คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เปรมใจ กิติคุณไพโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8477/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุด: แม้ศาลฎีกาวินิจฉัยต่างจากศาลภาษีอากรกลาง คำพิพากษาเดิมยังคงมีผลบังคับ
ในคดีก่อนจำเลยฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามใบขนสินค้าขาเข้าพิพาททั้ง 7 ฉบับ และศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงในใบสินค้าขาเข้าพิพาทไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและพิพากษาให้ยกคำขอดังกล่าว จำเลยมิได้อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางในส่วนคำขอดังกล่าวจึงเป็นที่สุดและมีผลผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และมาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ในคดีนี้จึงต้องฟังว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบแล้วดังนี้ แม้ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าพิพาทเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ก็ไม่มีผลกระทบถึงคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางในคดีก่อนที่ให้ยกคำขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8477/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุด: การประเมินภาษีอากรชอบแล้ว แม้ศาลฎีกาวินิจฉัยราคาสินค้าเป็นราคาตลาด
คดีที่จำเลยฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามใบขนสินค้าขาเข้าพิพาท เมื่อศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้ยกคำขอดังกล่าว จำเลยมิได้อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางในส่วนคำขอดังกล่าวจึงเป็นที่สุดและมีผลผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145, 147 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 และต้องฟังว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบแล้ว ดังนี้ แม้ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าพิพาทเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ก็ไม่มีผลกระทบถึงคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่ให้ยกคำขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดแล้วได้ พิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8369/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายจากเงินได้จากการเป็นพิธีกร ต้องมีบทบาทการแสดงเทียบเท่ากับนักแสดงและมีสัดส่วนมากกว่าบทบาทดำเนินรายการ
เงินได้จากการเป็นพิธีกรที่มีบทบาทของการเป็นผู้ดำเนินรายการระคนปนไปกับบทบาทของการเป็นนักแสดงที่จะยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง (43) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 ได้นั้นจะต้องมีบทบาทของการแสดงระคนปนไปถึงระดับเทียบเท่ากับบทบาทการแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพหรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ และจะต้องมีบทบาทของการแสดงที่มีสัดส่วนมากกว่าการเป็นผู้ดำเนินรายการ สำหรับรายการ M. ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์มีการแสดงถึงระดับเทียบเท่ากับบทบาทของนักแสดง สำหรับรายการ ค. และรายการ พ. และการเป็นพิธีกรเปิดตัวผลิตภัณฑ์ข้อเท็จจริงก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้ความสามารถแตกต่างจากการเป็นพิธีกรโดยทั่วไปอย่างไร เงินได้พึงประเมินของโจทก์จากการเป็นพิธีกรรายการดังกล่าวจึงไม่เป็นเงินได้จากการแสดงของนักแสดง โจทก์จึงไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายตาม พ.ร.ฎ. ฉบับนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คณะบุคคลยังไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีสิทธิหักภาษีซื้อและเรียกเก็บภาษีขาย
แม้คณะบุคคลเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและอยู่ในบังคับต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (6) ย่อมไม่อาจใช้วิธีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อและไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่จะถือเป็นภาษีขาย และไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะถือเป็นภาษีซื้อของคณะบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6754/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและอายุความเรียกร้องเงินอากรขาเข้า: กรมศุลกากรมีอำนาจประเมินและฟ้องได้ภายใน 10 ปี
ป.รัษฎากร มาตรา 83/10 (1) บัญญัติให้กรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่นำเข้าเพื่อกรมสรรพากรโจทก์ที่ 2 และมาตรา 4 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินได้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง แต่งตั้งให้ข้าราชการในสังกัดโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานประเมินในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่นำเข้าหรือส่งออก ตามประกาศลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 ส. ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดโจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
กะปิที่จำเลยที่ 1 นำเข้าไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า จึงไม่ใช่กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณจำนวนอากรผิด สิทธิเรียกร้องเงินอากรขาเข้าของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ได้มีอายุความ 2 ปี ในกรณีคำนวณจำนวนเงินอากรผิด แต่มีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6399/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมีข้อห้ามโอน ผู้ซื้อทราบแต่ยังทำสัญญา สัญญาเป็นโมฆะ และผู้ซื้อไม่สามารถเรียกเงินมัดจำคืนได้
โจทก์ทราบดีมาแต่แรกว่าขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนั้น มีข้อกำหนดห้ามโอน 10 ปี แต่โจทก์ก็ยอมตนเข้าผูกพันทำสัญญาดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 การที่โจทก์ชำระเงินมัดจำไป 400,000 บาท จึงเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ลักษณะ 4 ว่าด้วยลาภมิควรได้ มาตรา 411 บัญญัติว่า บุคคลใดได้กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ท่านว่าบุคคลนั้นหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่ โจทก์จึงไม่อาจเรียกเงินมัดจำ 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6179/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่, สัญญาเช่าช่วง, นิติกรรมอำพราง, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิการเช่าอาคารราชพัสดุของกองจัดประโยชน์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง อาคารตึกแถวเลขที่ 231 โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าขณะยื่นฟ้องเดือนละ 2,000 บาท แม้โจทก์จะเรียกร้องค่าเสียหายนับแต่วันบอกเลิกสัญญาเดือนละ 10,000 บาท ก็เป็นค่าเสียหายอันเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์มิได้ให้เช่าช่วงแต่มีเจตนาโอนสิทธิการเช่า เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาเช่าช่วงเป็นนิติกรรมอำพรางการโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ จำเลยอุทธรณ์ในประเด็นนี้โดยผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมิได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
สัญญาเช่าช่วงอาคารชั้นล่างบางส่วนมีข้อตกลงว่าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา การเลิกสัญญาจึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 566 สัญญาเช่าช่วงดังกล่าวมีข้อตกลงระบุชำระค่าเช่าเดือนละ 2,000 บาท ไม่ระบุวันที่ชำระค่าเช่าแน่นอน จึงต้องถือเอาวันสิ้นเดือนเป็นกำหนดชำระค่าเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 559 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและจำเลยได้รับหนังสือวันที่ 4 สิงหาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 มีนาคม 2538 การบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องปราศจากเจตนาอื่นใด และต้องเป็นการครอบครองที่ต่อเนื่องโดยสงบ เปิดเผย
จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดย จ. และเจ้าของรวมคนอื่นให้จำเลยอยู่อาศัย เป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนเจ้าของ จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทนานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน จำเลยเพิ่งมาโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทภายหลังจากที่มีการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินและโจทก์ให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาท นับถึงวันฟ้องยังไม่ครบ 10 ปี จำเลยยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้บริการรับส่งเอกสารไม่ถือเป็นการขนส่ง หากบำเหน็จที่ได้รับไม่ใช่ค่าระวางพาหนะ จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ป.รัษฎากร มาตรา 77/2 บัญญัติให้การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งคำว่า "บริการ" ตามมาตรา 77/1 (10) หมายความว่าการกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่การขายสินค้า แต่ถ้าการให้บริการนั้นเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรก็ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ณ) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรตาม ป.รัษฎากร มิได้ให้ความหมายไว้ จึงต้องถือตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และมาตรา 610 การให้บริการขนส่งจึงหมายถึงการรับขนของหรือคนโดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อบำเหน็จคือค่าระวางพาหนะเป็นทางค้าปกติของผู้ขนส่ง หากบำเหน็จที่ได้รับมิใช่ค่าระวางพาหนะ การให้บริการนั้นก็ไม่ถือเป็นการให้บริการขนส่ง คดีนี้บำเหน็จที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าเป็นค่าตอบแทนการที่โจทก์ส่งพนักงานไปส่งเอกสารให้ลูกค้าตามที่ลูกค้าสั่ง เป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับเป็นรายเดือนจำนวนแน่นอนตามที่ตกลงในสัญญาจ้างบริการและมิได้คำนึงถึงระยะทาง ความยากง่าย และระยะเวลาขนส่งในแต่ละคราวเป็นสำคัญ ค่าบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจึงไม่เป็นค่าระวางพาหนะ การให้บริการของโจทก์จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการให้บริการขนส่ง และไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ณ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้บริการขนส่งเพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องมีลักษณะเป็นการรับขนส่งเพื่อบำเหน็จที่เป็นค่าระวางพาหนะ
ป.รัษฎากรมิได้บัญญัติว่า การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรหมายความว่าอย่างไร จึงต้องถือความหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และมาตรา 610 จากบทบัญญัติดังกล่าว การให้บริการขนส่งจึงหมายถึงการรับขนส่งของหรือคนโดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อบำเหน็จคือค่าระวางพาหนะเป็นทางค้าปกติของผู้ขนส่ง ฉะนั้น หากบำเหน็จที่ได้รับมิใช่ค่าระวางพาหนะแล้ว การให้บริการนั้นก็ไม่ถือเป็นการให้บริการขนส่ง ซึ่งค่าระวางพาหนะจะมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับระยะทาง ความยากง่ายและระยะเวลาขนส่งเป็นสำคัญ เมื่อบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจากลูกค้าเป็นค่าตอบแทนการที่โจทก์ส่งพนักงานไปส่งเอกสารให้ลูกค้าตามที่ลูกค้าสั่ง เป็นค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับเป็นรายเดือนจำนวนแน่นอนตามที่ตกลงในสัญญาจ้างบริการโดยมิได้คำนึงถึงระยะทาง ความยากง่ายและระยะเวลาขนส่งในแต่ละคราวเป็นสำคัญ ค่าบำเหน็จที่โจทก์ได้รับจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นค่าระวางพาหนะ การให้บริการของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวจึงไม่ถือเป็นการให้บริการขนส่งอันจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ณ) แม้จะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรก็ตาม
of 29