พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายค่าไฟฟ้าที่เป็นส่วนตัวและเพื่อกิจการ การปันส่วนเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี บัญญัติว่า "รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ...(3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว... (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ" หมายความว่า รายจ่ายที่จะนำมาคำนวณเพื่อหากำไรสุทธิได้นั้นต้องเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นโดยเฉพาะเท่านั้น มิใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ประกอบกิจการโรงงานหล่อดอกยางรถยนต์และจำหน่ายยางรถยนต์ โดยใช้อาคาร 2 ชั้น ชั้นหนึ่งใช้ประกอบกิจการ ส่วนอีกชั้นใช้เป็นที่อยู่อาศัยของหุ้นส่วนโจทก์ ไฟฟ้าที่ใช้ในอาคารสถานประกอบของโจทก์จึงแยกเป็น 2 มิเตอร์ เป็นชื่อโจทก์ 1 มิเตอร์ และ จ. หุ้นส่วนโจทก์อีก 1 มิเตอร์ ดังนั้น ค่าไฟฟ้ามิเตอร์ของ จ. หุ้นส่วนโจทก์เป็นค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนของโจทก์และครอบครัว มิได้ใช้สำหรับงานในกิจการของโจทก์ และไม่ได้ใช้เพื่อดูแลทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการโดยเฉพาะ จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวที่มิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ซึ่งนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ตาม ป.รัษฎากรณ 65 ตรี (3) และ (13)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาการทางจิตขณะกระทำความผิด: จำเลยต้องยกเหตุในศาลชั้นต้นจึงจะได้รับการพิจารณา
ปัญหาว่าขณะกระทำความผิดจำเลยมีอาการทางจิตหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเหตุว่ามีอาการทางจิตในขณะกระทำความผิดขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำมาปรับแก่ข้อกฎหมายได้ ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเหตุอาการทางจิตหลังศาลชั้นต้น: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากมิได้ยกขึ้นในชั้นต้น
ปัญหาว่าขณะกระทำความผิดจำเลยมีอาการทางจิตหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเหตุว่ามีอาการทางจิตในขณะกระทำความผิดขึ้นอ้างในศาลชั้นต้น จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำมาปรับแก่ข้อกฎหมายได้ ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2421/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดิน: ศาลวินิจฉัยว่าการฟ้องแย่งการครอบครองไม่เกิดขึ้นหากจำเลยอ้างเป็นเจ้าของแต่แรก
จำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 3 ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า จำเลยที่ 3 จึงเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยปลูกสร้างบ้านและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ตามคำให้การของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาแต่ต้น ไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2084/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีเมื่อมีการฟ้องคัดค้านการประเมินภาษีแล้ว หนี้ภาษีจึงไม่แน่นอน
จำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลาง อันเป็นการดำเนินการตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 30 (2) แล้ว การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าว จึงอาจถูกเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ ดังนั้น หนี้ค่าภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่โจทก์นำมาฟ้อง จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่ เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีเกษียณอายุ ต้องเข้าหลักเกณฑ์อายุและระยะเวลาสมาชิกภาพ
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 52) กำหนดให้เงินได้ที่ลูกจ้างได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีเกษียณอายุที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเข้าหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ ประการแรก เงินได้นั้นลูกจ้างต้องได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีเกษียณอายุ ประการที่สอง ลูกจ้างมีอายุขณะเกษียณอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ประการที่สาม ลูกจ้างเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในระหว่างวันที่ 13 กันยายน 2537 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2538 และได้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุก่อนวันที่ 2 ธันวาคม 2543 ซึ่งมีระยะเวลาทำงานให้แก่นายจ้างก่อนเกษียณอายุไม่น้อยกว่า 5 ปี เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคู่มือพนักงานซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุเกี่ยวกับการเกษียณอายุของพนักงานไว้ 2 กรณี กรณีแรก พนักงานจะเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ กรณีที่สอง บริษัทอาจอนุญาตให้พนักงานเกษียณอายุก่อนครบ 60 ปีบริบูรณ์ได้ โดยมีเงื่อนไข คือ บริษัทกับพนักงานต้องมีข้อตกลงเป็นข้อตกลงเป็นหนังสือ พนักงานที่ขอเกษียณต้องมีอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และพนักงานผู้ขอเกษียณอายุต้องมีอายุการทำงานอย่างน้อย 15 ปี เมื่อโจทก์ทำหนังสือขอเกษียณอายุและบริษัทอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนกำหนด ถือได้ว่าโจทก์กับบริษัทมีข้อตกลงเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์เข้าทำงานมาแล้วมีอายุการทำงาน 18 ปีเศษ อีกทั้งโจทก์เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในระหว่างระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงเข้าหลักเกณฑ์ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีเกษียณอายุ ก่อนอายุ 55 ปี และระยะเวลาสมาชิกภาพ
โจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2522 พ้นจากการเป็นพนักงานเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2540 ขณะที่มีอายุ 56 ปีเศษ มีอายุงาน 18 ปีเศษ ซึ่งเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทนายจ้าง จึงถือเป็นการเกษียณอายุตามข้อตกลงแล้ว โจทก์ได้รับเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยชีพ โดยขณะที่เกษียณอายุโจทก์มีอายุครบ 55 ปีขึ้นไป แม้โจทก์เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2538 และพ้นจากการเป็นพนักงานด้วยการเกษียณอายุเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2540 ซึ่งโจทก์ยังเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่ครบ 5 ปี แต่ได้เข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในระหว่างวันที่ 13 กันยนยน 2537 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2538 และได้ออกจากงานเพราะเกษียณอายุก่อนวันที่ 2 ธันวาคม 2543 ซึ่งมีระยะเวลาทำงานกับนายจ้างก่อนเกษียณอายุไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงเข้าหลักเกณฑ์สามประการที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวีธีการสำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือตาย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 80) ข้อ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ, ค่าบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรม, สัญญา, การชำระหนี้, และเบี้ยปรับ
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจและขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ โจทก์จึงไม่เป็นพ่อค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) เดิม แต่ต่อมามาตรา 193/34 (1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" เป็น "ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้นโจทก์จึงมีฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 193/34 (1) การที่โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเรียกเอาค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียจากจำเลย จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาค่าการงานที่ได้ทำ ย่อมมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2535 และค่าบริการกำจัดน้ำเสียตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนกันยายน 2535 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ที่ตรวจชำระใหม่ยังไม่ได้ออกมาบังคับใช้ หากโจทก์ฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165 (1) เดิม แต่มีอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม กรณีของปัญหาเช่นนี้มีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 15 บัญญัติให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้ ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทำสัญญาใช้ที่ดินกับโจทก์โดยตกลงยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมตามที่โจทก์กำหนด แต่จำเลยค้างชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียอันเป็นการผิดสัญญา และขอให้บังคับจำเลยชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียพร้อมเงินเพิ่มที่ชำระหนี้ล่าช้า เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องมาว่าโจทก์ได้จัดการบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและให้บริการกำจัดน้ำเสียให้จำเลยแล้ว ก็หาทำให้คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่ เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
จำเลยไม่ชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2535 และค่าบริการกำจัดน้ำเสียตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนกันยายน 2535 ให้โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียรายเดือนตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤษภาคม 2535 อันเป็นเดือนสุดท้ายก่อนวันที่ 7 มิถุนายน 2535 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ยังไม่ขาดอายุความ ส่วนเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนเป็นการกำหนดค่าเสียหายอันเกิดจากการชำระหนี้ล่าช้าไว้ล่วงหน้าซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลชอบที่จะลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก ศาลฎีกาจึงกำหนดให้โจทก์อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินที่ค้างชำระในแต่ละเดือนนับจากวันสิ้นเดือนเป็นต้นไปถึงเดือนพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่ไม่ขาดอายุความเฉพาะในเดือนมิถุนายน 2535 ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 7 วัน ศาลฎีกาให้งดเพิ่มดังกล่าวเสีย สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์ขอมาในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนนั้น ในสัญญามิได้กำหนดอัตราไว้ แต่ค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียรวมทั้งเงินเพิ่มเป็นหนี้เงินซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง โดยไม่ถือว่าเป็นการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ศาลฎีกาจึงให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
สัญญาการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมข้อ 10 ตกลงว่า จำเลยยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบริการในการบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมจากจำเลยได้เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่ได้กำหนดว่าโจทก์ต้องมีหน้าที่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสียให้จำเลย การที่โจทก์ไม่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสีย ปล่อยให้น้ำท่วมขัง จำเลยสามารถดำเนินการตามสัญญาข้อ 16 โดยขอให้กรรมการโจทก์พิจารณาเรื่องดังกล่าวและถ้าหากจำเลยไม่พอใจการวินิจฉัย จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไปได้ เมื่อจำเลยไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2535 และค่าบริการกำจัดน้ำเสียตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนกันยายน 2535 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ที่ตรวจชำระใหม่ยังไม่ได้ออกมาบังคับใช้ หากโจทก์ฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165 (1) เดิม แต่มีอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม กรณีของปัญหาเช่นนี้มีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 15 บัญญัติให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้ ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทำสัญญาใช้ที่ดินกับโจทก์โดยตกลงยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมตามที่โจทก์กำหนด แต่จำเลยค้างชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียอันเป็นการผิดสัญญา และขอให้บังคับจำเลยชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียพร้อมเงินเพิ่มที่ชำระหนี้ล่าช้า เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องมาว่าโจทก์ได้จัดการบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและให้บริการกำจัดน้ำเสียให้จำเลยแล้ว ก็หาทำให้คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่ เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
จำเลยไม่ชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2535 และค่าบริการกำจัดน้ำเสียตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนกันยายน 2535 ให้โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียรายเดือนตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤษภาคม 2535 อันเป็นเดือนสุดท้ายก่อนวันที่ 7 มิถุนายน 2535 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ยังไม่ขาดอายุความ ส่วนเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนเป็นการกำหนดค่าเสียหายอันเกิดจากการชำระหนี้ล่าช้าไว้ล่วงหน้าซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลชอบที่จะลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก ศาลฎีกาจึงกำหนดให้โจทก์อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินที่ค้างชำระในแต่ละเดือนนับจากวันสิ้นเดือนเป็นต้นไปถึงเดือนพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่ไม่ขาดอายุความเฉพาะในเดือนมิถุนายน 2535 ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 7 วัน ศาลฎีกาให้งดเพิ่มดังกล่าวเสีย สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์ขอมาในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนนั้น ในสัญญามิได้กำหนดอัตราไว้ แต่ค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียรวมทั้งเงินเพิ่มเป็นหนี้เงินซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง โดยไม่ถือว่าเป็นการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ศาลฎีกาจึงให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
สัญญาการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมข้อ 10 ตกลงว่า จำเลยยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบริการในการบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมจากจำเลยได้เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่ได้กำหนดว่าโจทก์ต้องมีหน้าที่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสียให้จำเลย การที่โจทก์ไม่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสีย ปล่อยให้น้ำท่วมขัง จำเลยสามารถดำเนินการตามสัญญาข้อ 16 โดยขอให้กรรมการโจทก์พิจารณาเรื่องดังกล่าวและถ้าหากจำเลยไม่พอใจการวินิจฉัย จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไปได้ เมื่อจำเลยไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าบำรุงรักษาสัญญาอุตสาหกรรม: การใช้บทบัญญัติใหม่ vs. บทบัญญัติเดิม และข้อยกเว้นสัญญา
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจและขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ โจทก์ไม่เป็นพ่อค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) เดิม ซึ่งต่อมา ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" เป็น "ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น ดังนั้น โจทก์จึงมีฐานะเป็นผู้ประกอบการค้า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกเอาค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสีย จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาค่าการงานที่ได้ทำย่อมมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1)
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ฯ มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์... ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535) หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ การฟ้องคดีของโจทก์ในคดีนี้ต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ใช้บังคับ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 เรียกค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในช่วงเดือนเมษายน 2531 ถึง 7 มิถุนายน 2535 จึงไม่ขาดอายุความ คงขาดอายุความเฉพาะสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป
ตามสัญญาการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ข้อ 10 ตกลงกันว่า จำเลยยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบริการในการบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมเอาจากจำเลยได้เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ได้กำหนดว่าโจทก์ต้องมีหน้าที่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสียให้จำเลย หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ดูแลท่อระบายน้ำปล่อยให้น้ำท่วมขังตามที่จำเลยนำสืบ จำเลยก็ไม่อาจบอกปัดความรับผิดชอบได้ แต่จำเลยสามารถดำเนินการโดยขอให้กรรมการโจทก์พิจารณาเรื่องดังกล่าว และถ้าหากจำเลยไม่พอใจการวินิจฉัยของกรรมการโจทก์ จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไปได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินการใด ๆ ก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามข้อกำหนดในสัญญาได้
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ฯ มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์... ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535) หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ การฟ้องคดีของโจทก์ในคดีนี้ต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ใช้บังคับ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 เรียกค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในช่วงเดือนเมษายน 2531 ถึง 7 มิถุนายน 2535 จึงไม่ขาดอายุความ คงขาดอายุความเฉพาะสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป
ตามสัญญาการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ข้อ 10 ตกลงกันว่า จำเลยยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบริการในการบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมเอาจากจำเลยได้เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ได้กำหนดว่าโจทก์ต้องมีหน้าที่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสียให้จำเลย หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ดูแลท่อระบายน้ำปล่อยให้น้ำท่วมขังตามที่จำเลยนำสืบ จำเลยก็ไม่อาจบอกปัดความรับผิดชอบได้ แต่จำเลยสามารถดำเนินการโดยขอให้กรรมการโจทก์พิจารณาเรื่องดังกล่าว และถ้าหากจำเลยไม่พอใจการวินิจฉัยของกรรมการโจทก์ จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไปได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินการใด ๆ ก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามข้อกำหนดในสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1738/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประเมินภาษีที่ชอบแล้ว และเหตุจำเป็นในการขยายเวลาอุทธรณ์
บทบัญญัติตาม ป. รัษฎากรมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง มีความหมายว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะเห็นสมควรสั่งให้ขยายกำหนดเวลาหรือเลื่อนกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ หรือการอุทธรณ์ หรือกำหนดเวลาการ เสียภาษีอากรตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากรออกไปได้เมื่อผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าวมิได้อยู่ในประเทศไทยหรือมีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถจะปฏิบัติตามกำหนดเวลาได้
โจทก์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย จึงมิใช่ผู้ที่มิได้อยู่ในประเทศไทย จำเลยได้แจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบรวม 7 ฉบับ โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับในประเทศจ่าหน้าซองระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับตามภูมิลำเนาของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดตรัง เลขที่ 71 หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะเปียะ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92140 โดยมี พ. ซึ่งบรรลุนิติภาวะและอยู่ที่นั่นรับไว้แล้ว จึงเป็นการ แจ้งการประเมินที่ชอบและถือว่าโจทก์ได้รับทราบการแจ้งการประเมินแล้ว ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 8 กรณีจึงมิใช่ มีเหตุจำเป็นจนโจทก์ไม่สามารถจะยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดเวลาได้ การที่อธิบดีกรมสรรพากรมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ จึงชอบแล้ว
โจทก์เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย จึงมิใช่ผู้ที่มิได้อยู่ในประเทศไทย จำเลยได้แจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบรวม 7 ฉบับ โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับในประเทศจ่าหน้าซองระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับตามภูมิลำเนาของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดตรัง เลขที่ 71 หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะเปียะ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92140 โดยมี พ. ซึ่งบรรลุนิติภาวะและอยู่ที่นั่นรับไว้แล้ว จึงเป็นการ แจ้งการประเมินที่ชอบและถือว่าโจทก์ได้รับทราบการแจ้งการประเมินแล้ว ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 8 กรณีจึงมิใช่ มีเหตุจำเป็นจนโจทก์ไม่สามารถจะยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดเวลาได้ การที่อธิบดีกรมสรรพากรมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายกำหนดเวลาการอุทธรณ์ จึงชอบแล้ว