้ามีมูลค่าสูงเกินจริงแต่อย่างใด ที่โจทก์อุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าลูกจ้างกระทำการยักยอกทรัพย์ทำให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และอุทธรณ์โจทก์ที่กล่าวอ้างว่าศาลแรงงานกลางไม่ให้สืบพยานโจทก์ในระหว่างพิจารณาก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งดังกล่าวในสำนวน อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7950/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานการสืบเสาะไม่เป็นพยานหลักฐาน ศาลมีอำนาจสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ประเภทยาเสพติด
เมื่อพนักงานคุมประพฤติส่งรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยให้แก่ศาลแล้วศาลมีอำนาจที่จะนำข้อเท็จจริงที่ปรากฎในรายงานดังกล่าวมาประกอบการใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยตามที่บัญญัติใน พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติฯ มาตรา 13 เท่านั้น โดยจะนำมารับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วยหาได้ไม่
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 176 มิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว จะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยเสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 หรือหากศาลเห็นว่าสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคำพิพากษาก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งให้กระทำได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือประเภท 3 จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าของกลางเป็นยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของโคเดอีนหรือไม่ ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่จะกระทำได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)
of 28