พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8286/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันมีผลบังคับเฉพาะการทำงานในตำแหน่งที่ระบุ หากเปลี่ยนตำแหน่งเพิ่มความเสี่ยง ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
คำฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดระเบียบและฝ่าฝืนวิธีการขายรถยนต์ของโจทก์โดยขายรถยนต์ให้ลูกค้าได้เงินมาแล้วไม่ส่งมอบโจทก์จนครบถ้วน อันเป็นสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับที่ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้เงินคืน ส่วนรายละเอียดว่าเป็นการผิดระเบียบข้อใดสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ไม่เคลือบคลุม
ตามสัญญาค้ำประกันข้อ 1 ระบุให้จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งสมัครเข้าทำงานในบริษัทโจทก์ตามใบสมัครงานลงวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์หรือกระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ในขณะทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคลตามที่จำเลยที่ 2 ระบุในสัญญาค้ำประกันข้อ 1 แม้ว่าสัญญาค้ำประกันข้อ 4 ระบุว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมและตกลงด้วยว่าหากโจทก์โยกย้าย แต่งตั้ง สับเปลี่ยน หรือถอดถอนจำเลยที่ 1 ไปทำงานกับบริษัทในเครือหรือสำนักงานสาขาแห่งใดให้ถือว่าสัญญาค้ำประกันนี้มีผลบังคับได้เช่นเดิมตลอดไป ก็มีความหมายเพียงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำความเสียหายแก่โจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่กับโจทก์หรือบริษัทในเครือของโจทก์ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคลตามที่ค้ำประกันไว้เท่านั้น เมื่อโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ย้ายจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่แผนกบุคคลไปทำหน้าที่พนักงานขาย อันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้นเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน และจำเลยที่ 1 ทำให้เกิดความเสียหาย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญาค้ำประกันข้อ 1 ระบุให้จำเลยที่ 2 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งสมัครเข้าทำงานในบริษัทโจทก์ตามใบสมัครงานลงวันที่ 5 ตุลาคม 2525 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 จะต้องเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์หรือกระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ในขณะทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคลตามที่จำเลยที่ 2 ระบุในสัญญาค้ำประกันข้อ 1 แม้ว่าสัญญาค้ำประกันข้อ 4 ระบุว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมและตกลงด้วยว่าหากโจทก์โยกย้าย แต่งตั้ง สับเปลี่ยน หรือถอดถอนจำเลยที่ 1 ไปทำงานกับบริษัทในเครือหรือสำนักงานสาขาแห่งใดให้ถือว่าสัญญาค้ำประกันนี้มีผลบังคับได้เช่นเดิมตลอดไป ก็มีความหมายเพียงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำความเสียหายแก่โจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่กับโจทก์หรือบริษัทในเครือของโจทก์ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บุคคลตามที่ค้ำประกันไว้เท่านั้น เมื่อโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ย้ายจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่แผนกบุคคลไปทำหน้าที่พนักงานขาย อันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้นเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน และจำเลยที่ 1 ทำให้เกิดความเสียหาย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8237/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยลูกจ้าง: การนอนหลับขณะปฏิบัติหน้าที่ถือเป็นการละเลยหน้าที่ตามข้อบังคับของบริษัท
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า การทำงานกะดึกระหว่างเวลา 23.30 นาฬิกา ถึง 8.30 นาฬิกา ไม่ได้กำหนดเวลาพักไว้แน่นอนแต่ในช่วงเวลานี้ห้องอาหารของผู้ร้องจะเปิด 2 ช่วงคือ ระหว่างเวลา 23.30 นาฬิกา ถึง 01.30 นาฬิกา และเวลา 6 นาฬิกา ถึง 8 นาฬิกา พนักงานจะเข้าไปรับประทานอาหารช่วงใดก็ได้โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปและพักผ่อนในห้องดังกล่าว ถ้าพนักงานผู้ใดไม่เข้าไปรับประทานอาหารจะพักผ่อนที่ห้องทำงานก็ได้ ซึ่งถือว่าผู้ร้องได้กำหนดเวลาพักไว้ให้แก่ลูกจ้างของผู้ร้องรวมทั้งผู้คัดค้านแล้ว ผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่าผู้ร้องมิได้จัดเวลาพักหรืออ้างว่าผู้ร้องมอบหมายให้ผู้คัดค้านจัดเวลาพักเองและไม่อาจกำหนดเวลาพักเองในช่วงเวลาอื่นใดได้ ดังนี้ กรณีผู้คัดค้านนอนหลับในห้องควบคุมในระหว่างเวลา 3 นาฬิกา ถึง 3.50 นาฬิกา ของวันที่ 13 มีนาคม 2547 ซึ่งมิใช่กำหนดเวลาพักที่ผู้ร้องจัดให้ จึงถือว่าการนอนหลับระหว่างเวลาทำงานดังกล่าวเป็นการละเลยต่อหน้าที่ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง ข้อ 4.1 วินัยและโทษทางวินัย เป็นความผิดโทษสถานหนักตามข้อ 6 ระบุว่าละเลยต่อหน้าที่ไว้ ผู้ร้องสามารถลงโทษโดยการตักเตือนเป็นหนังสือและพักงาน 1 สัปดาห์ โดยไม่จ่ายค่าจ้างตามโทษที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8212/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากพฤติกรรมของสามีลูกจ้าง แม้ไม่ร้ายแรงถึงขนาดเลิกจ้างได้
การที่เครื่องประดับส่วนตัวของพนักงานจำเลยสูญหายซึ่งยังไม่ปรากฏชัดว่ามีบุคคลใดลักไปหรือไม่ และการที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์กับพนักงานอื่นจะเป็นคำสั่งที่ชอบหรือไม่ก็ตาม แต่ก็เป็นการสั่งโดยใช้อำนาจในการบริหารงานบุคคลของจำเลยซึ่งโจทก์มีสิทธิจะโต้แย้งได้หากเห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ การที่สามีโจทก์โทรศัพท์ถึง ป. และจะขอเข้าพบเพื่อสอบถามและขอให้โจทก์กลับเข้าทำงานแม้จะไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องและอาจสร้างความวุ่นวายแก่จำเลยบ้าง แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอันสมควรที่ถึงขนาดจะเลิกจ้างได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างโดยปราศจากเหตุอันสมควรและเพียงพอ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7077-7079/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การจ้างงานชั่วคราวต้องมีสัญญาจ้างเป็นหนังสือ
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯ ข้อ 45 วรรคสาม บัญญัติให้รัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้าง หากเป็นการจ้างพนักงานเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการซึ่งรัฐวิสาหกิจและพนักงานตกลงทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือโดยมีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ และให้หมายความถึงกรณีที่สัญญาจ้างดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วแต่งานยังไม่แล้วเสร็จ หากรัฐวิสาหกิจและพนักงานจะตกลงต่อสัญญาจ้างกันอีก ระยะเวลาการจ้างทั้งสิ้นรวมแล้วจะต้องไม่เกินระยะเวลาการจ้างตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรกด้วย ดังนั้น การจ้างพนักงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวจึงต้องมีสัญญาจ้างเป็นหนังสือระหว่างรัฐวิสาหกิจและพนักงาน โดยกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ในสัญญาจ้างเป็นหนังสือนั้นด้วย ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จ้างโจทก์ทั้งสามทำงานเป็นลูกจ้าง ต่อมามี พ.ร.ฎ.ยุบเลิกองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น ฯ จำเลยที่ 1 จึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542 โดยจ่ายค่าชดเชยและค่าชดเชยพิเศษแก่โจทก์ทั้งสามแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 มีมติคณะกรรมการผู้ชำระบัญชีให้จ้างโจทก์ทั้งสามเพื่อช่วยปฏิบัติงานในการชำระบัญชีเป็นเวลาหนึ่งเดือนแล้วว่าจ้างโจทก์ทั้งสามเรื่อยมาโดยไม่ได้ทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือหรือกำหนดระยะเวลาการจ้างกันไว้เพียงกำหนดภารกิจให้ช่วยปฏิบัติงานในการชำระบัญชีเสร็จสิน และต่อมาได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสามตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2548 การจ้างโจทก์ทั้งสามให้ช่วยปฏิบัติงานในการชำระบัญชีจึงมิได้ตกลงทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือโดยมีกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของการจ้างไว้ ไม่เข้าเงื่อนไขของการจ้างพนักงานเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่จะเข้าข้อยกเว้นให้รัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานซึ่งเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6971/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่สมบูรณ์เมื่อขาดข้อเท็จจริงแสดงหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายในการฟ้องผิด พ.ร.บ.เช็ค
ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 การออกเช็คที่จะถือว่าเป็นความผิด จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วย หนี้ตามเช็คที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิด ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันออกเช็คจำนวน 3 ฉบับ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังมอบให้แก่โจทก์ชำระหนี้เงินกู้โดยมิได้ระบุว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งโจทก์มิได้แนบสำเนาสัญญากู้มาท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 เป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6944/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้างต้องกำหนดวันหยุดให้ชัดเจน แม้ให้ลาหยุดมากกว่ากฎหมายกำหนด แต่หากมีเงื่อนไขจำกัดสิทธิ ลูกจ้างยังไม่ถือว่าใช้สิทธิ
นาย ช. นาย ธ. และนาย พ. ลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารไม่ประจำทางให้แก่ลูกค้าของโจทก์ที่มาใช้บริการเพื่อการท่องเที่ยว ได้ร้องต่อจำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานว่าโจทก์ไม่กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างทั้งสาม จำเลยจึงมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างทั้งสาม โจทก์มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดเกี่ยวกับวันหยุดและวันลาประเภทต่างๆ ไว้ นอกจากนี้ในกรณีไม่มีงานทำหรือไม่ได้ขับรถเพราะไม่มีผู้ว่าจ้างใช้บริการของโจทก์ โจทก์ยังยินยอมให้ลูกจ้างขอลาหยุดปีละไม่น้อยกว่า 30 วันทำงานโดยได้รับค่าจ้าง ซึ่งโจทก์อ้างว่าการขอลาหยุดในกรณีนี้ได้รวมวันหยุดพักผ่อนประจำปีจำนวน 6 วัน เข้าไว้แล้ว เพียงแต่การลาดังกล่าวลูกจ้างไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นการลาประเภทใด แต่ก็เป็นที่เข้าใจว่าเป็นการลาหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 30 บัญญัติให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน แม้โจทก์จะกำหนดเรื่องวันหยุดพักผ่อนประจำปีไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสอดคล้องกับบทบัญญัติดังกล่าวก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้เป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีเพื่อให้ลูกจ้างได้ใช้สิทธิหยุด แม้โจทก์จะให้ลูกจ้างสามารถลาหยุดโดยได้รับค่าจ้างปีละไม่น้อยกว่า 30 วัน มากกว่าที่กฎหมายกำหนดอันเป็นคุณแก่ลูกจ้างก็ตาม แต่ก็เฉพาะในกรณีที่ลูกจ้างไม่มีงานทำหรือไม่ได้ขับรถเพราะไม่มีผู้ว่าจ้างใช้บริการ ลักษณะวันหยุดดังกล่าวจึงไม่ใช่วันหยุดพักผ่อนประจำปี เพราะมีเงื่อนไขว่าจะลาหยุดได้เฉพาะกรณีไม่มีงานทำเท่านั้น ทั้งลูกจ้างก็มิได้ระบุให้ชัดเจนว่าวันลาหยุดดังกล่าวเป็นการขอลาหยุดในวันหยุดพักผ่อนประจำปี ถือได้ว่าลูกจ้างของโจทก์ยังมิได้ใช้สิทธิหยุดสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี โจทก์จำต้องชำระค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่ลูกจ้างทั้งสามตามคำสั่งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6886/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานในคดีอาญา: พยานพฤติเหตุแวดล้อมและคำรับสารภาพใช้พิสูจน์ความผิดจำเลยได้
ป.วิ.อ. มาตรา 226 บัญญัติว่า "พยานวัตถุ พยานเอกสารหรือพยานบุคคล ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น..." พยานหลักฐานที่จะใช้อ้างหรือพิสูจน์ในคดีอาญาว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จึงมิได้จำกัดเฉพาะว่าจะต้องเป็นประจักษ์พยานเท่านั้น หากแต่เป็นพยานประเภทใดก็ได้ที่น่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดหรือบริสุทธิ์ โจทก์ย่อมนำสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ ดังนั้น พยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีและคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสาม จึงเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งซึ่งโจทก์สามารถนำสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ เพียงแต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนที่อาจใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้นั้น จะต้องฟังได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพโดยความสมัครใจและตามความสัตย์จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6021/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ต่อเนื่องจากสัญญาจ้างงานเดิม แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มิได้บัญญัติไว้โดยตรง
จำเลยเป็นบริษัทในเครือของบริษัทแม่ในประเทศอังกฤษซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วโลก ในภูมิภาคเอเชียมีสำนักงานที่กำกับดูแลจำเลยคือ บริษัท จ. (สิงค์โปร์) โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างบริษัท จ. (ออสเตรเลีย) และโอนย้ายไปเป็นลูกจ้างบริษัท จ. (มาเลเซีย) โดยให้โจทก์มีสิทธินับเวลาทำงานติดต่อกันได้ และให้โจทก์คงได้รับสิทธิหยุดพักผ่อนในกรณีทำงานมานานตามที่เคยได้รับต่อไป ต่อมาโจทก์โอนย้ายไปเป็นลูกจ้างจำเลย และได้ทำสัญญากับบริษัท จ. (สิงค์โปร์) ระบุว่าเป็นการจ้างงานโจทก์ต่อเนื่องจากที่ได้ทำงานกับบริษัท จ. (สิงค์โปร์) และโจทก์ยังคงมีสิทธิสะสมวันหยุดในกรณีที่ทำงานมานานต่อไปจากที่เคยได้รับ เมื่อข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิหยุดพักผ่อนของลูกจ้างในกรณีทำงานมานานไว้ก็ผูกพันจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5954/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ: สิทธิลูกจ้างลาออก ไม่ใช่รายได้จำเลย
โจทก์เคยเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ต่อมาโจทก์ลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนโดยไม่ได้ลาออกจากงานกองทุนได้จ่ายเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสมให้โจทก์แล้ว และได้จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจำนวน 531,702.57 บาท ให้แก่จำเลยไว้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ลาออกจากกองทุนโดยไม่ได้ลาออกจากงานตามข้อบังคับกองทุนฯ ข้อ 37 วรรคหนึ่ง (7) เงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยต้องเก็บรักษาไว้แทนผู้จัดการกองทุนเพื่อจ่ายให้แก่โจทก์เมื่อพ้นจากตำแหน่งในการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และโจทก์มีสิทธิได้รับเงินสมทบ ดังนั้น เมื่อโจทก์ลาออกจากงานด้วยความยินดีของทั้งสองฝ่าย โจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับเงินสมทบ เงินดังกล่าวจึงยังมีสภาพเป็นเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากกองทุน มิได้กลับมาเป็นของจำเลยแต่อย่างใด สิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าวไม่อาจโอนกันได้ตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ มาตรา 23, 24 และไม่อาจนำไปหักกลบลบหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 346
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5921/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องพิสูจน์ความผิดของลูกจ้างตามข้อบังคับและกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิด ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าโจทก์กระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องเงิน จำเลยจึงตักเตือนเป็นหนังสือ แต่โจทก์กลับกระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องเงินซ้ำอีก จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจาโดยระบุเหตุผลในการเลิกจ้างให้โจทก์ทราบแล้ว การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง เป็นการทุจริตและกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ซึ่งศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วรับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุงาน อัตราค่าจ้างสุดท้าย และการกระทำของโจทก์ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กระทำผิด ตลอดจนวันที่จำเลยบอกเลิกจ้างและวันที่การเลิกจ้างมีผล อันเป็นข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักในการวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมครบถ้วน แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่สามารถหาหลักฐานยืนยันได้ว่าโจทก์กระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องเงินซ้ำอีก จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดดังที่จำเลยอ้าง การเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและกำหนดค่าเสียหายให้พร้อมทั้งวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิและจำนวนค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายครบทุกประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจะรวบรัดไปบ้าง แต่ก็เป็นคำพิพากษาที่แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยโดยชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง แล้ว