พบผลลัพธ์ทั้งหมด 439 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้และธุรกิจเฉพาะ: การยกเลิกหุ้นส่วนและการคืนเงินลงทุน ไม่ใช่การขายทรัพย์สิน
สำหรับข้อหาที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางฟังมาดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงเดียวกันกับข้อหาอื่นที่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันเกินกว่า 50,000 บาท ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง และทุกข้อหาตามฟ้องเกิดจากการที่โจทก์ได้รับเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับพิพาทเพียงฉบับเดียว แต่โจทก์ได้รับเงินเป็นงวดๆ และถูกประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นรายเดือนที่ได้รับเงินมาและถูกประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามปีภาษีที่ได้รับเงินมานั้น หากโจทก์ผู้ถูกเรียกเก็บภาษีไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีดังกล่าว ย่อมเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งปัญหาว่าบุคคลใดต้องเสียภาษีหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีโดยรับฟังข้อเท็จจริงผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวนและเป็นกรณีที่โจทก์อุทธรณ์ข้อเท็จจริงเดียวกันนั้นได้สำหรับข้อหาที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงมีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางรับฟังมาสำหรับข้อหาที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 246 และ 142 (5) ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
โจทก์กับ ส. ตกลงเป็นหุ้นส่วนซื้อที่ดิน ต่อมา จ. สามีของ ส. จดทะเบียนซื้อขายที่ดินดังกล่าวและนำที่ดินนั้นไปจดทะเบียนจำนองโดยไม่ปรากฏว่า จ. เป็นตัวแทนของโจทก์และ ส. แต่อย่างใด ต่อมาโจทก์กับ ส. ขัดแย้งกันในการดำเนินงานหุ้นส่วน โจทก์กับ ส. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกเลิกห้างหุ้นส่วนโดยตกลงคืนเงินทุนของโจทก์ เงินที่โจทก์ได้รับมาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นเงินทุนของโจทก์เอง มิใช่ค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเป็นหุ้นส่วนซึ่งจะถือได้ว่าเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ส่วนของที่ดินให้แก่ ส. จึงมิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใด
โจทก์กับ ส. ตกลงเป็นหุ้นส่วนซื้อที่ดิน ต่อมา จ. สามีของ ส. จดทะเบียนซื้อขายที่ดินดังกล่าวและนำที่ดินนั้นไปจดทะเบียนจำนองโดยไม่ปรากฏว่า จ. เป็นตัวแทนของโจทก์และ ส. แต่อย่างใด ต่อมาโจทก์กับ ส. ขัดแย้งกันในการดำเนินงานหุ้นส่วน โจทก์กับ ส. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกเลิกห้างหุ้นส่วนโดยตกลงคืนเงินทุนของโจทก์ เงินที่โจทก์ได้รับมาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นเงินทุนของโจทก์เอง มิใช่ค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเป็นหุ้นส่วนซึ่งจะถือได้ว่าเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ส่วนของที่ดินให้แก่ ส. จึงมิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และมิใช่รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8090/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองต้องมีเหตุผลรองรับ โดยอ้างอิงข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และข้อพิจารณา หากไม่มีเหตุผลรองรับ คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 บัญญัติว่า คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองจะต้องมีเหตุผล และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ เมื่อพิเคราะห์ถ้อยคำในหนังสือแจ้งคำชี้ขาดของผู้บริหารของจำเลยแล้ว เห็นได้ว่า จำเลยมิได้อ้างอิงข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายใดมายืนยันว่า การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยคงอ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีซึ่งจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยเท่านั้น ทั้งข้ออ้างดังกล่าวไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องให้เหตุผลในข้อกฎหมายที่จะต้องอ้างอิงแต่อย่างใด หนังสือแจ้งคำชี้ขาดของคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและอำนาจฟ้องในคดีภาษีอากร: การแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอำนาจเป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่แก้ไขได้
การที่โจทก์ขอแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอำนาจตามที่บรรยายในคำฟ้องจากชื่อ "นายธีรพงษ์" เป็น "นายชีระพงษ์" เป็นเพียงการขอแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอำนาจให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยซึ่งสามารถกระทำได้ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องให้จำเลยมีโอกาสคัดค้าน และไม่ต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) และมาตรา 181 (1) ส่วนกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขชื่อ "นายธีระพงษ์" ตามที่ปรากฏในหนังสือมอบอำนาจเป็น "นายชีระพงษ์" นั้นหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการยื่นคำฟ้อง มิใช่คำฟ้องที่โจทก์จะขอแก้ไขได้
การที่โจทก์นำสืบว่าหนังสือมอบอำนาจพิมพ์ชื่อผิดโดยอักษรตัวแรกของชื่อแทนที่จะเป็น "ช" กลับพิมพ์เป็น "ธ" มิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารแต่เป็นการนำสืบอธิบายความเป็นมาของหนังสือมอบอำนาจเพื่อยืนยันคำฟ้องที่แก้ไขแล้ว
การที่โจทก์นำสืบว่าหนังสือมอบอำนาจพิมพ์ชื่อผิดโดยอักษรตัวแรกของชื่อแทนที่จะเป็น "ช" กลับพิมพ์เป็น "ธ" มิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารแต่เป็นการนำสืบอธิบายความเป็นมาของหนังสือมอบอำนาจเพื่อยืนยันคำฟ้องที่แก้ไขแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องชื่อกรรมการผู้มีอำนาจ และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร การแก้ไขชื่อที่ถูกต้องเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่ไม่ต้องส่งสำเนาให้จำเลย
การขอแก้ไขชื่อกรรมการผู้มีอำนาจที่พิมพ์อักษรบางตัวผิดไปในฟ้อง ให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย ซึ่งสามารถกระทำได้แต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องให้จำเลยมีโอกาสคัดค้าน และไม่ต้องส่งสำเนาให้จำเลยทราบล่วงหน้า ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2), 181 (1) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ช.กรรมการผู้มีอำนาจโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจจริง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากการขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาด การบันทึกบัญชีที่ถูกต้อง และการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน
ลูกหนี้การค้าของโจทก์เป็นเงินได้พึงประเมินนับตั้งแต่โจทก์คำนวณรับรู้รายได้โดยต้องใช้เกณฑ์สิทธิตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หากโจทก์เห็นว่าไม่อาจได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ดังกล่าวอย่างแน่นอนเพราะลูกหนี้รายนี้ต้องล้มละลาย โจทก์ต้องดำเนินการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของมาตรา 65 ทวิ (9) แห่ง ป.รัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2534 เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการดังกล่าวจึงต้องถือว่าลูกหนี้รายนี้ยังคงเป็นลูกหนี้ของโจทก์ทั้งจำนวน และโดยที่เป็นหนี้เงินตราต่างประเทศ โจทก์ต้องคำนวณค่าหรือราคาของลูกหนี้เป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยคำนวณไว้ตามมาตรา 65 ทวิ (5) (ก) แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อคำนวณแล้วโจทก์มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราจึงต้องปรับปรุงรายการดังกล่าวเป็นรายได้ของโจทก์
โจทก์คำนวณราคาขายผิดพลาดสูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งกรณีนี้ต้องแก้ไขทางบัญชีโดยบันทึกลดหนี้ แต่โจทก์กลับจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีทั้งจำนวนโดยบันทึกผลต่างของราคาที่ผิดพลาดเป็นรายจ่ายผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องทางบัญชี การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำเงินที่โจทก์ได้รับชำระมาคำนวณเป็นอัตราเงินไทยแล้วเห็นว่าโจทก์มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา จึงนำเงินกำไรดังกล่าวมาบวกกลับในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงถูกต้องตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (5) วรรคสอง
ราคาตลาดของสินค้าอาจไม่มีราคาตายตัวหรือราคาเดียว การขายสินค้าแต่ละครั้งในราคาสูงต่ำผิดกันก็อาจอยู่ในกรอบของราคาตลาดได้ แม้โจทก์จะขายสินค้าถุงมือยางให้ผู้ซื้อแต่ละรายในราคาไม่เท่ากัน แต่การกำหนดราคาขายต่อหน่วยก็ต่างกันที่เลขทศนิยมหลักที่ 3 เงื่อนไขการชำระเงินและปริมาณสินค้าที่ซื้อขายก็แตกต่างกัน ทั้งราคาขายสินค้าต่อหน่วยเป็นเงินมาร์กเยอรมันและเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อคำนวณเป็นเงินไทยแล้วมีราคาไม่เท่ากันก็หาใช่กรณีโจทก์ขายสินค้าในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เพราะค่าของเงินแต่ละประเทศที่โจทก์ได้รับมาแต่ละวันคำนวณราคาเป็นเงินไทยตามราคาตลาดในวันที่ได้รับมานั้นมีอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันตามค่าของเงินนั้น ๆ นอกจากนี้การที่บริษัท R ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าของโจทก์รายหนึ่งถือหุ้นในบริษัทโจทก์ ย่อมทำให้บริษัททั้งสองมีความผูกพันกันอยู่อันเป็นเหตุสมควรที่โจทก์จะขายสินค้าให้แก่บริษัทดังกล่าวในราคาต่ำกว่าราคาที่ขายให้แก่ผู้ซื้อรายอื่น การกระทำของโจทก์ในส่วนนี้ยังไม่อาจถือว่าเป็นการปฏิบัติเกินกว่าปกติที่พึงปฏิบัติต่อกันในทางการค้าและกระทบถึงผลประโยชน์ของโจทก์เกินกว่าปกติ เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินราคาสินค้าถุงมือยางของโจทก์ดังกล่าวตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4)
โจทก์คำนวณราคาขายผิดพลาดสูงกว่าความเป็นจริง ซึ่งกรณีนี้ต้องแก้ไขทางบัญชีโดยบันทึกลดหนี้ แต่โจทก์กลับจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีทั้งจำนวนโดยบันทึกผลต่างของราคาที่ผิดพลาดเป็นรายจ่ายผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องทางบัญชี การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นำเงินที่โจทก์ได้รับชำระมาคำนวณเป็นอัตราเงินไทยแล้วเห็นว่าโจทก์มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา จึงนำเงินกำไรดังกล่าวมาบวกกลับในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงถูกต้องตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (5) วรรคสอง
ราคาตลาดของสินค้าอาจไม่มีราคาตายตัวหรือราคาเดียว การขายสินค้าแต่ละครั้งในราคาสูงต่ำผิดกันก็อาจอยู่ในกรอบของราคาตลาดได้ แม้โจทก์จะขายสินค้าถุงมือยางให้ผู้ซื้อแต่ละรายในราคาไม่เท่ากัน แต่การกำหนดราคาขายต่อหน่วยก็ต่างกันที่เลขทศนิยมหลักที่ 3 เงื่อนไขการชำระเงินและปริมาณสินค้าที่ซื้อขายก็แตกต่างกัน ทั้งราคาขายสินค้าต่อหน่วยเป็นเงินมาร์กเยอรมันและเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อคำนวณเป็นเงินไทยแล้วมีราคาไม่เท่ากันก็หาใช่กรณีโจทก์ขายสินค้าในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เพราะค่าของเงินแต่ละประเทศที่โจทก์ได้รับมาแต่ละวันคำนวณราคาเป็นเงินไทยตามราคาตลาดในวันที่ได้รับมานั้นมีอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันตามค่าของเงินนั้น ๆ นอกจากนี้การที่บริษัท R ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าของโจทก์รายหนึ่งถือหุ้นในบริษัทโจทก์ ย่อมทำให้บริษัททั้งสองมีความผูกพันกันอยู่อันเป็นเหตุสมควรที่โจทก์จะขายสินค้าให้แก่บริษัทดังกล่าวในราคาต่ำกว่าราคาที่ขายให้แก่ผู้ซื้อรายอื่น การกระทำของโจทก์ในส่วนนี้ยังไม่อาจถือว่าเป็นการปฏิบัติเกินกว่าปกติที่พึงปฏิบัติต่อกันในทางการค้าและกระทบถึงผลประโยชน์ของโจทก์เกินกว่าปกติ เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินราคาสินค้าถุงมือยางของโจทก์ดังกล่าวตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4402/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการยื่นคำร้องขอพิจารณาภาษีโรงเรือนและที่ดินสงวนไว้สำหรับผู้รับประเมิน เจ้าของทรัพย์สิน การชำระภาษีตามสัญญาเช่าไม่ทำให้มีอำนาจดังกล่าว
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 25 บัญญัติให้ผู้รับประเมินที่ไม่พอใจในการประเมินอาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติแล้วว่า บริษัท ซ. เจ้าของโรงเรือนและที่ดินดังกล่าวเป็นผู้ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาท และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งรายการประเมินไปยังบริษัท ซ. อันเป็นการแจ้งรายการประเมินแก่ผู้รับประเมินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 แล้ว ดังนั้นผู้รับประเมินที่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จึงหมายถึงบริษัท ซ. แม้โจทก์จะมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามสัญญาเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ก็ไม่เป็นผู้รับประเมินในกรณีนี้และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ทั้งตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 37 ก็บัญญัติให้ผู้รับประเมินที่จะต้องลงนามในแบบพิมพ์ใดจะให้ตัวแทนลงนามแทนก็ได้ โดยต้องมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อโจทก์ยื่นแบบพิมพ์คำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด. 9) ในนามของตนเองโดยบริษัท ซ. ผู้รับประเมินไม่ได้มอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ลงนามแทนได้ จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และถือว่าไม่มีการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 25 จำนวนเงินที่ประเมินจึงเป็นจำนวนเด็ดขาด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4349/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์อำนาจฟ้องและการนำสืบพยานในคดีแพ่ง จำเป็นต้องพิสูจน์ความแท้จริงของเอกสารมอบอำนาจ
โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ร. ดำเนินคดีแทน แต่จำเลยให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้วว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อผู้มีอำนาจของโจทก์แต่เป็นลายมือชื่อปลอม โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้ที่ลงลายมือชื่อในคำสั่งเกี่ยวกับการมอบอำนาจ เป็นผู้ที่มีอำนาจของโจทก์และเป็นลายมือชื่อที่แท้จริง คดีนี้โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบเพียงปากเดียว โดยไม่ได้เบิกความถึงการมอบอำนาจให้ดำเนินคดี และไม่ได้ยืนยันว่า ลายมือชื่อในคำสั่งเกี่ยวกับการมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อที่แท้จริง ถือว่าโจทก์นำสืบประเด็นนี้ไม่สมตามคำฟ้อง ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ร. ดำเนินคดีแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4347/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้ภาษีหลังเลิกบริษัท: ศาลฎีกาพิพากษากลับอนุญาตฟ้องได้ภายใน 2 ปีหลังชำระบัญชีเสร็จ
ป.พ.พ. มาตรา 1249 บัญญัติว่า ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็น เพื่อการชำระบัญชี เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้แจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะรายนี้ให้จำเลยทราบก่อนจำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัท จำเลยอุทธรณ์เฉพาะประเด็นเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม และโจทก์ได้แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2548 แม้ภายหลังจากที่จำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้วก็ตาม แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272 ยังบัญญัติว่า ในคดีฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท หรือผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น หรือผู้ชำระบัญชีเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ดังนั้น แม้เป็นเวลาภายหลังที่จำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัทและจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว แต่ยังอยู่ระหว่างเวลาที่โจทก์อาจฟ้องคดีได้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว โจทก์ย่อมแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่จำเลยได้ ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาว่า โจทก์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้จำเลยทราบภายหลังจากที่จำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว จำเลยจึงไม่ใช่นิติบุคคลที่จะต้องเสียภาษีตามกฎหมายอีกต่อไป โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง นั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่เห็นพ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองด้านภาษีอากรต้องมีเหตุผลประกอบ หากไม่มีเหตุผลชัดเจน ศาลมีอำนาจเพิกถอนการประเมิน
ใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ เป็นคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งมีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลและมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างหน่วยงานราชการกับโจทก์ จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 ที่ต้องอยู่ในบังคับมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ คือจะต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย ทั้งเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ เมื่อใบแจ้งรายการประเมินระบุแต่เพียงการแจ้งรายการทรัพย์สิน เลขสำมะโนครัว ตำบลหรือถนน ค่ารายปี ค่าภาษี และกำหนดระยะเวลาชำระเงิน ส่วนใบแจ้งคำชี้ขาดระบุแต่เพียงการแจ้งรายการทรัพย์สิน เลขสำมะโนครัว ตำบลหรือถนน อำเภอ และชี้ขาดค่ารายปีและค่าภาษีเท่านั้น ใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดจึงไม่ปรากฏเหตุผลตามที่กฎหมายกำหนด
แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 20 จะกำหนดให้ผู้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องกรอกรายการในแบบพิมพ์ซึ่งแสดงทรัพย์สินต่างๆ ที่ระบุถึงลักษณะ ขนาด ประโยชน์ใช้สอยโรงเรือนและที่ดิน และประโยชน์ที่ได้รับจากทรัพย์สินนั้นตามความเป็นจริงตามความรู้เห็นของตนให้ครบถ้วนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบแจ้งรายการก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงเหล่านั้นเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินกำหนดประเภทแห่งทรัพย์สิน ค่ารายปีแห่งทรัพย์สินและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์จะต้องเสีย โจทก์ย่อมทราบเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น เมื่อใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดไม่ชอบตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37 โจทก์ย่อมไม่สามารถทราบเหตุผลในการประเมินและคำชี้ขาดได้ ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 วรรคสาม (2) นั้น ชอบแล้ว
การกระทำที่ไม่ชอบในรูปแบบของใบแจ้งรายการประเมินที่ต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องจัดให้มีเหตุผลและแจ้งให้โจทก์ทราบต่อไป ส่วนกระบวนพิจารณาในชั้นพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ย่อมเสียไปทั้งหมด ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาเพิกถอนการประเมินตามใบแจ้งรายการประเมิน และให้คืนเงินภาษีเกินกว่าที่โจทก์มีคำขอจึงไม่ถูกต้อง
แม้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 20 จะกำหนดให้ผู้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องกรอกรายการในแบบพิมพ์ซึ่งแสดงทรัพย์สินต่างๆ ที่ระบุถึงลักษณะ ขนาด ประโยชน์ใช้สอยโรงเรือนและที่ดิน และประโยชน์ที่ได้รับจากทรัพย์สินนั้นตามความเป็นจริงตามความรู้เห็นของตนให้ครบถ้วนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบแจ้งรายการก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงเหล่านั้นเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินกำหนดประเภทแห่งทรัพย์สิน ค่ารายปีแห่งทรัพย์สินและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินที่โจทก์จะต้องเสีย โจทก์ย่อมทราบเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น เมื่อใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดไม่ชอบตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37 โจทก์ย่อมไม่สามารถทราบเหตุผลในการประเมินและคำชี้ขาดได้ ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 วรรคสาม (2) นั้น ชอบแล้ว
การกระทำที่ไม่ชอบในรูปแบบของใบแจ้งรายการประเมินที่ต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องจัดให้มีเหตุผลและแจ้งให้โจทก์ทราบต่อไป ส่วนกระบวนพิจารณาในชั้นพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ย่อมเสียไปทั้งหมด ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาเพิกถอนการประเมินตามใบแจ้งรายการประเมิน และให้คืนเงินภาษีเกินกว่าที่โจทก์มีคำขอจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองต้องมีเหตุผล การประเมินภาษีต้องแจ้งเหตุผลชัดเจน
ใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดเป็นคำสั่งทางปกครองตามความหมายในคำนิยามมาตรา 5 ที่ต้องอยู่ในบังคับตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 จะต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย เมื่อใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดไม่มีเหตุผลอันประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจของจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมไม่สามารถทราบเหตุผลในการประเมินและคำชี้ขาดได้ รายละเอียดในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นสำหรับให้จำเลยที่ 1 กำหนดประเภทแห่งทรัพย์สิน ค่ารายปีและค่าภาษีที่โจทก์ต้องเสีย โจทก์ย่อมทราบเฉพาะรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น แต่ไม่อาจทราบเหตุผลในการประเมินและคำชี้ขาด ดังนั้นใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคสาม (2)