คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
องอาจ โรจนสุพจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 439 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาตัดสินให้ราคาตามท้องตลาดที่โจทก์ฟ้องเป็นเกณฑ์ ชี้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยนอกประเด็น
จำเลยให้การต่อสู้เพียงประเด็นเดียวว่า สินค้าแกนม้วนเส้นด้ายไม่ใช่ของที่ต้องสำแดงเพื่อเสียภาษีศุลกากร โดยจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในเรื่องราคาของแกนม้วนเส้นด้ายที่โจทก์ที่ 1 กำหนดมาว่าไม่ถูกต้องตามราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ต้องถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องในจำนวนเงินราคาของแกนม้วนเส้นด้ายตามที่โจทก์ที่ 1 กำหนดแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในปัญหาเกี่ยวกับราคาของแกนม้วนเส้นด้ายว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือไม่ เพียงใด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การและนอกประเด็น และปัญหาที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยนี้ก็มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลภาษีอากรกลางยกปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องราคาของแกนม้วนเส้นด้ายขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งการวินิจฉัยโดยไม่ชอบดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8656/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษจำคุกสำหรับผู้เคยต้องโทษศาลทหาร ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ได้ยกเว้น
ป.อ. มาตรา 56 มิได้ยกเว้นในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาศาลทหาร เมื่อจำเลยเคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลทหารมาก่อน จึงไม่อาจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8656/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษจำคุกสำหรับผู้เคยได้รับโทษจำคุกจากศาลทหาร ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสามารถพิจารณาได้
ตามบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 56 มิได้ยกเว้นในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเคยต้องรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาศาลทหาร ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ไม่อาจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น จึงเป็นไปโดยชอบของกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8480/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เกินเลยฟ้อง - การสนับสนุนความผิด
ในชั้นอุทธรณ์มีปัญหาแต่เพียงว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 368 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยลงโทษจำเลยข้อหาสนับสนุน ด. กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 15 เม็ด ไว้ในครอบครองนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ฟ้องว่าจำเลยแต่เพียงผู้เดียวที่กระทำความผิด มิได้ฟ้องว่าจำเลยร่วมกับ ด. กระทำความผิดแล้วข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุน ด. ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 15 เม็ด ไว้ในครอบครองหรือเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสนับสนุน ด. ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ยกขึ้นวินิจฉัยย่อมเป็นข้อเท็จจริงนอกจากที่กล่าวในฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8439/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายความคิดค่าตอบแทนจากผลคดี: โมฆะเพราะขัดจริยธรรมวิชาชีพ
สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงว่าจำเลยตกลงให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์เป็นอัตราร้อยละ 10 จากจำนวนค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยได้รับเพิ่มขึ้นตามคำพิพากษา แสดงว่าค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยย่อมขึ้นอยู่กับค่าทดแทนที่จำเลยได้รับ หากจำเลยไม่ได้รับค่าทดแทนโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนจากจำเลย จึงมีลักษณะที่โจทก์ซึ่งเป็นทนายความเข้ามีส่วนได้ส่วนเสียทางทรัพย์ในผลแห่งคดีความของจำเลยซึ่งเป็นลูกความ แม้จะไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แต่ก็เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทนายความ เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8106/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการลงโทษและสถานที่ราชการ: การเพิ่มโทษตามมาตรา 336 ทวิ ต้องทำหลังกำหนดโทษ และลานจอดรถไม่ใช่สถานที่ราชการ
ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นบทบัญญัติเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดไม่ ดังนั้น ศาลต้องเพิ่มระวางโทษตามมาตรา 335 หนักขึ้นกึ่งหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดระหว่างระวางโทษดังกล่าว ไม่ใช่กำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดเสียก่อน แล้วจึงเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่ง
ลานจอดรถของวิทยาลัยเทคนิคลพบุรีเป็นเพียงสถานที่ซึ่งทางราชการจัดไว้สำหรับเป็นที่จอดรถของบรรดานักศึกษา ผู้มาติดต่อราชการ ตลอดจนข้าราชการของวิทยาลัย หาใช่เป็นสถานที่ซึ่งใช้สำหรับปฏิบัติราชการของข้าราชการในวิทยาลัยโดยตรงแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยทั้งสองลักรถจักรยานยนต์จากบริเวณลานจอดรถดังกล่าวจึงไม่ใช่การลักทรัพย์ในสถานที่ราชการอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) คงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 ต้องลดอัตราโทษก่อนลงโทษ ไม่ใช่กำหนดโทษแล้วค่อยลด
การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 นั้น หมายความว่า ลดอัตราโทษขั้นสูงและขั้นต่ำลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งจากกำหนดโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่จำเลยที่ 1 กระทำ แล้วจึงลงโทษในระวางโทษนั้น มิใช่กำหนดโทษจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนแล้วจึงลดจากโทษที่กำหนดไว้ คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (3) (4) (7) (8) วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 และ 336 ทวิ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีหกเดือนถึงสิบปีหกเดือน และปรับตั้งแต่สามพันบาทถึงสองหมื่นหนึ่งพันบาท โดยศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่งจากอัตราโทษดังกล่าวตาม ป.อ. มาตรา 76 แล้ววางโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 4 ปี และลดโทษให้แก่จำเลยที่ 1 อีกกึ่งหนึ่ง เพราะมีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี จึงเป็นการชอบแล้วโดยไม่จำต้องระบุอัตราโทษของความผิดที่จำเลยที่ 1 กระทำทั้งก่อนและหลังลดมาตราส่วนโทษแล้วลงในคำพิพากษาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661-6664/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบเฉพาะจำเลย และการรับฟังพยานหลักฐานหลังย้อนสำนวน
ในวันที่ศาลชั้นต้นเริ่มทำการสืบพยาน จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่ขาดนัดพิจารณา ส่วนจำเลยที่ 2 มาศาล ที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานไปโดยมิได้มีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาให้ชี้ขาดตัดสินคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเฉพาะระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 1 ส่วนการดำเนินกระบวนพิจารณาระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 2 เป็นไปโดยชอบ จึงต้องสืบพยานใหม่เฉพาะระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสี่เบิกความไว้ก่อนที่ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนจึงใช้เป็นพยานหลักฐานระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 2 ได้ ไม่มีข้อได้เปรียบในเชิงคดีระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661-6664/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้อนสำนวน – การรับฟังพยานเดิม – กระบวนการพิจารณาชอบ – ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 และคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำการสืบพยาน แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งแสดงว่า จำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้น กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ขาดนัดพิจารณาและทำไว้ก่อนศาลฎีกาพิพากษาให้ย้อนสำนวนเป็นไปโดยชอบ ต้องสืบพยานใหม่เฉพาะระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ศาลชั้นต้นหยิบยกคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสี่ดังกล่าวมาวินิจฉัย จึงไม่เป็นการผิดระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบียดบังเงินที่ได้รับมอบหมายให้เก็บ – ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ vs. ความผิดฐานหน้าที่
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้เป็นผู้เก็บเงินค่าวัสดุก่อสร้างจากลูกหนี้ของโจทก์ จำเลยเก็บเงินดังกล่าวแล้วมิได้นำส่งโจทก์ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย กลับเบียดบังเอาเงินดังกล่าวเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้มีอำนาจหน้าที่จัดการทรัพย์สินของโจทก์และจำเลยกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงคงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก เท่านั้น หาเป็นความผิดตามมาตรา 353 ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 353 ด้วยนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 44