พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6306/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของบิดาที่ไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมาย
ผู้เสียหายอายุ 17 ปีเศษ เป็นบุตรของโจทก์ร่วมกับ ส. แต่โจทก์ร่วมกับ ส. มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เสียหายจึงมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ร่วมเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้จดทะเบียนว่าผู้เสียหายเป็นบุตร โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง และมิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายที่จะมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) จึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและไม่มีฐานะเป็นโจทก์ที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตอบแทนการเบิกความ: โมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 (เดิม) และผลกระทบต่อการครอบครองที่ดิน
จำเลยเป็นผู้อาศัยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาท มิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีที่ ล. มารดาโจทก์ฟ้องบังคับให้ ท. จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ ล. การที่จำเลยกับ ล. ทำสัญญากันระบุว่า ล. จะจดทะเบียนแบ่งแยกโอนที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินในคดีที่ ล. พิพาทกับ ท. ให้แก่จำเลยกับให้เงินสดอีก 100,000บาท แก่จำเลยเพื่อตอบแทนที่จำเลยไปเบิกความเป็นพยานให้แสดงว่าจำเลยยอมไปเบิกความเป็นพยานโดยเห็นแก่ประโยชน์ที่จะได้รับดังกล่าวเป็นการตอบแทน จึงเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการเป็นความของบุคคลอื่น จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม จำเลยจึงฟ้องแย้งบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวไม่ได้
โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247
โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตอบแทนเพื่อเป็นพยานขัดต่อความสงบเรียบร้อย ถือเป็นโมฆะ
จำเลยเป็นผู้อาศัยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาท ไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีที่ ล. มารดาโจทก์ฟ้องบังคับให้ ท. จดทะเบียนโอนที่ดิน การที่จำเลยกับ ล. ทำหนังสือสัญญากันระบุว่า ล. จะจดทะเบียนแบ่งแยกโอนที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินในคดีที่ ล. พิพาทกับ ท. ให้แก่จำเลยเมื่อคดีถึงที่สุดกับให้เงินสดแก่จำเลยเพื่อตอบแทนที่จำเลยไปเบิกความเป็นพยานให้นั้น แสดงว่าจำเลยยอมไปเบิกความเป็นพยานก็โดยเห็นแก่ประโยชน์ที่จะได้ที่ดินพิพาทและเงินจาก ล. เป็นการตอบแทน จึงเป็นการที่จำเลยแสวงหาประโยชน์จากการเป็นความของบุคคลอื่น ข้อตกลงตามหนังสือสัญญาจึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป แต่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247
โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป แต่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจึงเกินคำขอของโจทก์ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6107/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเจ้าหนี้ที่รับโอนกิจการธนาคารในคดีล้มละลาย: ข้อจำกัดการขอรับชำระหนี้จากหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนโอน
แม้การโอนกิจการของธนาคาร ม. ให้แก่เจ้าหนี้ที่จะมีผลบังคับตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ (ฉบับที่ 4)ฯมาตรา 38 จัตวา วรรคสอง(3) โดยเฉพาะในส่วนที่จำเป็นต้องดำเนินการที่เกี่ยวข้องในมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ให้ได้รับยกเว้นมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็มีเจตนารมณ์เพียงมิให้นำมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาใช้บังคับแก่เจ้าหนี้ที่รับโอนกิจการสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดจากธนาคาร ม. โดยมิให้อ้างว่าเป็นการยอมให้ธนาคาร ม. กระทำโอนขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ธนาคารผู้โอนดังกล่าวมีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ได้เท่านั้น มิได้มุ่งหมายไปถึงหนี้ที่เกิดจากธนาคาร ม. ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อได้รู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งเจ้าหนี้รับโอนมาแล้วจะมีสิทธินำมาขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแต่อย่างใด หนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ(ฉบับที่ 4)ฯ มาตรา 38 จัตวา วรรคสอง(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับใช้ย้อนหลังของ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 กับคดีล้มละลายที่ฟ้องก่อนกฎหมายมีผลใช้บังคับ
แม้พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) ฯ มาตรา 35 บัญญัติให้บุคคลธรรมดาที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อครบ 3 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวก็มีผลบังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งนอกจากจะไม่มีบทบัญญัติให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังแก่คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนแล้ว มาตรา 34 ยังบัญญัติให้บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดังนั้น จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 35 มาใช้บังคับย้อนหลังแก่คดีที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6057/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนรับชำระหนี้: การชำระหนี้เกินอำนาจไม่ผูกพันเจ้าหนี้
หนังสือมอบอำนาจของเจ้าหนี้ระบุข้อความอันเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนไว้โดยชัดแจ้งว่า ให้ ก. ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจเพียงเจรจาตกลงกับลูกหนี้จนเสร็จการเท่านั้น มิได้มอบอำนาจให้เป็นตัวแทนรับชำระหนี้จากลูกหนี้แต่อย่างใด การที่ ก. รับชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ไว้จากลูกหนี้ จึงเป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวแทน ทั้งตามหนังสือมอบอำนาจก็ระบุว่าเจ้าหนี้ยอมรับผิดต่อลูกหนี้เฉพาะในการกระทำที่ ก. ได้ทำไปตามที่เจ้าหนี้มอบอำนาจเท่านั้น เจ้าหนี้จึงไม่ต้องผูกพันกับการรับชำระหนี้ของ ก. ประกอบกับตามทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดอันจะพึงถือได้ว่า ทางปฏิบัติของเจ้าหนี้ทำให้ลูกหนี้มีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการชำระหนี้แก่ ก. นั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของ ก. ซึ่งจะทำให้เจ้าหนี้ต้องรับผิดต่อลูกหนี้ผู้สุจริตเสมือนว่า ก. เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจรับชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821 การรับชำระหนี้ของ ก. จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจย่อมไม่ผูกพันเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 เจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้เต็มจำนวน โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจนำเงินที่ลูกหนี้ชำระต่อ ก. ซึ่งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้มาหักชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6041/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการโต้แย้งการหักเงินจากบัญชีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการฟ้องร้องเป็นคดีใหม่
ธนาคารโจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอ้างว่า จำเลยเบิกเงินเกินไปจากบัญชีระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์ใช้สิทธิหักเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่โจทก์ได้อายัดไว้ก่อนฟ้อง แม้เป็นการกระทำที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อำนาจไว้อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยก็ตาม จำเลยชอบที่จะไปยื่นฟ้องโจทก์ เป็นคดีใหม่เพราะมิใช่เรื่องการกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยระหว่างพิจารณาที่จำเลยจะยื่นเข้ามาในคดีเดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกถอนเงินเกินบัญชีจากความผิดพลาดของธนาคาร: สิทธิเรียกร้องคืนและอายุความ
พนักงานของธนาคารโจทก์บันทึกรายการในบัญชีเงินฝากของจำเลยซ้ำกัน2 ครั้ง ทำให้ยอดเงินในบัญชีของจำเลยสูงกว่าความเป็นจริง 35,505 บาท และจำเลยเบิกถอนเงินจำนวนดังกล่าวไป เมื่อจำเลยได้เงินนั้นไปโดยไม่ชอบ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยผู้ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลอุทธรณ์มิได้รับฟังข้อเท็จจริงใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมานั้นเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยกระทำผิดสัญญาฝากทรัพย์และโจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืน จึงมิใช่เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลอุทธรณ์มิได้รับฟังข้อเท็จจริงใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมานั้นเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยกระทำผิดสัญญาฝากทรัพย์และโจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืน จึงมิใช่เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกถอนเงินเกินบัญชีจากความผิดพลาดของธนาคาร: สิทธิในการติดตามเอาคืน
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้กับธนาคารโจทก์ สัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้รับฝากมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับฝากให้จำเลยเพียงเท่าจำนวนเงินที่โจทก์รับฝากไว้จากจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 การที่พนักงานของโจทก์บันทึกรายการในบัญชีของจำเลยซ้ำกัน 2 ครั้ง ทำให้ยอดเงินในบัญชีสูงกว่าความเป็นจริง 35,505 บาท และจำเลยเบิกถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปโดยอาศัยความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานโจทก์ เป็นการกระทำผิดสัญญาฝากทรัพย์ เงินที่จำเลยเบิกถอนไปจากโจทก์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามทรัพย์สินคืนจากผู้ได้รับไปโดยไม่ชอบจากความผิดพลาดของเจ้าหนี้ ไม่ขาดอายุความ
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้กับธนาคารโจทก์ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ การที่พนักงานของโจทก์บันทึกรายการรับฝากเงินเข้าบัญชีของจำเลยซ้ำกัน 2 ครั้ง ทำให้ยอดเงินในบัญชีของจำเลยมีจำนวนเกินไปจากความเป็นจริง 35,505 บาท และจำเลยเบิกถอนเงินจำนวนดังกล่าวไปโดยอาศัยความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานโจทก์เงินจำนวนดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ เมื่อจำเลยได้เงินนั้นไปโดยไม่ชอบโจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาเงินจำนวนนั้นคืนจากจำเลยผู้ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ