พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฎีกาในคดีค่าปรับจากการผิดสัญญาประกันตัว: ศาลชั้นต้นรับฎีกาไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. ม.119
ผู้ประกันขอลดและขอผ่อนชำระค่าปรับ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ผู้ประกันอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ประกันจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาประกันตัวและการบังคับตามสัญญา ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์และไม่รับวินิจฉัย
ผู้ประกันผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตามนัด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันเป็นเงิน 300,000 บาท ผู้ประกันขอลดค่าปรับและขอผ่อนชำระค่าปรับ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ผู้ประกันอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9337/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานและการยอมความของผู้เสียหาย ศาลฎีกายืนตามความผิดฐานบุกรุกและสั่งจำหน่ายคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในห้องนอนอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุข โดยไม่ได้บรรยายฟ้องถึงองค์ประกอบความผิด ว่าจำเลยกระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 365 ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9334/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การในคดีอาญาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง การยื่นคำร้องและแสดงเหตุผลสมควรเป็นสิ่งจำเป็น
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย มาตรา 39 วรรคสอง และ ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง จะบัญญัติรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลผู้ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาไว้หลายประการ กล่าวคือ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้บริสุทธิ์ รวมทั้งให้สิทธิแก่จำเลยที่จะให้การต่อศาลหรือไม่ให้การก็ได้ แต่ในกรณีที่จำเลยให้การต่อศาลแล้วหากประสงค์จะขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การนั้น จำเลยจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 163 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.อ. ซึ่งหมายความว่าหากจำเลยประสงค์จะขอแก้คำให้การ จำเลยต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลและแสดงเหตุอันสมควรมาในคำร้องขอด้วยว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องแก้หรือเพิ่มเติ่มคำให้การเพราะเหตุใด ทั้งนี้ ศาลย่อมมีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ โดยพิจารณาถึงเหตุผลที่จำเลยอ้างอิงในคำร้องขอว่าเป็นเหตุผลอันสมควรหรือไม่
จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดจริงตามฟ้อง โจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงนัดฟังคำพิพากษา เมื่อถึงวันฟังคำพิพากษา จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่รับสารภาพตามฟ้องและขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ แม้คำให้การของจำเลยดังกล่าวระบุว่าจำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่รับสารภาพตามฟ้องและขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ ก็ถือเป็นการแก้ไขคำให้การตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสองแล้ว เมื่อจำเลยขอแก้ไขคำให้การโดยมิได้ยื่นคำร้องขอแก้คำให้การ และมิได้แสดงให้ปรากฏว่ามีเหตุผลสมควรแก้คำให้การอย่างไร อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดจริงตามฟ้อง โจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงนัดฟังคำพิพากษา เมื่อถึงวันฟังคำพิพากษา จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่รับสารภาพตามฟ้องและขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ แม้คำให้การของจำเลยดังกล่าวระบุว่าจำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่รับสารภาพตามฟ้องและขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ ก็ถือเป็นการแก้ไขคำให้การตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสองแล้ว เมื่อจำเลยขอแก้ไขคำให้การโดยมิได้ยื่นคำร้องขอแก้คำให้การ และมิได้แสดงให้ปรากฏว่ามีเหตุผลสมควรแก้คำให้การอย่างไร อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9286/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความกับการระงับคดีอาญาตาม พ.ร.บ.เช็ค การสิ้นสุดหนี้และคดีเลิกกัน
มูลหนี้ตามเช็คผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยให้ชดใช้เงินทางแพ่ง ต่อมาผู้เสียหายและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดไปแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของผู้เสียหายที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามมูลหนี้ในเช็ค เป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 ผู้เสียหายคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นผู้เสียหายก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คได้อีก ดังนั้น หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 แม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาผู้เสียหายและจำเลยจะตกลงกันว่า ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลสมบูรณ์ในคดีอาญาเมื่อจำเลยชำระเงินครบถ้วนแล้ว และตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่า คดีอาญาให้เป็นไปตามข้อตกลงในคดีอาญา หากจำเลยชำระเงินแก่โจทก์ (ผู้เสียหาย) ครบถ้วน โจทก์ (ผู้เสียหาย) ในฐานะผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ หากจำเลยผิดนัดขอให้ศาลดำเนินคดีอาญาต่อไปตามรูปคดีก็ตามแต่กรณีดังกล่าวเป็นคนละกรณีกันกับคดีอาญาเลิกกันตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 ซึ่งเป็นกรณีที่มูลหนี้ที่ผู้กระทำความผิดได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาอันเป็นอีกกรณีหนึ่งที่มิใช่การยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9114/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องผิดฐานความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ศาลสามารถลงโทษตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ ว่า จำเลยมีเครื่องกระสุนปืน ซึ่งสามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้ไว้ในความครอบครองของจำเลยโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมาย ฟ้องของโจทก์บรรยายครบถ้วนแล้วว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเครื่องกระสุนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 7, 72 วรรคสอง แต่ในคำขอท้ายฟ้องกลับขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8, 72 ทวิ ซึ่งเป็นบทลงโทษผู้มีเครื่องกระสุนปืน ซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ เห็นได้ว่าโจทก์อ้างบทมาตราผิด เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า กรณีมิใช่โจทก์บรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9114/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องผิดบทมาตราในความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน ศาลสามารถลงโทษตามบทมาตราที่ถูกต้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียม อาวุธปืน พ.ศ.2490 ให้ข้อ 1.7 ว่า จำเลยมีเครื่องกระสุนปืน คือ กระสุนปืนออโตเมติก ขนาด 9 มิลลิเมตร (LUGER) จำนวน 598 นัด และกระสุนปืนออโตเมติก ขนาด .45 (11 มิลลิเมตร) จำนวน 50 นัด ซึ่งเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวเป็นเครื่องกระสุนปืนตามกฎหมาย สามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้ไว้ในครอบครองของจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมาย ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายไว้ครบถ้วนแล้วว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียม อาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสอง แต่ในคำขอท้ายฟ้องกลับขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียม อาวุธปืน พ.ศ.2490 8, 72 ทวิ โดยเป็นบทลงโทษผู้มีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ จึงเห็นได้ว่าโจทก์อ้างบทมาตราผิด เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า กรณีมิใช่ฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8919/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่น vs. หมิ่นประมาท: การวินิจฉัยความผิดฐานดูหมิ่นและการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยาม สบประมาทผู้ที่ถูกกล่าว หรือทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว เมื่อตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายคำว่า "ตอแหล" ว่า เป็นการด่าคนที่พูดเท็จ ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าวต่อผู้เสียหายจึงเป็นการด่าผู้เสียหาย เป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นคนพูดเท็จ จึงเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ไม่ได้บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท และเป็นการป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือไม่ จึงมิใช่ประเด็นแห่งคดี การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการหมิ่นประมาท และเป็นการป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมอันเป็นเหตุยกเว้นความผิดของจำเลย จึงมิใช่การอุทธรณ์ในประเด็นแห่งคดีและโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
การกระทำที่จะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 68 นั้น จะต้องเป็นเรื่องที่ ผู้นั้นจำต้องกระทำการนั้นเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำเนื่องจากเชื่อโดยสุจริตว่าถูกผู้เสียหายกลั่นแกล้ง จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 200 บาท ต้องห้ามจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 194 ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยแต่เพียงว่า เหตุที่จำเลยด่าว่าผู้เสียหาย เนื่องจากเข้าใจว่าถูกผู้เสียหายกลั่นแกล้งในเรื่องการขอสำเนาเอกสาร กับถูกผู้เสียหายกล่าวหาว่าทำร้ายร่างกาย มิใช่เกิดเนื่องจากการที่ผู้เสียหายได้กระทำการตามหน้าที่ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ขณะที่จำเลยกล่าวถ้อยคำตามฟ้องต่อผู้เสียหายนั้น มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จำเลยอุทธรณ์ต่อไปว่า จำเลยพยายามแก้ไขความเข้าใจผิดและป้องกันชื่อเสียงของตนที่ถูกใส่ร้าย การตกอยู่ในวงล้อมของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร และมีการตามเจ้าหน้าที่อื่นๆ ให้เข้ามาอีก ทำให้จำเลยอยู่ในสภาวะคับขันนั้น อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้เป็นการอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่นอกเหนือจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา เพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามจำเลยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ไม่ได้บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท และเป็นการป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือไม่ จึงมิใช่ประเด็นแห่งคดี การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการหมิ่นประมาท และเป็นการป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมอันเป็นเหตุยกเว้นความผิดของจำเลย จึงมิใช่การอุทธรณ์ในประเด็นแห่งคดีและโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
การกระทำที่จะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 68 นั้น จะต้องเป็นเรื่องที่ ผู้นั้นจำต้องกระทำการนั้นเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำเนื่องจากเชื่อโดยสุจริตว่าถูกผู้เสียหายกลั่นแกล้ง จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 200 บาท ต้องห้ามจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 194 ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยแต่เพียงว่า เหตุที่จำเลยด่าว่าผู้เสียหาย เนื่องจากเข้าใจว่าถูกผู้เสียหายกลั่นแกล้งในเรื่องการขอสำเนาเอกสาร กับถูกผู้เสียหายกล่าวหาว่าทำร้ายร่างกาย มิใช่เกิดเนื่องจากการที่ผู้เสียหายได้กระทำการตามหน้าที่ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ขณะที่จำเลยกล่าวถ้อยคำตามฟ้องต่อผู้เสียหายนั้น มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จำเลยอุทธรณ์ต่อไปว่า จำเลยพยายามแก้ไขความเข้าใจผิดและป้องกันชื่อเสียงของตนที่ถูกใส่ร้าย การตกอยู่ในวงล้อมของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร และมีการตามเจ้าหน้าที่อื่นๆ ให้เข้ามาอีก ทำให้จำเลยอยู่ในสภาวะคับขันนั้น อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้เป็นการอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่นอกเหนือจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา เพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามจำเลยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8919/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นผู้อื่น: การใช้คำว่า 'ตอแหล' เป็นการดูถูกเหยียดหยาม และประเด็นการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอายการวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไร เป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกกล่าว หรือเป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว เมื่อตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า "ตอแหล" ว่า เป็นคำด่าคนที่พูดเท็จ ซึ่งมีความหมายในทางเสื่อมเสีย การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าวต่อผู้เสียหาย จึงเป็นการพูดด่าผู้เสียหายเป็นการดูถูกเหยียดหยามและสบประมาทผู้เสียหายว่าเป็นคนพูดเท็จ จึงเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393
การที่โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ไม่ได้บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษในความผิดฐานหมิ่นประมาท ปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นหมิ่นประมาทและเป็นการป้องกันตนหรือป้องกันว่าส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นแห่งคดี เมื่อจำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการหมิ่นประมาท และเป็นการป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมอันเป็นเหตุยกเว้นความผิดของจำเลย จึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์ในประเด็นแห่งคดีและโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
การกระทำที่จะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 68 นั้น จะต้องเป็นเรื่องที่ผู้นั้นจำต้องกระทำการนั้น เพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำเนื่องจากเชื่อโดยสุจริตว่าถูกผู้เสียหายกลั่นแกล้งจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 200 บาท ต้องห้ามจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 194 ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ขณะที่จำเลยกล่าวถ้อยคำตามฟ้องต่อผู้เสียหายนั้น มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยพยายามแก้ไขความเข้าใจผิดและป้องกันชื่อเสียงของตนที่ถูกใส่ร้าย การตกอยู่ในวงล้อมของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรและมีการตามเจ้าหน้าที่อื่นๆ ให้เข้ามาอีก ทำให้จำเลยตกอยู่ในสภาวะคับขันนั้น อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้เป็นการอ้างข้อเท้จจริงขึ้นใหม่นอกเหนือจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาเพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามจำเลยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22
การที่โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ไม่ได้บรรยายฟ้องและมีคำขอให้ลงโทษในความผิดฐานหมิ่นประมาท ปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นหมิ่นประมาทและเป็นการป้องกันตนหรือป้องกันว่าส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นแห่งคดี เมื่อจำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการหมิ่นประมาท และเป็นการป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมอันเป็นเหตุยกเว้นความผิดของจำเลย จึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์ในประเด็นแห่งคดีและโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
การกระทำที่จะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 68 นั้น จะต้องเป็นเรื่องที่ผู้นั้นจำต้องกระทำการนั้น เพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำเนื่องจากเชื่อโดยสุจริตว่าถูกผู้เสียหายกลั่นแกล้งจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลย 200 บาท ต้องห้ามจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 194 ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ขณะที่จำเลยกล่าวถ้อยคำตามฟ้องต่อผู้เสียหายนั้น มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยพยายามแก้ไขความเข้าใจผิดและป้องกันชื่อเสียงของตนที่ถูกใส่ร้าย การตกอยู่ในวงล้อมของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรและมีการตามเจ้าหน้าที่อื่นๆ ให้เข้ามาอีก ทำให้จำเลยตกอยู่ในสภาวะคับขันนั้น อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้เป็นการอ้างข้อเท้จจริงขึ้นใหม่นอกเหนือจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาเพื่อจะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามจำเลยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8836/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานลักทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา แม้โจทก์ไม่ได้ขอ แต่การบรรยายฟ้องชิงทรัพย์ครอบคลุมความผิดฐานลักทรัพย์
แม้โจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษหลายกรรม แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 339 ไว้ซึ่งความผิดฐานลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ และแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์อีกกระทงหนึ่งซึ่งมีโทษเบากว่าความผิดฐานชิงทรัพย์ตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ