คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เปรมใจ กิติคุณไพโรจน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตใช้คำให้การเดิมในชั้นพิจารณาที่ไม่เป็นไปตามหลักวิธีพิจารณาความอาญา
ปัญหาว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้คู่ความถือเอาคำให้การของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมาเป็นส่วนหนึ่งของคำเบิกความในชั้นพิจารณาแล้วให้ทนายจำเลยที่ 1 ถามค้าน เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง เพราะไม่ได้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ ก็สามารถยกขึ้นเป็นเหตุฎีกาได้ และคู่ความฝ่ายที่เสียหายจากการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอาจยกปัญหานั้นขึ้นว่ากล่าวได้ในเวลาใดๆ ก่อนศาลมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ก่อนเบิกความโจทก์เป็นฝ่ายเสนอโดยแถลงว่าจะขอถือคำให้การพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นคำให้การของพยานในชั้นพิจารณาเพราะทนายโจทก์จะถามพยานเช่นเดียวกับในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ทนายจำเลยทั้งสามยอมรับ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้คู่ความปฏิบัติตามที่ตกลงกัน โดยทนายจำเลยที่ 1 ถามค้านและทนายโจทก์ถามติงแล้วต่างฝ่ายต่างสืบพยานมาจนเสร็จสิ้น โจทก์ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งการดำเนินกระบวนพิจารณาในการสืบพยานปากนั้นเป็นการกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยเพียงแต่โจทก์ขอให้ถือเอาคำเบิกความของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นคำเบิกความในชั้นพิจารณา ก็เป็นวิธีการของโจทก์เองที่เลือกเสนอพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยด้วยวิธีนี้ ศาลไม่มีหน้าที่ต้องทักท้วงเสนอแนะว่าพยานหลักฐานเช่นนี้ใช้ลงโทษจำเลยได้หรือไม่ ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15717/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาบุกรุกทำลายทรัพย์สิน ไม่ถึงขั้นปล้นทรัพย์ ศาลปรับบทลงโทษ
จำเลยที่ 2 กับพวกมีเจตนาบุกรุกเข้าไปทำร้ายคนในบ้านผู้เสียหาย เมื่อไม่พบก็นำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปเผา มิใช่มุ่งเอาประโยชน์จากทรัพย์จึงไม่ใช่เอาทรัพย์ไปโดยเจตนาทุจริต ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกมีเจตนาลักทรัพย์ของผู้เสียหาย การกระทำดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามฟ้อง
จำเลยที่ 2 กับพวกอีกประมาณ 10 คน บุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านพักอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายในเวลากลางคืนและใช้อาวุธปืนขู่เข็ญว่าจะทำร้ายผู้เสียหายและกลับออกไปพร้อมนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปด้วยกัน เป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควรอันเป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) (3) แต่เนื่องจากโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 364 จึงมิอาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฐานความผิดดังกล่าวซึ่งมีโทษหนักกว่าที่โจทก์ขอและถือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษ จึงลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 364 เท่านั้น
จำเลยที่ 2 กับพวกเผารถจักรยานยนต์เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ซึ่งเป็นเจตนาแยกต่างหากจากเจตนาแรกที่บุกรุกเข้าไปจะทำร้ายบุคคลที่อยู่ในบ้านผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่ข้อแตกต่างระหว่างความผิดฐานปล้นทรัพย์และฐานทำให้เสียทรัพย์ มิได้แตกต่างกันในสาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 ในฐานความผิดที่ถูกต้อง และมีบทลงโทษเบากว่าที่โจทก์ฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
เมื่อศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้กระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่กระทำความผิดฐานบุกรุกและ ทำให้เสียทรัพย์ ย่อมเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งร่วมกระทำผิดแต่มิได้ฎีกาให้ได้รับประโยชน์ดุจจำเลยที่ 2 ผู้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13996/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรมสรรพากรประเมินภาษีส่วนท้องถิ่น และข้อยกเว้น พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
กรมสรรพากรมีอำนาจจัดเก็บภาษีส่วนท้องถิ่นแทนกรุงเทพมหานคร โดยอาศัย พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 112 บัญญัติว่า "กรุงเทพมหานครมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีอากร...เพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของภาษี ...ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือทุกประเภทดังต่อไปนี้ (1) ภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร... และวรรคสาม "ภาษีอากร... ตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นภาษีอากร...ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น" ดังนั้น ภาษีส่วนท้องถิ่นร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงถือเป็นภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร ซึ่งมาตรา 5 แห่ง ป.รัษฎากรบัญญัติให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร
ป.รัษฎากรลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร หมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ส่วน 2 การอุทธรณ์มีรายละเอียดตามมาตรา 28 ถึง 34 เป็นบทบัญญัติที่ได้กำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในส่วนการพิจารณาอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะและไม่มีบทบัญญัติว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ขั้นตอนพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวที่ป.รัษฎากรกำหนดไว้ จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อยกเว้นใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2535 มาตรา 3 วรรคสอง ที่ไม่นำความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับในกรณีนี้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่า ป.รัษฎากรในส่วนนี้ มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำหรือสูงกว่า พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 45

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9157/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักลอบนำเข้าบุหรี่, ขัดขวางเจ้าพนักงาน, และการริบของกลาง (รถยนต์) ที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา
เจ้าพนักงานตำรวจตั้งจุดตรวจและเรียกจำเลยที่ขับรถเพื่อจะผ่านจุดตรวจให้หยุดรถเพื่อตรวจการที่จำเลยไม่ยอมหยุดรถและขับผ่านจุดตรวจสกัดหลบหนีไป เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของการหลบหนี เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้ การกระทำของจำเลยจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
จำเลยใช้รถยนต์เก๋งเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดฐานลักลอบนำบุหรี่ต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าอากร รถยนต์เก๋งจึงเป็นยานพาหนะที่ได้ใช้ในการขนของที่มิได้เสียค่าภาษีซึ่งต้องริบตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 32
การที่จำเลยนำบุหรี่ต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรตามกฎหมาย และมีบุหรี่จำนวนเดียวกันนั้นโดยมิได้ปิดอากรแสตมป์ยาสูบในวันเวลาเดียวกัน เป็นการกระทำที่มีเจตนาในผลของการกระทำอย่างเดียวกัน คือหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรและปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายแม้จะผิดต่อกฎหมายหลายบท ก็เป็นการกระทำกรรมเดียว
คดีที่ไม่มีผู้นำจับต้องจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทำความผิดร้อยละยี่สิบของราคาของกลางหรือค่าปรับตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8943/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการไล่ชนและลงมือทำร้ายด้วยอาวุธ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ลงโทษฐานพยายามฆ่า
การที่จำเลยขับรถด้วยความเร็วไล่ติดตามชนรถจักรยานยนต์ 3 คัน ของฝ่ายผู้เสียหายโดยขับไล่ชนทีละคัน คันแรก ฟ. หลบหนีลงข้างทางได้ทัน จึงหันมาไล่ชนรถจักรยานยนต์ของ ส. เมื่อ ส. ขับหนีเข้าซอยไปได้ ก็หันมาไล่ชนรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายซึ่งหนีไม่ทันถูกชนท้ายรถจนผู้เสียหายกระเด็นตกจากรถจักรยานยนต์ส่วนรถจักรยานยนต์กระเด็นกระแทกจนถังน้ำมันรั่วมีรอยน้ำมันหกไปตามทางที่รถจักรยานยนต์ไถลไป ส่วนผู้เสียหายตกจากรถแล้วกระเด็นข้ามไปอยู่ในช่องเดินรถสวนอย่างเร็วจนรถแท็กซี่ที่สวนมาห้ามล้อไม่ทันเฉี่ยวชนซ้ำอีก พฤติการณ์ที่จำเลยขับรถติดตามรถจักรยานยนต์ฝ่ายผู้เสียหายมาอย่างกระชั้นชิดด้วยความเร็วและไล่ชนทีละคันเมื่อไล่ทันรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายก็พุ่งชนอย่างแรง ซึ่งรถจำเลยมีขนาดและแรงปะทะมากกว่ารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่า จำเลยเล็งเห็นผลได้ว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ นอกจากนี้เมื่อชนแล้วจำเลยยังลงจากรถพร้อมถือมีดเหวี่ยงไปมาทำท่าไล่ฟันผู้เสียหายจนต้องรีบพยุงกันหนีขึ้นรถแท็กซี่ไปทันที แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8127/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าปรับในความผิดศุลกากร ต้องใช้ราคาของรวมค่าอากร ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และการจ่ายเงินรางวัลให้ผู้จับกุม
พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ มีระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วย ซึ่งค่าอากรดังกล่าวหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้นไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยโดยนำภาษีมูลค่าเพิ่ม 6,370 บาท มารวมกับเงินค่าอากร 21,000 บาท เป็นเงิน 27,370 บาท ตามใบประเมินราคาของกลางมาคำนวณลงโทษปรับจำเลยด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ
ที่ศาลล่างทั้งสองให้จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับตามกฎหมายโดยไม่ระบุให้ชัดแจ้งกับเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งริบของกลาง และไม่ปรากฏว่าของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ มาตรา 8 วรรคสอง ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7883/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพนันฟุตบอล: โจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน แม้ไม่ได้ระบุมาตรา 4 ทวิ ในคำขอท้ายฟ้อง
แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุในใบคำขอท้ายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 4 ทวิ มาด้วย แต่โจทก์ก็ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยทั้งสองบังอาจลักลอบเล่นการพนันทายผลฟุตบอล อันเป็นการพนันนอกเหนือจากที่ได้กล่าวไว้ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 ทั้งนี้มิใช่การพนันที่ระบุชื่อไว้ในกฎกระทรวงและไม่อนุญาตให้เล่น ได้เล่นพนันทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยทั้งสองเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นทายผลการแข่งขันฟุตบอลต่างประเทศหลายทีมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย อันเป็นการบรรยายความผิดของจำเลยทั้งสองครบองค์ประกอบของมาตรา 4 ทวิแล้ว ศาลลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตราดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7242/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในชั้นศาลและการโต้แย้งข้อเท็จจริงใหม่ที่มิได้ว่ากันมาแล้ว เป็นเหตุต้องห้ามมิให้ฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดซึ่งมิใช่เป็นคดีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษที่สถานหนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และข้อเท็จจริงย่อมฟังเป็นยุติได้ดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้อง ฎีกาของจำเลยเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้ผู้เสียหายทั้งสองมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งทำให้ผู้เสียหายทั้งสองขอชำระหนี้รายนี้ได้อีกก็มิได้หมายความว่าผู้เสียหายทั้งสองได้รับชำระหนี้แล้ว ยังไม่อาจถือได้ว่าหนี้ตามเช็คได้ระงับและสิ้นผลผูกพัน จึงหาได้ทำให้ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นอันเลิกกัน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7131/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายใน 5 ปี เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ขายตามสภาพและมีภาระจำนอง
โจทก์ซื้อที่ดินมาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2536 ต่อมาโจทก์ลงทุนปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของโจทก์เองเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2541 แล้วขายไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2541 จึงเป็นกรณีที่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลา 5 ปี จึงต้องถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลังตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (6) วรรคท้าย ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมาภายหลังจากที่ได้ที่ดินมาแล้ว และการโอนที่ดินดังกล่าวทำใน 5 ปี นับแต่ได้มา โดยโจทก์ซื้อ 10 ล้านบาท ขาย 30 ล้านบาท แสดงว่าที่ดินโจทก์อยู่ในทำเลที่เจริญแล้ว แม้โจทก์จะขายที่ดินส่วนอื่นตามสภาพที่ซื้อมาก็ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 3 (6) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534
รายรับที่คำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (1) มิได้พิจารณาจากยอดเงินรายรับจริงอย่างเดียว ทรัพย์สิน ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับก็ถือเป็นรายรับด้วย การที่บริษัท ร. รับภาระจำนองไป 37,280,000 บาท ซึ่งเป็นภาระจำนองประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์ในฐานะลูกหนี้อาจก่อหนี้เต็มวงเงินตามสัญญาจำนองได้ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากจำนวนเงินที่ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและได้ปลดตัวเองจากภาระจำนอง การปลดจากภาระจำนองจึงถือเป็นรายรับที่โจทก์พึงได้รับจากการขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย ที่จำเลยประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะโดยนำราคาขายมาคำนวณกับวงเงินจำนองแล้วประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจากรายรับ 67,280,000 บาท ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7131/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณรายรับรวมภาระจำนอง และระยะเวลาการได้มา
โจทก์ซื้อที่ดินมาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2536 ต่อมาโจทก์ลงทุนปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของโจทก์เอง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2541 แล้วขายไปเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2541 จึงเป็นกรณีที่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลา 5 ปี จึงต้องถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง ตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (6) วรรคท้าย ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมาภายหลังจากที่ได้ที่ดินมาแล้ว และการโอนที่ดินดังกล่าวทำใน 5 ปี นับแต่ได้มา โดยโจทก์ซื้อ 10 ล้านบาท ขาย 30 ล้านบาท แสดงว่าที่ดินโจทก์อยู่ในทำเลที่เจริญแล้ว แม้โจทก์จะขายที่ดินส่วนอื่นตามสภาพที่ซื้อมา ก็ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 3 (6) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)
รายรับที่คำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (1) มิได้พิจารณาจากยอดเงินรายรับจริงอย่างเดียว ทรัพย์สิน ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่พึงได้รับก็ถือเป็นรายรับด้วย การที่บริษัท ร. รับภาระจำนองไป 37,280,000 บาท ซึ่งเป็นภาระจำนองประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์ในฐานะลูกหนี้อาจก่อหนี้เต็มวงเงินตามสัญญาจำนองได้ โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากจำนวนเงินที่ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและได้ปลดตัวเองจากภาระจำนอง ภาระจำนองจึงถือเป็นรายรับที่โจทก์พึงได้รับจากการขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างด้วย ที่จำเลยประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงชอบแล้ว
of 29