คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีระวัฒน์ ภัทรานวัช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับดอกเบี้ยตามคำพิพากษา ต้องเป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย หากอัตราดอกเบี้ยใหม่ต่ำกว่า
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปศาลฎีกา พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
ศาลชั้นต้นระบุไว้ในคำพิพากษาว่าให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ20.25 ต่อปี แต่ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยต้องไม่เกินประกาศกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ย่อมมีความหมายว่า หากมีการเปลี่ยนแแปลงอัตราดอกเบี้ยใหม่ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี โดยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำแถลงของจำเลยว่าอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาคืออัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ และให้คิดดอกเบี้ยในอัตรา 20.25 ต่อปีไปก่อน ถ้าจำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไปจนกว่าคำพิพากษาจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขย่อมเป็นคำสั่งที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัด: ศาลต้องใช้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ คำสั่งเดิมขัดแย้งกับคำพิพากษา
การที่ศาลชั้นต้นระบุไว้ในคำพิพากษาว่าให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2542 แต่ดอกเบี้ยต้องไม่เกินประกาศกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น หมายความว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยใหม่ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี โดยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว ปรากฏว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมีประกาศ กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดโดยให้ธนาคารพาณิชย์ออกประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บแต่ละประเภทของตนเองได้ซึ่งในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2542 ธนาคารโจทก์ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดลงเหลือเพียงอัตราร้อยละ 14.50ต่อปี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำแถลงของจำเลยที่ 1ที่ขอทราบจำนวนหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อจะได้ชำระหนี้ให้ถูกต้องเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ว่าให้คิดอัตราดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี ไปก่อน จนกว่าคำพิพากษาจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขนั้น จึงเป็นคำสั่งที่มิได้คำนึงถึงข้อความในคำพิพากษาที่ให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินประกาศกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย อันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบเพราะขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอง ดังนั้น นับแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2542 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 14.50 ต่อปี จนถึงวันชำระเงินตามคำพิพากษาครบถ้วนแต่หากในช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์มีการประกาศอัตราดอกเบี้ยใหม่โจทก์ก็ต้องคิดดอกเบี้ยตามอัตราใหม่นั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยต้องแสดงความประมาทเลล่าของตนเอง มิใช่ความล่าช้าของศาล
จำเลยปล่อยเวลาล่วงเลยไปถึง 25 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาแล้วจึงไปขอถ่ายสำเนาคำพิพากษา แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้เอาใจใส่ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง จึงไม่ใช่กรณีมีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยตามกฎหมายที่จะอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้
เมื่อทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์เวลา 15.35 นาฬิกา เจ้าพนักงานศาลก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ไปตามระบบงานที่เป็นอยู่ แต่ก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่าในแต่ละวันมีคู่ความหรือประชาชนไปติดต่อกับเจ้าพนักงานศาลเป็นจำนวนมากไม่ได้มีเฉพาะจำเลยเพียงคนเดียว ซึ่งทนายจำเลยก็น่าจะรู้ดี ฉะนั้นการที่เจ้าพนักงานศาลนำคำร้องดังกล่าวเสนอต่อศาลและศาลมีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นจึงเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดระบุว่าศาลต้องมีคำสั่งคำร้องในวันที่คู่ความยื่นคำร้องแต่อย่างใดด้วยสาเหตุที่ทำให้จำเลยเสียสิทธิในการยื่นอุทธรณ์มาจากจำเลยและทนายจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ได้เอาใจใส่รีบยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารเสียแต่เนิ่น และเมื่อยื่นแล้วก็ไม่ได้เอาใจใส่ประการใด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันถัดจากวันครบกำหนดอุทธรณ์ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9696/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่โดยศาล การไม่เปิดโอกาสสืบพยาน และผลกระทบต่อการวินิจฉัย
ตามคำฟ้องและคำให้การคดีมีประเด็นข้อพิพาทอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยแกล้งบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดิน ฟ้องขับไล่โจทก์และเบิกความเท็จในคดีหมายเลขดำที่ 20091/2531 ต่อศาลแพ่งหรือไม่ แต่ในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ โดยโจทก์และจำเลยต่างไม่คัดค้าน ถือว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สละประเด็นข้อพิพาทนี้แล้ว และโจทก์ไม่จำเป็นต้องนำสืบพยานในประเด็นข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นมากำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นมาใหม่ในวันนัดฟังคำพิพากษาและได้เลื่อนไปอ่านคำพิพากษาไปโดยไม่ได้ให้โจทก์นำสืบพยานในประเด็นดังกล่าว แล้วนำประเด็นนี้มา วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานมานำสืบย่อมไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9408/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ผู้เสียหายออกจากบ้านด้วยความโกรธ แต่การพาไปยังที่อื่นที่ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง ย่อมถือเป็นการพรากผู้เยาว์
แม้ตอนแรกผู้เสียหายที่ 1 จะออกจากบ้านเองเพราะโกรธที่ถูกโจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาด่าก็ตาม แต่การที่ผู้เสียหายที่ 1 บอกจำเลยว่าจะไปหาพี่สาวซึ่งจำเลยรับอาสาจะไปส่งแต่กลับพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่กระท่อมนาซึ่งไม่ใช่สถานที่ที่ผู้เสียหายที่ 1 ต้องการจะไป และจำเลยได้อยู่กับผู้เสียหายที่ 1 ที่กระท่อมนาเป็นเวลา 3 คืน 2 วัน รวมทั้งได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายที่ 1 ด้วย ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยได้พรากผู้เสียหายที่ 1 ไปจากโจทก์ร่วมโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9231/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจและอายุความสัญญาซื้อขาย: การนับอายุความเริ่มจากวันที่ส่งมอบสินค้า
แม้ขณะที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย หนังสือมอบอำนาจจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ แต่เมื่อได้มีการปิดอากรแสตมป์ในชั้นพิจารณาครบถ้วนก่อนสืบพยานโจทก์ ก็ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
เมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ โจทก์จะจัดส่งสินค้าให้แก่จำเลยผ่านบริษัทขนส่งสินค้า โจทก์จะรวบรวม ใบส่งของชั่วคราวฉบับจริงและใบขนส่งบริษัทขนส่งไว้เป็นหลักฐาน และจะทำใบวางบิลสรุปยอดหนี้ว่ามีจำนวน เท่าใด และโจทก์ไม่มีหลักปฏิบัติว่าเมื่อค้างสินค้าจนถึงเวลาใดจึงจะไปเรียกเก็บ แต่โจทก์จะรวบรวมค่าสินค้าที่ค้างชำระไปเรียกเก็บจากจำเลยโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ฝ่ายเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ทันทีนับแต่วันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าตามใบส่งของ แต่ละฉบับ มิใช่นับจากวันที่โจทก์สรุปยอดหนี้วางบิลเพื่อเรียกเก็บเงินจากจำเลย ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบมีอายุความ 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ประกอบมาตรา 193/12 อายุความจึงเริ่มนับจากวันที่โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยตามวันที่ระบุในใบส่งของแต่ละฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9161/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: ความรับผิดของผู้ซื้อเมื่ออัตราภาษีเปลี่ยนแปลงหลังทำสัญญาซื้อขาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1 (17) มาตรา 78 และมาตรา82/4 วรรคหนึ่ง ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้ามีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบการตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่พระราชกฤษฎีกากำหนดและความรับผิดในการเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่จะได้มีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือได้รับชำระราคาสินค้า หรือได้ออกใบกำกับสินค้าก่อนส่งมอบสินค้า การที่สัญญาซื้อขายระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ระบุว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 เป็นอัตราตามที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้ในขณะนั้น เป็นเพียงการระบุเพื่อให้เห็นว่าราคาสินค้ามิได้รวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ได้แยกคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ต่างหากเท่านั้น มิใช่ข้อผูกพันว่าผู้ซื้อและผู้ขายตกลงชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7
อัตราค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเป็นไปตามที่พระราชกฤษฎีกากำหนด ส่วนผู้มีหน้าที่ชำระแก่กรมสรรพากรคือเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ แต่ผู้ประกอบการมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าซึ่งก็คือลูกหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกหนี้ภายหลังจากวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โดยเจ้าหนี้ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 และลูกหนี้รับสินค้าไว้แล้วเช่นนี้ ลูกหนี้ต้องมีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 10 อันเป็นอัตราที่พระราชกฤษฎีกากำหนดใช้ในเวลาที่มีการส่งมอบสินค้านั้น ซึ่งเจ้าหนี้ผู้ประกอบการต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราเดียวกันนี้แก่กรมสรรพากร ดังนั้น เจ้าหนี้จึงขอให้ลูกหนี้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่ได้ชำระเพิ่มไปจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ได้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระแก่กรมสรรพากร
ที่ผู้บริหารแผนอุทธรณ์ว่า สัญญาซื้อขายคดีนี้เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรได้โอนไปยังลูกหนี้นับแต่เมื่อได้เข้าทำสัญญาซื้อขาย ทำให้เจ้าหนี้ต้องออกใบกำกับภาษีในวันที่ทำสัญญา ตามสัญญาซื้อขายเครื่องจักรได้บรรยายชนิดและจำนวนเครื่องจักรไว้ 9 รายการ มิได้ระบุหมายเลขประจำเครื่องจักรหรือหมายเลขประจำอุปกรณ์แต่ละชิ้น ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงยังมิใช่ทรัพย์สินเฉพาะสิ่ง ทั้งในสัญญาก็มีข้อความว่า ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาเพียงร้อยละ20 ส่วนราคาที่เหลืออีกร้อยละ 80 ผู้ซื้อจะชำระให้ร้อยละ 40 ในวันส่งมอบเครื่องจักรและจะชำระส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 40 ในวันที่ติดตั้งเครื่องและทดลองคุณภาพของเครื่องที่ได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว เห็นได้ว่าสาระสำคัญของสัญญาซื้อขายนี้จะต้องติดตั้งเครื่องจักรและทดลองเดินเครื่องให้ได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้ หากไม่ได้ผลตามที่กำหนดอาจต้องเปลี่ยนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ได้ส่งมอบแต่ละรายการหรือทั้งหมดอีกก็ได้กรณีจึงเป็นสัญญาซื้อขายทรัพย์สินซึ่งมิได้กำหนดลงไว้แน่นอน กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้หมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก หรือทำโดยวิธีอื่นเพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 460 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าแต่ละชิ้นในวันที่ส่งมอบหรือติดตั้งสินค้า จึงเป็นการปฏิบัติสอดคล้องกับข้อตกลงในสัญญาซื้อขายแล้ว การที่เจ้าหนี้ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10จึงมิใช่ความผิดของเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9093/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์จากผู้เช่าหลังสิ้นสุดสัญญาเช่า และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างติดกับตึก
โจทก์ร่วมและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งที่โจทก์ร่วมฟ้องขับไล่จำเลยจากตึกแถวพิพาท โดยจำเลยตกลงยกเครื่องปรับอากาศจำนวน 2 เครื่อง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมต่อมาเมื่อโจทก์ร่วมได้เลือกเครื่องปรับอากาศจำนวน 2 เครื่องแล้วเครื่องปรับอากาศทั้งสองเครื่องจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม การที่จำเลยได้รื้อเอาไม้กั้นห้อง บานประตู และเครื่องปรับอากาศสองเครื่องดังกล่าวไปจากตึกแถวพิพาท จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
ส่วนที่จำเลยรื้อไม้กั้นห้องและเครื่องปรับอากาศออกไปเป็นเหตุให้ฝาผนังตึกเป็นรอย กระจกและเสาแตกนั้น จำเลยมีความประสงค์ในทรัพย์ซึ่งติดตั้งอยู่กับตึกจึงต้องรื้อออกไป การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับผนังตึกย่อมทำให้เกิดร่องรอยต่าง ๆ ขึ้นได้ ซึ่งเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพแตกร้าวตามที่ปรากฏในภาพถ่ายนั้นมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8655/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากบุตรผู้รับประพฤติเนรคุณต่อมารดาด้วยการด่าทอและทำร้าย
โจทก์ได้ยกที่ดินให้แก่จำเลย ต่อมาจำเลยประพฤติตนไม่ดี เล่นการพนันและเสพสุรา โจทก์ได้ว่ากล่าวตักเตือน จำเลยไม่ยอมเชื่อฟังกลับด่าโจทก์ว่า "อีแก่ อีชาติหมา มึงจะไปตายไหนก็ไป กูไม่นับถือมึงเป็นแม่ลูกกัน" อันเป็นถ้อยคำที่รุนแรงและหยาบคายเปรียบโจทก์เป็นสัตว์และด่าว่าให้โจทก์ไปตาย และจำเลยใช้ไม้จะตีโจทก์ ซึ่งจำเลยในฐานะบุตรไม่พึงกระทำต่อโจทก์ผู้เป็นมารดา การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์ผู้ให้ย่อมเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยผู้รับประพฤติเนรคุณได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 531 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8655/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกคืนที่ดินที่ยกให้เนื่องจากบุตรประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาท และใช้ความรุนแรง
โจทก์ได้ยกที่ดินให้แก่จำเลย ต่อมาจำเลยประพฤติตนไม่ดี เล่นการพนันและเสพสุรา โจทก์ได้ว่ากล่าวตักเตือน จำเลยไม่ยอมเชื่อฟังกลับด่าโจทก์ว่า "อีแก่ อีชาติหมา มึงจะไปตายไหนก็ไป กูไม่นับถือมึงเป็นแม่ลูกกัน" อันเป็นถ้อยคำที่รุนแรงและหยาบคายเปรียบโจทก์เป็นสัตว์และด่าว่าให้โจทก์ไปตาย และจำเลยใช้ไม้จะตีโจทก์ ซึ่งจำเลยในฐานะบุตรไม่พึงกระทำต่อโจทก์ผู้เป็นมารดา การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์ผู้ให้ย่อมเรียกถอนคืนการให้ เพราะเหตุจำเลยผู้รับประพฤติเนรคุณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2)
of 38