คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เปรมใจ กิติคุณไพโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตปฏิรูปที่ดินเพิกถอนสภาพป่าสงวน อำนาจฟ้องสิทธิครอบครอง
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแต่ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลตามกฎหมายว่าประชาชนได้ทราบพระราชกฤษฎีกา และกรมป่าไม้ได้ส่งมอบพื้นที่ดังกล่าวให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว ถือได้ว่าเป็นการเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติในบริเวณพื้นที่พิพาทตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4) ที่ดินพิพาทจึงไม่มีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อจำเลยโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้จากบัตรภาษีชดเชยค่าภาษีออก: การคืนเงินเมื่อรับโอนโดยสุจริตและนำไปใช้ชำระภาษีแล้ว
ในการอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลภาษีอากรกลางรับรองว่าคดีของจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลภาษีอากรกลางรับรองว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตามคำร้องของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ดังนี้ แม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามที่ยกเว้นใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกต่อโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออก ขอโอนสิทธิรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 6 โจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยค่าภาษีอากรดังกล่าวโดยออกบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 6 ตามคำขอของจำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมาโจทก์พบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ เอกสารที่จำเลยที่ 1 ยื่นประกอบคำขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรเป็นเอกสารเท็จและเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรตามคำขอที่จำเลยที่ 1 ยื่นต่อโจทก์และไม่มีสิทธิขอโอนบัตรภาษีให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 6 จำเลยที่ 3 และที่ 6 ไม่มีสิทธิได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ ดังนี้ ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 จงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 6 ไม่ปรากฏว่ามีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์จึงเป็นการได้บัตรภาษีไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจำเลยที่ 3 และที่ 6 ต้องรับผิดคืนบัตรภาษีแก่โจทก์ในมูลลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ว่า ในการรับโอนบัตรภาษีจำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้ยื่นคำร้องขอรับโอนบัตรภาษีต่อโจทก์ระบุว่า "กรณีที่เกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่กรมศุลกากร (โจทก์) ไม่ว่ากรณีใด ๆ ข้าพเจ้า (จำเลยที่ 3 และที่ 6) ยินยอมรับผิดต่อกรมศุลกากร (โจทก์) ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น" จำเลยที่ 3 และที่ 6 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่ได้ให้คำรับรองไว้นั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้แสดงเจตนายินยอมรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่เกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาและเป็นคนละข้อหากับความผิดฐานละเมิดและลาภมิควรได้ตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงสภาพแห่งข้อหานี้มาในคำฟ้องจึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง แม้ศาลภาษีอากรกลางจะได้ยกความข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยเป็นคุณแก่โจทก์ในประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ในคำแก้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรไม่รับวินิจฉัย
บัตรภาษีออกให้แทนการคืนเงินชดเชยค่าภาษีอากรเป็นเงินสดเพื่อให้ผู้รับนำบัตรภาษีไปใช้แทนเงินสดในการชำระค่าภาษีอากรแก่โจทก์ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต หรือภาษีอากรอื่นตามมูลค่าของบัตรภาษีตามที่บัญญัติใน พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรฯ มาตรา 4 และ 18 จึงถือได้ว่าเป็นเงินจำนวนหนึ่งและ ป.พ.พ. มาตรา 412 บัญญัติว่า "ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ท่านว่าต้องคืนเต็มจำนวนนั้น เว้นแต่เมื่อบุคคลได้รับไว้โดยสุจริตจึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน" เมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 6 ได้รับโอนบัตรภาษีโดยสุจริต จึงต้องคืนบัตรภาษีตามมูลค่าที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 3 และที่ 6 นำบัตรภาษีที่ได้รับไปชำระค่าภาษีอากรแล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 6 จึงไม่ต้องรับผิดคืนบัตรภาษีหรือชดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนในการดำเนินคดี: การมอบอำนาจให้ตั้งทนายความเป็นอำนาจจำเป็นในการดำเนินคดี
วัดผู้ร้องมอบอำนาจให้ ก. มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและดำเนินคดีได้จนถึงที่สุด ก. จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวการในสิ่งจำเป็นเพื่อให้กิจอันตัวการได้มอบหมายแก่ตนสำเร็จลุล่วงไป การตั้งทนายความเป็นการกระทำที่จำเป็นในการดำเนินคดี ก. จึงมีอำนาจตั้งทนายความยื่นคำร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 800 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำร้องขอเป็นผู้ขาดความสามารถในการจ่ายค่าธรรมเนียมศาล ต้องฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนก่อนวินิจฉัย
โจทก์ขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาโดยอ้างว่ากรมสรรพากรจำเลยยึดและอายัดทรัพย์สินทั้งหมดของโจทก์ทำให้โจทก์ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ ทั้งไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีกที่จะนำมาขายหรือเป็นหลักประกันเพื่อขอกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่น ทำให้ไม่มีเงินที่จะนำมาชำระค่าธรรมเนียมศาลได้ ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์อ้างแม้ทรัพย์สินจำนวนมากดังกล่าวยังเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ก็ไม่สามารถขายหรือนำไปเป็นหลักประกันเพื่อหาเงินมาเป็นค่าธรรมเนียมศาลจำนวนสูงอันอาจจะถือได้ว่าโจทก์เป็นคนยากจน การที่ศาลภาษีอากรกลางงดการไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง จึงเป็นการวินิจฉัยโดยยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ทำการไต่สวนคำร้องต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องชัดเจนในประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย หากมิได้ยกข้อต่อสู้ในชั้นต้น แม้มีพยานหลักฐานก็ไม่อุทธรณ์ได้
การอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีหรือปัญหาข้อกฎหมายว่ามีอยู่อย่างไร เพื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยคดีตามข้ออุทธรณ์ได้ถูกต้องตามประเด็นที่โต้เถียงกัน ซึ่งต้องพิจารณาจากคำฟ้องคำให้การและประเด็นข้อพิพาทในคดีเป็นสำคัญ ไม่ใช่พิจารณาจากข้อเท็จจริงและการนำสืบของคู่ความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่แปลงหนี้มาจากราคาที่ดินที่จำเลยซื้อจากโจทก์และตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือรับสภาพหนี้เป็นเอกสารปลอม จำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ โจทก์เคยขายที่ดินให้แก่จำเลยและโจทก์รับเงินไปจากจำเลยแล้ว ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์หรือไม่ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าหนี้เดิมระหว่างโจทก์และจำเลยระงับเพราะการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยเป็น อ. และ อ. ชำระหนี้ 100,000 บาท ให้โจทก์ไปแล้วนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8214/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากวิชาชีพอิสระทางกฎหมาย: คณะบุคคลประกอบวิชาชีพได้ แม้มิได้ว่าความ
ป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) บัญญัติว่า "เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย..." เห็นได้ว่า ป.รัษฎากร บัญญัติให้เงินได้จากวิชากฎหมายเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระและเป็นเงินได้ประเภทหนึ่งต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่น โจทก์ทั้งสองสำเร็จการศึกษาวิชากฎหมาย เงินได้รายพิพาทเป็นเงินได้ที่โจทก์ทั้งสองได้รับมาจากการเป็นที่ปรึกษากฎหมายจึงเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (6) หามีบทกฎหมายบัญญัติว่าการประกอบวิชาชีพกฎหมายจะต้องว่าความหรือฟ้องร้องคดีด้วยไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติห้ามผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายรวมกันเป็นคณะบุคคลประกอบวิชาชีพกฎหมายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8214/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (กฎหมาย) แม้ไม่ได้ว่าความหรือฟ้องร้อง ก็ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6) และคณะบุคคลก็ประกอบวิชาชีพได้
ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) บัญญัติให้เงินได้จากวิชากฎหมายเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระและเป็นเงินได้ประเภทหนึ่งต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่น โจทก์สำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายมีเงินได้ที่โจทก์ได้รับมาจากการเป็นที่ปรึกษากฎหมายจึงเป็นเงินได้ตาม 40 (6) หามีบทบัญญัติว่าการประกอบอาชีพกฎหมายจะต้องว่าความหรือฟ้องร้องคดีด้วยไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติห้ามผู้ประกับวิชาชีพกฎหมายรวมกันเป็นคณะบุคคลประกอบวิชาชีพกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7887/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเช็ค การบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิด และการกำหนดโทษที่เหมาะสม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท 7 ฉบับ ให้แก่โจทก์ เพื่อเป็นการชำระหนี้ตามกฎหมายที่มีอยู่จริง ที่เกิดจากการซื้อขายสินค้าประเภทเครื่องสำอาง คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายข้อเท็จจริงแล้วว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าประเภทเครื่องสำอางอันเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 แล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้แนบเอกสารที่แสดงถึงมูลหนี้มาท้ายฟ้องด้วยก็ตาม เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7853/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กเพื่ออนาจาร-กระทำชำเรา: ศาลฎีกาวินิจฉัยกรรมเดียวหรือหลายกรรม และการลงโทษตามกฎหมายหลายบท
ความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม จำเลย มีเจตนากระทำความผิดต่อบิดามารดาผู้เสียหาย เป็นความผิดกรรมหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก และความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก จำเลยมีเจตนาเดียวกันคือพาผู้เสียหายไปกระทำชำเรา การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7384/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทขับรถจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษเดิมและรอการลงโทษได้
แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษ แต่เมื่อคดีของจำเลยที่ 1 ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา หากศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยที่ 1 ไม่เหมาะสม ย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ให้เหมาะสมแก่ความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 โดยรอการลงโทษให้แก่จำเลยที่ 1 ได้
of 29