พบผลลัพธ์ทั้งหมด 273 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9832-9836/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล การลงชื่อรับเงินไม่ถือเป็นการยินยอมเลิกจ้าง
การที่โจทก์ทั้งห้าลงชื่อรับเงินสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายคุ้มครองแรงงานในหนังสือยกเลิกสัญญาจ้างที่จำเลยทำขึ้นโดยไม่มีข้อความใดว่าโจทก์ทั้งห้าขอลาออกจากการเป็นลูกจ้าง ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งห้าลาออกด้วยความสมัครใจ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างของจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 จำเลยต้องรับโจทก์ทั้งห้ากลับเข้าทำงาน แต่เมื่อระหว่างเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าไม่ได้ทำงานให้จำเลย จึงนำเอาระยะเวลาดังกล่าวรวมเข้าเป็นอายุงานด้วยไม่ได้ คงนับอายุงานใหม่ต่อจากอายุงานเดิมที่คำนวณถึงวันก่อนวันเลิกจ้างเท่านั้น
โจทก์ทั้งห้าบรรยายฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่ชอบ เป็นการตั้งประเด็นโดยตรงว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการขอให้ชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อการเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งห้าจึงเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างที่ถูกเลิกจ้างได้
โจทก์ทั้งห้าบรรยายฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่ชอบ เป็นการตั้งประเด็นโดยตรงว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการขอให้ชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อการเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งห้าจึงเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างที่ถูกเลิกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: การมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดหลังเกิดเหตุ ไม่ถือเป็นตัวการร่วม
ในส่วนของจำเลยที่ 7 ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า จำเลยที่ 5 ขับรถยนต์กระบะออกจากขนำที่เกิดเหตุไปโดยบอกว่าจะไปรับพวกอีกคนหนึ่ง แล้วจำเลยที่ 5 ขับรถยนต์กระบะกลับมาพร้อมจำเลยที่ 7 เมื่อมาถึงขนำที่เกิดเหตุ ในขณะที่จำเลยที่ 7 ยืนปัสสาวะอยู่ จำเลยที่ 4 และที่ 6 ซึ่งกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 เสร็จแล้วได้ออกมาจากขนำ โดยผู้เสียหายที่ 1 เดินตามออกมาด้วย จำเลยที่ 7 จับมือผู้เสียหายที่ 1 พร้อมถามว่าจะไปไหน ผู้เสียหายที 1 ตอบว่าขอไปปัสสาวะ จำเลยที่ 7 ไม่เชื่อดึงมือผู้เสียหายที่ 1 ไว้อีก ผู้เสียหายที่ 1 สะบัดหลุดวิ่งหนีเข้าไปในป่า จำเลยที่ 7 กับพวกติดตามไม่พบ เนื่องจากผู้เสียหายซ่อนตัวอยู่นั้น ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 7 มีส่วนร่วมคบคิดหรือนัดแนะกับจำเลยอื่นในการพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจารมาแต่ต้น การที่จำเลยที่ 7 มายังขนำที่เกิดเหตุและกระทำการดังกล่าวหลังจากที่จำเลยอื่นได้พาผู้เสียหายที่ 1 มากระทำชำเราแล้ว ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 7 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยอื่นพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15690/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์ในคดีอาญา: รูปแบบไม่สำคัญ สาระสำคัญอยู่ที่การมอบอำนาจจริงและไม่มีเหตุสงสัย
การร้องทุกข์ในคดีอาญา กฎหมายมิได้กำหนดแบบการร้องทุกข์ไว้ จึงอาจร้องทุกข์ด้วยวาจาหรือหนังสือก็ได้ สาระสำคัญจึงอยู่ที่ว่าโจทก์ร่วมมอบอำนาจให้นายวิโรจน์ร้องทุกข์จริงหรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลมิได้สงสัยและจำเลยไม่ได้ให้การหรือนำสืบต่อสู้แสดงเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง ถือว่าโจทก์ร่วมมอบอำนาจตามใบมอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13606/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย + สมรสภายหลัง = ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277
แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า จำเลยสำคัญผิดเข้าใจว่าผู้เสียหายอายุเกินกว่าสิบสามปี แต่ไม่เกินสิบห้าปี แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยไม่ควรต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215
แม้จะมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 277 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่กำหนดอายุของผู้กระทำความผิดต้องอายุไม่เกิน 18 ปี ดังนั้น กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดบังคับ ซึ่ง ป.อ. มาตรา 277 วรรคสี่ (เดิม) ที่ใช้บังคับแก่คดีนี้บัญญัติให้การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน แม้จำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเรื่องอายุของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายมีอายุกว่าสิบสามปีแต่ไม่เกินสิบห้าปี เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าภายหลังจำเลยและผู้เสียหายได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสี่ (เดิม)
แม้จะมี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2550 มาตรา 3 ยกเลิกความในมาตรา 277 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่กำหนดอายุของผู้กระทำความผิดต้องอายุไม่เกิน 18 ปี ดังนั้น กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดบังคับ ซึ่ง ป.อ. มาตรา 277 วรรคสี่ (เดิม) ที่ใช้บังคับแก่คดีนี้บัญญัติให้การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน แม้จำเลยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเรื่องอายุของผู้เสียหายว่าผู้เสียหายมีอายุกว่าสิบสามปีแต่ไม่เกินสิบห้าปี เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าภายหลังจำเลยและผู้เสียหายได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสี่ (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7773-7776/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายหอพักของพนักงาน: ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง หากข้อตกลงไม่ได้ระบุสถานที่เฉพาะ และการฝ่าฝืนคำสั่งย้ายถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับทำงาน
ตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุไว้แต่เพียงว่าให้จำเลยจัดหอพักให้แก่พนักงานที่อยู่ต่างจังหวัด มิได้ระบุไว้ว่าต้องจัดให้พักเฉพาะที่หอพักจุด 8 เท่านั้น แม้หอพักจุด 10 จะเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความสะดวกสบายเท่านั้นโดยข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมิได้ระบุรายละเอียดไว้ จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุเรื่องสวัสดิการหอพักไว้ ดังนั้นการจัดให้มีหอพักจึงเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การฝ่าฝืนคำสั่งเกี่ยวกับหอพักจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระบุเรื่องสวัสดิการหอพักไว้ ดังนั้นการจัดให้มีหอพักจึงเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน การฝ่าฝืนคำสั่งเกี่ยวกับหอพักจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5246/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 กรณีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองอีกสถานหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี และคุมความประพฤติของจำเลยทั้งสองไว้ แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะได้รอการลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองอันเป็นการแก้ไขมากแต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกิน 2 ปี คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 การที่โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4730/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเป็นเจ้ามือสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน/หวยหุ้น) เป็นกรรมต่างกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลงโทษทั้งสองฐานได้
โจทก์บรรยายฟ้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จำเลยกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) ซึ่งถือเอาผลของการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดประจำวันที่ 1 กันยายน 2549 เป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ และจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยหุ้น) ซึ่งถือเอาเลขท้าย 2 ตัว ระหว่างจุดทศนิยมของดัชนีหุ้นเวลาเปิดและปิดตลาดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย งวดประจำวันที่ 1 กันยายน 2549 เป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ เมื่อข้อหาความผิด ตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริง ย่อมรับฟังเป็นยุติได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง ซึ่งการที่จำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) โดยถือผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ และจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยหุ้น) ซึ่งถือเอาเลขท้าย 2 ตัว ระหว่างจุดทศนิยมของดัชนีหุ้นเวลาเปิดและปิดตลาดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบเป็นการกระทำความผิดซึ่งอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้แม้จำเลยจะเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยใต้ดิน) และการเล่นการพนันสลากกินรวบ (หวยหุ้น) ในคราวเดียวกัน และเป็นความผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยตามที่ปรากฏในคำฟ้องจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งจะต้องลงโทษจำเลยเพียงแต่กระทงเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9802/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน: ศาลยืนตามศาลล่าง ผู้เสียหายจำได้แม้สภาพแสงไม่ดี
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครองและร่วมกันพาอาวุธปืนไปในหมู่บ้านโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกในแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่า ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย และการเพิ่มโทษจากประวัติอาชญากรรม
ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลถูกแทงจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้ไม้ตีผู้ตายหลังจากผู้ตายถูกจำเลยที่ 1 ต่อยจนเซไปแล้วและจำเลยที่ 2 แยกไปทำร้าย พ. โดยไม่ได้ร่วมทำร้ายผู้ตายอย่างใดอีก การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า จึงเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 แต่โดยลำพังพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 คงเป็นเพียงแต่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายเท่านั้นแต่การร่วมกันทำร้ายมีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 288 แต่ความผิดดังกล่าวรวมความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก อยู่ด้วย ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5481/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 108 บังคับให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และมาตรา 110 บัญญัติเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยให้นายจ้างประกาศข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น แต่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ ไม่ได้บัญญัติถึงกระบวนการที่นายจ้างและลูกจ้างต้องปฏิบัติเพื่อให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่กระบวนการดังกล่าวได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 10 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติให้ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าในสถานประกอบกิจการมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ดังนั้น หากผู้ร้องประสงค์จะแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่แจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง ผู้ร้องต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือมิฉะนั้นผู้ร้องจะต้องแจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 13 จนมีการเจรจาตกลงกันหรือหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ ต่อไป