คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเทพ พัชรภิญโญพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตอบแทนเหมาจ่าย (เงินประจำตำแหน่ง, ค่ารถ, ค่ารับรอง) ถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
การที่จำเลยจ่ายเงินประจำตำแหน่ง และเงินค่ารถกับเงินค่ารับรองให้แก่โจทก์ในลักษณะเหมาจ่ายเป็น รายเดือน รวมเป็นเงินเดือนละ 25,000 บาท เท่า ๆ กันทุกเดือนโดยไม่ได้ความจากคำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่า เงินดังกล่าวเป็นเงินสวัสดิการหรือเงินช่วยเหลืออื่นใดแก่โจทก์ เงินประจำตำแหน่ง เงินค่ารถ และค่ารับรองจึงเป็นเงินที่มีจำนวนแน่นอนที่จำเลยตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างระหว่างจำเลยและโจทก์ จึงถือว่าเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินสมทบประกันสังคมโดยนายจ้างแม้ไม่ใช่จากค่าจ้าง ไม่กระทบสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีตาย
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 47 เป็นเพียงการกำหนดวิธีการและหน้าที่ของนายจ้างที่จะดำเนินการนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนและในส่วนของนายจ้างแก่สำนักงานประกันสังคมว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร และยังบัญญัติให้นายจ้างมีอำนาจที่จะหักค่าจ้างของลูกจ้างอันเป็นข้อยกเว้นตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ทั้งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็หามีบทบัญญัติใดที่พอจะแปลว่าเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนจะต้องเป็นเงินที่หักมาจากค่าจ้างของผู้ประกันตนเพียงประการเดียวเท่านั้น หากนายจ้างส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนนอกจากค่าจ้างของผู้ประกันตนแล้วจะเป็นเหตุให้ผู้ประกันตนมิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมตามมาตรา 54 แต่อย่างใดไม่ เมื่อนายจ้างส่งเงินสมทบในส่วนของ ท. ลูกจ้างถึงเดือนกันยายน 2544 แม้จะเป็นเงินของนายจ้าง มิใช่เป็นเงินที่หักมาจากค่าจ้างของ ท. โดยมีเจตนาที่จะช่วยเหลือ ท. ให้ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลตามสิทธิอันเป็นการแสดงถึงความเอื้ออาทรของนายจ้างต่อลูกจ้าง จึงหาใช่เป็นการกระทำที่ไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อ ท. ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 มกราคม 2545 ย่อมเป็นกรณีที่ ท. ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนถึงแก่ความตาย โจทก์ผู้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ท. ย่อมมีสิทธิได้ประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4874/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างโดยอาศัยเหตุผลทางธุรกิจและการไม่นำโครงการอาสาสมัครลาออกมาใช้โดยเท่าเทียมกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
ปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่อ้างว่า ผู้ร้องมีโครงการอาสาสมัครลาออกเพื่อลดขนาดขององค์กรผู้ร้องและพนักงานก็ลาออก เมื่อผู้คัดค้านไม่สมัครใจลาออกก็ต้องถือว่าผู้คัดค้านได้ปฏิบัติตามโครงการดังกล่าวแล้ว หากผู้ร้องจะบังคับให้ผู้คัดค้านออกก็เท่ากับว่าผู้ร้องเลือกปฏิบัติไม่เอาโครงการดังกล่าวมาใช้เท่าเทียมกัน การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้เลิกจ้างผู้คัดค้านได้ ถือว่าเป็นคำสั่งที่ขัดต่อโครงการอาสาลาออกและขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญในข้อบุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันนั้น เป็นข้อที่ผู้คัดค้านไม่ได้ให้การไว้ ทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านมิได้แถลงรับว่ามีโครงการดังกล่าวจริงอุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้อง แม้ไม่ได้ระบุฐานะผู้จัดการมรดก
เช็คเป็นเอกสารเปลี่ยนมือ เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่า จ่ายให้โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นแล้ว โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องในนามของโจทก์ โดยไม่ต้องระบุต่อท้ายชื่อโจทก์ว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ทั้งคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ 2 ซึ่งถือว่าเอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง แม้ในช่องระหว่างผู้ใดโจทก์ผู้ใดจำเลยจะระบุชื่อโจทก์ โดยมิได้ระบุว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. แต่เมื่อโจทก์อ้างเช็คและสัญญาประนีประนอมเอกสารท้ายฟ้องมากับฟ้องด้วย และสัญญาประนีประนอมดังกล่าวระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้แก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. จึงถือว่าโจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามสัญญาประนีประนอมที่แนบมาท้ายฟ้องนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้ไม่ได้ระบุฐานะผู้จัดการมรดกในเช็ค
เช็ค เป็นเอกสารเปลี่ยนมือ เมื่อจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่าจ่ายให้โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องในนามของโจทก์เองโดยไม่จำต้องระบุต่อท้ายชื่อโจทก์ว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. อย่างไรก็ดี คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ 2 ซึ่งถือว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้แก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. จึงถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่แนบมาท้ายฟ้องอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่มีระยะเวลาทดลองงาน ทำให้สัญญาเป็นสัญญาไม่มีกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
แม้สัญญาจ้างแรงงานจะกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ 1 ปี แต่ในข้อ 2 ของสัญญามีข้อความว่า นายจ้างจัดให้มีระยะเวลาทดลองงานเป็นระยะเวลา 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา หากนายจ้างเห็นว่าความรู้ความสามารถ ฝีมือหรือความเอาใจใส่ของลูกจ้างไม่เป็นที่น่าพอใจ นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาฉบับนี้ในเวลาใด ๆ ในระหว่างอายุสัญญาทดลองงานก็ได้ เช่นนี้ ย่อมหมายถึงโจทก์ตกลงจ้างให้จำเลยทำงานโดยมีเวลาทดลองงาน 4 เดือน หากจำเลยผ่านการทดลองงานโจทก์จะจ้างต่อไป ถ้าหากไม่ผ่านการทดลองงานโจทก์มีสิทธิเลิกจ้างได้ ซึ่งไม่แน่นอนว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อใด จึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโบนัสลูกจ้าง แม้ถูกกล่าวหาทุจริต สิทธิเรียกร้องยังมีข้อต่อสู้ หักกลบลบหนี้ไม่ได้
ตามข้อ 11 แห่งข้อบังคับของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ที่กำหนดว่า "ก่อนจ่ายเงินโบนัสตามข้อบังคับนี้ให้ กทพ. หักเงินดังกล่าวชดใช้หนี้สินผูกพันหรือค่าเสียหายที่พนักงานผู้นั้นได้มีอยู่กับหรือก่อให้เกิดแก่ กทพ. ให้ครบถ้วนเสียก่อน" เป็นการให้สิทธิหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. ซึ่งตามมาตรา 344 สิทธิเรียกร้องใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะเอามาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ แม้จำเลยที่ 1 มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยกล่าวหาว่าโจทก์นำส่งเงินค่าผ่านทางพิเศษไม่ครบ อันเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงและให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย 45,910 บาท แก่จำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็นำสืบต่อสู้ว่าที่จำเลยที่ 1 กล่าวหาว่าโจทก์ยักยอกเงิน นั้นไม่เป็นความจริง ความจริงมีเงินหายไป จำเลยที่ 1 ไม่สามารถสืบทราบว่าผู้ใดกระทำผิด จึงใส่ร้ายโจทก์เนื่องจากโจทก์มีตำแหน่งต่ำสุด ถือได้ว่าเป็นกรณีที่สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจหักเงินโบนัสซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับเพื่อชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าโจทก์ก่อให้เกิดแก่จำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4028/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากความประมาทเลินเล่อ, ความผิดตามข้อบังคับบริษัท และการละทิ้งหน้าที่
ในหนังสือเลิกจ้างได้ระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างโจทก์ว่า โจทก์ทำงานด้วยความสะเพร่าทำให้มีสิ่งปลอมปนในผลิตภัณฑ์ที่ส่งให้ลูกค้า เป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ย่อมเห็นได้ว่าที่โจทก์ทำงานด้วยความสะเพร่าจนทำให้มีสิ่งปลอมปนในผลิตภัณฑ์ที่จำเลยส่งไปให้แก่ลูกค้าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) นั่นเอง จึงเป็นกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้คดีโดยระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างตรงตามที่จำเลยได้ให้เหตุผลในหนังสือเลิกจ้างแล้ว
เมื่อโจทก์ได้กระทำความผิดโดยทำงานด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และจำเลยได้ลงโทษโจทก์ในความผิดนี้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยด้วยการพักงานเป็นเวลา 3.5 วัน โดยไม่จ่ายค่าจ้าง ถือได้ว่าความผิดดังกล่าวได้หมดไปด้วยการลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างแล้ว จำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมไม่อาจนำความผิดดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ได้อีก
การกระทำของโจทก์โดยการข่มขู่ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่สนใจหรือละเลยหรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งกฎข้อบังคับของจำเลย ละทิ้งหน้าที่ในการปฏิบัติงานโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา อันเป็นความผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ 3.2.4 ข้อ 3.1.9 และข้อ 3.2.14 ซึ่งตามมาตรการลงโทษสำหรับความผิดตามข้อ 3.2.4 และข้อ 3.2.14 จะต้องเป็นการกระทำผิดในครั้งที่ 3 จึงจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ส่วนความผิดตามข้อ 3.1.9 จะต้องเป็นการกระทำความผิดในครั้งที่ 2 จึงจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่ทั้งนี้จำเลยจะต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อนที่จะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยในสามกรณีดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าโจทก์กระทำความผิดในแต่ละกรณีเป็นครั้งที่ 1 จึงถือได้ว่าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดให้การกระทำผิดของโจทก์ทั้งสามกรณีดังกล่าวเป็นความผิดในกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันที จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เมื่อโจทก์ละทิ้งหน้าที่ในขณะปฏิบัติงาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่การงานไปเสีย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าเสียหายเกินราคาทรัพย์ ผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดี จำเลยไม่ต้องคืนทรัพย์
ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ เมื่อจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเกินกว่าราคาทรัพย์ที่จำเลยเอาไปจากผู้เสียหาย และผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้บาดแผลไม่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิต
จำเลยโกรธผู้เสียหายเนื่องจากถูกทวงเงินค่าน้ำมันแล้วขับขี่รถจักรยานยนต์เสียงดังใส่หน้าผู้เสียหาย ต่อมาประมาณ 30 นาที จึงกลับมาใช้อาวุธปืนแก๊ปยิงผู้เสียหาย กรณีไม่ใช่เกิดโทสะแล้วยิงผู้เสียหายทันที หากแต่เกิดโทสะและออกจากที่เกิดเหตุแล้วประมาณ 30 นาที ซึ่งมีเวลาที่จะคิดไตร่ตรอง ถือว่ามีเจตนาผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่เมื่อจำเลยยิงผู้เสียหายในระยะห่าง 20 เมตร กระสุนปืนถูกบริเวณคอด้านหน้าขวาและบริเวณชายโครงขวาด้านหน้าทั้งสองแห่งมีบาดแผลขนาด 0.5 เซนติเมตร ไม่มีความลึก รักษาหายภายใน 7 วัน แสดงว่ากระสุนปืนไม่มีความรุนแรงพอที่จะทำให้ถึงแก่ความตายได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุอาวุธปืนซึ่งเป็นปัจจัยที่ใช้ในการกระทำความผิด จึงเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 81 วรรคหนึ่ง
of 28