คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
องอาจ โรจนสุพจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 439 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีตามกฎหมายเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเพียงผู้เช่าอาคารราชพัสดุและชำระค่าภาษีแทนกรมธนารักษ์ตามสัญญาเช่าที่กรมธนารักษ์ทำกับโจทก์ โจทก์ไม่ใช่ผู้รับการประเมินย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่ารายปีเครื่องจักรเพื่อคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเป็นเกณฑ์
การกำหนดค่ารายปีสำหรับเครื่องจักรของโจทก์นั้นเป็นกรณีหาค่าเช่าไม่ได้ และเทียบเคียงไม่ได้เพราะในเขตบริหารของจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่มีลักษณะใกล้เคียงกับทรัพย์สินของโจทก์ตั้งอยู่ การกำหนดค่ารายปีจึงต้องคำนวณจากมูลค่าเครื่องจักรของโจทก์เป็นฐาน เมื่อคดีนี้โจทก์จำเลยไม่ได้นำสืบข้อมูลอื่นที่มีนัยสำคัญในการพิจารณาหาค่ารายปีตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่นำสืบรับกันว่าใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากคูณมูลค่าเครื่องจักรในการกำหนดค่ารายปี การใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากคูณมูลค่าเครื่องจักรจึงมีความเหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งเป็นสิ่งเดียวในคดีนี้ที่จะใช้วัดสภาวะเศรษฐกิจ แต่ที่จำเลยที่ 1 เห็นควรใช้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลช่วยชาติ 10 ปี ร้อยละ 6.1 ต่อปี เป็นอัตราที่สูงไป ส่วนที่โจทก์เห็นควรใช้ร้อยละ 1.25 ต่อปี ซึ่งเป็นค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วกับดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุดเป็นอัตราที่ต่ำไป เพราะการกำหนดค่ารายปีตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เป็นเพียงการกำหนดค่ารายปีเบื้องต้นเท่านั้น แต่ค่ารายปีอาจเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามสภาวะเศรษฐกิจ แต่การที่ศาลภาษีเห็นสมควรใช้ร้อยละ 4.125 ต่อปี ตามที่คณะกรรมการโจทก์ยอมรับเป็นอัตราที่ต่ำไป อย่างไรก็ดีระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการประเมินค่ารายปีของโจทก์มีมติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบกรณีเทศบาลตำบลปลายบาง (อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี) ประเมินค่ารายปีเครื่องจักรของการประปานครหลวงที่ติดตั้ง ณ โรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ โดยใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ 5 ต่อปี ประกอบกับโจทก์ก็เคยยอมรับให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอัตราร้อยละ 4.125 ต่อปี แสดงให้เห็นว่า โจทก์ทราบดีว่าอัตราดังกล่าวใกล้เคียงกับการหาประโยชน์จากทรัพย์สินของโจทก์ ดังนั้น ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงเห็นสมควรนำอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี มาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่ารายปีเนื่องจากเป็นอัตราที่มีการอ้างอิงและปรากฏจากทางนำสืบของจำเลยที่ 1 และมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่าเป็นการกำหนดที่สอดคล้องกับการที่จะนำทรัพย์สินออกให้เช่าได้จริงยิ่งกว่าหลักเกณฑ์ตามที่โจทก์และจำเลยที่ 1 กล่าวอ้าง
คำให้การของจำเลยทั้งแปดไม่ได้ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้หยุดใช้งานเครื่องจักร เพียงแต่ปฏิเสธว่าหยุดใช้งานไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 ถือว่ายอมรับตามฟ้องว่าเครื่องจักรหยุดใช้งานปีภาษีพิพาทจริง แม้ศาลภาษีจะวินิจฉัยว่า โจทก์เปลี่ยนเครื่องจักรจากการบรรจุขวดมาเป็นล้างขวด ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ข้ออื่นไม่ต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร หากเป็นที่อยู่อาศัยของสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มา มิใช่ว่าจะเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) จึงได้กำหนดข้อยกเว้นไว้บางกรณี
วันที่ 1 มีนาคม 2534 โจทก์และ ส. ทำพิธีสมรสและอยู่กินฉันท์สามีภริยาวันที่ 6 ตุลาคม 2535 โจทก์และ ส. ซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์พิพาท ระหว่างนั้นโจทก์และ ส. มีบุตรด้วยกัน 3 คน โดยทั้งหมดอาศัยอยู่ในอาคารพาณิชย์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2536 ส. ได้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในอาคารพาณิชย์พิพาท วันที่ 22 เมษายน 2537 โจทก์และ ส. จดทะเบียนสมรสกัน วันที่ 10 มีนาคม 2540 โจทก์และ ส. ได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไป การขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์และ ส. ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ และผู้ขายเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย อยู่กินด้วยกันมาตลอดโดยฝ่ายหนึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไรจึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์โดยสามีภริยาที่อยู่อาศัย ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์และ ส. ทำพิธีสมรสกันและอยู่กินกันฉันท์สามีภริยามาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2534 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2535 โจทก์และ ส. ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์และจดจำนองไว้กับธนาคาร ระหว่างนั้นโจทก์และ ส. มีบุตรด้วยกัน 3 คน โดยทั้งหมดอาศัยอยู่ในอาคารพาณิชย์ดังกล่าวต่อมาวันที่ 4 ตุลาคม 2536 ส. ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในอาคารพาณิชย์ และวันที่ 22 เมษายน 2537 ได้จดทะเบียนสมรสกัน ต่อมาโจทก์และ ส. ได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2540 เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์และ ส. ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ และผู้ขายเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่กินด้วยกันมาตลอดโดยฝ่ายหนึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี มิใช่เป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรจึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี ไม่ถือเป็นทางค้าหรือหากำไร หากเป็นที่อยู่อาศัยของสามีภริยาที่อยู่กินกันมา
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มา มิใช่ว่าจะเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 จึงได้กำหนดข้อยกเว้นไว้บางกรณี การที่โจทก์และ ส. ได้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องมาแล้วขายให้แก่บุคคลอื่นไป แม้จะถือว่าเป็นการขายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์และ ส. สมรสกันและอยู่กินกันฉันท์สามีภริยามาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2534 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2535 โจทก์และ ส. ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์และจดจำนองไว้กับธนาคาร ระหว่างนั้นโจทก์และ ส. มีบุตรด้วยกัน 3 คน โดยทั้งหมดอาศัยอยู่ในอาคารพาณิชย์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2536 ส. ได้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ จากนั้นโจทก์และ ส. จดทะเบียนสมรสกัน และเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2540 โจทก์และ ส. ขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ไป การขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์และ ส. ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ และผู้ขายเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย อยู่กินด้วยกันมาตลอดโดยฝ่ายหนึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไรจึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีภาษีอากรมีผลลบล้างสิทธิในการโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ทำให้หนี้ภาษีค้างเป็นอันยุติ
การที่จำเลยได้ถอนฟ้องย่อมเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 และ 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 176 เท่ากับว่าจำเลยมิได้ใช้สิทธิโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร หนี้ภาษีอากรค้างตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นอันยุติ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องหรือให้การต่อสู้ในศาลเพื่อขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับตามการประเมินได้ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่ามีเหตุอันสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับแก่จำเลยหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณางดเบี้ยปรับตามหนังสือแจ้งการประเมินจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทย และเบี้ยปรับที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรวินิจฉัยแล้วว่า ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้งดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิตแก่จำเลยเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น นอกจากจำเลยจะต้องรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเงินเพิ่มรวมทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อมหาดไทยแล้ว จำเลยยังต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิตตามการประเมินด้วย แต่ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของภาษีเพื่อมหาดไทยตามการประเมินนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเพื่อมหาดไทยตาม พ.ร.บ.จัดสรรเงินภาษีสรรพาสามิต พ.ศ.2527 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม โดยมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ฎ.เพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อนำไปจัดสรรให้แก่กรุงเทพมหานครและราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2527 บัญญัติให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต เสียภาษีเพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าหรือบริการตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตในอัตราร้อยละ 10 ของภาษี และมาตรา 139 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 บัญญัติว่า เบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้ถือเป็นเงินภาษี การคำนวณภาษีเพื่อมหาดไทยในกรณีนี้จึงต้องคำนวณในอัตราร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิตรวมกับเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิตที่จำเลยต้องชำระ มิใช่คำนวณภาษีเพื่อมหาดไทยจากภาษีสรรพสามิตแล้วเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของภาษีเพื่อมหาดไทยจากต้นเงินภาษีเพื่อมหาดไทยที่คำนวณได้ดังกล่าว ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 และ 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: หนังสือมอบอำนาจที่ระบุปีภาษีไม่ตรงกับปีที่ฟ้องคดี ไม่กระทบอำนาจฟ้อง
แม้หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีในเรื่องภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2546 แต่ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการฯ สำหรับปีภาษีที่พิพาทในคดีนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547 จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งรายการประเมินมายังโจทก์ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีใหม่ จำเลยที่ 4 มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีใหม่โดยแจ้งว่าการประเมินภาษีถูกต้องแล้ว เมื่อพิจารณาคำบรรยายฟ้องของโจทก์ประกอบเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้วเห็นได้ว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการฯ ที่พิพาทคดีนี้โดยระบุว่าเป็นแบบแจ้งรายการฯ ประจำปีภาษี 2546 ทั้งที่เป็นประจำปีภาษี 2547 แต่จำเลยที่ 1 ก็เข้าใจดีว่าเป็นแบบแจ้งรายการฯ ประจำปีภาษี 2547 ดังที่จำเลยที่ 4 มีหนังสือแจ้งรายการประเมินฯ เท้าความถึงแบบแจ้งรายการฯ ที่โจทก์ยื่นดังกล่าวว่าเป็นแบบแจ้งรายการฯ ประจำปีภาษี 2547 และต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีใหม่ จำเลยที่ 2 ก็รับพิจารณาและชี้ขาดยืนตามการประเมินโดยระบุว่าเป็นการชี้ขาดเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2547 จึงแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์โดยชัดแจ้งว่าการมอบอำนาจและการฟ้องคดีนี้ของโจทก์เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2547
คำให้การของจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า หนังสือแจ้งรายการประเมินฯ และหนังสือแจ้งผลการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีใหม่ไม่จำต้องระบุข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ เพราะเป็นเหตุผลที่รู้กันอยู่แล้วตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคสาม (2) อุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นนี้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การแจ้งสิทธิขอพิจารณาใหม่และการยื่นคำร้องเป็นหนังสือ
แม้โจทก์มิได้แจ้งสิทธิในการยื่นคำร้องขอพิจารณาการประเมินใหม่ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 40 วรรคแรก ไม่มีผลทำให้การประเมินไม่ชอบเนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการให้สิทธิแก่ผู้รับประเมินในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่โดยขยายระยะเวลาเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
การโต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินจะต้องทำเป็นหนังสือโดยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่แบบ ภ.ร.ด.9 ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 25 และมาตรา 26 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รับแจ้งการประเมิน จำนวนภาษีที่ประเมินจึงเป็นจำนวนเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สิทธิในการโต้แย้ง และผลของการไม่ยื่นคำร้องตามแบบ
พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้หนังสือแจ้งการประเมินซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองต้องระบุระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้ด้วยและในวรรคสองบัญญัติว่า ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนโดยมิได้ระบุระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งไว้ ให้ขยายระยะเวลาเป็นหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง บทบัญญัติดังกล่าวมีผลเป็นการให้สิทธิแก่ผู้รับประเมิน โดยขยายระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่เป็นหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ดังนั้น แม้โจทก์มิได้แจ้งสิทธิในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ก็ไม่ทำให้การประเมินนั้นไม่ชอบ
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 25 กำหนดว่า ผู้รับประเมินผู้ใดไม่พอใจในการประเมิน อาจยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล เพื่อขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ และตามมาตรา 26 กำหนดไว้ว่า คำร้องให้เขียนในแบบพิมพ์ซึ่งกรมการอำเภอจ่ายและผู้รับการประเมินต้องลงนาม แบบพิมพ์ดังกล่าวเป็นแบบของทางราชการทำขึ้น คือแบบ ภ.ร.ด.9 ดังนั้น การโต้แย้งคัดค้านจะต้องทำเป็นหนังสือ โดยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามแบบ ภ.ร.ด.9 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่ได้รับแจ้งการประเมินจำนวนภาษีที่ประเมินไว้จึงเป็นจำนวนเด็ดขาดตามมาตรา 27
of 44