พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6046/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ชำระหนี้กองมรดก แม้ไม่ปรากฏทรัพย์มรดกเพียงพอในชั้นพิจารณา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายในหนี้เงินกู้ที่ผู้ตายกู้ไปจากโจทก์ เมื่อโจทก์นำสืบฟังได้ว่าผู้ตายค้างชำระหนี้เงินกู้โจทก์จริงก็เป็นการเพียงพอที่ศาลจะบังคับให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์สินของผู้ตายเพื่อจัดการมรดกและชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กองมรดก ต้องรับผิดชำระหนี้ของผู้ตายแก่โจทก์ โดยความรับผิดนั้นไม่เกินกองทรัพย์มรดกส่วนทรัพย์มรดกผู้ตายมีพอชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ เป็นเรื่องความรับผิดของกองทรัพย์มรดกอันเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี โจทก์ไม่จำต้องนำสืบปัญหาดังกล่าวในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดชอบหนี้สินของผู้ตาย: สิทธิเจ้าหนี้ฟ้องทายาท แม้ยังมิได้มีการแบ่งมรดก
ป. กู้เงินไปจากโจทก์ เมื่อ ป. ตาย โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ป. ให้ชำระหนี้เงินกู้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1737 โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยได้รับมรดกของ ป. หรือไม่เพราะเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีตาม มาตรา1601,1738 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้ในการฟ้องทายาทของผู้กู้เพื่อชำระหนี้
ป. กู้เงินไปจากโจทก์ เมื่อ ป. ตายโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ป. ให้ชำระหนี้เงินกู้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737 โดยชั้นนี้ไม่จำต้องพิจารณาว่า จำเลยได้รับมรดกของ ป. หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดีตามมาตรา 1601,1738 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์สัญญา, การรับรองสำเนาเอกสารราชการ, และความรับผิดของทายาทในหนี้สินของเจ้ามรดก
สัญญากู้เป็นแบบพิมพ์มีสองหน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์สัญญากู้ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันเงินกู้ซึ่งไม่มีการกรอกข้อความดังนี้การปิดอากรแสตมป์ที่แบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันเป็นการปิดอากรแสตมป์สำหรับสัญญากู้ด้วย เมื่อรวมอากรแสตมป์ที่ปิดด้านหน้าและด้านหลังครบถ้วนตามที่ระบุในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรแล้ว ย่อมอ้างสัญญากู้ดังกล่าวเป็นพยานได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และนาง ค. ในฐานะเป็นผู้ร่วมกันกู้เงินโจทก์ ชดใช้เงินกู้ และขอให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของนาง ค.รับผิดหนี้เงินกู้ที่นางค. ต้องใช้คืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้การว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 1ในสัญญากู้ปลอม ดังนี้ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะไม่ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญากู้จะปลอมหรือไม่ก็ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งต้องรับผิดในฐานะทายาทของนาง ค. ผู้กู้ร่วม พยานผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการซึ่งปกติศาลก็รับฟังแต่มิใช่ว่าจะต้องเชื่อพยานผู้เชี่ยวชาญเสมอไป คำพยานผู้เชี่ยวชาญจะมีน้ำหนักกว่าประจักษ์พยานหรือไม่ก็ต้องพิจารณาตามรูปเรื่องและต้องอาศัยเหตุผลและพยานหลักฐานอื่นประกอบ ซึ่งผิดกับประจักษ์พยานซึ่งเป็นผู้ได้ยินกับหูเห็นด้วยตาของ ตนเองจึงน่าเชื่อว่าพยานผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะการที่อ้างแต่เพียงรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญโดยมิได้นำตัวผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความอธิบายประกอบรายงานนั้นว่ามีความเป็นมาอย่างไรกับทั้งทำให้อีกฝ่ายไม่มีโอกาสถามค้านผู้เชี่ยวชาญด้วยดังนี้ ลำพังรายการการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างประจักษ์พยานอีกฝ่ายได้ สำเนาหนังสือราชการที่เจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้อง ซึ่งส่งเข้ามาในคดีตามที่คู่ความอ้างเป็นพยานไว้โดยชอบแล้ว ดังนี้คู่ความที่อ้างไม่จำต้องสืบพยานบุคคลประกอบ สำเนาหนังสือราชการดังกล่าวรับฟังได้เหมือนต้นฉบับ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93(3) โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของนาง ค. เจ้ามรดกซึ่งเป็นหนี้เงินกู้โจทก์อยู่และได้ถึงแก่กรรมลง ดังนี้ โจทก์มีเพียงสิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้รับศาลจึงไม่จำต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าให้จำเลยที่ 3 ที่ 4รับผิดต่อโจทก์ไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกเพราะเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากันในชั้นบังคับคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้มรดก: ทายาทผู้รับมรดกมีหน้าที่ชำระหนี้ของกองมรดก แม้จะมีการยกทรัพย์สินให้ก่อนเสียชีวิต
พ.บิดาจำเลยเป็นหนี้กู้ยืมโจทก์ เมื่อ พ.ตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทจะต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ แต่ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกของ พ. ที่ตกทอดได้แก่จำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้หนี้ดังกล่าว ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่า จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่นาของ พ.ที่นำมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินโจทก์ ให้จำเลยใช้หนี้กู้ยืมแก่โจทก์ตามฟ้องจำเลยจึงเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้จำเลยจะอ้างว่ายึดทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้ก็แต่ในกรณีที่จำเลยไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับมรดกของ พ.เท่านั้น ดังนั้น แม้ พ.จะยกที่พิพาทอีก 2 แปลง ให้จำเลยก่อนตาย ซึ่งทำให้ไม่เป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ พ.ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ จำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นสามีภรรยาและเป็นเจ้าของร่วมกันในที่พิพาทไม่อาจขอให้ปล่อยที่พิพาทได้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้หนี้ดังกล่าว ศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่า จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่นาของ พ.ที่นำมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินโจทก์ ให้จำเลยใช้หนี้กู้ยืมแก่โจทก์ตามฟ้องจำเลยจึงเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้จำเลยจะอ้างว่ายึดทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้ก็แต่ในกรณีที่จำเลยไม่ได้เป็นผู้ที่ได้รับมรดกของ พ.เท่านั้น ดังนั้น แม้ พ.จะยกที่พิพาทอีก 2 แปลง ให้จำเลยก่อนตาย ซึ่งทำให้ไม่เป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ พ.ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ จำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นสามีภรรยาและเป็นเจ้าของร่วมกันในที่พิพาทไม่อาจขอให้ปล่อยที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้มรดก: ทายาทมีหน้าที่ชำระหนี้ของกองมรดก แม้จะอ้างว่าทรัพย์สินเป็นของตนเองก่อนเสียชีวิต
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับมรดกที่นาที่ พ. นำมาเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินโจทก์ ให้จำเลยใช้หนี้ที่ พ. เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นคำพิพากษาที่ให้จำเลยรับผิดใช้หนี้แก่โจทก์โดยเหตุที่จำเลยเป็นทายาทผู้ได้รับมรดกของ พ. จำเลยจึงเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ จำเลยจะอ้างว่าจะยึดทรัพย์ของจำเลยไม่ได้ก็แต่ในกรณีที่จำเลยไม่ได้เป็นผู้ได้รับทรัพย์มรดกใด ๆของ พ. เท่านั้น แต่ตามคำร้อง ของ จำเลยไม่ได้ยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในการขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่โจทก์นำยึด เมื่อจำเลยต้องรับผิดในหนี้เงินกู้ที่ พ. ต้องชำระต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธินำยึดที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ซึ่งจำเลยอ้างว่าเป็นของตนเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ จำเลยและผู้ร้องที่ 2 เป็นสามีภริยากันเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินพิพาท ไม่อาจขอให้ปล่อยทรัพย์สินดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหนี้มรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ที่ทายาทได้รับเป็นมรดกเพื่อชำระหนี้
พ.บิดาจำเลยเป็นหนี้กู้ยืมโจทก์เมื่อพ.ตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทจะต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ แต่ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกของ พ. ที่ตกทอดได้แก่จำเลย โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้หนี้ดังกล่าว ศาลพิพากษาคดี ถึงที่สุดว่า จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่นาของ พ. ที่นำมาเป็นหลักประกัน การกู้ยืมเงินโจทก์ ให้จำเลยใช้หนี้กู้ยืมแก่โจทก์ตามฟ้อง จำเลย จึงเป็น ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อ จำเลย ไม่ชำระหนี้ โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดทรัพย์สินของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้จำเลย จะ อ้างว่า ยึดทรัพย์สินของจำเลยไม่ได้ก็แต่ในกรณีที่จำเลยไม่ได้เป็น ผู้ที่ได้รับมรดกของ พ.เท่านั้นดังนั้นแม้พ. จะยกที่พิพาทอีก 2 แปลง ให้จำเลยก่อนตาย ซึ่งทำให้ไม่เป็นทรัพย์สินในกองมรดก ของ พ.ก็ตามโจทก์ก็มีสิทธินำยึดที่พิพาทเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ ได้จำเลยและผู้ร้องที่ 2 ซึ่งเป็นสามีภรรยาและเป็นเจ้าของ ร่วมกัน ในที่พิพาทไม่อาจขอให้ปล่อยที่พิพาทได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกติดจำนอง: ทายาทรับภาระหนี้จำนองตามส่วนรับมรดก, ไม่สามารถบังคับให้ทายาทลูกหนี้ไถ่ถอนได้
เมื่อที่ดินแปลงหนึ่งของทรัพย์มรดกติดจำนองประกันหนี้ของ น. ทายาทคนหนึ่งอยู่ ทายาทผู้รับมรดกจึงต้องรับภาระในหนี้จำนองโดยรับโอนที่ดินนั้นมาโดยติดจำนองถ้ามีการบังคับจำนองโดย น. ไม่ชำระหนี้แล้ว ทายาทผู้รับมรดกคงรับผิดแต่เฉพาะทรัพย์มรดกที่ตนรับโอนมา หรือหากตนต้องชำระหนี้จำนองไปเท่าใดก็ชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจาก น. ได้ตามสิทธิที่ได้รับโอนมาจากเจ้ามรดก ทายาทไม่มีสิทธิบังคับให้ น. ทำการไถ่ถอนจำนองหรือยกข้ออ้างในการที่ น. ไม่ทำการไถ่ถอนจำนองมาเป็นเหตุขัดข้องมิให้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยมีภาระจำนอง ทายาทต้องรับภาระตามสิทธิและหน้าที่ของเจ้ามรดก
เมื่อที่ดินแปลงหนึ่งของทรัพย์มรดกติดจำนองประกันหนี้ของน. ทายาทคนหนึ่งอยู่ ทายาทผู้รับมรดกจึงต้องรับภาระในหนี้จำนองโดยรับโอนที่ดินนั้นมาโดยติดจำนอง ถ้ามีการบังคับจำนองโดย น.ไม่ชำระหนี้แล้วทายาทผู้รับมรดกคงรับผิดแต่เฉพาะทรัพย์มรดกที่ตนรับโอนมา หรือหากตนต้องชำระหนี้จำนองไปเท่าใดก็ชอบที่จะได้รับเงินใช้คืนจาก น. ได้ตามสิทธิที่ได้รับโอนมาจากเจ้ามรดกทายาทไม่มีสิทธิบังคับให้ น. ทำการไถ่ถอนจำนองหรือยกข้ออ้างในการที่ น. ไม่ทำการไถ่ถอนจำนองมาเป็นเหตุขัดข้องมิให้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับมรดกติดจำนอง: รับภาระหนี้จำนองเฉพาะส่วนที่รับโอน, สิทธิเรียกร้องคืนจากผู้ก่อหนี้
เมื่อที่ดินแปลงหนึ่งของทรัพย์มรดกติด จำนองประกันหนี้ของ น.ทายาทคนหนึ่งอยู่ ทายาทผู้รับมรดกจึงต้อง รับภาระในหนี้จำนองโดย รับโอนที่ดินนั้นมาโดย ติด จำนอง ถ้า มีการบังคับจำนองโดย น.ไม่ชำระหนี้แล้ว ทายาทผู้รับมรดกคงรับผิดแต่ เฉพาะ ทรัพย์มรดกที่ตน รับโอนมา หรือหากตน ต้อง ชำระหนี้จำนองไปเท่าใดก็ชอบที่จะได้รับเงินใช้ คืนจาก น. ได้ ตาม สิทธิที่ได้รับ โอนมาจากเจ้ามรดกทายาทไม่มีสิทธิบังคับให้ น. ทำการไถ่ถอนจำนองหรือยกข้ออ้างในการที่ น. ไม่ทำการไถ่ถอนจำนองมาเป็นเหตุขัดข้องมิให้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท.