พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3899/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การพิจารณาข้อเท็จจริงและดุลพินิจของเจ้าพนักงาน
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 18 และ 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วนับเป็นหลักในการคำนวณภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา เมื่อโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินซึ่งพิมพ์ข้อความว่าประจำปีภาษี 2546 โดยโจทก์ผู้รับประเมินแจ้งรายการทรัพย์สินที่โจทก์ใช้ในปี 2545 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระ ภาษีดังกล่าวเรียกว่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2546 ดังนั้น ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่าโจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2546 สำหรับทรัพย์สินที่ใช้ในปี 2545 นั้น จึงชอบแล้ว
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 23 บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะเข้าไปตรวจตราทรัพย์สินได้ด้วยตนเองต่อหน้าผู้รับประเมิน ผู้เช่าหรือผู้ครองหรือผู้แทน... ในการนี้ผู้รับประเมิน ผู้เช่า หรือผู้ครองจะต้องได้รับแจ้งความเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทราบไม่ต่ำกว่าสี่สิบแปดชั่วโมงก่อนตรวจนั้น มิใช่บทบัญญัติบังคับให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามทุกกรณีไป เพียงแต่หากพนักงานเจ้าหน้าที่ประสงค์ที่จะได้รับความสะดวกตามสมควรในการตรวจตราก็ควรจะแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประเมินทราบก่อนทำการตรวจ ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามมาตราดังกล่าว จึงไม่ถึงกับทำให้การประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหินตั้งมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจและตัดสินใจที่จะชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีใหม่นั้นด้วยตนเองโดยไม่จำต้องชี้ขาดตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ที่ทำหน้าที่ช่วยกลั่นกรองตรวจสอบและเสนอข้อคิดเห็นอันเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมายซึ่งไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยกฎหมาย
กรณีคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือจะต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37 วรรคหนึ่ง หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงกรณีอันเป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือไม่ต้องแสดงเหตุผลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 วรรคสาม (1) ถึง (4) ประกอบด้วยกรณีที่ว่าเหตุผล (ที่ต้องแสดง) นั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีก การที่เหตุผลนั้นจะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วหรือไม่ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริง กรณีนี้โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 225
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 23 บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะเข้าไปตรวจตราทรัพย์สินได้ด้วยตนเองต่อหน้าผู้รับประเมิน ผู้เช่าหรือผู้ครองหรือผู้แทน... ในการนี้ผู้รับประเมิน ผู้เช่า หรือผู้ครองจะต้องได้รับแจ้งความเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทราบไม่ต่ำกว่าสี่สิบแปดชั่วโมงก่อนตรวจนั้น มิใช่บทบัญญัติบังคับให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามทุกกรณีไป เพียงแต่หากพนักงานเจ้าหน้าที่ประสงค์ที่จะได้รับความสะดวกตามสมควรในการตรวจตราก็ควรจะแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประเมินทราบก่อนทำการตรวจ ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามมาตราดังกล่าว จึงไม่ถึงกับทำให้การประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ในฐานะประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลหินตั้งมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจและตัดสินใจที่จะชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีใหม่นั้นด้วยตนเองโดยไม่จำต้องชี้ขาดตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ที่ทำหน้าที่ช่วยกลั่นกรองตรวจสอบและเสนอข้อคิดเห็นอันเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมายซึ่งไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยกฎหมาย
กรณีคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือจะต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37 วรรคหนึ่ง หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงกรณีอันเป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือไม่ต้องแสดงเหตุผลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 วรรคสาม (1) ถึง (4) ประกอบด้วยกรณีที่ว่าเหตุผล (ที่ต้องแสดง) นั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีก การที่เหตุผลนั้นจะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วหรือไม่ย่อมเป็นปัญหาข้อเท็จจริง กรณีนี้โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ การงดเบี้ยปรับ และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
หนังสือขอเชิญพบโจทก์ทั้ง 2 ครั้ง ไม่ใช่หมายเรียกเพื่อตรวจสอบไต่สวนเป็นเพียงหนังสือขอให้นำเอกสารหลักฐานไปแสดงต่อเจ้าพนักงานของจำเลยเพื่อประเมินภาษี และโจทก์มิได้รับหนังสือดังกล่าว เพราะโจทก์ย้ายที่อยู่ใหม่ จะถือว่าโจทก์ไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษียังฟังไม่ได้ถนัด
โจทก์ถือครองที่ดินในระยะเวลานานพอสมควรและขายเฉพาะส่วนของตนให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โจทก์อุทธรณ์การประเมินเพราะมีเหตุอันควรเชื่อว่าไม่ต้องเสียภาษี ถือว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงการชำระภาษีตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน
โจทก์ได้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มแก่จำเลยครบถ้วนแล้ว แต่ยังคงค้างชำระเบี้ยปรับและภายหลังจากโจทก์ยื่นฟ้องคดี โจทก์ยังได้ชำระภาษีให้แก่จำเลยอีกบางส่วน พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นแสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีอากรตามการประเมิน แม้ขณะที่มีการประเมิน คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 127/2546 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 ซึ่งกำหนดแนวทางให้จำเลยงดเบี้ยปรับภาษีได้นั้นจะยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่คำสั่งดังกล่าวกำหนดเพื่อเป็นการบรรเทาภาระเบี้ยปรับให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและได้ขายอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 30 มกราคม 2542 เมื่อโจทก์ขายที่ดินในวันที่ 18 มีนาคม 2537 และกรณีของโจทก์ยังไม่ยุติตามการประเมิน คำสั่งนี้จึงนำมาเป็นเหตุผลประกอบในการพิจารณาบรรเทาเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ได้
โจทก์ถือครองที่ดินในระยะเวลานานพอสมควรและขายเฉพาะส่วนของตนให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน โจทก์อุทธรณ์การประเมินเพราะมีเหตุอันควรเชื่อว่าไม่ต้องเสียภาษี ถือว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงการชำระภาษีตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน
โจทก์ได้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มแก่จำเลยครบถ้วนแล้ว แต่ยังคงค้างชำระเบี้ยปรับและภายหลังจากโจทก์ยื่นฟ้องคดี โจทก์ยังได้ชำระภาษีให้แก่จำเลยอีกบางส่วน พฤติการณ์ของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นแสดงว่าโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงภาษีอากรตามการประเมิน แม้ขณะที่มีการประเมิน คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 127/2546 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 ซึ่งกำหนดแนวทางให้จำเลยงดเบี้ยปรับภาษีได้นั้นจะยังไม่มีผลใช้บังคับ แต่คำสั่งดังกล่าวกำหนดเพื่อเป็นการบรรเทาภาระเบี้ยปรับให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและได้ขายอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 30 มกราคม 2542 เมื่อโจทก์ขายที่ดินในวันที่ 18 มีนาคม 2537 และกรณีของโจทก์ยังไม่ยุติตามการประเมิน คำสั่งนี้จึงนำมาเป็นเหตุผลประกอบในการพิจารณาบรรเทาเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแสวงหากำไร ไม่ได้รับการยกเว้น
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9 บัญญัติว่า ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ท่านให้ยกเว้นจากบทบัญญัติแห่งภาคนี้ (3) ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและในการศึกษา โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงต้องประกอบด้วยลักษณะสามประการ กล่าวคือประการแรก เป็นโรงเรียนสาธารณะ ประการที่สอง จะต้องกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และประการที่สาม จะต้องใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้น
ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2522 มาตรา 61 แสดงให้เห็นว่า การกระทำกิจการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอย่างเช่นมหาวิทยาลัยโจทก์เป็นกิจการที่หาผลกำไรได้
กิจการมหาวิทยาลัยโจทก์เป็นกิจการที่กระทำเพื่อหวังผลกำไรโดยแท้ และเมื่อผู้รับใบอนุญาตสามารถได้รับการจัดสรรผลกำไรได้ตามที่พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2522 มาตรา 61 วรรคสอง บัญญัติไว้ จึงเป็นกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล
เมื่อโจทก์กระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลแล้ว การที่ผู้รับใบอนุญาตที่จะได้รับปันผลเงินคืนจะมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรหรือไม่ เป็นคนละกรณีกันกับโจทก์ ดังนั้น ทรัพย์สินของโจทก์จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9 (3)
ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2522 มาตรา 61 แสดงให้เห็นว่า การกระทำกิจการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอย่างเช่นมหาวิทยาลัยโจทก์เป็นกิจการที่หาผลกำไรได้
กิจการมหาวิทยาลัยโจทก์เป็นกิจการที่กระทำเพื่อหวังผลกำไรโดยแท้ และเมื่อผู้รับใบอนุญาตสามารถได้รับการจัดสรรผลกำไรได้ตามที่พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2522 มาตรา 61 วรรคสอง บัญญัติไว้ จึงเป็นกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล
เมื่อโจทก์กระทำกิจการเพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลแล้ว การที่ผู้รับใบอนุญาตที่จะได้รับปันผลเงินคืนจะมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรหรือไม่ เป็นคนละกรณีกันกับโจทก์ ดังนั้น ทรัพย์สินของโจทก์จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: มหาวิทยาลัยเอกชนมีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย ถือเป็นกิจการแสวงหาผลกำไร ต้องเสียภาษี
ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 9 โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องเป็นโรงเรียนสาธารณะ กระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้ได้รับใบอุนญาตสามารถได้รับการจัดสรรผลกำไรตาม พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ มาตรา 61 ย่อมแสดงให้เห็นว่าการกระทำกิจการของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอย่างเช่นมหาวิทยาลัยโจทก์เป็นกิจการที่หาผลกำไรได้ เมื่อโจทก์กระทำกิจการเพื่อหวังผลกำไรส่วนบุคคลทรัพย์สินของโจทก์จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 9 (3)
ตามคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน โจทก์มิได้โต้แย้งการประเมินในประเด็นใด แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในรายการนั้นแล้ว แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 ค่ารายปีจึงยุติไปตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในอัตราตามการประเมินและคำชี้ขาด
ตามคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน โจทก์มิได้โต้แย้งการประเมินในประเด็นใด แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในรายการนั้นแล้ว แม้ศาลภาษีอากรกลางจะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 ค่ารายปีจึงยุติไปตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินในอัตราตามการประเมินและคำชี้ขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอายัดทรัพย์สินของผู้ค้ำประกัน – การปฏิบัติตามคำสั่งอายัดและผลของการหักกลบลบหนี้
เงินค่าหุ้นของผู้คัดค้านที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นสมาชิกของสหกรณ์ผู้ร้องที่ 2 ที่ได้ชำระแก่ผู้ร้องที่ 2 ไปแล้ว แม้จะเป็นเงินทุนของผู้ร้องที่ 2 แต่ผู้คัดค้านก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาคืนได้ อีกทั้งมิใช่ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285, 286 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีคำสั่งให้ผู้ร้องที่ 2 จัดส่งเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงผู้ร้องที่ 2 ขออายัดเงินค่าหุ้นของผู้คัดค้านในสหกรณ์ผู้ร้องที่ 2 โดยให้จัดส่งเงินตามที่อายัดภายใน 10 วัน นับแต่วันถึงกำหนดจ่าย คำสั่งอายัดดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 (3) ผู้ร้องที่ 2 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม หลังจากผู้ร้องที่ 2 ได้รับหนังสือแจ้งอายัดแล้ว ผู้ร้องที่ 2 กับเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือโต้ตอบกันเกี่ยวกับเงินที่มีคำสั่งอายัดหลายฉบับ แต่ช่วงเวลาดังกล่าวผู้คัดค้านยังมิได้ขาดจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องที่ 2 ผู้ร้องที่ 2 จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องส่งเงินค่าหุ้นให้เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่เมื่อผู้คัดค้านขาดจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องที่ 2 ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นนั้น เป็นผลให้เงินค่าหุ้นถึงกำหนดจ่าย ผู้ร้องที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องส่งเงินค่าหุ้นตามคำสั่งอายัด จะอ้างว่าเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดอีกหลายฉบับต่อจากคำสั่งอายัดเดิมถือว่าคำสั่งอายัดเดิมเป็นอันสิ้นผล และผู้ร้องที่ 2 ได้รับคำสั่งอายัดเงินค่าหุ้นครั้งสุดท้ายหลังจากที่ผู้ร้องที่ 2 ได้นำเงินค่าหุ้นของผู้คัดค้านไปหักกลบลบหนี้กับเงินกู้ของผู้คัดค้านแล้วหาได้ไม่
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงผู้ร้องที่ 2 ขออายัดเงินค่าหุ้นของผู้คัดค้านในสหกรณ์ผู้ร้องที่ 2 โดยให้จัดส่งเงินตามที่อายัดภายใน 10 วัน นับแต่วันถึงกำหนดจ่าย คำสั่งอายัดดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 (3) ผู้ร้องที่ 2 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม หลังจากผู้ร้องที่ 2 ได้รับหนังสือแจ้งอายัดแล้ว ผู้ร้องที่ 2 กับเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือโต้ตอบกันเกี่ยวกับเงินที่มีคำสั่งอายัดหลายฉบับ แต่ช่วงเวลาดังกล่าวผู้คัดค้านยังมิได้ขาดจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องที่ 2 ผู้ร้องที่ 2 จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องส่งเงินค่าหุ้นให้เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่เมื่อผู้คัดค้านขาดจากการเป็นสมาชิกของผู้ร้องที่ 2 ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าหุ้นนั้น เป็นผลให้เงินค่าหุ้นถึงกำหนดจ่าย ผู้ร้องที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องส่งเงินค่าหุ้นตามคำสั่งอายัด จะอ้างว่าเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดอีกหลายฉบับต่อจากคำสั่งอายัดเดิมถือว่าคำสั่งอายัดเดิมเป็นอันสิ้นผล และผู้ร้องที่ 2 ได้รับคำสั่งอายัดเงินค่าหุ้นครั้งสุดท้ายหลังจากที่ผู้ร้องที่ 2 ได้นำเงินค่าหุ้นของผู้คัดค้านไปหักกลบลบหนี้กับเงินกู้ของผู้คัดค้านแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสำแดงราคาสินค้านำเข้าเท็จ การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร
จำเลยสำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายจริงอันเป็นกรณีสำแดงเท็จตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 2 ไม่ว่าจะมีผู้แจ้งความนำจับหรือไม่ก็ไม่อาจเป็นกรณีตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 เมื่อไม่อาจเป็นกรณีตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 จึงเป็นกรณีที่เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่งและวรรคสามได้ แม้จะมิได้ระบุการเรียกเก็บมาในแบบแจ้งการประเมินก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรกรณีสำแดงเท็จ และข้อยกเว้นตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร
การชำระอากรเพิ่มตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 และในการคำนวณเงินเพิ่ม เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน และเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็นเงินอากร จะเห็นได้ว่า กฎหมายมิให้เรียกเก็บเงินเพิ่มดังกล่าวเฉพาะกรณีที่มีการชำระอากรเพิ่มตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 เท่านั้น จำเลยสำแดงราคาสินค้าที่นำเข้าต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายจริง จึงเป็นกรณีสำแดงเท็จตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 2 ไม่ว่าจะมีผู้แจ้งความนำจับหรือไม่ก็ไม่อาจเป็นกรณีตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 เมื่อไม่อาจเป็นกรณีตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 3 จึงเป็นกรณีที่เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระตามมาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่งและวรรคสามได้ แม้จะมิได้ระบุการเรียกเก็บมาในแบบแจ้งการประเมินก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: คำพิพากษาศาลฎีกายันบุคคลภายนอก & การได้มาซึ่งสิทธิโดยการครอบครอง
ศาลฎีกามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และขับไล่ ท. ระหว่างบังคับคดี จำเลยได้ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ไว้ โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) อยู่ในเขตที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและใช้ประโยชน์ และจำเลยเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินพิพาท โดยรับมอบการครอบครองมาจาก ท. โดยชอบ จนได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท กับมีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดแย้งกันไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินคนละแปลงกันหรือไม่ และจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท กรณีจึงรับฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ใช่คู่ความในคดีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาก็ตาม แต่คำพิพากษาในคดีดังกล่าวก็ใช้ยันจำเลยผู้เป็นบุคคลภายนอกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) การที่จำเลยให้การรับว่าได้รับที่ดินพิพาทมาจาก ท. ซึ่งไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลยได้ อันเป็นการรับมอบที่ดินพิพาทโดยเด็ดขาด มิใช่เพื่อประกันการชำระหนี้แล้วได้ครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 1 ปี ทำให้ได้สิทธิครอบครอง โดยไม่ได้ให้การว่าจำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ด้วยเหตุประการอื่น จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติข้างต้น โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ไว้ แม้ว่า ท. ยังไม่ได้ชำระเงินยืมและดอกเบี้ยให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การขัดแย้งในคำให้การ การรับมอบที่ดินโดยเด็ดขาด และผลของคำพิพากษาเดิมที่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ฟ้องขับไล่ ท.และศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5379/2544 คำให้การและคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยระบุว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 อยู่ในเขตที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและใช้ประโยชน์ และยังได้ระบุว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 โดยรับมอบการครอบครองมาจาก ท. โดยชอบ จนได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกับมีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 เนื่องจากจำเลยยังไม่ได้รับชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ยจาก ท. คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดแย้งกันไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินคนละแปลงหรือไม่ และจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 หรือไม่ กรณีจึงรับฟังได้ตามคำฟ้องโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน และโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5379/2544 แม้จำเลยไม่ใช่คู่ความในคดีที่ศาลฎีกาพิพากษาก็ตาม แต่คำพิพากษาในคดีดังกล่าวก็ใช้ยันจำเลยผู้เป็นบุคคลภายนอกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การรับว่า ได้รับที่ดินพิพาทมาจาก ท. ซึ่งไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลยได้ อันเป็นการรับมอบที่ดินโดยเด็ดขาด มิใช่เพื่อประกันการชำระหนี้ดังที่กล่าวไว้ในคำให้การครั้งแรก แล้วได้ครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 1 ปี ทำให้ได้สิทธิครอบครอง โดยไม่ได้ให้การว่า จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ด้วยเหตุประการอื่น จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติข้างต้น โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 ไว้แม้ว่า ท.ยังไม่ได้ชำระเงินยืมและดอกเบี้ยแก่จำเลยก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1628/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรและคำสั่งศาล ทำให้ศาลไม่รับฟ้องคดี
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้โจทก์ส่งคำอุทธรณ์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน 10 วัน แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ศาลภาษีอากรกลางชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 17, 20 ประกอบข้อกำหนด ฯ ข้อ 12
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่มีอำนาจยึดและอายัดทรัพย์เพราะเลยกำหนดอายุความ 10 ปีแล้ว นั้น เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรและคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางภายในเวลาที่กำหนด และศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่มีอำนาจยึดและอายัดทรัพย์เพราะเลยกำหนดอายุความ 10 ปีแล้ว นั้น เมื่อโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรและคำสั่งของศาลภาษีอากรกลางภายในเวลาที่กำหนด และศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์โดยชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัย