พบผลลัพธ์ทั้งหมด 439 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้เสียภาษีไม่สามารถส่งเอกสารประกอบการตรวจสอบได้ และการมอบเอกสารให้บุคคลอื่นโดยไม่ขออนุญาต
ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าไม่สามารถแสดงใบกำกับภาษีได้ เนื่องจาก อ. ไม่ยอมส่งมอบบัญชีและเอกสารคืนโจทก์ และโจทก์ไม่สามารถขอใบแทนใบกำกับภาษีจากผู้ออกใบกำกับภาษีได้เพราะโจทก์ไม่ทราบว่ามีใบกำกับภาษีอะไรบ้างนั้น ไม่ใช่กรณีที่ใบกำกับภาษีถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย และไม่ใช่กรณีที่โจทก์ไม่สามารถขอใบแทนใบกำกับภาษีได้เนื่องจากผู้ออกใบกำกับภาษีไม่สามารถออกใบแทนใบกำกับภาษีได้เพราะเหตุสุดวิสัย จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 82/5 (1) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) ข้อ 2 ที่จะนำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3
โจทก์ประกอบกิจการขายสินค้ามีหน้าที่จัดทำบัญชีและต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจของโจทก์ หากจะเก็บไว้ ณ สถานที่อื่นจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ตามข้อ 13 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 การที่โจทก์มอบเอกสารหลักฐานทางบัญชีให้ อ. นำไปเก็บไว้ ณ สำนักงานของ อ. โดยไม่ได้ขออนุญาตตามกฎหมาย ย่อมเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จะอ้างเอาเหตุที่ อ. ไม่ยอมส่งเอกสารคืนโจทก์มาเป็นเหตุที่ไม่อาจส่งเอกสารให้เจ้าพนักงานตรวจสอบไม่ได้
โจทก์ประกอบกิจการขายสินค้ามีหน้าที่จัดทำบัญชีและต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจของโจทก์ หากจะเก็บไว้ ณ สถานที่อื่นจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ตามข้อ 13 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 การที่โจทก์มอบเอกสารหลักฐานทางบัญชีให้ อ. นำไปเก็บไว้ ณ สำนักงานของ อ. โดยไม่ได้ขออนุญาตตามกฎหมาย ย่อมเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จะอ้างเอาเหตุที่ อ. ไม่ยอมส่งเอกสารคืนโจทก์มาเป็นเหตุที่ไม่อาจส่งเอกสารให้เจ้าพนักงานตรวจสอบไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีไม่นำบัญชีเอกสารมาให้ตรวจสอบ และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการเก็บรักษาเอกสาร
อุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างว่าโจทก์ไม่สามารถแสดงใบกำกับภาษีได้เนื่องจากผู้รับจ้างจัดทำบัญชีและเอกสารคืนโจทก์ และโจทก์ไม่สามารถขอใบแทนใบกำกับภาษีจากผู้ออกใบกำกับภาษีได้ เพราะโจทก์ไม่ทราบว่ามีใบกำกับภาษีอะไรบ้างนั้น มิใช่กรณีที่ใบกำกับภาษีถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย และไม่ใช่กรณีที่โจทก์ไม่สามารถขอใบแทนใบกำกับภาษีได้เนื่องจากผู้ออกใบกำกับภาษีไม่สามารถออกใบแทนใบกำกับภาษีได้เพราะเหตุสุดวิสัย จึงไม่เข้าข้อยกเว้น ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 82/5 ที่จะนำภาษีซื้อมาหักภาษีขายเพื่อคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบแล้วมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงจึงออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 19 แต่โจทก์ส่งเพียงเอกสารบางส่วนจากพนักงานสอบสวนไปให้เจ้าพนักงานประเมิน เมื่อข้อความตามบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากรฯ มาตรา 19 ประกอบมาตรา 71 (1) มิได้หมายความว่าเจ้าพนักงานประเมินจะใช้อำนาจประเมินตามมาตรา 71 (1) ได้เฉพาะกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมิได้นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานใดๆ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานเลย แต่ยังหมายความรวมถึงกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานใดๆ มายื่นต่อเจ้าพนักงานแล้วแต่ยังไม่เพียงพอแก่การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิด้วย เมื่อโจทก์ประกอบกิจการขายสินค้าเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี จึงต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจของโจทก์ หากจะเก็บไว้ ณ สถานที่อื่นโจทก์จะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้ากำหนดตามข้อ 13 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285ฯ การที่โจทก์มอบเอกสารหลักฐานทางบัญชีให้ผู้รับจ้างจัดทำบัญชีนำไปเก็บไว้ ณ สำนักงานบัญชี โดยไม่ได้ขออนุญาตตามกฎหมาย ย่อมเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 โจทก์จึงอ้างเอาเหตุที่ผู้รับจ้างจัดทำบัญชีไม่ยอมส่งเอกสารคืนโจทก์มาเป็นเหตุที่จะปฏิเสธไม่ส่งเอกสารให้เจ้าพนักงานตรวจสอบไม่ได้ และการไม่สามารถส่งเอกสารให้เจ้าพนักงานตรวจสอบดังกล่าวมิใช่เหตุสุดวิสัย แม้ในที่สุดโจทก์จะสามารถนำเอกสารบางส่วนจากพนักงานสอบสวนส่งไปให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ แต่เอกสารบางส่วนดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะคำนวณหากำไรขาดทุนสุทธิได้ เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 71 (1) ได้
เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบแล้วมีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้องตามความจริงจึงออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 19 แต่โจทก์ส่งเพียงเอกสารบางส่วนจากพนักงานสอบสวนไปให้เจ้าพนักงานประเมิน เมื่อข้อความตามบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากรฯ มาตรา 19 ประกอบมาตรา 71 (1) มิได้หมายความว่าเจ้าพนักงานประเมินจะใช้อำนาจประเมินตามมาตรา 71 (1) ได้เฉพาะกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมิได้นำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานใดๆ มาแสดงต่อเจ้าพนักงานเลย แต่ยังหมายความรวมถึงกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานใดๆ มายื่นต่อเจ้าพนักงานแล้วแต่ยังไม่เพียงพอแก่การคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิด้วย เมื่อโจทก์ประกอบกิจการขายสินค้าเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี จึงต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจของโจทก์ หากจะเก็บไว้ ณ สถานที่อื่นโจทก์จะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมทะเบียนการค้ากำหนดตามข้อ 13 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285ฯ การที่โจทก์มอบเอกสารหลักฐานทางบัญชีให้ผู้รับจ้างจัดทำบัญชีนำไปเก็บไว้ ณ สำนักงานบัญชี โดยไม่ได้ขออนุญาตตามกฎหมาย ย่อมเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 โจทก์จึงอ้างเอาเหตุที่ผู้รับจ้างจัดทำบัญชีไม่ยอมส่งเอกสารคืนโจทก์มาเป็นเหตุที่จะปฏิเสธไม่ส่งเอกสารให้เจ้าพนักงานตรวจสอบไม่ได้ และการไม่สามารถส่งเอกสารให้เจ้าพนักงานตรวจสอบดังกล่าวมิใช่เหตุสุดวิสัย แม้ในที่สุดโจทก์จะสามารถนำเอกสารบางส่วนจากพนักงานสอบสวนส่งไปให้เจ้าพนักงานตรวจสอบ แต่เอกสารบางส่วนดังกล่าวยังไม่เพียงพอที่จะคำนวณหากำไรขาดทุนสุทธิได้ เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 71 (1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การแบ่งพื้นที่ใช้ประโยชน์และการยกเว้นภาษีสำหรับผู้แทน
โรงเรือนพิพาทของโจทก์เป็นตึกแถว 2 คูหา 4 ชั้น สามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ได้ชัดเจน ดังนั้น ค่ารายปีที่จะนำมาคำนวณเป็นภาษีโรงเรือนและที่ดิน จึงสามารถคำนวณได้จากพื้นที่ของแต่ละส่วนที่โจทก์ใช้ประโยชน์ได้ และส่วนใดจะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีโรงเรือนตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ นั้น จะต้องพิจารณาเป็นส่วนๆ ไป
การที่โจทก์ให้ ว. กรรมการผู้จัดการโจทก์ซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์เข้าพักที่ชั้น 2 และ 3 ของอาคารนี้ พร้อมครอบครัวเป็นการพักอาศัยมิใช่กรณีเจ้าของอยู่เองเพราะโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นเจ้าของอาคาร และการเข้าพักพร้อมครอบครัวเป็นการพักอาศัยมิใช่เป็นการอยู่โดยโจทก์ให้อยู่เฝ้ารักษาอาคารตามความหมายในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนในส่วนนี้
การที่โจทก์ให้ ว. กรรมการผู้จัดการโจทก์ซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์เข้าพักที่ชั้น 2 และ 3 ของอาคารนี้ พร้อมครอบครัวเป็นการพักอาศัยมิใช่กรณีเจ้าของอยู่เองเพราะโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นเจ้าของอาคาร และการเข้าพักพร้อมครอบครัวเป็นการพักอาศัยมิใช่เป็นการอยู่โดยโจทก์ให้อยู่เฝ้ารักษาอาคารตามความหมายในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีโรงเรือนสำหรับพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และการพิจารณาการยกเว้นภาษีสำหรับผู้แทนที่พักอาศัย
โรงเรือนพิพาทของโจทก์เป็นตึกแถว 2 คูหา 4 ชั้น โจทก์นำตึกแถวชั้นที่ 1 ให้ผู้อื่นเช่าทำการค้า ส่วนชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 โจทก์ให้ ว. กรรมการผู้จัดการโจทก์พักอาศัย ส่วนชั้นที่ 4 ปิดไม่ได้ทำประโยชน์ ค่ารายปีที่จะนำมาคำนวณเป็นภาษีโรงเรือนจึงสามารถคำนวณได้จากพื้นที่ของแต่ละส่วนที่โจทก์ใช้ประโยชน์ได้ และส่วนใดจะได้รับยกเว้นการเสียภาษีโรงเรือนตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 นั้น จะต้องพิจารณาเป็นส่วน ๆ ไป การที่ ว. ซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์อยู่ในอาคารนี้จึงเป็นการพักอาศัยมิใช่เป็นการอยู่โดยโจทก์ให้อยู่เฝ้ารักษา เพราะการอยู่เฝ้ารักษาตามความหมายแห่งมาตรา 10 ใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จะต้องเป็นการอยู่เฝ้าจริง ๆ ไม่ใช่เป็นการพักอาศัยอยู่กับครอบครัว เมื่อการอยู่ของ ว. ไม่ใช่การอยู่เฝ้ารักษา โจทก์จึงไม่ได้รับการยกเว้นการเสียภาษีตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีภาษีธุรกิจเฉพาะทำให้กลับสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้ยื่นฟ้อง ทำให้ขาดสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
โจทก์ถอนฟ้องเกี่ยวกับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้น การถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง ทำให้โจทก์กลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงยุติ โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติมและการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นแบบ ภ.พ.30 ของเดือนเมษายน 2541 สองครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 มีภาษีซื้อที่ชำระเกินเป็นจำนวน 8,554.17 บาท ซึ่งโจทก์ขอนำภาษีซื้อที่ชำระเกินไปนี้ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป ต่อมาโจทก์ยื่นแบบ ภ.พ.30 ครั้งที่สอง ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 โดยแจ้งยอดภาษีซื้อเกินเป็นจำนวน 40,853.80 บาท กรณีของโจทก์ถือได้ว่า การยื่นแบบ ภ.พ.30 ครั้งที่สอง แม้จะเป็นการยื่นภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไปก็ตามก็เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมเนื่องจากโจทก์ในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วน ไม่ว่าการคลาดเคลื่อนนั้นจะเป็นเหตุให้จำนวนภาษีในเดือนภาษีเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ก็ตาม ตามป.รัษฎากรฯ มาตรา 83/4 ซึ่งเข้าข้อยกเว้นของมาตรา 84 ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติม เพราะการยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 83/4 ก็ให้มีสิทธิขอคืนภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีจากการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมนั้น ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิแต่เพียงขอคืนภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีจากการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 เท่านั้น ไม่มีสิทธินำไปเป็นเครดิตภาษีในเดือนถัดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนาย – กระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่ชอบ – ผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ในการพิจารณาคดีก่อนถามคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วให้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพื่อพิจารณาพิพากษา ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนการพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้ ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องรับของโจรต้องเกิดหลังการลักทรัพย์ การบรรยายฟ้องไม่สอดคล้องกันทำให้คำฟ้องไม่ชอบ
ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดที่เกิดจากการกระทำอันเป็นการอุปการะความผิดฐานลักทรัพย์หรือความผิดอื่นดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 357 เช่น ช่วย ซื้อ จำหน่าย หรือรับไว้โดยประการอื่นใด ความผิดฐานรับของโจรจึงต้องเกิดหลังจากมีการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อนย่อมเป็นคำฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดอย่างชัดเจน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องรับของโจรต้องเกิดหลังการลักทรัพย์ การบรรยายฟ้องขัดแย้งทำให้ฟ้องไม่ชอบ
ความผิดฐานรับของโจรต้องเกิดหลังจากมีการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์รถจักยานยนต์เกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อนย่อมเป็นคำฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดอย่างชัดเจน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องรับของโจรต้องระบุหลังการลักทรัพย์ การบรรยายฟ้องที่ขัดแย้งทำให้คำฟ้องไม่ชอบ
ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดที่เกิดจากการกระทำอันเป็นการอุปการะความผิดฐานลักทรัพย์ หรือความผิดอื่นดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 357 เช่น ช่วย ซื้อ จำหน่าย หรือรับไว้โดยประการอื่นใด ความผิดฐานรับของโจรจึงต้องเกิดหลังจากมีการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อนย่อมเป็นคำฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดอย่างชัดเจน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158