คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20484/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับคดีตามสัญญาประกัน: การเปลี่ยนจากอัยการเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลังแก้กฎหมาย
แม้ขณะที่ผู้คัดค้านผิดสัญญาประกัน พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกัน ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (8) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นก็ตาม แต่เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมความใน ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง โดยวางหลักเกณฑ์ว่า หัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 ดังนี้ อำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันจึงเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ร้องนับแต่วันดังกล่าวด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับให้เพิกถอนหมายบังคับคดีเฉพาะผู้คัดค้าน รวมถึงการดำเนินการบังคับคดีแก่ผู้คัดค้านตามหมายบังคับคดี ผู้ที่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงตกแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน มิใช่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16397/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีออกจากสารบบเมื่อจำเลยถอนอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวข้องกับจำเลยนั้นต่อไป
คดีนี้โจทก์และจำเลยที่ 6 อุทธรณ์ เมื่อจำเลยที่ 6 ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 6 ถอนอุทธรณ์เฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยที่ 6 เท่านั้น แล้วพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยที่ 6 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันต่อไป แต่ศาลอุทธรณ์กลับมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของจำเลยที่ 6 ออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ ถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13936/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: รถยนต์กระบะที่ใช้ขนส่งยาเสพติดเพื่อจำหน่าย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีกัญชาอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเสพกัญชา เจ้าพนักงานจับกุมจำเลยได้พร้อมกัญชาดังกล่าว และรถยนต์กระบะที่จำเลยใช้เป็นยานพาหนะในการนำยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 มาจำหน่าย ซึ่งเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือวัตถุอื่นใดที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษเป็นของกลาง จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่ารถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11339/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญาที่ไม่ระบุเวลาเกิดเหตุ หากรายละเอียดในฟ้องทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้
คำว่า เวลา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) หมายความถึง วันเดือนปีด้วย ไม่ใช่หมายความเฉพาะเวลากลางวันหรือกลางคืน ฟ้องที่ไม่ได้กล่าวถึงเวลากลางวันหรือกลางคืนจะไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไปว่าฟ้องนั้นกล่าวถึงเวลาพอให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดีหรือไม่ คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2551 จำเลยทั้งสองร่วมกันลักเครื่องปรับอากาศยี่ห้อมิตซูบิชิ พร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง จำนวน 59 ชุด รวมราคา 1,482,119.83 บาท ไปจากคลังสินค้าเอกมัยของโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 แสร้งขออนุมัติการขายต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอนุมัติ ณ บริษัทโจทก์ ด้วยการขอเปิดสำเนาใบส่งของ/ใบกำกับภาษี 5 ชุด อ้างว่าลูกค้ารายห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต. และห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ประสงค์จะซื้อสินค้า 59 ชุด ข้างต้น ซึ่งไม่เป็นความจริงเพราะลูกค้าโจทก์ทั้งห้ารายดังกล่าวไม่ได้สั่งซื้อสินค้าข้างต้นแต่อย่างใด ความจริงแล้วจำเลยที่ 1 ได้ขอให้จำเลยที่ 2 เปิดบิลขออนุมัติขายสินค้าเครื่องปรับอากาศ 59 ชุดข้างต้น เพื่อประสงค์หักล้างสต๊อกสินค้าในคลังสินค้าเอกมัยที่ขาดจำนวน เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์ดังกล่าวโดยตลอดแล้วย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ในช่วงเวลาใด
ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ขออนุมัติการขายเครื่องปรับอากาศ 59 ชุด ต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอนุมัติเพื่อหักล้างสต็อกสินค้าในคลังสินค้าเอกมัยที่ขาดจำนวนนั้น ก็เป็นเพียงการบรรยายฟ้องให้เห็นการปกปิดการกระทำความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเท่านั้น ไม่ถึงกับทำให้ฟ้องมีความขัดแย้งกันดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10471/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อในคำฟ้องอาญา: โจทก์ต้องลงชื่อด้วยตนเอง หรือทนายความลงชื่อแทนไม่ได้
การที่โจทก์ทั้งสองมิได้ลงชื่อในคำฟ้องคดีอาญา แต่ให้ทนายโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ลงชื่อในฐานะโจทก์ทั้งสอง จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9230/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์คดีริบของกลางที่ไม่ใช่คดียาเสพติด ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นสั่งริบรถจักรยานยนต์ของกลางสืบเนื่องจากจำเลยทั้งสองกระทำความผิดในข้อหาความผิดต่อเจ้าพนักงาน จึงมิใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ดังนี้ เมื่อผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ร้องจึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่จะพิจารณาพิพากษาคดี การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6530/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่จากความผิดขับรถเมาแล้วเกิดอุบัติเหตุ ไม่เข้าข่ายการใช้ ม.50 ป.อ. ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
การที่ศาลจะนำ ป.อ. มาตรา 50 มาใช้บังคับต้องได้ความว่า จำเลยประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ และได้กระทำความผิดโดยอาศัยโอกาสจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ หรือเนื่องจากการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ และศาลเห็นว่าหากจำเลยประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นต่อไป อาจกระทำความผิดเช่นนั้นขึ้นอีก ศาลจะสั่งไว้ในคำพิพากษาห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้นมีกำหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นโทษไปแล้วก็ได้ แต่ความผิดของจำเลยเป็นความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสี่ ไม่เกี่ยวกับอาชีพหรือวิชาชีพที่จำเลยประกอบอยู่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่ให้เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลของจำเลย จึงหาใช่คำสั่งตาม ป.อ. มาตรา 50 ไม่ แต่เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลย กรณีจึงไม่อาจนำ ป.อ. มาตรา 50 มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อในคดีความผิดเกี่ยวพันกัน โทษรวมต้องไม่เกิน 50 ปี ศาลฎีกาแก้ไขหมายจำคุก
ในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 1 ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 2,000 เม็ด และเฮโรอีน 1 หลอดบิ๊ก ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจนำจำเลยที่ 1 ไปตรวจค้นที่บ้านพักพบเมทแอมเฟตามีน 4,800 เม็ด และเฮโรอีน 2 หลอดบิ๊ก กับอาวุธปืนลูกซอง 1 กระบอก โจทก์แยกฟ้องเป็น 2 คดี ทั้งที่ลักษณะความผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสองคดีเกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์อาจฟ้องจำเลยที่ 1 ทุกกระทงความผิดเป็นคดีเดียวกัน และอาจพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ คดีนี้และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1111/2548 ของศาลชั้นต้น จึงมีความเกี่ยวพันกันจนอาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 วรรคหนึ่ง การนับโทษต่อของจำเลยที่ 1 จึงต้องอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (3) คือ เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วจะเกินกว่า 50 ปี ไม่ได้ เมื่อคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1111/2548 ของศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ได้รับโทษจำคุกมีกำหนด 33 ปี 4 เดือน จึงนำโทษจำคุกในคดีนี้ไปนับต่อจากโทษในคดีดังกล่าวมีกำหนด 16 ปี 6 เดือน เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามฟ้อง แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องเจตนาหลอกลวง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งเก้ากับพวกซึ่งเป็นคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ โดยไม่ได้รับใบอนุญาต เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้อง ไม่มีข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่พวกผู้เสียหายเพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากพวกผู้เสียหายมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ แม้ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลอุทธรณ์มีสิทธิยกขึ้นอ้างได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ก็ตาม แต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ. 1782/2554 ของศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นมาวินิจฉัย จึงไม่อาจนำมารับฟังได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งเก้าซึ่งเป็นคนหางาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17095/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำละเมิดต่อสิทธิในทรัพย์สิน: การไถตออ้อยในที่ดินเช่าหลังเลิกสัญญา
โจทก์เช่าที่ดิน น.ค.3. จาก ม. เพื่อทำไร่อ้อย มีกำหนดระยะเวลาการเช่า 6 ปี การปลูกอ้อยของโจทก์เป็นการอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าและต้นอ้อยเป็นไม้ล้มลุก จึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน ทั้งสัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับ ม. ก็ไม่มีข้อความใดระบุให้ต้นอ้อยหรือตออ้อยตกเป็นสิทธิของ ม. หลังสัญญาเช่าเลิกกัน ดังนั้น การที่ ม. ตกลงเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์หลังจากโจทก์ตัดอ้อยของปีที่ 4 และ ม. ขายที่ดินแก่ ล. ก็ไม่มีผลให้กรรมสิทธิ์ในต้นอ้อยตกไปเป็นของ ล. แม้ ล. จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ก็ไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างนำรถเข้าไถตออ้อยของโจทก์โดยพลการ แม้จำเลยจะกระทำตามคำสั่งของ ล. เจ้าของที่ดิน แต่จำเลยก็ทราบว่าตออ้อยเป็นของโจทก์ซึ่งเช่าที่ดินจาก ม. ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของโจทก์โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย เป็นการละเมิด
of 23