พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายิงเพื่อประทุษร้าย ไม่ถึงแก่ชีวิต ความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
เหตุที่จำเลยยิงผู้เสียหายเนื่องจากผู้เสียหายทวงถามเงินค่าน้ำมันจากจำเลย จำเลยโกรธแล้วขับรถจักรยานยนต์เสียงดังใส่หน้าผู้เสียหาย ต่อมาประมาณ 30 นาที จึงได้กลับมาพร้อมใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย กรณีไม่ใช่เกิดโทสะแล้วยิงผู้เสียหายทันที หากแต่เป็นกรณีเกิดโทสะและออกจากที่เกิดเหตุแล้วประมาณ 30 นาที ซึ่งมีเวลาที่จำเลยคิดไตร่ตรองแล้วจึงหวนกลับมาพร้อมนำอาวุธปืนซึ่งนับว่าเป็นอาวุธที่ร้ายแรงยิงผู้เสียหาย ถือว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนของกลางยิงผู้เสียหายในระยะห่างประมาณ 20 เมตร กระสุนปืนถูกบริเวณคอด้านหน้าขวาและบริเวณชายโครงขวาด้านหน้า ทั้งสองแห่งมีบาดแผลขนาด 0.5 เซนติเมตร ไม่มีความลึก แพทย์ลงความเห็นว่ารักษาหายภายใน 7 วัน แสดงให้เห็นว่ากระสุนไม่มีความรุนแรงพอที่จะทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุอาวุธปืนซึ่งเป็นปัจจัยที่ใช้ในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 81 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างมาตรา 7 พ.ร.บ.มาตรการยาเสพติดฯ โทษสูงกว่าบทลงโทษอื่น โจทก์ต้องอ้างตามฟ้อง มิฉะนั้นถือเป็นการเกินคำขอ
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ เป็นกฎหมายคนละฉบับกับ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ทั้งมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการบัญญัติว่าผู้ใดกระทำความผิดฐานพยายามกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต้องระวางโทษเท่าใด จึงเป็นทั้งบทความผิดและบทลงโทษในมาตราเดียวกัน ส่วนความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และความผิดฐานพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 80 นั้นเป็นเพียงองค์ความผิดและบทโทษส่วนหนึ่งของมาตรา 7 ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ เท่านั้น การที่โจทก์ไม่อ้างมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งมีโทษสูงกว่าโทษในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบ ป.อ. มาตรา 80 จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่
ตามคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในวันและเวลาเดียวกัน ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแม้จะเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แต่เมื่อกระทำความผิดทั้งสองความผิดเป็นวันเวลาเดียวกัน ถือว่าเป็นความผิดที่ต่อเนื่องกันอยู่ เจตนาของจำเลยที่มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองก็เพื่อจำหน่ายจึงเป็นเจตนาเดียวกันกับเจตนาในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ทั้งเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองและที่จะจำหน่ายก็เป็นจำนวนเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่หลายกรรมต่างกัน
ตามคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในวันและเวลาเดียวกัน ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแม้จะเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แต่เมื่อกระทำความผิดทั้งสองความผิดเป็นวันเวลาเดียวกัน ถือว่าเป็นความผิดที่ต่อเนื่องกันอยู่ เจตนาของจำเลยที่มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองก็เพื่อจำหน่ายจึงเป็นเจตนาเดียวกันกับเจตนาในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ทั้งเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองและที่จะจำหน่ายก็เป็นจำนวนเดียวกัน การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่หลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โจทก์ไม่อ้างบทลงโทษที่หนักกว่า ถือเป็นการไม่ประสงค์ให้ลงโทษตามบทนั้น
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 7 เป็นทั้งบทความผิดและบทลงโทษในมาตราเดียวกัน ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และความผิดฐานพยายามกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 80 เป็นเพียงองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษส่วนหนึ่งของมาตรา 7 เท่านั้น ดังนั้น การที่โจทก์ไม่อ้างมาตรา 7 ซึ่งมีโทษสูงกว่าโทษในความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบ ป.อ. มาตรา 80 จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 7 และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3000/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี แม้ผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้จัดการเป็นผู้เสียหายก็ยังฟ้องร้องได้
จำเลยที่ 1 และโจทก์ร่วมมีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแยกต่างหากจากกัน แม้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ในนามของจำเลยที่ 1 เข้าเป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ร่วม และจำเลยที่ 2 ยังเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่ 1 ร่วมกันออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ค่าจ้างพิมพ์ปฏิทิน และขณะธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับนั้น บริษัทโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้ได้รับความเสียหายเช่นนี้ จำเลยทั้งสามย่อมเป็นผู้ร่วมกันกระทำความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3000/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินเพียงพอ แม้มีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทผู้รับเช็คก็ไม่อยู่ในฐานะผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 และโจทก์ร่วมมีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแยกต่างหากจากกัน แม้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ในนามของจำเลยที่ 1 เข้าเป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ร่วม และจำเลยที่ 2 ยังเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงลายมือชื่อและประทับตราของจำเลยที่ 1 ร่วมกันออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ค่าจ้างพิมพ์ปฏิทิน และขณะธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับนั้น บริษัทโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้ได้รับความเสียหายเช่นนี้ จำเลยทั้งสามย่อมเป็นผู้ร่วมกันกระทำความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมิใช่อยู่ในฐานะผู้เสียหายด้วยแต่อย่างใด โจทก์ร่วมสามารถดำเนินการเพื่อนำคดีมาสู่ศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทสันนิษฐานการมีไว้เพื่อจำหน่ายยาเสพติด & การยกข้อไม่รู้กฎหมายในชั้นฎีกาเป็นฎีกาต้องห้าม
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสาม (2) ที่บัญญัติว่าการมีแอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป... ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาดของกฎหมายนั้น จำเลยไม่อาจนำสืบหักล้างเป็นอย่างอื่นได้ ทั้งตาม ป.อ. มาตรา 64 บัญญัติว่า "บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติการณ์ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล และถ้าศาลเชื่อว่า ผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้" เมื่อจำเลยมิได้ขออนุญาตแสดงพยานหลักฐานต่อศาลให้เชื่อว่าจำเลยไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ย่อมเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงเป็นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2781/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์เช่าซื้อตกเป็นของผู้เช่าซื้อเมื่อชำระค่างวดครบถ้วน แม้จะล่าช้า
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่ผู้ร้องครบทุกงวดแล้ว แม้จะชำระค่างวดล่าช้าไม่ตรงกำหนด แต่ผู้ร้องก็รับค่าเช่าซื้อจนครบทุกงวดตามสัญญาเช่าซื้อ โดยไม่ได้บอกเลิกสัญญา ถือว่ากำหนดเวลาชำระเงินไม่เป็นสาระสำคัญ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อของกลางจึงตกเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ทันทีตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 และตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 3 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ก่อน แม้ตามข้อ 9 ของสัญญาเช่าซื้อจะให้ผู้ร้องคิดดอกเบี้ยของเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและค่าใช้จ่ายในการไปเก็บเงินดังกล่าวได้ ผู้ร้องก็ต้องไปเรียกร้องเอากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ซึ่งก็ไม่แน่ว่าผู้ร้องจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยดังกล่าวได้ตามสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ทั้งข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เงื่อนไขที่จะไม่ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางตกเป็นสิทธิแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. แม้ผู้ร้องจะยังมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลางตามหนังสือแสดงการจดทะเบียน ผู้ร้องก็มิใช่เจ้าของแท้จริง จึงไม่มีสิทธิขอคืนรถยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาค่าเสียหายเองได้
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 เป็นการให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายที่ลูกจ้างได้รับ หาใช่เป็นการตัดสิทธิของลูกจ้างซึ่งได้รับความเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมที่จะฟ้องเรียกร้องไม่ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างเห็นว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมแล้ว กรณีย่อมถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 และ 49 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลแรงงานได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกับลูกจ้าง และอ้างความเป็นมาของการเลิกจ้างว่า จำเลยมีหนังสือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ไปเป็นตำแหน่งที่ด้อยกว่าเดิมมาก เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ และเมื่อโจทก์ร้องเรียนต่อสำนักงานสวัสดิการและแรงงานจังหวัดชลบุรีว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ไม่ครบถ้วน เป็นเหตุให้สำนักงานดังกล่าวสั่งให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เพิ่มเติม จำเลยจึงมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอคิดค่าเสียหายโดยคำนวณจากเงินเดือนที่เคยได้รับและค่าตรวจรักษาคนไข้เป็นเวลา 5 ปี ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกับลูกจ้าง และอ้างความเป็นมาของการเลิกจ้างว่า จำเลยมีหนังสือเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ของโจทก์ไปเป็นตำแหน่งที่ด้อยกว่าเดิมมาก เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ และเมื่อโจทก์ร้องเรียนต่อสำนักงานสวัสดิการและแรงงานจังหวัดชลบุรีว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ไม่ครบถ้วน เป็นเหตุให้สำนักงานดังกล่าวสั่งให้จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เพิ่มเติม จำเลยจึงมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอคิดค่าเสียหายโดยคำนวณจากเงินเดือนที่เคยได้รับและค่าตรวจรักษาคนไข้เป็นเวลา 5 ปี ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัย – อำนาจผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาคในการเปลี่ยนแปลงโทษ – การไล่ออกชอบด้วยกฎหมาย
ตามระเบียบการประปาส่วนภูมิภาคว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัยฯ หมวด 4 การประชุมปรึกษาและการรายงาน ข้อ 21 ถึง 24 มีข้อความเพียงแต่ให้คณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยหรือไม่ และผู้กระทำผิดควรได้รับโทษสถานใด เมื่อผู้ว่าการเห็นควรให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมก็ยังสามารถทำได้ มิได้มีข้อความในข้อใดระบุไว้โดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายอันแสดงให้เห็นว่าเมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นแล้วข้อเท็จจริงต้องยุติตามสำนวนการสอบสวน และเมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นควรรับโทษสถานใดแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโทษให้น้อยลงหรือเพิ่มขึ้นได้ อีกทั้งข้อความที่ว่า ให้คณะกรรมการสอบสวนรายงานการสอบสวนนั้นต่อผู้ว่าการเพื่อสั่งการโดยมิชักช้า คำว่าเพื่อสั่งการย่อมมีความหมายว่าให้ผู้ว่าการพิจารณาก่อนว่ามีความเห็นตามที่คณะกรรมการสอบสวนเสนอความเห็นหรือไม่ การพิจารณาดังกล่าวก็มิได้กำหนดไว้ว่าผู้ว่าการจะต้องเป็นผู้พิจารณาด้วยตนเอง การที่ผู้ว่าการจำเลยเกษียนสั่งอนุมัติการขยายเวลาการสอบสวนตามที่คณะกรรมการสอบสวนขอมาพร้อมกับส่งเรื่องไปให้รองผู้ว่าการ (บริหาร) พิจารณาดำเนินการต่อไป จำเลยโดยผู้ว่าการยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบตามที่คณะกรรมการสอบสวนทางวินัยเสนอการลงโทษโจทก์ เมื่อรองผู้ว่าการ (บริหาร) พิจารณาแล้วก็มอบเรื่องให้กองการเจ้าหน้าที่ไปพิจารณา ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่สรุปข้อเท็จจริงตามสำนวนการสอบสวนแล้วเห็นควรเสนอผู้ว่าการเพื่อมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานเนื่องจากโจทก์ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ ก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มิได้เป็นการกระทำที่ผิดระเบียบของจำเลย คำสั่งของจำเลยที่ไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ชอบและเป็นธรรมต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรเกินกำหนดระยะเวลา, การงดสืบพยาน, และกระบวนพิจารณานอกห้องพิจารณาคดี
คำสั่งเรียกพยานเอกสารเป็นกระบวนพิจารณานอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี การที่ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาสั่งให้จำเลยส่งประกาศของจำเลยเรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรไปให้ศาลแรงงานกลาง แม้มิได้มีคำสั่งในระหว่างพิจารณาคดีในห้องพิจารณาต่อหน้าคู่ความ และมิได้มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาด้วย ก็ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 18 และมาตรา 45 แล้ว
วันที่ 8 ตุลาคม 2545 เป็นวันนัดพร้อมมิใช่วันสืบพยาน โจทก์ไม่มาศาลในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคสอง ให้ถือว่าโจทก์สละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วย ส่วนวันที่ 25 ตุลาคม 2545 ศาลแรงงานกลางนัดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา เมื่อถึงวันนัดศาลแรงงานกลางเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ให้งดสืบพยานและได้อ่านคำพิพากษาให้ทนายจำเลยฟัง โดยถือว่าโจทก์ซึ่งมิได้มาศาลได้ฟังคำพิพากษาโดยชอบแล้ว เมื่อมิได้มีการสืบพยานจำเลย ย่อมถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ ที่ศาลแรงงานกลางไม่มีคำสั่งจำหน่ายคดีจึงชอบแล้ว
ผู้มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนมิได้ยื่นคำขอรับสิทธิภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน ตามปกติย่อมเสียสิทธิ แต่ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาดก็ต้องแปลว่าการยื่นคำขอเกินกำหนด 1 ปี ที่จะทำให้ผู้ยื่นคำขอเสียสิทธิ ต้องเป็นกรณีผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้าก็นำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไม่ได้ โจทก์อ้างเหตุที่ยื่นล่าช้าเนื่องจากพนักงานบริษัทที่โจทก์ทำงานซึ่งดูแลงานด้านนี้ ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์จะต้องยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนเมื่อใด เมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกแล้วพนักงานใหม่ที่มาดูแลงานด้านนี้แทนได้แจ้งให้โจทก์ทราบเกี่ยวกับสิทธิของกองทุนประกันสังคมก็เกินกำหนดเวลาที่จะยื่นแล้ว จึงมีเหตุอันสมควรที่ทำให้โจทก์ยื่นคำขอล่าช้า แม้โจทก์จะยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนเกิน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร
วันที่ 8 ตุลาคม 2545 เป็นวันนัดพร้อมมิใช่วันสืบพยาน โจทก์ไม่มาศาลในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคสอง ให้ถือว่าโจทก์สละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วย ส่วนวันที่ 25 ตุลาคม 2545 ศาลแรงงานกลางนัดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา เมื่อถึงวันนัดศาลแรงงานกลางเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ให้งดสืบพยานและได้อ่านคำพิพากษาให้ทนายจำเลยฟัง โดยถือว่าโจทก์ซึ่งมิได้มาศาลได้ฟังคำพิพากษาโดยชอบแล้ว เมื่อมิได้มีการสืบพยานจำเลย ย่อมถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ ที่ศาลแรงงานกลางไม่มีคำสั่งจำหน่ายคดีจึงชอบแล้ว
ผู้มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนมิได้ยื่นคำขอรับสิทธิภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน ตามปกติย่อมเสียสิทธิ แต่ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาดก็ต้องแปลว่าการยื่นคำขอเกินกำหนด 1 ปี ที่จะทำให้ผู้ยื่นคำขอเสียสิทธิ ต้องเป็นกรณีผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้าก็นำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไม่ได้ โจทก์อ้างเหตุที่ยื่นล่าช้าเนื่องจากพนักงานบริษัทที่โจทก์ทำงานซึ่งดูแลงานด้านนี้ ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์จะต้องยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนเมื่อใด เมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกแล้วพนักงานใหม่ที่มาดูแลงานด้านนี้แทนได้แจ้งให้โจทก์ทราบเกี่ยวกับสิทธิของกองทุนประกันสังคมก็เกินกำหนดเวลาที่จะยื่นแล้ว จึงมีเหตุอันสมควรที่ทำให้โจทก์ยื่นคำขอล่าช้า แม้โจทก์จะยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนเกิน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร