พบผลลัพธ์ทั้งหมด 439 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3492/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสิทธิคำนวณภาษีซื้อย้อนหลังได้หรือไม่ ฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีสิทธิ
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษีเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ความเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนของโจทก์ย่อมมีผลนับแต่วันที่ระบุไว้ในทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นก่อนที่โจทก์จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมาคำนวณในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3421/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องภาษีอากรที่ชัดเจนเพียงพอ ศาลต้องให้แก้ไขหรือวินิจฉัย ไม่ยกฟ้อง
ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2544 ข้อ 13 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า คำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับให้ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย และวรรคสองกำหนดว่า ถ้าจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เข้าใจคำฟ้องในส่วนใดศาลอาจสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยอธิบายรายละเอียดในส่วนนั้นให้ชัดเจนขึ้นก็ได้ คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบอย่างไร และขัดต่อประมวลรัษฎากรอย่างไร เป็นคำฟ้องที่ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา หากศาลภาษีอากรกลางเห็นว่าข้อต่อสู้ของจำเลยรับฟังได้ ศาลภาษีอากรกลางต้องมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยอธิบายรายละเอียดให้ชัดเจนขึ้นตามข้อกำหนดดังกล่าว การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีธุรกิจเฉพาะและการประเมินรายรับตามราคาประเมินทุนทรัพย์
ป. รัษฎากร มาตรา 19 เป็นบทบัญญัติกำหนดเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยาน กับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ เมื่อเจ้าพนักงานมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ โดยการออกหมายเรียกดังกล่าวจะต้องกระทำภายในเวลาสองปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ และถ้าหากเป็นกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายระยะเวลาทำการออกหมายเรียกก็ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ หากพ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงให้เจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวน และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาแสดงได้เท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรไม่ ทั้งการออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น ตามมาตรา 91/21 (5) บัญญัติให้นำบทบัญญัติมาตรา 88 มาใช้บังคับโดยอนุโลม อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 19 ด้วย ส่วนในเรื่องอายุความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/31 บัญญัติว่าสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนดอายุความ 10 ปี เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะประเมินเก็บภาษีจากโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี ตั้งแต่วันครบกำหนดที่โจทก์ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ เมื่อระยะเวลายังอยู่ในกำหนดอายุความดังกล่าว เจ้าพนักงานประเมินย่อมประเมินให้โจทก์ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะได้
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/1 (1) "รายรับ" หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ เจตนารมณ์ของบทบัญญัตินี้ประสงค์จะให้รายรับที่ผู้ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแสดงไว้ในรายการภาษีธุรกิจเฉพาะต้องเป็นรายรับที่มีมูลค่าอันพึงสมควรได้รับด้วย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแสดงรายรับที่มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินยึดถือหลักเกณฑ์การกำหนดรายรับของจำเลยที่กำหนดว่า ในการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะให้ถือรายรับที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามความเป็นจริง แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม ป. ที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนมาใช้ประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะชอบด้วย ป. รัษฎากร มาตรา 91/16 แล้ว
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะครบถ้วนตามที่จำเลยแจ้งและเรียกเก็บ และจำเลยไม่ได้นำสืบโต้แย้งว่ายอดรายรับของโจทก์ต่ำกว่าราคาท้องตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/1 (1) "รายรับ" หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ เจตนารมณ์ของบทบัญญัตินี้ประสงค์จะให้รายรับที่ผู้ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแสดงไว้ในรายการภาษีธุรกิจเฉพาะต้องเป็นรายรับที่มีมูลค่าอันพึงสมควรได้รับด้วย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแสดงรายรับที่มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินยึดถือหลักเกณฑ์การกำหนดรายรับของจำเลยที่กำหนดว่า ในการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะให้ถือรายรับที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามความเป็นจริง แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม ป. ที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนมาใช้ประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะชอบด้วย ป. รัษฎากร มาตรา 91/16 แล้ว
โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะครบถ้วนตามที่จำเลยแจ้งและเรียกเก็บ และจำเลยไม่ได้นำสืบโต้แย้งว่ายอดรายรับของโจทก์ต่ำกว่าราคาท้องตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม: รายได้จากผู้ร่วมสัมปทานถือเป็นรายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี และประเด็นการลดเบี้ยปรับ
การกำหนดรายจ่ายที่คิดเป็นร้อยละของรายจ่ายหลักที่ใช้ในการผลิตบวกด้วยร้อยละของรายจ่ายในการสำรวจทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์และบวกด้วยร้อยละของรายจ่ายตรงตามสัญญาปฏิบัติการ (Operating Agreement) นั้นแสดงให้เห็นว่าเป็นการกำหนดขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง ดังนี้รายจ่ายดังกล่าวจึงไม่ใช่รายจ่ายตามปกติและจำเป็นในกิจการปิโตรเลียมของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ มาตรา 27, 65 ฉ และ 65 สัตต โจทก์จึงอ้างรายจ่ายในส่วนที่คิดเป็นร้อยละเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในบริษัทโจทก์ และนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสิทธิหาได้ไม่ ดังนี้การที่โจทก์ได้รับเงินดังกล่าวจากบริษัทผู้ร่วมสัมปทานซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันในส่วนที่เกินจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงในการดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้จ่ายคืนให้บริษัทผู้ร่วมสัมปทานดังกล่าว เงินได้ดังกล่าวจึงเป็นเงินได้อื่นที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 22 (5) แห่ง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ ของโจทก์จากผู้ร่วมสัมปทาน
แม้คดีนี้จะมีประเด็นเดียวกับคดีที่โจทก์ได้เคยนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาและศาลฎีกาได้พิพากษาให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเพิ่มเติม เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้โจทก์ทราบภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในประเด็นดังกล่าวด้วยหลักเกณฑ์เดียวกับที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาไว้แล้วนั้น แต่เนื่องจากคดีมีประเด็นเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับการชดเชยจากผู้ร่วมสัมปทานทั้งสองรายถือเป็นรายได้ของโจทก์หรือไม่ อันเป็นปัญหาสืบเนื่องกันมา การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้รวมกับประเด็นที่ศาลฎีกาได้เคยมีคำพิพากษาแล้วก็มีเหตุผลอันชอบอยู่ และมีปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาในข้อกฎหมายที่อาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้
แม้คดีนี้จะมีประเด็นเดียวกับคดีที่โจทก์ได้เคยนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาและศาลฎีกาได้พิพากษาให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเพิ่มเติม เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้โจทก์ทราบภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในประเด็นดังกล่าวด้วยหลักเกณฑ์เดียวกับที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาไว้แล้วนั้น แต่เนื่องจากคดีมีประเด็นเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับการชดเชยจากผู้ร่วมสัมปทานทั้งสองรายถือเป็นรายได้ของโจทก์หรือไม่ อันเป็นปัญหาสืบเนื่องกันมา การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้รวมกับประเด็นที่ศาลฎีกาได้เคยมีคำพิพากษาแล้วก็มีเหตุผลอันชอบอยู่ และมีปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาในข้อกฎหมายที่อาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายในสัญญาสัมปทานปิโตรเลียมที่ไม่ใช่รายจ่ายตามปกติและจำเป็น และเงินได้จากผู้ร่วมสัมปทาน ถือเป็นรายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี
เงินรายจ่ายที่โจทก์จ่ายให้บริษัท ย. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 และปี 2532 โดยคิดเป็นร้อยละของรายจ่ายหลักที่ใช้ในการผลิตบวกด้วยร้อยละของรายจ่ายในการสำรวจทางธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์และบวกด้วยร้อยละของรายจ่ายทางตรง เป็นการกำหนดขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงรายจ่ายที่เกิดขึ้นของบริษัท ย. จึงมิใช่รายจ่ายตามปกติและจำเป็นในการปิโตรเลียมของโจทก์ที่โจทก์จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ตาม มาตรา 65 ฉ แห่ง พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
แต่เงินรายจ่ายที่บริษัท ซ. และบริษัท ม. ผู้ร่วมสัมปทานกับโจทก์ต้องเฉลี่ยจ่ายให้กับบริษัท ย. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 และปี 2532 โดยจ่ายให้แก่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้จ่ายต่อให้แก่บริษัท ย. เป็นการที่โจทก์ได้รับเงินได้จากบริษัทผู้ร่วมสัมปทานซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันในส่วนที่เกินจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้จ่ายคืนให้บริษัท ซ. และบริษัท ย. ผู้ร่วมสัมปทานกับโจทก์ ถือเป็นเงินได้อื่นที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 22 (5) พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ที่โจทก์ต้องนำมารวมในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2549)
แต่เงินรายจ่ายที่บริษัท ซ. และบริษัท ม. ผู้ร่วมสัมปทานกับโจทก์ต้องเฉลี่ยจ่ายให้กับบริษัท ย. สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 และปี 2532 โดยจ่ายให้แก่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วสำนักงานใหญ่ของโจทก์ได้จ่ายต่อให้แก่บริษัท ย. เป็นการที่โจทก์ได้รับเงินได้จากบริษัทผู้ร่วมสัมปทานซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันในส่วนที่เกินจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้จ่ายคืนให้บริษัท ซ. และบริษัท ย. ผู้ร่วมสัมปทานกับโจทก์ ถือเป็นเงินได้อื่นที่โจทก์ได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมตามมาตรา 22 (5) พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ที่โจทก์ต้องนำมารวมในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2549)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1883/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และความน่าเชื่อถือของฐานข้อมูล กกต.
ระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองและทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดทำขึ้นเป็นข้อมูลของทางราชการเพื่อให้พรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมืองและประชาชนทั่วไปสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ การที่ไม่ปรากฏชื่อของผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นสมาชิกพรรค ป. มาตั้งแต่ปี 2535 ในระบบฐานข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่พรรค ป. ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการในทางการเมือง รวมทั้งส่งสมาชิกพรรคสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้ร้องซึ่งประสงค์จะใช้ความเป็นสมาชิกภาพของพรรคสมัครรับเลือกตั้งย่อมรู้อยู่แล้วว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องใช้ข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครต่างสามารถตรวจสอบข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งนับแต่มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งหลังใช้บังคับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาหลายปีแต่ก็ยังไม่ปรากฏชื่อผู้ร้องอยู่ในระบบฐานข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าพรรค ป. และผู้ร้อง ไม่เคยตรวจสอบและโต้แย้งเลย กรณีจึงมีข้อน่าเคลือบแคลงสงสัยและมีพิรุธ ไม่อาจเชื่อได้ว่าผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรค ป. อยู่ในขณะสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ผู้ร้องจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 107 (4) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ และมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพพรรคการเมือง: การเป็นสมาชิกเกินหนึ่งพรรคขัดขวางสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชากรไทย แต่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ทั้งพรรคประชากรไทยและพรรคประชาธิปัตย์ โดยผู้คัดค้านสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เมื่อปี 2543 และลาออกเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2543 แล้วมาสมัครเป็นสมาชิกใหม่เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2545 การที่ผู้คัดค้านเป็นสมาชิกพรรคประชากรไทยและพรรคประชาธิปัตย์พร้อมกันในขณะสมัครรับเลือกตั้ง ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองแต่เพียงพรรคเดียว ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107 (4) และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 29
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยและผลกระทบต่อการชำระหนี้: การระงับกิจการโดยกระทรวงการคลังไม่ใช่เหตุให้ลูกหนี้ผิดนัด
แม้กระทรวงการคลังมีคำสั่งระงับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 และสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแก่โจทก์ในวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทถึงกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ยังสามารถที่จะฟื้นฟูกิจการและอาจดำเนินกิจการต่อไปได้ในอนาคตหากแก้ไขฐานะและการดำเนินงานของจำเลยที่ 1 ได้สำเร็จ และกระทรวงการคลังได้แจ้งให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 ที่มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับอาวัลไปติดต่อเพื่อขอรับชำระเงินจากจำเลยที่ 2 ผ่านจำเลยที่ 1 ได้ตามปกติเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถที่จะชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแก่โจทก์ตามกำหนดจึงไม่ใช่กรณีที่การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยเนื่องจากจำเลยที่ 1 กลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ทั้งที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดแล้ว เกิดจากจำเลยที่ 1 ถูกกระทรวงการคลังสั่งระงับการดำเนินกิจการ อันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระหนี้เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่
การที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ทั้งที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดแล้ว เกิดจากจำเลยที่ 1 ถูกกระทรวงการคลังสั่งระงับการดำเนินกิจการ อันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระหนี้เพราะเหตุดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุพ้นวิสัย-การชำระหนี้โดยผู้รับอาวัล: ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องการผิดนัดชำระหนี้จากเหตุสุดวิสัยและการชำระหนี้โดยผู้รับอาวัล
จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้โจทก์ในวันที่ 5 สิงหาคม 2540 แต่มาชำระวันที่ 8 สิงหาคม 2540 จำเลยทั้งสองย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดแก่โจทก์ ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดไม่ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 320, 321 และ 326 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยระหว่างวันที่ 6 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม 2540
กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งระงับการดำเนินกิจการของบริษัทเงินทุนจำเลยที่ 1 และห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่มิใช่เรื่องการชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยเนื่องจากจำเลยที่ 1 กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคสอง เพราะการที่จำเลยที่ 1 ถูกกระทรวงการคลังระงับการดำเนินกิจการนั้น จำเลยที่ 1 ยังสามารถที่จะฟื้นฟูกิจการและอาจดำเนินกิจการต่อไปได้ในอนาคตหากแก้ไขฐานะและการดำเนินงานสำเร็จตามแนวนโยบายของทางการ ทั้งการระงับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากหนี้
จำเลยที่ 1 ไม่สามารถจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้เพราะจำเลยที่ 1 ถูกกระทรวงการคลังสั่งระงับการดำเนินกิจการอันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 จำเลยที่ 1 ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่
กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งระงับการดำเนินกิจการของบริษัทเงินทุนจำเลยที่ 1 และห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่มิใช่เรื่องการชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยเนื่องจากจำเลยที่ 1 กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคสอง เพราะการที่จำเลยที่ 1 ถูกกระทรวงการคลังระงับการดำเนินกิจการนั้น จำเลยที่ 1 ยังสามารถที่จะฟื้นฟูกิจการและอาจดำเนินกิจการต่อไปได้ในอนาคตหากแก้ไขฐานะและการดำเนินงานสำเร็จตามแนวนโยบายของทางการ ทั้งการระงับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 มิได้เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากหนี้
จำเลยที่ 1 ไม่สามารถจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้เพราะจำเลยที่ 1 ถูกกระทรวงการคลังสั่งระงับการดำเนินกิจการอันเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 จำเลยที่ 1 ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับห้องชุดที่ใช้เป็นที่พักระหว่างเดินทาง แม้ไม่ได้ใช้เป็นประจำ
โจทก์และ ป. ร่วมกันซื้อห้องชุดพิพาทและใช้เป็นที่พักระหว่างที่เดินทางมากรุงเทพมหานคร แม้ว่าจะมิได้ใช้เป็นที่พักประจำเพียงแต่ใช้เป็นครั้งคราว ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีเจ้าของอยู่เอง อันได้รับการยกเว้นตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 10 กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การที่โจทก์และ ป. ให้ ส. เข้าอยู่เป็นการเฝ้ารักษาห้องชุดพิพาทหรือไม่