คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1601

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทรับผิดชอบหนี้ของผู้ตายตามกฎหมายมรดก แม้จะยังไม่มีทรัพย์มรดก
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะทายาทผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ให้รับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้รับมรดกผู้ตายไม่มีทรัพย์ตกทอดแก่ทายาทและจำเลยไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดก เพื่อเป็นเหตุตัดอำนาจฟ้องของโจทก์หาได้ไม่ เพราะข้ออ้างดังกล่าวหากเป็นความจริงก็เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี ทั้งทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 อยู่แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทรับผิดชอบหนี้สินของผู้ตาย: การสืบสิทธิในหนี้และขอบเขตความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะทายาทผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ให้รับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้รับมรดกผู้ตายไม่มีทรัพย์ตกทอดแก่ทายาทและจำเลยไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อเป็นเหตุตัดอำนาจฟ้องของโจทก์หาได้ไม่เพราะข้ออ้างดังกล่าวหากเป็นความจริงก็เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี ทั้งทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทไม่ต้องรับผิดเกินทรัพย์มรดก - อำนาจฟ้องล้มละลาย
โจทก์นำหนี้ของผู้ตายมาฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทให้ล้มละลาย หนี้ดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ที่จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแม้จำเลยทั้งสามจะเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ซึ่งจะต้องรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตายที่โดยสภาพไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ด้วยก็ตาม ก็ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่จะตกได้แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 และตามคำฟ้องระบุเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นทายาทของผู้ตาย โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยแต่ละคนได้รับมรดกไว้เป็นจำนวนเท่าใดเพียงพอที่จะชำระหนี้แทนผู้ตายหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายทายาท: ทายาทไม่ต้องรับผิดเกินทรัพย์มรดก
โจทก์นำหนี้ของผู้ตายมาฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทให้ล้มละลายหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ที่จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแม้จำเลยทั้งสามจะเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายซึ่งจะต้องรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตายที่โดยสภาพไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ด้วยก็ตาม ก็ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่จะตกได้แก่ตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 และตามคำฟ้องระบุเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นทายาทของผู้ตาย โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยแต่ละคนได้รับมรดกไว้เป็นจำนวนเท่าใด เพียงพอที่จะชำระหนี้แทนผู้ตายหรือไม่โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินทรัพย์มรดก: อำนาจฟ้องล้มละลาย
โจทก์นำหนี้ของผู้ตายมาฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทให้ล้มละลาย หนี้ดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ที่จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแม้จำเลยทั้งสามจะเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ซึ่งจะต้องรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตายที่โดยสภาพไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ด้วยก็ตาม ก็ไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่จะตกได้แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 และตามคำฟ้องระบุเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นทายาทของผู้ตาย โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยแต่ละคนได้รับมรดกไว้เป็นจำนวนเท่าใด เพียงพอที่จะชำระหนี้แทนผู้ตายหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3047/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เจ้ามรดก: ทายาทไม่ต้องรับผิดโดยตรง หากไม่ใช่ทรัพย์มรดก
หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้ที่บิดาของจำเลยได้กระทำไว้ก่อนถึงแก่กรรมจึงเป็นหน้าที่และความรับผิดโดยเฉพาะของเจ้ามรดกมิใช่เป็นกองมรดกที่จะตกทอดแก่จำเลยผู้เป็นทายาทตามป.พ.พ.มาตรา1600จำเลยจึงมิใช่ลูกหนี้โดยตรงของโจทก์หากจำเลยได้รับมรดกก็รับผิดต่อเจ้าหนี้กองมรดกไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตนได้รับตามป.พ.พ.มาตรา1601โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับถึงทรัพย์สินของจำเลยที่มิใช่ทรัพย์มรดกจึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายไม่ได้แต่ชอบที่จะฟ้องขอให้จัดการมรดกของเจ้ามรดกตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา82.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน และความรับผิดของทายาทต่อหนี้ของเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินและรถยนต์ที่ ต. ลูกหนี้โจทก์ทำขึ้นก่อนตาย โดยขอให้ทายาทของ ต. รับผิดชดใช้หนี้สินของ ต. แก่โจทก์ด้วยนั้น แม้ปรากฏว่า ขณะฟ้อง ต. ไม่มีทรัพย์มรดกและทายาทก็ไม่ได้รับมรดกของ ต. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ดังกล่าว ก็เป็นการฟ้องเพื่อให้ทรัพย์ที่ ต. ยกให้บุคคลอื่น นั้นกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ ต. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องทายาทในฐานะผู้รับมรดกของ ต. ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ แต่ทายาทของ ต. ก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
การที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาพิพากษายกฟ้องผู้ใต้บังคับบัญชาของ ต. ในข้อหายักยอกเงินของโจทก์แล้ว แต่ ต. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงินของโจทก์ ก็ยังทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปให้แก่โจทก์แสดงว่า ต. คงจะรู้ว่าตนปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจึงยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้เช่นนั้น ดังนี้ จะถือว่า ต.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหาได้ ไม่
หนี้ที่ ต. ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรส เนื่องจาก ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ จนต้องรับผิดชดใช้เงินให้ทางราชการนั้น มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิมหรือมาตรา 1490 ใหม่
ที่ดินที่บิดาจำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลย ที่ 1 สมรสกับ ต.แล้ว และการยกให้มิได้ระบุว่าให้ เป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยกให้ ต. จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง.
กรณีที่ ต. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินและรถยนต์ พิพาทและต.มีหนี้ที่ค้างชำระอยู่เป็นเงินถึง 153,342 บาทเศษ ซึ่ง ต. รู้ดีว่าการผ่อนชำระให้แก่โจทก์ เดือนละ 300 บาท ย่อมไม่ทำให้หนี้หมดไปในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่ ต. ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและรถยนต์พิพาทที่เป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ให้แก่บุตรโดยเสน่หาย่อมเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ที่ก่อหนี้ขึ้นโดยตรง แต่เมื่อจำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทของ ต.และโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจาก จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินเพื่อนำกลับมาเป็นมรดกชำระหนี้ และความรับผิดของทายาท
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินและรถยนต์ที่ต.ลูกหนี้โจทก์ทำขึ้นก่อนตายโดยขอให้ทายาทของต. รับผิดชดใช้หนี้สินของ ต. แก่โจทก์ด้วยนั้น. แม้ปรากฏว่าขณะฟ้องต. ไม่มีทรัพย์มรดก และทายาทก็ไม่ได้รับมรดกของ ต. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ดังกล่าว ก็เป็นการฟ้องเพื่อให้ทรัพย์ที่ ต. ยกให้บุคคลอื่นนั้นกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ ต. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องทายาทในฐานะผู้รับมรดกของ ต. ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ แต่ทายาทของ ต. ก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ ตกทอดได้แก่ตน. การที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาพิพากษายกฟ้องผู้ใต้บังคับบัญชาของ ต.ในข้อหายักยอกเงินของโจทก์แล้ว.แต่ต. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงินของโจทก์ ก็ยังทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปให้แก่โจทก์.แสดงว่า ต. คงจะรู้ว่าตนปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจึงยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้เช่นนั้น ดังนี้ จะถือว่า ต.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหาได้ ไม่. หนี้ที่ ต. ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรส เนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ จนต้องรับผิด ชดใช้เงินให้ทางราชการนั้น มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิม หรือมาตรา 1490 ใหม่. ที่ดินที่บิดาจำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลย ที่ 1 สมรสกับต.แล้ว. และการยกให้มิได้ระบุว่าให้ เป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยกให้ ต. จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง. กรณีที่ ต. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินและรถยนต์ พิพาทและต. มีหนี้ที่ค้างชำระอยู่เป็นเงินถึง 153,342 บาทเศษ ซึ่ง ต. รู้ดีว่าการผ่อนชำระให้แก่โจทก์ เดือนละ 300 บาท ย่อมไม่ทำให้หนี้หมดไปในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่ ต. ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและรถยนต์พิพาทที่ เป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ให้แก่บุตรโดยเสน่หาย่อม เป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้. แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ที่ก่อหนี้ขึ้นโดยตรง แต่เมื่อ จำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทของ ต.และโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยย่อม ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจาก จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดทายาทในหนี้สินเจ้ามรดก: รับผิดเฉพาะส่วนทรัพย์มรดกที่ได้รับ
จำเลยเป็นแต่เพียงทายาทโดยธรรมแต่ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายดังนั้นแม้จำเลยจะทำหนังสือยอมรับชำระหนี้สินต่าง ๆ ของผู้ตายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของผู้ตายไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
ทายาทไม่ได้ตกลงแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดทายาท: ทายาทรับผิดชอบหนี้สินเจ้ามรดกไม่เกินทรัพย์มรดกที่ได้รับ แม้ลงชื่อรับสภาพหนี้
จำเลยเป็นแต่เพียงทายาทโดยธรรมแต่ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายดังนั้นแม้จำเลยจะทำหนังสือยอมรับชำระหนี้สินต่าง ๆ ของผู้ตายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของผู้ตายไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
ทายาทไม่ได้ตกลงแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์
of 7