พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์
เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินต่อไปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี โดยต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในภาค 3ลักษณะ 1 แห่ง ป.วิ.พ. กล่าวคือ ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยอุทธรณ์ (คือฝ่ายโจทก์หรือจำเลยความเดิมซึ่งเป็นฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์ความนั้น) คดีนี้ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจแล้วว่าจำเลยและ ศ.เป็นจำเลยอุทธรณ์ที่มีสิทธิยื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้โจทก์ทำสำเนาอุทธรณ์มายื่นต่อศาลและให้นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยและ ศ.ได้
โจทก์มีหน้าที่นำส่งและเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยและ ศ. ภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น โจทก์ทราบคำสั่งแล้วเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
โจทก์มีหน้าที่นำส่งและเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยและ ศ. ภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น โจทก์ทราบคำสั่งแล้วเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ทางอาญา: การ 'เอาทรัพย์ไป' สำเร็จเมื่อเคลื่อนย้ายออกจากที่จอด แม้จะเพียงเล็กน้อย และการใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกในการกระทำความผิด
จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเคลื่อนออกมาจากคอกเก็บรถในระยะห่างประมาณ 3 เมตร หลังจากตัดต่อสายไฟสายตรงของสวิตช์กุญแจเปิดปิดเครื่องยนต์เข้าองค์ประกอบคำว่า "เอาทรัพย์ไป" แล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
คนที่ขับรถของจำเลยเพียงแต่ขับรถยนต์มาส่งจำเลยกับพวกที่บ้านของผู้เสียหายก่อนเกิดเหตุและหลังจากเกิดเหตุแล้วก็ได้ขับวนเวียนในลักษณะคล้ายกับจะตามหาจำเลยกับพวกเท่านั้น คนที่ขับรถดังกล่าวไม่ได้ร่วมกับจำเลยกับพวกลักทรัพย์ผู้เสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ คงมีความผิดตามมาตรา 335 (1) (7) (8) วรรคสอง
คนที่ขับรถของจำเลยเพียงแต่ขับรถยนต์มาส่งจำเลยกับพวกที่บ้านของผู้เสียหายก่อนเกิดเหตุและหลังจากเกิดเหตุแล้วก็ได้ขับวนเวียนในลักษณะคล้ายกับจะตามหาจำเลยกับพวกเท่านั้น คนที่ขับรถดังกล่าวไม่ได้ร่วมกับจำเลยกับพวกลักทรัพย์ผู้เสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ คงมีความผิดตามมาตรา 335 (1) (7) (8) วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์สำเร็จเมื่อทรัพย์สินถูกเคลื่อนย้ายออกจากที่เก็บ แม้เพียงเล็กน้อย การใช้รถเพื่อเอื้อการกระทำความผิดไม่ถึงฐานตาม ม.336 ทวิ
จำเลยนำรถจักรยานยนต์เคลื่อนออกมาจากคอกเก็บรถหลังจากตัดต่อสายไฟสายตรงของสวิสต์กุญแจปิดเปิดเครื่องยนต์แล้ว โดยนำห่างออกมาจากคอกเก็บประมาณ 3 เมตร เข้าองค์ประกอบคำว่า "เอาทรัพย์ไป"แล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
คนที่ขับรถของจำเลยเพียงแต่ขับรถยนต์มาส่งจำเลยกับพวกที่บ้านของผู้เสียหายก่อนเกิดเหตุและหลังจากเกิดเหตุแล้วก็ได้ขับวนเวียนในลักษณะคล้ายกับจะตามหาจำเลยกับพวกเท่านั้น คนที่ขับรถดังกล่าวไม่ได้ร่วมกับจำเลยกับพวกลักทรัพย์ผู้เสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ
คนที่ขับรถของจำเลยเพียงแต่ขับรถยนต์มาส่งจำเลยกับพวกที่บ้านของผู้เสียหายก่อนเกิดเหตุและหลังจากเกิดเหตุแล้วก็ได้ขับวนเวียนในลักษณะคล้ายกับจะตามหาจำเลยกับพวกเท่านั้น คนที่ขับรถดังกล่าวไม่ได้ร่วมกับจำเลยกับพวกลักทรัพย์ผู้เสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6884/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุป้องกันตัวไม่อ้างได้เมื่อผู้ถูกกระทำเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายก่อน และเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ชอบ
การอ้างเหตุป้องกันตัวตามบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 68 ผู้ยกขึ้นอ้างต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยผู้กระทำกระทำโดยละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยยอมรับว่าได้ใช้อาวุธปืนยิงในหมู่บ้านโดยใช่เหตุ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การที่ ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับกุมจำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยวิ่งหนี เมื่อผู้เสียหายกับพวกไล่ตามไปเพื่อจับกุม จำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย และแม้จะฟังอย่างที่จำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานตำรวจ ใช้อาวุธปืนยิง ก็คงเป็นการยิงขู่เพื่อให้จำเลยยอมให้จับกุมมากกว่ามีเจตนาฆ่าจำเลย เพราะหากเป็นเช่นนั้นจำเลยคงต้องถูกกระสุนปืนบ้างไม่มากก็น้อย ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องที่จำเลยเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย โดยผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุป้องกันตัวขึ้นมาอ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6884/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุป้องกันตัวต้องเป็นผู้ถูกกระทำก่อน การยิงต่อสู้เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจอ้างได้
การอ้างเหตุป้องกันตัวตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 นั้น ผู้ยกขึ้นอ้างเป็นผู้ถูกกระทำโดยผู้กระทำได้กระทำโดยละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยยอมรับว่าได้ใช้อาวุธปืนยิงในหมู่บ้านโดยใช่เหตุอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับกุมจำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยวิ่งหนี เมื่อผู้เสียหายกับพวกไล่ตามไปเพื่อจับกุม จำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายแม้จะฟังอย่างที่จำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานตำรวจใช้อาวุธปืนยิงก็คงเป็นการยิงขู่เพื่อให้จำเลยยอมให้จับกุมมากกว่ามีเจตนาฆ่าจำเลย เพราะหากเป็นเช่นนั้นจำเลยคงต้องถูกกระสุนปืนบ้างไม่มากก็น้อย ข้อเท็จจริงจึงเป็นเรื่องที่จำเลยเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย โดยผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุป้องกันตัวขึ้นมาอ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6781/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษผิดฐานจากที่ฟ้อง ศาลฎีกามีอำนาจแก้โทษเป็นฐานความผิดที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาพลอยของผู้เสียหายพาหนีไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ อันเป็นความผิดที่มีลักษณะพิเศษไปจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดาและมิใช่องค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 จึงเป็น การไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาชอบที่จะพิพากษาแก้และพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(6)(7) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินที่ได้มาหลังฟ้องล้มละลาย สามารถบังคับชำระหนี้ได้ หากมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ได้ทั้งหมด
แม้จำเลยจะเพิ่งได้รับโอนที่ดินมาภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายแล้วย่อมเป็นทรัพย์สินที่โจทก์สามารถบังคับชำระหนี้ได้ หามีกฎหมายกำหนดว่าต้องเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนฟ้องคดีล้มละลายไม่ จำเลยจึงไม่ใช่บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่ควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5118/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานหลบหนีหลังเกิดอุบัติเหตุ ต้องระบุถึงผลกระทบต่อผู้เสียหายหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่จำเป็น
กรณีที่ต้องบรรยายฟ้องว่า การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย เป็นกรณีที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 160 วรรคสอง แต่คดีนี้ฟ้องโจทก์ข้อ ข. กล่าวว่า "เมื่อจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลและทรัพย์สินของผู้อื่นดังกล่าวในฟ้องข้อ 1(ก) แล้วจำเลยได้หลบหนีไปทันทีไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่ไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ" และคำขอท้ายฟ้องโจทก์อ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78,160 เป็นการบรรยายฟ้องและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)(6) เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 160 วรรคหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4937/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: ระยะเวลาบังคับคดีสะดุดหยุดไม่ได้, ฟ้องเกิน 10 ปีขาดอายุความ
++ เรื่อง ล้มละลาย ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ โจทก์ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 208/2525 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่7 กรกฎาคม 2529 ซึ่งพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 3,353,698.60 บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 75,067.68 บาท และตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน1,400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 73,605.47 บาทกับดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ โจทก์ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยออกขายทอดตลาด จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยว่าไม่ถูกต้องและขอให้ศาลชั้นต้นงดการบังคับคดีไว้ก่อน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2532
++ ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีต่อไปโดยอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2534 โจทก์บังคับคดีได้เงินชำระหนี้บางส่วนยังค้างชำระอยู่ 2,843,377.25 บาท รวมกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 ถึงวันฟ้องเป็นเงิน378,909.15 บาท รวมเป็นเงิน 3,222,286.40 บาท
++
++ มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้หรือไม่
++ โจทก์ฎีกาว่า มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ โจทก์มีสิทธิบังคับคดีจำเลยทั้งสามได้ภายในสิบปีซึ่งจะครบในเดือนเมษายน 2542เนื่องจากจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม2532 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีต่อไปซึ่งได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2534จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีนับแต่วันที่ 16 มกราคม2532 จนถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2534 เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือนเศษซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ควรนำระยะเวลาดังกล่าวมานับรวมในระยะเวลาบังคับคดีของโจทก์ดังนั้น โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ถึงเดือนเมษายน 2542
++
++ศาลฎีกาเห็นว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลาย เป็นมูลหนี้ที่ถึงที่สุดโดยคำพิพากษาศาลฎีกามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2529 โจทก์จึงชอบที่จะนำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสามภายในสิบปีนับแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2529กล่าวคือ จะต้องฟ้องภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2539 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2532 เป็นต้นไปจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงและต่อมาวันที่ 18 ตุลาคม2534 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการบังคับคดีต่อไปนั้น ถึงแม้จะมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2532 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม2534 เป็นเวลานาน 2 ปี 9 เดือนเศษ ที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีได้เพราะเหตุจากคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนของศาลชั้นต้นก็ตาม กรณีดังกล่าวก็หาเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตาม 193/14 ไม่
++
++ อนึ่ง คดีนี้โจทก์ได้ใช้สิทธิในการบังคับคดีแล้ว เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยทั้งสามยังค้างชำระหนี้โจทก์ตามฟ้อง โจทก์จึงทราบแล้วว่าโจทก์สามารถฟ้องคดีล้มละลายแก่จำเลยทั้งสามนับแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม2539 ซึ่งเป็นเวลานานหลายเดือนเพียงพอที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายได้แต่โจทก์กลับไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2539 จึงพ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นมูลที่จะนำมาฟ้องคดีล้มละลายขาดอายุความแล้ว จึงเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยทั้งสามล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ โจทก์ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 208/2525 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่7 กรกฎาคม 2529 ซึ่งพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวน 3,353,698.60 บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 75,067.68 บาท และตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน1,400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยจำนวน 73,605.47 บาทกับดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์หากไม่ชำระหรือชำระไม่ครบให้ยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ โจทก์ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยออกขายทอดตลาด จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการคำนวณดอกเบี้ยว่าไม่ถูกต้องและขอให้ศาลชั้นต้นงดการบังคับคดีไว้ก่อน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2532
++ ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีต่อไปโดยอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2534 โจทก์บังคับคดีได้เงินชำระหนี้บางส่วนยังค้างชำระอยู่ 2,843,377.25 บาท รวมกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 ถึงวันฟ้องเป็นเงิน378,909.15 บาท รวมเป็นเงิน 3,222,286.40 บาท
++
++ มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาโจทก์ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้หรือไม่
++ โจทก์ฎีกาว่า มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ โจทก์มีสิทธิบังคับคดีจำเลยทั้งสามได้ภายในสิบปีซึ่งจะครบในเดือนเมษายน 2542เนื่องจากจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม2532 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีต่อไปซึ่งได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2534จะเห็นได้ว่าโจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีนับแต่วันที่ 16 มกราคม2532 จนถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2534 เป็นเวลา 2 ปี 9 เดือนเศษซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือโดยไม่ใช่ความผิดของโจทก์ จึงไม่ควรนำระยะเวลาดังกล่าวมานับรวมในระยะเวลาบังคับคดีของโจทก์ดังนั้น โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ถึงเดือนเมษายน 2542
++
++ศาลฎีกาเห็นว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลาย เป็นมูลหนี้ที่ถึงที่สุดโดยคำพิพากษาศาลฎีกามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2529 โจทก์จึงชอบที่จะนำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสามภายในสิบปีนับแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2529กล่าวคือ จะต้องฟ้องภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2539 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2532 เป็นต้นไปจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงและต่อมาวันที่ 18 ตุลาคม2534 ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการบังคับคดีต่อไปนั้น ถึงแม้จะมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2532 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม2534 เป็นเวลานาน 2 ปี 9 เดือนเศษ ที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิบังคับคดีได้เพราะเหตุจากคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนของศาลชั้นต้นก็ตาม กรณีดังกล่าวก็หาเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตาม 193/14 ไม่
++
++ อนึ่ง คดีนี้โจทก์ได้ใช้สิทธิในการบังคับคดีแล้ว เมื่อโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยทั้งสามยังค้างชำระหนี้โจทก์ตามฟ้อง โจทก์จึงทราบแล้วว่าโจทก์สามารถฟ้องคดีล้มละลายแก่จำเลยทั้งสามนับแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม2539 ซึ่งเป็นเวลานานหลายเดือนเพียงพอที่โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายได้แต่โจทก์กลับไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2539 จึงพ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นมูลที่จะนำมาฟ้องคดีล้มละลายขาดอายุความแล้ว จึงเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยทั้งสามล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4732/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลาย โจทก์ต้องพิสูจน์การไม่มีทรัพย์สินของจำเลย
แม้จำเลยที่ 1 จะเปลี่ยนชื่อตัว แต่ยังคงอยู่ในบ้านที่ตนมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้าน โดยมิได้ย้ายที่อยู่แต่อย่างใด ทั้งข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หลบหนี ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นเจ้าพนักงานตำรวจต้องย้ายที่อยู่ไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชามิใช่เป็นการหลบหนีไปจากเคหสถานที่เคยอยู่แต่อย่างใด พยานหลักฐานของโจทก์คงฟังได้แต่เพียงว่าโจทก์ไม่ทราบภูมิลำเนาที่แน่นอนของจำเลยทั้งสามและไม่สามารถที่จะสืบหาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามได้เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามมีหนี้สินล้นพ้นตัว