คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีระวัฒน์ ภัทรานวัช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการมอบอำนาจรับเงิน: เจตนาคู่กรณีสำคัญกว่าข้อความในเอกสาร
พฤติการณ์ที่โจทก์ผู้รับจ้างตกลงกับบริษัท ค. ให้บริษัท ค. รับเงินค่าจ้างจากจำเลยผู้ว่าจ้างเพื่อนำมาชำระหนี้ที่โจทก์มีอยู่ต่อบริษัท ค. แล้วคืนเงินส่วนที่เหลือจากการหักชำระหนี้ให้โจทก์ โดยโจทก์เป็นผู้ออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างที่จำเลยจ่ายไปทุกงวดให้แก่จำเลย แม้หนังสือเอกสารหมาย ล. 1 ที่โจทก์ทำกับบริษัท ค. จะใช้ข้อความว่าโจทก์โอนสิทธิรับเงินค่าจ้างให้แก่บริษัท ค. แต่ตามเจตนาของคู่กรณีดังกล่าวหาใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องกันไม่ เป็นเพียงโจทก์มอบอำนาจให้บริษัท ค. รับเงินแทนโจทก์เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องซ้ำ: สิทธิบอกเลิกสัญญาและการเรียกค่าเสียหายหลังศาลไม่อาจบังคับตามสัญญาเดิม
คดีก่อนมีประเด็นว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้ออาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ได้หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเรียกเงินและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงต่างกัน แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำมาเป็นเหตุฟ้องจะมีอยู่แล้วในขณะโจทก์ฟ้องคดีก่อนแต่ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือจะบอกเลิกสัญญา เมื่อคดีก่อนศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องจำเลยอีกได้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องเรียกคืนเงินและค่าเสียหายหลังบอกเลิกสัญญาได้ แม้จะมีคดีก่อนหน้านี้แล้ว
แม้มูลเหตุที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อนและคดีนี้จะมาจากเหตุที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่นเดียวกัน แต่คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาคือรื้อถอนอาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 โดยที่โจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา ศาลพิพากษาว่าการที่จำเลยก่อสร้างอาคารเพิ่มจาก 27 เป็น 30 ชั้นนั้น จำเลยผิดสัญญาจริง แต่ไม่อาจบังคับให้จำเลยรื้อได้ เช่นนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาได้ จึงได้บอกเลิกสัญญาและขอบังคับให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ชำระให้จำเลย แม้ว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์นำมาเป็นเหตุฟ้องในคดีนี้ จะมีอยู่แล้วในขณะโจทก์ฟ้องคดีก่อนแต่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือจะบอกเลิกสัญญา เพราะหากในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ โจทก์ก็ไม่มีเหตุที่จะบอกเลิกสัญญาและมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ประเด็นแห่งคดีที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงต่างกัน เพราะในคดีก่อนมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ขอบังคับให้จำเลยรื้ออาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ได้หรือไม่ แต่ในคดีนี้ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเรียกเงินคืนและเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ เพียงใด ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: สิทธิบอกเลิกสัญญาหลังศาลไม่อาจบังคับตามสัญญาเดิมได้
คดีก่อนมีประเด็นว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้ออาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ได้หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเรียกเงินและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงต่างกัน แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำมาเป็นเหตุฟ้องจะมีอยู่แล้วในขณะโจทก์ฟ้องคดีก่อนแต่ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือจะบอกเลิกสัญญา เมื่อคดีก่อนศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องจำเลยอีกได้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้ยืนยันหลักการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย การชำระหนี้ตามลำดับบุริมสิทธิ และการใช้ดุลพินิจของศาล
การร้องคัดค้านการจัดกลุ่มเจ้าหนี้จะต้องร้องภายในกำหนดระยะเวลาตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ทวิ วรรคสอง กำหนดไว้ คือภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม เมื่อปรากฏว่าเจ้าหนี้ได้รับสำเนาแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดกลุ่มเจ้าหนี้แล้ว แต่มายื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลเกินกำหนดเวลา 7 วันนับแต่วันดังกล่าว เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งจัดกลุ่มเจ้าหนี้เสียใหม่ตามคำร้องคัดค้านได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ตรี แผนฟื้นฟูกิจการต้องกำหนดให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้การชำระหนี้ในกลุ่มเอเป็นการชำระหนี้เงินทุนหมุนเวียนซึ่งมีผู้ให้สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนแก่กิจการของกลุ่มลูกหนี้ตามวงเงินสินเชื่อใหม่ที่มีขึ้นตลอดอายุของแผนฯ จะได้รับชำระคืนเป็นลำดับแรกจากกระแสเงินสดของการบริหารกิจการของลูกหนี้ในวงเงินไม่เกิน 40 ล้านบาท ซึ่งธนาคาร ก. เป็นเจ้าหนี้รายเดียวที่ให้เงินทุนหมุนเวียนใหม่จำนวน 15 ล้านบาท หากไม่มีเงินทุนหมุนเวียนใหม่เพื่อปรับสภาพคล่องทางการเงินกิจการของลูกหนี้ก็จะมีปัญหาและต้องปิดกิจการก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการแผนฟื้นฟูกิจการจึงจำเป็นต้องจัดให้เจ้าหนี้เงินทุนหมุนเวียนรายใหม่ดังกล่าวได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ส่วนหนี้ของธนาคาร ก. จำนวน 15,138,768 บาท ซึ่งมิใช่เงินทุนหมุนเวียนใหม่คงได้รับการชำระหนี้ในกลุ่มอีเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ในกลุ่มสถาบันการเงิน แผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยมาตรา 90/42 ตรี
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/58(2) หมายความว่า การดำเนินการแบ่งทรัพย์สินจะต้องเป็นไปตามลำดับบุริมสิทธิที่กำหนดไว้ในมาตรา 130(1) ถึง (6) ส่วนหนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 130(7) จะได้ส่วนแบ่งอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามการจัดกลุ่มเจ้าหนี้และข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการ มิใช่ว่าหนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 130(7) จะต้องแบ่งส่วนเท่า ๆ กัน มิฉะนั้นแล้วการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ก็จะไม่มีประโยชน์เมื่อเจ้าหนี้ไม่มีประกันทุกรายได้รับการจัดสรรชำระหนี้ต้นเงินเต็มจำนวนแล้ว ทั้งแผนฟื้นฟูกิจการได้คำนึงถึงหลักการและทรัพย์ที่เป็นภาระจำนองหรือทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักในการประกอบกิจการย่อมได้รับการจัดสรรชำระหนี้ในเรื่องเงื่อนเวลาและดอกเบี้ยดีกว่าเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักประกันใด ๆ แต่สิทธิของเจ้าหนี้ไม่มีประกันที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันเพื่อให้แผนฟื้นฟูกิจการสามารถปฏิบัติไปได้โดยลูกหนี้ไม่ต้องปิดกิจการแผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยมาตรา 90/58(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4016/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งริบยาเสพติด: แม้โจทก์มิได้ขอริบ แต่กล่าวถึงการยึดยาเสพติดในฟ้อง ก็สั่งริบได้
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 บัญญัติว่า บรรดายาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 ประเภท 4 หรือประเภท 5... ให้ริบเสียทั้งสิ้น ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 บัญญัติว่าทรัพย์สินใดที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้นไม่ว่าเป็นของผู้กระทำความผิดและมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวทั้งที่เป็นบทเฉพาะและบททั่วไปมีความสอดคล้องต้องกันแสดงให้เห็นว่ามีเจตนารมณ์มุ่งประสงค์ให้ศาลสั่งริบยาเสพติดให้โทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้เสียทั้งสิ้น ซึ่งเป็นบทบังคับเด็ดขาด ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ริบเมทแอมเฟตามีนมาในคำขอท้ายฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่าเจ้าพนักงานตำรวจได้ยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้กล่าวไว้ในฟ้องแล้ว ศาลมีอำนาจสั่งริบเมทแอมเฟตามีนของกลางได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น หาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3760/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินธรณีสงฆ์: การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ออกในชื่อจำเลย และยืนยันสิทธิของวัด
แม้จำเลยจะมีชื่อใน น.ส.3 ก. อันมีผลให้จำเลยได้รับคำรับรองของทางราชการว่าจำเลยเป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว และยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายในฐานะที่มีชื่อในทะเบียนที่ดินว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ก็ตาม แต่เมื่อวัดโจทก์กล่าวอ้างว่าสิทธิของจำเลยไม่ถูกต้อง จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
หลังจากตั้งวัดโจทก์ขึ้นแล้ว มีการตั้งโรงเรียนขึ้นโดยยืมศาลาวัดสร้างเป็นโรงเรียนอยู่ 10 ปี จึงสร้างโรงเรียนในที่ดินของวัดด้วยความยินยอมของโจทก์ แต่เมื่อวัดโจทก์ย้ายออกไปแล้ว โจทก์มิได้สละสิทธิในที่ดินพิพาทยังคงนำที่ดินออกหาผลประโยชน์ตลอดมา การที่โจทก์ยอมให้ทางราชการใช้ที่ดินพิพาทเป็นโรงเรียนหาใช่เป็นการยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยไม่ เมื่อที่ดินพิพาทมีผู้ยกให้เพื่อสร้างวัด ซึ่งต่อมาก็มีการสร้างวัดขึ้นตามเจตนาของผู้ยกให้ ที่ดินพิพาทจึงเป็นที่วัดและเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 40(1) และ (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น โดยที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 41 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น การที่มีผู้นำที่ดินพิพาทไปออก น.ส. 3 ก. เป็นชื่อจำเลยและต่อมาถูกเปลี่ยนแปลงขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ดินพิพาทยังคงสภาพเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์อยู่เช่นเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดเงินเพิ่มภาษีสรรพสามิต: ห้ามคิดทบต้นและเกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ
พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 137 ให้คิดเงินเพิ่มจากจำนวนภาษีที่ไม่ชำระภายในกำหนดเวลาหรือชำระขาด โดยการคำนวณเงินเพิ่มดังกล่าวมิให้คิดทบต้นและมิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ แสดงว่าฐานแห่งการคิดเงินเพิ่มหมายถึงเฉพาะจำนวนภาษีที่ไม่ชำระภายในกำหนดเวลาหรือชำระขาดเท่านั้นไม่รวมถึงเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม การคิดจากเงินเพิ่มถือว่าเป็นการคิดทบต้นและทำให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ส่วนกรณีที่มาตรา 139 ที่ให้เบี้ยปรับและเงินเพิ่มถือเป็นเงินภาษีนั้นเป็นเพียงการบัญญัติขึ้นเพื่อให้สอดคล้องชัดเจนกับคำนิยามคำว่า "ภาษี" ตามมาตรา 4 และมาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา, หน่วงเหนี่ยวกักขัง และการแยกความผิดฐานกระทำอนาจารจากฐานพาตัวไปข่มขืน
การที่จำเลยกับพวกขึ้นไปบนบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แล้วจับแขนผู้เสียหายที่ 2ลากลงจากบ้านพาไปข่มขืนกระทำชำเรายังบ้านที่เกิดเหตุ เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันไม่ขาดตอน และจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ซึ่งเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุก ร่วมกันพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราจึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่หลังจากที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วจำเลยกับพวกใส่กลอนขังผู้เสียหายที่ 2 ไว้ในห้องนอนโดยมีพวกของจำเลยอยู่ข้างล่างทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ไม่อาจหลบหนีไปได้ จึงเป็นการกระทำความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 อีกกรรมหนึ่ง
จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านเพื่อพาไปข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาเอาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปให้ได้เท่านั้นมิใช่มีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ได้ ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสองประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดต่อเนื่อง ข่มขืนฯ หน่วงเหนี่ยวกักขัง และการพิพากษาความผิดฐานกระทำอนาจาร
จำเลยกับพวกขึ้นไปบนบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แล้วจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านพาไปข่มขืนกระทำชำเรายังบ้านที่เกิดเหตุนั้นเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันไม่ขาดตอน และตามพฤติการณ์ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหายที่ 2 เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ซึ่งเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกร่วมกันพาหญิงไปเพื่ออนาจารและข่มขืนกระทำชำเรามิใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่หลังจากที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้ว จำเลยกับพวกใส่กลอนขังผู้เสียหายที่ 2 ไว้ในห้องนอนโดยมีพวกของจำเลยอยู่ข้างล่าง ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ไม่อาจหลบหนีไปได้ การกระทำของจำเลยกับพวกในส่วนหลังนี้จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 อีกกรรมหนึ่ง
จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านเพื่อพาไปข่มขืนกระทำชำเรา แต่การจับแขนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาเอาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปให้ได้เท่านั้น หาใช่มีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 ไม่และในระหว่างที่พาผู้เสียหายที่ 2 ไปนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้กระทำการอย่างไรบ้าง อันมีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
of 38