พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1545/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิรุธการซื้อขายที่ดิน, การครอบครองปรปักษ์, และภาระการพิสูจน์ของโจทก์เมื่ออ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า ข้อ 1. จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ข้อ 2. โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนซื้อขาย โดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริต และจดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ และข้อ 3. ค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงไร โดยในชั้นพิพากษาศาลชั้นต้นได้รวมประเด็นข้อพิพาทเป็นข้อเดียวกันว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและโจทก์สามารถขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นก็ยังคงสาระสำคัญในประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ไว้เช่นเดิม คงมีแต่ถ้อยคำที่แตกต่างกันไป เพื่อความสะดวกในการวินิจฉัยเท่านั้น จึงไม่เป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่หรือแก้ไขในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญจนถึงกับเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อพิพาท
เมื่อศาลชั้นต้นคงสาระสำคัญในประเด็นข้อพิพาทในเรื่องกรรมสิทธิ์ไว้เช่นเดิมดังที่ชี้สองสถานไว้ กรณีจึงยังคงมีประเด็นดังที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนซื้อขายโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริต และจดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ ซึ่งจำเลยต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต และจดทะเบียนโดยไม่สุจริต แม้ว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสืบก่อนเพื่อความสะดวกในการพิจารณา ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะภาระการพิสูจน์นั้นมีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้แล้วว่าจะตกแก่คู่ความฝ่ายใดไม่อาจเปลี่ยนแปลงความถูกต้องตามกฎหมายไปตามคำสั่งศาล
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จำเลยจะพิสูจน์ว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและจดทะเบียนโดยไม่สุจริตนั้น ข้อเท็จจริงต้องฟังยุติตามที่โจทก์อ้างในคำฟ้องก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินส่วนเดียวกับที่โจทก์ซื้อหรือมีกรรมสิทธิ์และจำเลยให้การปฏิเสธไว้ ซึ่งปัญหาเรื่องนี้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้โดยชัดแจ้ง และจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้สละประเด็นข้อพิพาทนี้ดังที่โจทก์ฎีกา เพราะประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินส่วนเดียวกับที่ดินที่โจทก์อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์หรือไม่นั้น เป็นที่มาซึ่งนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดในชั้นชี้สองสถานหรือในคำพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลย จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินดังกล่าวดังที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องหรือไม่เพราะถ้าเป็นที่ดินคนละแปลงกัน การแย่งการครอบครองตามคำฟ้องของโจทก์ย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยเป็นประการแรกชอบแล้ว ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 142
เมื่อศาลชั้นต้นคงสาระสำคัญในประเด็นข้อพิพาทในเรื่องกรรมสิทธิ์ไว้เช่นเดิมดังที่ชี้สองสถานไว้ กรณีจึงยังคงมีประเด็นดังที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนซื้อขายโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริต และจดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ ซึ่งจำเลยต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต และจดทะเบียนโดยไม่สุจริต แม้ว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสืบก่อนเพื่อความสะดวกในการพิจารณา ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะภาระการพิสูจน์นั้นมีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้แล้วว่าจะตกแก่คู่ความฝ่ายใดไม่อาจเปลี่ยนแปลงความถูกต้องตามกฎหมายไปตามคำสั่งศาล
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จำเลยจะพิสูจน์ว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและจดทะเบียนโดยไม่สุจริตนั้น ข้อเท็จจริงต้องฟังยุติตามที่โจทก์อ้างในคำฟ้องก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินส่วนเดียวกับที่โจทก์ซื้อหรือมีกรรมสิทธิ์และจำเลยให้การปฏิเสธไว้ ซึ่งปัญหาเรื่องนี้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้โดยชัดแจ้ง และจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้สละประเด็นข้อพิพาทนี้ดังที่โจทก์ฎีกา เพราะประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินส่วนเดียวกับที่ดินที่โจทก์อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์หรือไม่นั้น เป็นที่มาซึ่งนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดในชั้นชี้สองสถานหรือในคำพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลย จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินดังกล่าวดังที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องหรือไม่เพราะถ้าเป็นที่ดินคนละแปลงกัน การแย่งการครอบครองตามคำฟ้องของโจทก์ย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยเป็นประการแรกชอบแล้ว ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้บริการขนส่งได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ณ) ป.รัษฎากร การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อการรับ-ส่งผู้โดยสารกระทำในนามของโจทก์และโจทก์เป็นผู้รับค่าโดยสารแล้วแบ่งให้แก่พนักงานขับรถและเจ้าของรถร่วมตามอัตราร้อยละที่ตกลงกันไว้ การให้บริการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการขนส่ง เมื่อเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร จึงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ณ)
คำฟ้องของโจทก์มิได้ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้นิติบุคคล อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า กรณีมีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องของโจทก์มิได้ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้นิติบุคคล อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า กรณีมีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้บริการขนส่งทางบกได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 81 (1) (ณ) และประเด็นการงดลดเบี้ยปรับ
โจทก์ประกอบกิจการรถยนต์บริการรับ - ส่งผู้โดยสาร ณ อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานกรุงเทพ ผู้โดยสารจะติดต่อว่าจ้างโจทก์และโจทก์ได้รับค่าโดยสารจากผู้โดยสารตามอัตราที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนด โดยรถยนต์ที่ใช้มีทั้งที่เป็นของโจทก์เอง เช่าจากบุคคลอื่น และรถร่วม รถยนต์ที่เป็นของโจทก์ พนักงานขับรถจะได้รับค่าตอบแทนร้อยละ 12 ของค่าโดยสาร ส่วนรถยนต์ที่เช่าจากบุคคลอื่น พนักงานขับรถจะได้ค่าตอบแทนร้อยละ 80 และ ร้อยละ 77 ของค่าโดยสาร เนื่องจากพนักงานขับรถจะต้องรับผิดชอบค่าเช่า ค่าซ่อม ค่าทางด่วน ค่าน้ำมัน ค่าแบตเตอรี่และค่ายางรถยนต์เอง สำหรับรถร่วมนั้นเป็นรถยนต์ของบุคคลอื่นที่นำมาวิ่งรับ - ส่งผู้โดยสารในนามของโจทก์ ซึ่งจะได้รับค่าตอบแทนร้อยละ 75 ของค่าโดยสาร โดยจะคำนวณและจ่ายค่าตอบแทนให้ทุก 15 วัน เมื่อการรับ - ส่งผู้โดยสารกระทำในนามของโจทก์ และโจทก์เป็นผู้รับค่าโดยสารแล้วแบ่งให้แก่พนักงานขับรถและเจ้าของรถร่วมในอัตราร้อยละที่ตกลงกันไว้ การให้บริการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการขนส่ง และเมื่อเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร จึงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ณ)
คำฟ้องของโจทก์มิได้ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า กรณีมีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องของโจทก์มิได้ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า กรณีมีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาภาษีต้องมีผู้รับประเมินลงนาม หรือมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง
คำร้องขอพิจารณาการประเมินใหม่ต้องเขียนลงในแบบพิมพ์และผู้รับประเมินต้องลงนามตามที่ พ.ร.พ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 26 กำหนด และหากผู้รับประเมินต้องการให้ตัวแทนลงนามแทนก็ต้องมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 37 เมื่อฟังไม่ได้ว่า ส.ได้รับมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีอำนาจให้กระทำการแทนในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ไม่อาจให้สัตยาบันภายหลังได้ จึงเป็นการยื่นคำร้องที่โจทก์ผู้รับประเมินไม่ได้ลงนามหรือมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ตัวแทนลงนามแทน ไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินนมาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 37 ถือว่าโจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 7(1) และมาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกตรวจสอบภาษี และผลกระทบต่อการอุทธรณ์การประเมิน
เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 มีหนังสือเชิญหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบ แต่โจทก์อ้างว่ายังรวบรวมเอกสารไม่เสร็จ จึงไม่ได้ไปพบโดยมิได้แจ้งพนักงานของจำเลยที่ 1 ทราบ ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ไปพบเพื่อให้ถ้อยคำประกอบการตรวจสอบไต่สวนและให้นำเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดไปส่งมอบ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ได้โทรศัพท์ไปขอเลื่อนนัดถึง 3 ครั้ง โดยอ้างว่าอยู่ระหว่างการประสานงานกับสำนักงานบัญชีเกี่ยวกับเอกสารที่จะต้องนำไปส่งมอบ เจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือเตือนให้โจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียก แต่หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ก็มิได้ไปพบหรือส่งมอบเอกสารแต่อย่างใด หลังจากนั้นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ออกหนังสือเชิญพบอีก 2 ครั้ง เพื่อรับทราบผลการตรวจสอบภาษี แต่หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ก็มิได้ไปพบ พฤติการณ์ของโจทก์ที่เพิกเฉย เป็นการไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามมาตรา 88 (3) แม้โจทก์นำส่งเอกสารในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ก็เป็นคนละขั้นตอนกับในชั้นตรวจสอบ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังโจทก์การประเมินจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 88/5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับเหมาช่วงและการหักรายจ่าย
การคำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นจะต้องนำรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นหักด้วยรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้นั้นตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ต้องนำรายได้ที่โจทก์ได้รับจากการสร้างถนนมารวมเป็นรายรับของโจทก์และต้องนำรายจ่ายที่บริษัท ศ. ซึ่งได้รับมอบจากโจทก์ให้เป็นผู้ดำเนินการแทนได้จ่ายไปตามโครงการก่อสร้างถนนมาคิดคำนวณเป็นรายจ่ายของโจทก์ด้วย
โจทก์ไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้างถนน แต่โจทก์ให้บริษัท ศ. รับช่วงไปทั้งโครงการ โจทก์จึงนำรายจ่ายของบริษัท ศ มาหักได้เท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างของโครงการดังกล่าวเป็นรายจ่ายของโจทก์เองและเป็นรายจ่ายต้องห้าม ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายต้องห้ามดังกล่าวจึงเป็นภาษีซื้อต้องห้ามไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะคำนวณเบี้ยปรับทุกฐานความผิด แต่ให้เรียกเก็บในกรณีความผิดฐานเดียวกันเพียงอนุมาตราเดียว จึงไม่เป็นการเรียกเก็บเบี้ยปรับซ้ำซ้อน
โจทก์ไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้างถนน แต่โจทก์ให้บริษัท ศ. รับช่วงไปทั้งโครงการ โจทก์จึงนำรายจ่ายของบริษัท ศ มาหักได้เท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างของโครงการดังกล่าวเป็นรายจ่ายของโจทก์เองและเป็นรายจ่ายต้องห้าม ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายต้องห้ามดังกล่าวจึงเป็นภาษีซื้อต้องห้ามไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะคำนวณเบี้ยปรับทุกฐานความผิด แต่ให้เรียกเก็บในกรณีความผิดฐานเดียวกันเพียงอนุมาตราเดียว จึงไม่เป็นการเรียกเก็บเบี้ยปรับซ้ำซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้จะขัดต่อระเบียบภายในกรมสรรพากร
แม้โจทก์จะมอบอำนาจให้ น. ไปสละประเด็นที่ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว คงติดใจเฉพาะกรณีขอให้ลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม แต่คำฟ้องของโจทก์ในประเด็นที่ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ได้กระทำภายใน 2 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้นเป็นการกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยฝ่าฝืนมาตรา 88/6 (1) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีอำนาจประเมิน ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลในประเด็นดังกล่าวได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ข้อที่โจทก์สละสิทธิการอุทธรณ์เฉพาะในประเด็นขอยกเลิกการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องศาลแต่อย่างใด
โจทก์ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย แต่ใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่มีสิทธิดังกล่าวก็มีมูลค่าที่โจทก์พึงได้รับอันเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงต้องรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษีนั้นเสมือนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86/13 วรรคสอง สำหรับกรณีโจทก์ขายสินค้าให้ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก โจทก์จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 เฉพาะการขายสินค้าที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 โดยต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราปกติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 80 ส่วนกรณีโจทก์ยกเลิกใบกำกับภาษีโดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ป.รัษฎากร โจทก์ต้องรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษีเสมือนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86/13 วรรคสอง ใบกำกับภาษีที่โจทก์ยกเลิกโดยไม่ถูกต้องจึงมีมูลค่าที่โจทก์พึงได้รับ และเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีโดยแสดงฐานภาษีต่ำกว่ามูลค่าที่โจทก์พึงได้รับตามความหมายของมาตรา 88/6 (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อนำยอดขายตามแบบแสดงรายการภาษีที่โจทก์ยื่นไว้เปรียบเทียบกับยอดขายตามผลการตรวจสอบอันถือว่าเป็นมูลค่าที่โจทก์พึงได้รับแล้ว ปรากฏว่าโจทก์แสดงฐานภาษีต่ำกว่ามูลค่าที่พึงได้รับเป็นจำนวนเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดขายที่แสดงไว้ในแบบแสดงรายการภาษี กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 88/6 (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินได้ภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี
ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจปฏิบัติการภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ.2539 มิใช่กฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ย่อมเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย การประเมินที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบแต่เป็นไปตาม ป.รัษฎากร มิได้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ประเด็นนี้โจทก์มิได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
โจทก์ออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิที่จะออกตามกฎหมาย แต่ใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่มีสิทธิดังกล่าวก็มีมูลค่าที่โจทก์พึงได้รับอันเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงต้องรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษีนั้นเสมือนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86/13 วรรคสอง สำหรับกรณีโจทก์ขายสินค้าให้ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก โจทก์จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 เฉพาะการขายสินค้าที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 โดยต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราปกติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 80 ส่วนกรณีโจทก์ยกเลิกใบกำกับภาษีโดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ป.รัษฎากร โจทก์ต้องรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษีเสมือนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86/13 วรรคสอง ใบกำกับภาษีที่โจทก์ยกเลิกโดยไม่ถูกต้องจึงมีมูลค่าที่โจทก์พึงได้รับ และเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีโดยแสดงฐานภาษีต่ำกว่ามูลค่าที่โจทก์พึงได้รับตามความหมายของมาตรา 88/6 (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อนำยอดขายตามแบบแสดงรายการภาษีที่โจทก์ยื่นไว้เปรียบเทียบกับยอดขายตามผลการตรวจสอบอันถือว่าเป็นมูลค่าที่โจทก์พึงได้รับแล้ว ปรากฏว่าโจทก์แสดงฐานภาษีต่ำกว่ามูลค่าที่พึงได้รับเป็นจำนวนเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดขายที่แสดงไว้ในแบบแสดงรายการภาษี กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 88/6 (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินได้ภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี
ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการตรวจปฏิบัติการภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ.2539 มิใช่กฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ย่อมเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย การประเมินที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบแต่เป็นไปตาม ป.รัษฎากร มิได้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ประเด็นนี้โจทก์มิได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้องจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงรับผิดในสัญญาโอนสิทธิบัตรภาษีมีผลผูกพันจำเลย แม้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้อื่น และไม่ขาดอายุความ
คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางมิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้จึงไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นควรวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเองโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษี ซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ทำข้อตกลงให้แก่โจทก์ว่า หากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด จำเลยที่ 3 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้ง อันเป็นการใช้สิทธิฟ้องคดีตามข้อตกลงในสัญญาที่จำเลยที่ 3 ให้ไว้แก่โจทก์ก่อนรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีพิพาท จึงหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
เมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีโดยสัญญาว่าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดจำเลยที่ 3 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการไม่มีข้อโต้แย้ง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้และมิใช่ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉล หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงใช้บังคับได้ จำเลยที่ 3 จึงมีความรับผิดตามสัญญาที่ให้ไว้แก่โจทก์ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวไม่มีกำหนดอายุความไว้เฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษี ซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ทำข้อตกลงให้แก่โจทก์ว่า หากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใด จำเลยที่ 3 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการโดยไม่มีข้อโต้แย้ง อันเป็นการใช้สิทธิฟ้องคดีตามข้อตกลงในสัญญาที่จำเลยที่ 3 ให้ไว้แก่โจทก์ก่อนรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีพิพาท จึงหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
เมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอรับโอนสิทธิตามบัตรภาษีโดยสัญญาว่าหากเกิดการทุจริตในการขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากร และเกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่ากรณีใดจำเลยที่ 3 ยินยอมรับผิดต่อโจทก์ทุกประการไม่มีข้อโต้แย้ง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้และมิใช่ความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้โจทก์ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉล หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จึงใช้บังคับได้ จำเลยที่ 3 จึงมีความรับผิดตามสัญญาที่ให้ไว้แก่โจทก์ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวไม่มีกำหนดอายุความไว้เฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10755/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท: การซื้อขายแทนกันและเจตนาในการใส่ชื่อทายาท
คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 4161 ส่วนของ บ. บิดาโจทก์ทั้งสองและส่วนของ ผ. ซึ่งเป็นบิดาของ บ. มิได้ฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์มรดกโดยตรง เพราะจำเลยเป็นเพียงพี่สาวมิใช่ทายาทโดยธรรมของ บ. สำหรับที่ดินของ ผ. แม้ต่อมาตกเป็นมรดกของทายาทโดยธรรมซึ่งรวมทั้งจำเลยด้วยก็มิใช่การพิพาทกันเรื่องมรดกโดยตรง แต่พิพาทกันในส่วนที่โจทก์ทั้งสองอ้างว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมของ ผ. การที่คำฟ้องกล่าวถึงการขอรับมรดกหรือการรับมรดกแทนที่ของโจทก์ทั้งสองและของ ผ. ในกรรมสิทธิ์รวมที่เป็นส่วนของ บ. และ ผ. ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงที่มาของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 4161 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ บ. ซึ่งโจทก์ทั้งสองทายาทของ บ. เข้ารับมรดกแทนที่ ฟ้องโจทก์จึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องมรดกเลยไม่ว่าเรื่องคดีขาดอายุความ (มรดก) ตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและจำเลยแก้ฎีกาไว้ รวมทั้งฎีกาของจำเลยในประเด็นว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาเกินคำขอในกรณีที่กำหนดให้จำเลยชำระราคาค่าที่ดินในส่วนของ บ. ในราคา 417,600 บาท ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ทั้งสองและจำเลยในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 4161 ซึ่งเป็นส่วนของ บ. ตามคำฟ้องเฉพาะในเรื่องกรรมสิทธิ์รวมเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8679/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้และการสละสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ย: การกระทำของเจ้าหนี้แสดงเจตนาสละสิทธิ
แม้จำเลยตกลงค้ำประกันหนี้ของกิจการร่วมค้าชนิดไม่มีเงื่อนไข และชนิดไม่เพิกถอน จำเลยต้องชำระหนี้ค้ำประกันแก่โจทก์ทันทีที่โจทก์เรียกให้ชำระ โดยไม่มีสิทธิที่จะคัดค้าน และไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ไปเรียกร้องจากกิจการร่วมค้าก่อนก็ตาม แต่ตามที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกัน จำเลยไม่ได้ชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนด โจทก์ก็มิได้ถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญแต่ได้ผ่อนเวลาเรื่อยมา การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่โจทก์ผ่อนเวลาให้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 นอกจากนี้โจทก์ก็รับเงินที่ชำระโดยไม่อิดเอื้อน หรือขอสงวนสิทธิในการเรียกดอกเบี้ย เนื่องจากการชำระหนี้ที่ล่าช้า แต่โจทก์กลับออกใบเสร็จรับเงินให้จำเลยว่าได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการค้ำประกันแล้ว และโจทก์ยังได้คืนหนังสือสัญญาค้ำประกันทั้ง 8 ฉบับ ให้จำเลยด้วย โจทก์จึงไม่ติดใจเรียกค่าเสียหายที่จำเลยชำระเงินล่าช้า แม้โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวฉบับลงวันที่ 4 มิถุนายน 2541 เรียกให้จำเลยชำระค่าเสียหายดังกล่าว ก็เป็นการเรียกร้องภายหลังจากการชำระหนี้การค้ำประกันของจำเลยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ย่อมไม่ทำให้โจทก์กลับมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวขึ้นมาอีก จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเนื่องจากจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ล่าช้า