คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
องอาจ โรจนสุพจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 439 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการทำสัญญาร่วมชำระหนี้ และการไม่เป็นสัญญาแปลงหนี้
สัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงว่า การที่จำเลยที่ 1 ยอมเข้าร่วมชำระหนี้กับผู้เช่าใช้บริการโทรศัพท์ คู่สายโทรศัพท์ไม่ทำให้คู่สัญญาเดิมหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาเดิม และไม่ตัดสิทธิโจทก์จะระงับการให้บริการตามระเบียบขององค์การโทรศัพท์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิม เมื่อไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิมจึงไม่ใช่สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ สัญญาเดิมไม่ระงับ และการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์จึงไม่ใช่การรับสภาพหนี้ แต่เป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ซึ่งคู่สัญญาทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้และเมื่อหนี้ตามสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แต่ดอกเบี้ยที่โจทก์ขอนับแต่วันผิดนัดตามสัญญาร่วมชำระหนี้ถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาร่วมชำระหนี้และดอกเบี้ยค้างชำระ: ศาลฎีกาวินิจฉัยอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ตามสัญญาร่วมชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ว่า การที่ผู้ให้สัญญายอมเข้าร่วมชำระหนี้กับผู้เช่าบริการโทรศัพท์ ไม่ทำให้คู่สัญญาเดิมหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาเดิมนั้น ไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิม จึงมิใช่สัญญาแปลงหนี้ใหม่ สัญญาเดิมไม่ระงับและการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์ก็ไม่ใช่การรับสภาพหนี้ แต่เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แม้จะมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ ก็มิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระทุนคืนเป็นงวด ๆ อันมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (2) จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระตั้งแต่งวดที่ 2 คือวันที่ 7 มิถุนายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2543 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ดอกเบี้ยที่โจทก์ขอคิดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 40,703 บาท นับแต่วันผิดนัดคือวันที่ 7 มิถุนายน 2536 จนถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) โจทก์จึงฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2536 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2538 ไม่ได้เพราะขาดอายุความ 5 ปี คงเรียกได้เฉพาะดอกเบี้ยหลังจากวันที่ 30 ตุลาคม 2538 เป็นต้นไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ค่าอากรและเงินเพิ่มจากหนังสือค้ำประกัน เมื่อลูกหนี้มีหนี้หลายรายการถึงกำหนดชำระพร้อมกัน
เงินเพิ่มตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 112 จัตวา มิใช่ดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคหนึ่ง ทั้งมาตราดังกล่าวมิใช่บทกฎหมายใกล้เคียงอันจะนำมาปรับใช้แก่คดีนี้ได้ โจทก์ไม่อาจนำเงินที่ผู้ค้ำประกันชำระมาหักชำระหนี้เพิ่มค่าอากรก่อนได้ กรณีนี้เป็นเรื่องลูกหนี้ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้ในอันจะกระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอย่างเดียวกันโดยมูลหนี้หลายราย หนี้ถึงกำหนดชำระพร้อมกัน หนี้ค่าอากรเป็นรายที่ตกหนักที่สุดย่อมได้รับการปลดเปลื้องไปก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 วรรคสอง ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้นำเงินของผู้ค้ำประกันไปหักชำระค่าอากรก่อนเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินมรดก: การโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริตและราคาต่ำกว่าตลาด
เมื่อ ด. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทจึงเป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นมารดาของ ด. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (2) ร. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. ตามคำสั่งศาลย่อมมีหน้าที่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การที่ ร. จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยในราคาเพียง 45,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ที่ดินพิพาทกับที่ดินอีก 1 แปลง มีราคาถึง 70,000 บาท จึงเป็นราคาต่ำมากไม่น่าเชื่อว่าจะซื้อขายกันจริง และที่จำเลยนำสืบอ้างว่าเบิกเงินจากธนาคารจำนวน 30,000 บาท มาชำระค่าซื้อที่ดินพิพาทนั้นก็ไม่มีหลักฐานการเบิกเงินจากธนาคารมาแสดง ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์จำเลยเป็นบุตรของ ร. ร่วมบิดาเดียวกัน จำเลยย่อมทราบว่า ด. เป็นบุตรโจทก์ จึงเชื่อว่าจำเลยและ ร. กระทำการโอนที่ดินพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทนและโดยไม่สุจริต โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายจึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่าง ร. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด. กับจำเลยได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3568/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน
ร. ผู้จัดการมรดกผู้ตายจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ใช่ทายาทผู้ตายโดยไม่มีค่าตอบแทนและโดยไม่สุจริต แล้วจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ใช่ทายาทของผู้ตาย ดังนั้น จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายไม่สมบูรณ์เมื่อไม่มีลายมือชื่อครบถ้วน การคืนเงินและค่าเสียหายจากสัญญาที่ผิดนัด
สัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ที่ 1 ทำกับจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่ามีลายมือชื่อของฝ่ายจำเลยในช่องผู้ขาย มีเพียงลายมือชื่อโจทก์ที่ 1 ในช่องผู้ซื้อ ทั้งไม่มีลายมือชื่อพยาน และไม่ได้มีการระบุวันเดือนปีไว้ ในการติดต่อสื่อสารถึงกันก็ไม่ได้มีการอ้างถึงสัญญาดังกล่าว คงอ้างถึงแต่ใบสมัครเข้าร่วมการก่อสร้างบ้านปันส่วนซึ่งมีข้อความในข้อ 5 ระบุว่า โจทก์ที่ 1 ผู้จองจะต้องทำสัญญากับจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์และไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผูกพันกันตามใบสมัครเข้าร่วมการก่อสร้างบ้านปันส่วน เมื่อโจทก์ที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลย สิ่งใดที่ส่งมอบกันแล้วก็ต้องคืนให้แก่กันตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 จึงต้องคืนห้องชุดให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ต้องคืนค่างวดและเงินดาวน์ให้แก่โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ย และเมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในห้องชุดมาตลอดเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการงานอันที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์สินนั้น โจทก์ที่ 1 จึงต้องชดใช้ด้วยเงินตามควรตามมาตรา 391 วรรคสาม
การที่โจทก์ที่ 1 ได้ขายสิทธิในการผ่อนชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 2 นั้น ตามมาตรา 350 บัญญัติว่า แปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นจะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่ จากข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการทำสัญญากันระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับโจทก์ที่ 2 ซึ่งจะเข้าเป็นลูกหนี้คนใหม่เลย สัญญาแปลงหนี้ใหม่จึงไม่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 1 จึงยังคงเป็นลูกหนี้อยู่เช่นเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีโดยโจทก์ร่วม: สิทธิในการรวมฟ้องคดีเมื่อมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลเหตุ
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 109 ฟ้องว่า โจทก์แต่ละคนเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ ของจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงกับฝ่ายจำเลยว่า จำเลยทั้งหกจะจ่ายเงินสงเคราะห์ศพให้แก่สมาชิกที่เสียชีวิต แต่ปรากฏว่าเมื่อมีสมาชิกเสียชีวิตและมีการไปขอรับเงินสงเคราะห์ศพเพื่อจัดการศพได้รับแจ้งจากจำเลยทั้งหกว่าไม่มีเงินจ่ายสงเคราะห์ศพ และอ้างว่าสมาชิกทุกคนลาออกหมดแล้วซึ่งความจริงสมาชิกยังมิได้ลาออก และไม่ได้กระทำผิดระเบียบจนกระทั่งมีการแจ้งความร้องทุกข์และพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีข้อหาฉ้อโกงประชาชนกับจำเลยทั้งหก โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าจึงทราบว่าจำเลยทั้งหกกระทำผิดข้อตกลงและสัญญาและเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาโดยปริยาย จำเลยทั้งหกจึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าตามทุนทรัพย์ที่ได้ชำระหรือชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าได้ชำระแก่จำเลยทั้งหก ถือได้ว่าโจทก์แต่ละคนมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 วรรคหนึ่ง จึงร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกมาในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีโดยโจทก์หลายคนที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลเหตุแห่งคดีเดียวกัน ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งไม่รับฟ้อง
โจทก์แต่ละคนเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์จำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์แต่ละคนมีข้อตกลงกับฝ่ายจำเลยว่า จำเลยทั้งหกจะจ่ายเงินสงเคราะห์ศพให้แก่สมาชิกที่เสียชีวิต แต่ปรากฏว่าเมื่อไปขอรับเงินสงเคราะห์ศพเพื่อจัดการศพได้รับแจ้งจากจำเลยทั้งหกว่าไม่มีเงินจ่ายสงเคราะห์ศพ และอ้างว่าสมาชิกทุกคนได้ลาออกหมดซึ่งความจริงสมาชิกยังมิได้ลาออกและไม่ได้กระทำผิดระเบียบ การที่จำเลยทั้งหกกระทำผิดข้อตกลงและสัญญาที่ให้ไว้ข้างต้นและเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาโดยปริยาย จำเลยทั้งหกจึงต้องคืนเงินหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าถือว่าโจทก์แต่ละคนมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี เป็นคู่ความร่วมในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอนาถาชั้นอุทธรณ์: จำเป็นต้องสาบานตัวใหม่ แม้เคยได้รับอนุญาตในชั้นต้น
โจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์ แต่โจทก์มิได้สาบานตัว ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่าโจทก์ขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถา โจทก์จึงต้องสาบานตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง คำสั่งของศาลชั้นต้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์ คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 156 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นผู้ไม่สามารถจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมได้ในชั้นอุทธรณ์ ต้องสาบานตัวตามกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตามคำขอจะถูกยก
โจทก์ยื่นอุทธรณ์พร้อมยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์ แม้โจทก์เคยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้น แต่อุทธรณ์ของโจทก์เป็นคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาโจทก์จึงต้องสาบานตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์มิได้สาบานตัวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์ คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย
of 44