คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่สมบูรณ์ เงินมัดจำต้องคืน จำเลยไม่มีสิทธิริบ
ใบรับเงินมีข้อความว่า "จำเลยตกลงจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินเป็นเวลา 2 ปี และในวันนี้โจทก์ได้ชำระเงินมัดจำจำนวน 500,000 บาท ด้วยเช็ค ส่วนที่เหลือจะชำระตามเงื่อนไขสัญญาจะซื้อจะขายที่ทั้งสองฝ่ายจัดทำขึ้นภายใน 30 วัน" เห็นได้ว่า ใบรับเงินเป็นเพียงหลักฐานการรับเงินมัดจำที่โจทก์ชำระแก่จำเลยเท่านั้น หลังจากนั้นโจทก์กับจำเลยจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งจะได้จัดทำขึ้นภายหลังภายใน 30 วัน ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน แสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันอีก กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาอันมุ่งจะทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือไซร้ เมื่อกรณีเป็นที่สงสัยท่านนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ" ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเป็นหนังสือ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกิดขึ้น เงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปรากศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จำเลยไม่มีสิทธิริบมัดจำจึงต้องคืนให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายไม่สมบูรณ์ เงินมัดจำต้องคืน - เจตนาทำสัญญาเพิ่มเติม
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยมีเจตนาจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือกันอีก กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเป็นหนังสือ สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่เกิดขึ้น เงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จำเลยไม่มีสิทธิริบมัดจำ จึงต้องคืนให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้ตาม มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในฟ้อง ทำให้ศาลต้องยกฟ้อง จำเลยไม่มีความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้ผู้อื่น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ให้แก่สายลับ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 2 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 14 เม็ด ให้แก่จำเลยที่ 1 อันเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนระหว่างจำเลยทั้งสองด้วยกันเองไม่เกี่ยวกับสายลับ ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องยกฟ้องในความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อหาจำหน่ายยาเสพติดเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ ศาลต้องยกฟ้องหากไม่ตรงกับฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 2 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยที่ 1 อันเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนระหว่างจำเลยทั้งสองด้วยกันเอง ไม่เกี่ยวกับสายลับ ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องยกฟ้องในความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในฟ้อง จำหน่ายยาเสพติดระหว่างผู้ต้องหา ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ล่อซื้อ ศาลต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 10 เม็ด ให้แก่สายลับ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 2 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 14 เม็ด ให้แก่จำเลยที่ 1 อันเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนระหว่างจำเลยทั้งสองด้วยกันเอง ไม่เกี่ยวกับสายลับ ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด, อาวุธปืน, และพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน: ศาลฎีกาแก้โทษจำคุกและปรับ
การที่จำเลยล้วงอาวุธปืนในกระเป๋ากางเกงออกมาจะยิงลำคอของสิบตำรวจโท น. ที่เข้ามาล็อกคอจำเลยทางด้านหลับเพื่อจับกุม แต่ถูกสิบตำรวจโท น. ใช้มือดันปากกระบอกปืนไปทางอื่น และมีเสียงปืนดังขึ้น 1 นัด แล้วจำเลยยังดึงอาวุธปืนมาที่ลำตัวและยิงปืนอีก 1 นัด แม้กระสุนปืนที่จำเลยยิงจะไม่ถูกสิบตำรวจโท น. เพราะสิบตำรวจโท น. ดันข้อมือจำเลยไปก่อน ดังนี้ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ว่าอาจเป็นเหตุให้สิบตำรวจโท น. ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์โดยข่มขู่ด้วยความรุนแรง และการพิจารณาคดีพยานเด็กเป็นพิเศษ
การที่จำเลยที่ 1 พูดสำทับกับผู้เสียหายว่า "ถ้ามึงไม่ให้เดี๋ยวมันก็แทงมึงหรอกกูช่วยมึงไม่ได้" หลังจากจำเลยที่ 1 ขอยืมเงินและผู้เสียหายปฏิเสธ แล้วจำเลยที่ 1 หันไปคุยกับจำเลยที่ 2 ว่า "เฮ้ย แม่งไม่ให้เว้ย" จำเลยที่ 2 จึงลุกขึ้นยืนพร้อมกับล้วงมีดออกมาจากด้านหลังแล้วเดินเข้ามาใกล้ผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 ได้ผลักจำเลยที่ 2 พร้อมกับพูดว่า "มึงไม่ต้องแทง" ตามที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปีเบิกความ ซึ่งศาลชั้นต้นได้ใช้วิธีการพิจารณาคดีสำหรับพยานที่เป็นเด็กเป็นการเฉพาะต่างจากพยานบุคคลทั่วไป โดยอยู่ในกำหนดหลักการว่าในคดีที่มีพยานเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ศาลต้องจัดให้พยานเด็กอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมโดยการถามนั้นศาลจะเป็นผู้ถามพยานเอง หรือถามผ่านทางนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ หรือจะให้คู่ความถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ผลของกฎหมายดังกล่าวย่อมทำให้กระบวนการยุติธรรมสามารถได้ข้อเท็จจริงจากพยานเด็กมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเมื่อมีวิธีการการถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาเด็กและความเชี่ยวชาญในการซักถามเด็ก เชื่อว่าจะเป็นผลให้พยานเด็กสามารถให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องสมบูรณ์ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการร่วมกันข่มขู่ผู้เสียหายว่าในทันทีทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวจึงได้มอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมฆ่าผู้อื่น: การส่งมีดและให้กำลังใจถือเป็นเจตนาช่วยเหลือการกระทำผิด
การที่จำเลยทั้งสองเดินมาที่กลุ่มผู้ตาย และจำเลยที่ 1 ใช้ขวดสุราตีที่ศีรษะผู้ตาย 1 ครั้ง ผู้ตายลุกขึ้นยืน จำเลยที่ 2 ส่งมีดปลายแหลมให้จำเลยที่ 1 พร้อมกับพูดให้จำเลยที่ 1 แทงผู้ตาย จำเลยที่ 1 ก็รับมีดปลายแหลมจากจำเลยที่ 2 มาแทงผู้ตายที่บริเวณหน้าอก 1 ครั้ง แล้วจำเลยทั้งสองหลบหนีไปด้วยกัน ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตายด้วย หาใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9889/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดียาเสพติด: การจำหน่ายเฮโรอีนหลายครั้งถือเป็นกรรมต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ (ก) เมื่อระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2547 ถึง 5 พฤษภาคม 2547 จำเลยกับพวกร่วมกันมีเฮโรอีน 30 แท่ง ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย (ข) เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 จำเลยกับพวกร่วมกันจำหน่ายเฮโรอีนดังกล่าวในข้อ (ก) 15 แท่ง ให้แก่ อ. และ บ. ในราคา 2,100,000 บาท (ค) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2547 จำเลยกับพวกร่วมกันจำหน่ายเฮโรอีนดังกล่าวในข้อ (ก) 15 แท่ง ให้แก่ อ. และ บ. ในราคา 2,100,000 บาท ดังนี้ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยกระทำความผิดสามกรรมต่างวาระกัน ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องเท่ากับจำเลยยอมรับแล้วว่าได้กระทำความผิดสามกรรมต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่กรรมเดียวไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยกับพวกร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนสองกรรมตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาโดยมิได้อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยฐานร่วมกับพวกมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนสองกรรมตามฟ้องได้ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเฮโรอีนสองกรรมตามฟ้อง ทั้งศาลอุทธรณ์ก็ได้พิพากษายืนในส่วนนี้ การที่จำเลยฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9529/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเช่าและสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในการบอกเลิกสัญญาเช่า การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
การเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แน่นอนว่าเช่ากัน 3 ปี สัญญาเช่านี้ย่อมระงับไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ มิพักต้องบอกกล่าวก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 564 การที่โจทก์ซึ่งเป็นส่วนราชการไม่อนุมัติให้ต่อสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์เลขที่ 1855 และ 1857 แก่จำเลยอีกต่อไป ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าไม่อนุมัติให้ต่อสัญญาเช่าแก่จำเลย จึงไม่ใช่คำสั่งทางปกครองและไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่ประการใด ส่วนกรณีหลังจากสัญญาเช่าครบกำหนด โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่า ยอมให้จำเลยเช่าเฉพาะอาคารพาณิชย์เลขที่ 1859 โดยให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดบางประการและให้มาทำสัญญาเช่านั้น ก็เป็นเพียงหนังสือแจ้งให้จำเลยไปทำสัญญาเช่าใหม่ เมื่อจำเลยไม่สนองรับเงื่อนไขที่โจทก์ให้มาทำสัญญาเช่าใหม่ จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในอาคารพาณิชย์เลขที่ 1859 อีกต่อไปเช่นกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพาณิชย์พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
of 23