คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธีระวัฒน์ ภัทรานวัช

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งมรดก: เจ้าของรวมไม่ใช่เจ้าหนี้/ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิขอปล่อยทรัพย์
โจทก์ฟ้องจำเลยให้แบ่งมรดกของ ล. ให้แก่โจทก์ตามสัญญาแบ่งมรดก ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยแบ่งมรดกบางส่วนให้โจทก์ตามสัญญาแบ่งมรดก หากแบ่งกันไม่ได้ให้เอาออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันตามส่วน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์พิพาทเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาทดำเนินการเพื่อแบ่งทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวมเท่านั้น โจทก์และจำเลยจึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกัน กรณีไม่ใช่การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องและจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารมหาชนและเอกสารสำเนาใช้ได้เป็นหลักฐานได้หากไม่มีการคัดค้าน และการพิสูจน์ทรัพย์สินเพื่อการล้มละลาย
หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของโจทก์เป็นเอกสารมหาชนซึ่งเจ้าพนักงานจัดทำขึ้น และต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายังต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร โจทก์จึงไม่จำต้องนำพยานบุคคลมาเบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวอีก ส่วนหนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีคำพิพากษาตามยอมคดีหมายเลขแดงที่ 15475/2537 ของศาลแพ่ง บัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินในการบังคับคดีทรัพย์สินจำเลยของกรมบังคับคดี รายละเอียดการคำนวณยอดหนี้ของจำเลย และคำขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้โจทก์จะไม่ได้นำพยานที่จัดทำเอกสารดังกล่าวมาสืบแต่ก็ได้ทำเป็นสำเนาเอกสารท้ายฟ้องและอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานเมื่อโจทก์นำสืบจำเลยก็ไม่ได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารว่าไม่มีต้นฉบับ จึงเป็นพยานหลักฐานที่ศาลรับพิจารณาได้ว่ามีข้อเท็จจริงอยู่อย่างไรโดยไม่ต้องมีพยานที่จัดทำเอกสารมาเบิกความรับรองหรือชี้แจงประกอบ
โจทก์ได้ตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและเจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาลาดพร้าวซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยมีภูมิลำเนาแล้วไม่พบชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินถือได้ว่าโจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลยแล้ว จำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องเงินกู้: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยยืนยันจำนวนเงินกู้ที่จำเลยต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินกู้จำนวน 130,000 บาท ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกู้เงินโจทก์จำนวน 130,000 บาท จริง แต่จำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วนแล้ว คงเหลือต้นเงินที่จำเลยจะต้องรับผิดจำนวน 96,911.44 บาท และพิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์โต้แย้งในส่วนที่ขาดไป ดังนั้น ต้นเงินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์คงมีเพียง 96,911.44 บาท ตามที่จำเลยอุทธรณ์ ส่วนต้นเงินจำนวนที่ขาดไป 33,088.56 บาท ย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยส่วนนี้ให้ได้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์คงฎีกาได้เฉพาะในส่วนต้นเงินจำนวน 96,911.44 บาท เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ไปจำนวน 130,000 บาท มิใช่จำนวน 70,000 บาท ดังที่จำเลยนำสืบต่อสู้ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระต้นเงิน 96,911.44 บาท ตามจำนวนต้นเงินที่พิพาทกันในชั้นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอถอนผู้จัดการมรดกต้องทำก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้น และไม่ใช่คดีขาดอายุความตามมาตรา 1733
การขอถอนผู้จัดการมรดกจะต้องมีเหตุที่จะถอนและต้องร้องขอก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง เป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ไม่ใช่คดีที่เกี่ยวกับการจัดการมรดกที่จะต้องฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิ้นลงซึ่งเป็นเรื่องสิทธิเรียกร้อง คดีนี้ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกประเด็นแห่งคดีจึงมีเพียงว่ามีเหตุให้ถอนผู้จัดการมรดกและได้ร้องขอก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้นลงหรือไม่ ไม่มีประเด็นเรื่องคดีขาดอายุความหรือไม่ แม้ผู้ร้องจะกล่าวอ้างมาในคำคัดค้านก็เป็นเรื่องเกินเลยไม่เกี่ยวกับประเด็น เมื่อปรากฏว่าการจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้ว ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอถอนผู้ร้องออกจากตำแหน่งผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1727 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงที่ยินยอมและสมรสภายหลัง: ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุไม่เกิน15 ปี โดยผู้เสียหายยินยอมย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่ง แต่ในวรรคท้ายบัญญัติว่า ความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่า 13 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ มีความหมายว่าในกรณีที่ชายและเด็กหญิงมีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 หากจะสมรสกันอันจะทำให้ชายไม่ต้องรับโทษต้องมีคำสั่งของศาลอนุญาตให้ทำการสมรส ฉะนั้น เมื่อขณะที่จำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสกันนั้น ทั้งจำเลยและผู้เสียหายมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว ย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล จำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายอิสลามแล้ว ย่อมเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงโดยความยินยอมและการสมรสภายหลัง ทำให้ไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายอาญา
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ขณะผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยผู้เสียหายยินยอม ย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก แต่ในวรรคท้ายบัญญัติว่า ความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่า 13 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ มีความหมายว่าในกรณีที่ชายและเด็กหญิงมีอายุไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 หากจะสมรสกันอันจะทำให้ชายไม่ต้องรับโทษ ต้องมีคำสั่งของศาลอนุญาตให้ทำการสมรส เมื่อศาลอนุญาตให้ทำการสมรสแล้ว ทำให้ชายผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ แต่ขณะที่จำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสกัน ทั้งจำเลยและผู้เสียหายมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว จำเลยและผู้เสียหายย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อจำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายอิสสามแล้ว ถือว่าจำเลยและผู้เสียหายเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษอีกต่อไป ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องใช้มูลหนี้ ณ วันฟ้อง เงินเพิ่มที่เกิดขึ้นภายหลังไม่รวมในมูลหนี้เดิม
เงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 27 บัญญัติให้คำนวณในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ และให้เริ่มคำนวณเงินเพิ่มเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นรายการหรือนำส่งภาษีจนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษี และในกรณีที่มีการผ่อนชำระภาษีค้าง เงินเพิ่มดังกล่าวจึงลดลงเป็นสัดส่วนกับภาษีอากรที่ค้างชำระ โจทก์นำคดีมาฟ้องมีรายการภาษีค้างชำระ 1,363,492.11 บาท (ยังไม่รวมเงินเพิ่มตามกฎหมาย)ย่อมต้องถือว่า ณ วันฟ้องนั้นเอง โจทก์นำมูลหนี้จำนวน1,363,492.11 บาทมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย โจทก์มิได้คำนวณเงินเพิ่มมาให้ชัดเจน ทั้ง ๆ ที่สามารถคำนวณได้ในวันฟ้อง และแม้ว่าโจทก์จะยื่นคำแถลงถึงเงินเพิ่มที่จำเลยต้องชำระแต่ก็มิได้แก้ไขคำฟ้องให้ปรากฏ ดังนี้ การฟ้องล้มละลายต้องถือมูลหนี้ในวันที่ฟ้องคดี ซึ่งระหว่างสืบพยานจำเลย จำเลยทั้งสองได้ผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างดังกล่าวแก่โจทก์ครบถ้วนแล้วเงินเพิ่มที่เกิดขึ้นภายหลังวันฟ้องจำนวน 227,118.54 บาท จึงไม่ใช่มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องให้ล้มละลายเพราะไม่ใช่เป็นการฟ้องขอให้ชำระหนี้ทั้งหมดเช่นคดีแพ่งทั่วไป ลูกหนี้จึงนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดแล้ว ชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกต้องไม่ระบุผู้รับประโยชน์เฉพาะเจาะจง ผู้ร้องมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
การสละมรดก หมายถึงการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้มรดกที่สละนั้นตกได้แก่บุคคลอื่นใด เพราะมิเช่นนั้นแล้วบทบัญญัติแห่งมาตรา 1615 วรรคสอง จะไม่มีผลบังคับ ดังนั้น หนังสือตามที่ผู้ร้องและผู้คัดค้าน ทำขึ้นโดยมีเจตนาจะไม่รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย โดยจะยกให้เด็กหญิง ด. แต่ผู้เดียว แต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านยังประสงค์จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอยู่ จึงมิใช่เป็นการสละมรดก ผู้ร้องซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็น ผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกต้องไม่ระบุผู้รับประโยชน์ การระบุเจตนาให้แก่ผู้อื่นไม่ใช่การสละมรดก
การสละมรดก หมายถึง การสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้มรดกที่สละนั้นตกได้แก่บุคคลอื่นใด เพราะมิเช่นนั้นแล้วบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1615วรรคสอง จะไม่มีผลบังคับ ดังนั้น หนังสือที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านทำขึ้นโดยมีเจตนาจะไม่รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย โดยจะยกให้ ด. ผู้เดียว จึงมิใช่เป็นการสละมรดก ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ต้องพิสูจน์มูลหนี้จริงในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้มีคำพิพากษาเป็นหลักฐาน
ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 104 แม้จะไม่มีผู้คัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ และเจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นหรือเป็นผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้ก็มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า มูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริงและลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้อ้างว่า บริษัท ผ. เป็นหนี้เจ้าหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันและตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยลูกหนี้ทั้งสองเป็นผู้ค้ำประกัน แต่เจ้าหนี้ไม่มีบัญชีกระแสรายวันและตั๋วสัญญาใช้เงินอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ ทั้งไม่มีหนังสือสัญญาค้ำประกันของลูกหนี้ ทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจสอบสวนถึงมูลหนี้แห่งคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่เจ้าหนี้มีเพียงสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้เท่านั้นยังไม่เพียงพอที่ให้เชื่อได้ว่าลูกหนี้ทั้งสองเป็นหนี้ตามจำนวนที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ และเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 94
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา1 ฉบับ ในการอุทธรณ์หรือฎีกาจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงศาลละ25 บาท เท่านั้นตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179(2)
of 38