คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9054/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์ในการนำสืบหลักฐานความผิดฐานมีอาวุธปืน และการพิพากษาแก้โทษจำเลย
ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลจึงจะรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์และพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองได้ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่มีใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืน โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบว่า จำเลยทั้งสองไม่มีใบอนุญาตดังกล่าว แม้จะปรากฏจากคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นเยาวชนและ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 13 (4) บัญญัติไว้ว่า ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตดังกล่าวให้แก่ผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตาม แต่การที่บุคคลจะบรรลุนิติภาวะนั้นมิได้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้นั้นเสมอไป เพราะบุคคลอาจบรรลุนิติภาวะก่อนอายุ 20 ปี ได้ด้วยการสมรสด้วย ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองอายุไม่ถึง 20 ปี โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยทั้งสองไม่มีใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืนด้วยเมื่อโจทก์ไม่นำสืบ จึงไม่สามารถลงโทษจำเลยทั้งสองในฐานความผิดดังกล่าวตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ได้ คงลงโทษได้เพียงฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371, 83 เท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8583/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันทำร้ายร่างกายจนผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส โดยมีพยานยืนยันถึงการกระทำของจำเลย
จำเลยดันรถจักรยานยนต์ไปชนกับรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายนั่งซ้อนมาจนล้มลง เพื่อให้พวกของจำเลยรุมทำร้ายผู้เสียหายจนผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บสาหัส จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8268/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพยายามฆ่าและพาอาวุธโดยไม่ได้รับอนุญาต: การจำกัดขอบเขตการฟ้องและบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และ 83 แม้โจทก์จะอ้างมาตรา 289 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายอย่างไร จึงมีลักษณะเป็นเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา 289 ศาลจึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 289 ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากที่โจทก์ฟ้องและไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ คงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายเท่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 และ 192 วรรคสี่ ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตโจทก์มิได้นำสืบว่า อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่พวกของจำเลยใช้ในการพยายามฆ่าผู้เสียหายนั้น เป็นอาวุธปืนที่จำเลยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีและให้พาติดตัวไปตามกฎหมาย ทั้งโจทก์ก็มิได้อาวุธปืนดังกล่าวมาเป็นของกลาง ในชั้นสอบสวนก็ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การจำเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เลย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ได้ คงลงโทษได้เพียงในความผิดฐานพาอาวุธติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะตาม ป.อ. มาตรา 371 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8198/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำ 'ปัดป้อง' ไม่ถึงขั้น 'ต่อสู้ขัดขวาง' เจ้าพนักงาน
การที่สิบตำรวจตรี ส. เบิกความว่า เมื่อวิ่งไล่ตามจำเลยจนทันแล้วจำเลยหันกลับมาใช้มือปัดป้องไม่ยอมให้พยานเข้ามาใกล้ตัว เมื่อพยานเข้าไปกอดและพยานให้จำเลยคว่ำหน้าลง จำเลยล้มลงพร้อมกับพยาน จากนั้นพยานสั่งให้จำเลยนอนอยู่เฉยๆ แล้วพยานใส่กุญแจข้อมือและให้จำเลยลุกขึ้น โดยไม่ปรากฏว่าพยานเบิกความว่าจำเลยใช้เท้าถีบหรือใช้มือผลักอก อันเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายแต่อย่างใดการที่จำเลยปัดป้องไม่ยอมให้สิบตำรวจตรี ส. เข้าใกล้ตัว การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7453/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สนับสนุนการกระทำความผิดลักทรัพย์: การรออยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุและไม่สามารถช่วยเหลือได้ ไม่ถือเป็นตัวการร่วม
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์นำจำเลยที่ 2 และ ด. มาที่เกิดเหตุแล้วรออยู่ จากนั้นบุคคลทั้งสองได้ปีนกำแพงเข้าไปแล้วลักลวดทองแดงของกลางภายในบริษัทผู้เสียหายนั้น เห็นได้ว่าบริเวณที่จำเลยที่ 1 รออยู่ห่างจากจุดที่มีการลักทรัพย์ประมาณ 70 เมตร ไม่สามารถมองเห็นภายในบริษัทผู้เสียหายที่เกิดเหตุได้ และไม่สามารถช่วยเหลือ ด. และจำเลยที่ 2 ได้ทันท่วงที ทั้งไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ให้ความร่วมมือโดยใกล้ชิดกับการที่ ด. และจำเลยที่ 2 ลักทรัพย์ของบริษัทผู้เสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิด การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกก่อนที่ ด. และจำเลยที่ 2 กระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของ ด. และจำเลยที่ 2
คำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ สมควรลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 และกรณีนี้เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาลดโทษตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370-6371/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกที่ดินพิพาทเกินคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกายกคำขอแบ่งแยกตามการครอบครองจริง
ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12517 ตำบลไผ่ขวาง อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี มีเนื้อที่ตามโฉนด 1 ไร่ แต่ตอนทำแผนที่วิวาท เอกสารหมาย จ.ล.1 เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดได้เนื้อที่เพียง 3 งาน 5 ตารางวา กึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาท จึงมีเนื้อที่ 1 งาน 52.5 ตารางวา เท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การหรือบรรยายฟ้องว่า จำเลยครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัด อันทำให้จำเลยได้ที่ดินมากกว่าโจทก์ 15 ตารางวา แต่กลับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 12517 จำนวนกึ่งหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่อาจแบ่งที่ดินให้แก่จำเลยได้เนื้อที่ 1 งาน 60 ตารางวา ตามที่จำเลยครอบครองได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอท้ายฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6268/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายส่งผลต่อความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ในคดีหมิ่นประมาท
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 326, 328 พ.ร.บ.การพิมพ์ฯ มาตรา 48 แต่ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ฯ มาตรา 3 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.การพิมพ์ฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป และ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ฯ ไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดอีกต่อไป จำเลยย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6244/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรส, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, และหนี้ร่วมสมรส: หลักเกณฑ์การพิจารณาของศาล
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1522 กำหนดให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้เป็นกรณีเฉพาะเมื่อศาลพิพากษาให้หย่าหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ ดังนั้น แม้จำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสอง ศาลชั้นต้นก็กำหนดให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองเป็นรายเดือนจนกว่าบุตรทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะได้ ปัญหาการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรดังกล่าว แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นพิพากษาเป็นประโยชน์แก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองของโจทก์จำเลย
ในการเช่าซื้อรถยนต์พิพาท บิดาโจทก์เป็นผู้วางเงินจองให้ 10,000 บาท และบิดามารดาโจทก์ออกเงินดาวน์ให้อีกส่วนหนึ่ง รถยนต์คันดังกล่าวโจทก์จำเลยได้ออกเงินบางส่วนเป็นค่ารถยนต์ด้วย ทั้งเงินที่บิดามารดาโจทก์ช่วยออกเป็นค่ารถยนต์ ภายหลังก็ไม่ปรากฏว่าบิดามารดาโจทก์ได้ทวงถามให้โจทก์จำเลยชำระหนี้ส่วนนี้แต่อย่างไร แสดงว่าบิดามารดาโจทก์มีเจตนาที่จะออกเงินค่ารถยนต์ส่วนนี้ให้แก่โจทก์จำเลย รถยนต์คันดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยได้มาในระหว่างสมรส เป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จึงเป็นสินสมรส การที่โจทก์โอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่ ว. ในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากัน โดยจำเลยไม่ทราบเรื่องจึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์อันเป็นสินสมรสไปโดยมีเจตนาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1534 ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา 1533 โจทก์ต้องแบ่งสินสมรสดังกล่าวให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง
แม้การกู้เงินของจำเลยทั้งสองครั้งจะเป็นการกู้หลังจากจำเลยแยกมาอยู่กับบิดามารดาจำเลยแล้ว แต่จำเลยได้นำบุตรไปเลี้ยงดูด้วย จึงต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ โจทก์เป็นบิดาต้องมีส่วนอุปการะเลี้ยงดูบุตรเช่นกัน จำเลยนำสืบว่าจำเลยกู้เงินในการกู้ปี 2543 จำเลยได้ระบุในวัตถุประสงค์ขอกู้ว่า ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีหลักฐานใบสั่งซื้อสินค้า ส่วนการกู้ในปี 2546 เป็นการกู้เงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน ฟังได้ว่า จำเลยกู้เงินสองครั้งดังกล่าว เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของบุตรอันเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นในครอบครัวและเป็นหนี้ที่จำเลยก่อขึ้นในระหว่างสมรสจึงเป็นหนี้ที่โจทก์จำเลยต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่เป็นคำพิพากษา ทำให้ฎีกาของจำเลยชอบแล้ว เหตุขัดข้องในการเดินทางไม่ใช่เหตุยกคดี
หลังจากสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดขัอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 ประกอบมาตรา 181 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับ ให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ดังนี้ คำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ของศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็นคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ทำให้คดีเสร็จไปจากศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ประกอบมาตรา 225 จำเลยจึงฎีกาคำสั่งดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5643/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน - ความเกี่ยวเนื่องคดีอาญา - ละเมิด - การชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยจ้างบุคคลอื่นขับรถแทรกเตอร์เข้าไปขุดไถที่ดินของโจทก์แล้วปักเสาล้อมรั้วไว้ โดยทำลายเสาไม้ของโจทก์ที่ปักแสดงแนวเขตเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเสาที่ปักล้อมรั้ว ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องและชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีอาญาศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยนำรถแทรกเตอร์เข้าไปขุดร่องน้ำ ปักเสาคอนกรีตและล้อมรั้วในที่ดินพิพาทเพื่อถือการครอบครองและรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์โดยปกติสุข และพิพากษาลงโทษจำเลยฐานบุกรุก คดีถึงที่สุด ก็ย่อมฟังข้อเท็จจริงได้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ศาลฎีกาไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่จำเลยนำรถแทรกเตอร์เข้าไปขุดไถปักเสาและล้อมรั้วในที่ดินพิพาท ถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์
of 23